แท็ก
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
พรรคประชาธิปัตย์
จังหวัดพัทลุง
รัฐมนตรี
ประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม รายละเอียด โดยนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์
มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน คือกลุ่มอิตาเลียนไทยที่ได้รับเหมางานทั้งวิธีพิเศษ และการประกวดราคาวิธีปกติล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่มีความ ไม่โปร่งใสในการประกวดราคาแทบทั้งสิ้น มีการพบว่า 10 โครงการในสนามบินสุวรรณภูมิ กลุ่มอิตาเลียนไทยได้คว้าชัยงานประมูล รวมมูลค่าทั้งสิ้น 65,837.43 ล้านบาทโดยได้มีการหยิบยกโครงการประหวดราคาสองโครงการทีเป็นตัวอย่างแห่งความไม่โปร่งใส คือ การประมูลท่อร้อยสายไฟฟ้าภายในสนามบินสุวรรณภูมิ (ท่าอากาศยานแห่งใหม่) มูลค่า 1,810 ล้านบาท กล่าวคือจากกรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้ตรวจสอบพบโครงการรับเหมาก่อสร้างในสังกัดกระทรวง คมนาคมหลายโครงการ เช่น โครงการท่อร้อยสายไฟของบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่(บทม.)มูลค่า 2,000ล้านบาท ส่อว่าจะทุจริตและกระทำผิดกฎหมาย ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทำให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงคมนาคม ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก
ต่อมานายสุริยะ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า บทม.ทำหนังสือชี้แจงไปยัง สตง.เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 และไม่ได้รีบเซ็นสัญญา ถ้า ป.ป.ช.จะสอบก็สอบไป อย่างไรก็ตาม ทาง บทม.ได้ชี้แจงแล้วว่าทุกอย่างโปร่งใส และได้ทำตามที่ สตง.ต้องการหมดแล้ว ถ้า บทม. ทำหนังสือชี้แจงแล้วฟังไม่ขึ้น ก็จะตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และถ้าหากพบว่าผิดจริง บทม.ก็ยินดีจะรับโทษ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้ข้อมูลให้ไปถามได้ที่ บทม."กระทั่ง (สตง.) ออกมาเผยถึงผลตรวจสอบว่า ส่อมีการทุจริต โดยการประกวดราคามีการล็อกสเปค ให้ใช้ท่อร้อยสายไฟที่มีวงแหวนโลหะ ซึ่งมีบางรายร่วมมือกับผู้ค้าวัสดุซึ่งมีสินค้าตามสเปค ถือเป็นการปิดกั้นรายอื่น โดยสตง.ได้แจ้งให้ผู้บริหาร (บทม.) ทราบ และได้แก้ไขเงื่อนไขการประกวดจริง แต่เว้นช่วงเวลาให้รายอื่นเตรียมตัวเพียง 1 วันเท่านั้น ซึ่งได้เกิดผลเสียขึ้น คือ ค่าก่อสร้างสูงขึ้น 100% คือจาก ตร.ม.ละ 300 บาท เป็น ตร.ม.ละ 600 บาท ซึ่งเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2540 โดยบริษัทที่ชนะในการประมูลคือกลุ่มไอทีดี-เอ็นซีซี จอยท์เวนเจอร์ ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท นิชิมัตสึ ในวงเงิน 1,810 ล้านบาท ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) จะชี้มูลความผิดสัปดาห์หน้า
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2546 พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่หนังสือกำหนดเงื่อนไขของ ผู้เข้าร่วมประมูลได้ระบุว่า ผู้เสนอราคาจะต้องมีการใช้ท่อร้อยสายที่เป็นระบบไตรซีล ทำให้เกิดความสับสนกับระบบระบบซีล เนื่องจากไตรซีลเป็นชื่อของผลิตภัณฑ ์ไม่ใช่ระบบของท่อ เป็นการนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าเป็นการล็อคสเปค - เอื้อประโยชน์ให้ผู้ค้าวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศบางรายพล.อ.สมชัยกล่าวอีกว่า ทางฝ่ายบริหาร ของบทม.ได้แก้ไขเงื่อนไขการประมูลก่อนเปิดซอง 1 วัน โดยได้ตัดคำว่า "ไตร" ออกมาในหนังสือกำหนดคุณสมบัติ รวมทั้งได้ขยายเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาประมูล สามารถใช้ท่อร้อยสายแบบเกลียวได้ ซึ่งการแก้ไขดังกล่าว ไม่ถือเป็นการผิดเงื่อนไขของการประกวดราคาและไม่มีผู้เสนอราคาประมูลรายใดทำการทักท้วงแต่อย่างใดทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้น ฝ่ายบริหารของบทม.ได้เข้าชี้แจงตอบข้อสงสัยของป.ป.ช.จนเป็นที่น่าพอใจแล้วหลังจากที่ สตง.ได้ยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 46 ที่ผ่านมาโดยเนื้อหาในหนังสือระบุถึงรายละเอียดว่า พฤติการณ์การออกแบบรูปและรายการคุณลักษณะเฉพาะของบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียร์ส คอนซัลแตนต์ส จำกัดผู้รับจ้างออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและ เครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า มีลักษณะเปิดไม่กว้าง เป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น วัสดุหลักในการก่อสร้าง อันอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างในราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็นนอกจากนี้คณะกรรมการบทม.รู้ว่าการเสนอราคาดังกล่าว กระทำความผิด ตามพ.ร.บ. เนื่องจากสตง.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ไม่ดำเนินเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนิน การเกี่ยวกับการเสนอราคาแต่กลับอนุมัติ รวมถึงการอนุมัติให้รองประธานกรรมการ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นผู้ลงนามใน สัญญากับกลุ่มบริษัทดังกล่าวต่อไป พฤติการณ์จึงน่าเชื่อว่าเข้าข่ายกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พศ.2542
ล่าสุดนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย(สตง.)เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ส่งหนังสือชี้แจงกลับมายังแล้ว และทางสตง.กำลังตรวจสอบว่า คำชี้แจงที่ส่งมานั้น มีน้ำหนัก และรับฟังได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หากสตง.มีการพิจารณาแล้วว่ามีการทุจริตจริงจะให้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปง.)เข้าไปไต่สวนหาข้อเท็จจริงต่อไป โดยขณะนี้ทาง สตง. ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวไปยังปปง.แล้ว อีกโครงการหนึ่งที่มีกสารหยิบยกมาเป็นตัวอย่างคือโครงการประมูลก่อสร้างโรงแรมสุวรรณภูมิมูลค่า 2,144 ล้านบาท ด้วยวิธการพิเศษ โดยไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของโครงการมีการเร่งรัดประมูลโดยอ้างว่าจะต้องให้ทันกับการเปิดใช้สนามบิน ทั้งที่ความจำเป็นของโรงแรมสนามบินในระยะเริ่มต้นนั้นไม่มีอีกหลายโครงการที่ กลุ่มอิตาเลียนไทย ได้รับชัยชนะ ทำให้ผลประกอบการของอิตาเลียนไทยที่ขาดทุนอยู่หลายพันล้านบาท ในปี 2542-2544 กลีบมามีกำไรถึงกว่า 6 พันล้านบาทในปี 2545 และกว่า 9 ร้อยล้านบาทในปี 2546
เมื่อมาดูผู้ถือหุ้นพบบริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) พบว่ามีชื่อหลานชายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ คือนายทวีฉัตร จุฬางกูร ถือหุ้นอย่าในบริษัทดังกล่าวถึง 2 ล้านหุ้น นายทวีฉัตร คือบุคคลคนเดียวกันที่ได้รับการจัดสรรหุ้นบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ซึ่งกระจายหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 มากที่สุดในสัดส่วนของบุคคลธรรมดา คือ 2.2 ล้านหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้นครั้งนั้นทำให้ประชาชนที่เข้าคิวขอซื้อหุ้นนั้นต่างผิดหวังเพราะมีญาติพี่น้องของนักการเมืองได้หุ้นจำนวนมหาศาลและการกระจายหุ้นครั้งนั้นเกิดขึ้นสมัยที่นายสุริยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กำกับดูแลงานของปตท.
โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดาภิเษก-รามอินทรา ความเป็นมา
โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดาภิเษก-รามอินทรา ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ดำเนินกา รก่อสร้างโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ตามข้อเสนอแผนการลงทุนของคณะกรรมการจัดระบบการ จราจรทางบก (คจร.) อย่างไรก็ดีเนื่องจากเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และสถานะทางการเงินของประเทศไม่เอื้ออำนวยให้ในที่สุดจึงต้องชลอโครงการออกไปอย่างไม่มีกำหนดประกอบกับขณะนั้นปริมาณรถยังไม่มากและกรมทางหลวงเองระยะหลังๆ ก็ได้งบประมาณก่อสร้างแต่ละปีลดน้อยลงเรื่อยๆ การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการนี้ถูกตัดออกไป
ช่วงนั้นโครงการรัชดาภิเษก-รามอินทราเพิ่งเริ่มตั้งไข่ยังไม่มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจนออกมาว่าแนวสายทางจะพาดผ่านจุดไหนบ้าง จะมีจุดตัดบริเวณถนนพหลโยธินหรือถนนลาดพร้าว มีเพียงแนวเส้นทางคร่าวๆ ว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกแถวๆ ซอยเสือใหญ่ไปบรรจบกับถนนรามอินทรา ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตรเท่านั้นไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัด และแม้ว่าในเวลานี้กรมทางหลวงได้สั่งยกเลิกการประมูลเนื่องจากมีผู้ร่วมประมูลเพียงรายเดียว แต่ก็อยู่ในช่วงของการ เปิดประมูลใหม่อีกครั้ง
ข้อสังเกตุ
1. มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมายสำหรับการรื้อฟื้นโครงการนี้รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และ เหตุใดกรมทางหลวงจะต้องสร้าง ช่วงนวมินทร์-วงแหวนรอบนอกซึ่งอยู่ตอนกลางก่อน
2. ทำไมไม่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ช่วงแรกจุดเริ่มโครงการเกษตรฯ-นวมินทร์ก่อน
3. ในช่วงวันเวลาที่มีการอนุมัติโครงการนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะประธาน คจร.ด้วย ได้เข้าร่วมการประชุม คจร.เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 และร่วมผลักดัน จนมีมติให้บรรจุโครงการรัชดาภิเษก-รามอินทราเข้าเป็นแพ็กเกจในแผนแก้ไขปัญหาการจราจรในเขต กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน แต่กลายเป็นว่าได้อนุมัติให้ก่อสร้าง เฉพาะช่วงปลายจากทางหลวงหมายเลข 351 (เกษตรฯ-นวมินทร์) บรรจบทางหลวงหมายเลข 304 (รามอินทรา) ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท โดยในระยะแรกในปี 2547 ได้รับอนุมัติงบประมาณสำหรับใช้ในการก่อสร้างแล้วจำนวน 240 ล้านบาท
4. อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณา ไล่ดูแนวเส้นทางที่พาดผ่านไปตามจุดต่างๆที่ถนนตัดผ่านแล้ว ก็จะทราบความจริงทันที เพราะช่วงนวมินทร์-วงแหวนรอบนอกนั้นมีโครงการจัดสรรอยู่โครงการหนึ่งที่จะได้รับผลประโยชน์เต็มที่ คือ โครงการบ้านไอที "บางกอก บูเลอวาร์ด" ของ บริษัทเอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น ในเครือชินวัตร ซึ่งจะอยู่ซ้ายมือหากเดินทางจากนวมินทร์ไป ด้านหน้าห่างจากวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกประมาณ 30 เมตร โดยแนวสายทาง จะตัดผ่านรั้วด้านข้างโครงการพอดิบพอดีเหมือนกับมีใครไปจับวางไว้
5. หากไม่มีโครงการนี้ตัดผ่าน แม้ว่าจะมีเส้นทางอื่นเข้าออกหมู่บ้าน แต่ค่อนข้างจะยุ่งยากในการเดินทาง โดยจะต้องวิ่งไปทางรามอินทราไปวงแหวนรอบนอกเข้าถนนเสรีไทยแล้วยูเทิร์นกลับ แต่เมื่อโครงการนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถวิ่งจากเกษตรฯ- นวมินทร์ตรงไปและเลี้ยวเข้าโครงการได้เลยไม่ต้องเดินทางอ้อมได้รับความสะดวกมากขึ้น
6. โดยในเวลาต่อมา นายสุรเธียร จักทรานนท์ กรรมการอำนวย บริษัทเอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับในระหว่างให้สัมภาษณ์ กับ “ฐานเศรษฐกิจ”ฉบับวันที่ 27-30 ก.ค.2547 ว่า ถนนเส้นนี้จะเป็นการเปิดหน้าดินที่ดินโครงการบางกอกบลูเลอวาร์ด หรือโครงการ "I home" ที่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณกว่า 300 ไร่ โดยยอมรับว่า "ถนนสายนี้จะเพิ่มศักยภาพของโครงการนี้ทันที่ เพราะถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา จะตัดผ่านที่ดินเป็นทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร เชื่อว่า ถนนสายนี้จะเป็นอีกหนึ่งทำเลที่ดีของโครงการบ้านจัดสรร เพราะที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นที่ว่างเปล่า"
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน คือกลุ่มอิตาเลียนไทยที่ได้รับเหมางานทั้งวิธีพิเศษ และการประกวดราคาวิธีปกติล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่มีความ ไม่โปร่งใสในการประกวดราคาแทบทั้งสิ้น มีการพบว่า 10 โครงการในสนามบินสุวรรณภูมิ กลุ่มอิตาเลียนไทยได้คว้าชัยงานประมูล รวมมูลค่าทั้งสิ้น 65,837.43 ล้านบาทโดยได้มีการหยิบยกโครงการประหวดราคาสองโครงการทีเป็นตัวอย่างแห่งความไม่โปร่งใส คือ การประมูลท่อร้อยสายไฟฟ้าภายในสนามบินสุวรรณภูมิ (ท่าอากาศยานแห่งใหม่) มูลค่า 1,810 ล้านบาท กล่าวคือจากกรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้ตรวจสอบพบโครงการรับเหมาก่อสร้างในสังกัดกระทรวง คมนาคมหลายโครงการ เช่น โครงการท่อร้อยสายไฟของบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่(บทม.)มูลค่า 2,000ล้านบาท ส่อว่าจะทุจริตและกระทำผิดกฎหมาย ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทำให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงคมนาคม ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก
ต่อมานายสุริยะ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า บทม.ทำหนังสือชี้แจงไปยัง สตง.เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 และไม่ได้รีบเซ็นสัญญา ถ้า ป.ป.ช.จะสอบก็สอบไป อย่างไรก็ตาม ทาง บทม.ได้ชี้แจงแล้วว่าทุกอย่างโปร่งใส และได้ทำตามที่ สตง.ต้องการหมดแล้ว ถ้า บทม. ทำหนังสือชี้แจงแล้วฟังไม่ขึ้น ก็จะตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และถ้าหากพบว่าผิดจริง บทม.ก็ยินดีจะรับโทษ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้ข้อมูลให้ไปถามได้ที่ บทม."กระทั่ง (สตง.) ออกมาเผยถึงผลตรวจสอบว่า ส่อมีการทุจริต โดยการประกวดราคามีการล็อกสเปค ให้ใช้ท่อร้อยสายไฟที่มีวงแหวนโลหะ ซึ่งมีบางรายร่วมมือกับผู้ค้าวัสดุซึ่งมีสินค้าตามสเปค ถือเป็นการปิดกั้นรายอื่น โดยสตง.ได้แจ้งให้ผู้บริหาร (บทม.) ทราบ และได้แก้ไขเงื่อนไขการประกวดจริง แต่เว้นช่วงเวลาให้รายอื่นเตรียมตัวเพียง 1 วันเท่านั้น ซึ่งได้เกิดผลเสียขึ้น คือ ค่าก่อสร้างสูงขึ้น 100% คือจาก ตร.ม.ละ 300 บาท เป็น ตร.ม.ละ 600 บาท ซึ่งเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2540 โดยบริษัทที่ชนะในการประมูลคือกลุ่มไอทีดี-เอ็นซีซี จอยท์เวนเจอร์ ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท นิชิมัตสึ ในวงเงิน 1,810 ล้านบาท ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) จะชี้มูลความผิดสัปดาห์หน้า
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2546 พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่หนังสือกำหนดเงื่อนไขของ ผู้เข้าร่วมประมูลได้ระบุว่า ผู้เสนอราคาจะต้องมีการใช้ท่อร้อยสายที่เป็นระบบไตรซีล ทำให้เกิดความสับสนกับระบบระบบซีล เนื่องจากไตรซีลเป็นชื่อของผลิตภัณฑ ์ไม่ใช่ระบบของท่อ เป็นการนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าเป็นการล็อคสเปค - เอื้อประโยชน์ให้ผู้ค้าวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศบางรายพล.อ.สมชัยกล่าวอีกว่า ทางฝ่ายบริหาร ของบทม.ได้แก้ไขเงื่อนไขการประมูลก่อนเปิดซอง 1 วัน โดยได้ตัดคำว่า "ไตร" ออกมาในหนังสือกำหนดคุณสมบัติ รวมทั้งได้ขยายเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาประมูล สามารถใช้ท่อร้อยสายแบบเกลียวได้ ซึ่งการแก้ไขดังกล่าว ไม่ถือเป็นการผิดเงื่อนไขของการประกวดราคาและไม่มีผู้เสนอราคาประมูลรายใดทำการทักท้วงแต่อย่างใดทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้น ฝ่ายบริหารของบทม.ได้เข้าชี้แจงตอบข้อสงสัยของป.ป.ช.จนเป็นที่น่าพอใจแล้วหลังจากที่ สตง.ได้ยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 46 ที่ผ่านมาโดยเนื้อหาในหนังสือระบุถึงรายละเอียดว่า พฤติการณ์การออกแบบรูปและรายการคุณลักษณะเฉพาะของบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียร์ส คอนซัลแตนต์ส จำกัดผู้รับจ้างออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและ เครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า มีลักษณะเปิดไม่กว้าง เป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น วัสดุหลักในการก่อสร้าง อันอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างในราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็นนอกจากนี้คณะกรรมการบทม.รู้ว่าการเสนอราคาดังกล่าว กระทำความผิด ตามพ.ร.บ. เนื่องจากสตง.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ไม่ดำเนินเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนิน การเกี่ยวกับการเสนอราคาแต่กลับอนุมัติ รวมถึงการอนุมัติให้รองประธานกรรมการ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นผู้ลงนามใน สัญญากับกลุ่มบริษัทดังกล่าวต่อไป พฤติการณ์จึงน่าเชื่อว่าเข้าข่ายกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พศ.2542
ล่าสุดนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย(สตง.)เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ส่งหนังสือชี้แจงกลับมายังแล้ว และทางสตง.กำลังตรวจสอบว่า คำชี้แจงที่ส่งมานั้น มีน้ำหนัก และรับฟังได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หากสตง.มีการพิจารณาแล้วว่ามีการทุจริตจริงจะให้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปง.)เข้าไปไต่สวนหาข้อเท็จจริงต่อไป โดยขณะนี้ทาง สตง. ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวไปยังปปง.แล้ว อีกโครงการหนึ่งที่มีกสารหยิบยกมาเป็นตัวอย่างคือโครงการประมูลก่อสร้างโรงแรมสุวรรณภูมิมูลค่า 2,144 ล้านบาท ด้วยวิธการพิเศษ โดยไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของโครงการมีการเร่งรัดประมูลโดยอ้างว่าจะต้องให้ทันกับการเปิดใช้สนามบิน ทั้งที่ความจำเป็นของโรงแรมสนามบินในระยะเริ่มต้นนั้นไม่มีอีกหลายโครงการที่ กลุ่มอิตาเลียนไทย ได้รับชัยชนะ ทำให้ผลประกอบการของอิตาเลียนไทยที่ขาดทุนอยู่หลายพันล้านบาท ในปี 2542-2544 กลีบมามีกำไรถึงกว่า 6 พันล้านบาทในปี 2545 และกว่า 9 ร้อยล้านบาทในปี 2546
เมื่อมาดูผู้ถือหุ้นพบบริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) พบว่ามีชื่อหลานชายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ คือนายทวีฉัตร จุฬางกูร ถือหุ้นอย่าในบริษัทดังกล่าวถึง 2 ล้านหุ้น นายทวีฉัตร คือบุคคลคนเดียวกันที่ได้รับการจัดสรรหุ้นบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ซึ่งกระจายหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 มากที่สุดในสัดส่วนของบุคคลธรรมดา คือ 2.2 ล้านหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้นครั้งนั้นทำให้ประชาชนที่เข้าคิวขอซื้อหุ้นนั้นต่างผิดหวังเพราะมีญาติพี่น้องของนักการเมืองได้หุ้นจำนวนมหาศาลและการกระจายหุ้นครั้งนั้นเกิดขึ้นสมัยที่นายสุริยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กำกับดูแลงานของปตท.
โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดาภิเษก-รามอินทรา ความเป็นมา
โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดาภิเษก-รามอินทรา ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ดำเนินกา รก่อสร้างโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ตามข้อเสนอแผนการลงทุนของคณะกรรมการจัดระบบการ จราจรทางบก (คจร.) อย่างไรก็ดีเนื่องจากเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และสถานะทางการเงินของประเทศไม่เอื้ออำนวยให้ในที่สุดจึงต้องชลอโครงการออกไปอย่างไม่มีกำหนดประกอบกับขณะนั้นปริมาณรถยังไม่มากและกรมทางหลวงเองระยะหลังๆ ก็ได้งบประมาณก่อสร้างแต่ละปีลดน้อยลงเรื่อยๆ การจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการนี้ถูกตัดออกไป
ช่วงนั้นโครงการรัชดาภิเษก-รามอินทราเพิ่งเริ่มตั้งไข่ยังไม่มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจนออกมาว่าแนวสายทางจะพาดผ่านจุดไหนบ้าง จะมีจุดตัดบริเวณถนนพหลโยธินหรือถนนลาดพร้าว มีเพียงแนวเส้นทางคร่าวๆ ว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกแถวๆ ซอยเสือใหญ่ไปบรรจบกับถนนรามอินทรา ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตรเท่านั้นไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัด และแม้ว่าในเวลานี้กรมทางหลวงได้สั่งยกเลิกการประมูลเนื่องจากมีผู้ร่วมประมูลเพียงรายเดียว แต่ก็อยู่ในช่วงของการ เปิดประมูลใหม่อีกครั้ง
ข้อสังเกตุ
1. มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมายสำหรับการรื้อฟื้นโครงการนี้รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และ เหตุใดกรมทางหลวงจะต้องสร้าง ช่วงนวมินทร์-วงแหวนรอบนอกซึ่งอยู่ตอนกลางก่อน
2. ทำไมไม่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ช่วงแรกจุดเริ่มโครงการเกษตรฯ-นวมินทร์ก่อน
3. ในช่วงวันเวลาที่มีการอนุมัติโครงการนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะประธาน คจร.ด้วย ได้เข้าร่วมการประชุม คจร.เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 และร่วมผลักดัน จนมีมติให้บรรจุโครงการรัชดาภิเษก-รามอินทราเข้าเป็นแพ็กเกจในแผนแก้ไขปัญหาการจราจรในเขต กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน แต่กลายเป็นว่าได้อนุมัติให้ก่อสร้าง เฉพาะช่วงปลายจากทางหลวงหมายเลข 351 (เกษตรฯ-นวมินทร์) บรรจบทางหลวงหมายเลข 304 (รามอินทรา) ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท โดยในระยะแรกในปี 2547 ได้รับอนุมัติงบประมาณสำหรับใช้ในการก่อสร้างแล้วจำนวน 240 ล้านบาท
4. อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณา ไล่ดูแนวเส้นทางที่พาดผ่านไปตามจุดต่างๆที่ถนนตัดผ่านแล้ว ก็จะทราบความจริงทันที เพราะช่วงนวมินทร์-วงแหวนรอบนอกนั้นมีโครงการจัดสรรอยู่โครงการหนึ่งที่จะได้รับผลประโยชน์เต็มที่ คือ โครงการบ้านไอที "บางกอก บูเลอวาร์ด" ของ บริษัทเอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น ในเครือชินวัตร ซึ่งจะอยู่ซ้ายมือหากเดินทางจากนวมินทร์ไป ด้านหน้าห่างจากวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกประมาณ 30 เมตร โดยแนวสายทาง จะตัดผ่านรั้วด้านข้างโครงการพอดิบพอดีเหมือนกับมีใครไปจับวางไว้
5. หากไม่มีโครงการนี้ตัดผ่าน แม้ว่าจะมีเส้นทางอื่นเข้าออกหมู่บ้าน แต่ค่อนข้างจะยุ่งยากในการเดินทาง โดยจะต้องวิ่งไปทางรามอินทราไปวงแหวนรอบนอกเข้าถนนเสรีไทยแล้วยูเทิร์นกลับ แต่เมื่อโครงการนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถวิ่งจากเกษตรฯ- นวมินทร์ตรงไปและเลี้ยวเข้าโครงการได้เลยไม่ต้องเดินทางอ้อมได้รับความสะดวกมากขึ้น
6. โดยในเวลาต่อมา นายสุรเธียร จักทรานนท์ กรรมการอำนวย บริษัทเอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับในระหว่างให้สัมภาษณ์ กับ “ฐานเศรษฐกิจ”ฉบับวันที่ 27-30 ก.ค.2547 ว่า ถนนเส้นนี้จะเป็นการเปิดหน้าดินที่ดินโครงการบางกอกบลูเลอวาร์ด หรือโครงการ "I home" ที่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณกว่า 300 ไร่ โดยยอมรับว่า "ถนนสายนี้จะเพิ่มศักยภาพของโครงการนี้ทันที่ เพราะถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา จะตัดผ่านที่ดินเป็นทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร เชื่อว่า ถนนสายนี้จะเป็นอีกหนึ่งทำเลที่ดีของโครงการบ้านจัดสรร เพราะที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นที่ว่างเปล่า"
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-