แท็ก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สนามบินสุวรรณภูมิ
พรรคประชาธิปัตย์
วิทยา แก้วภราดัย
ท่าอากาศยานไทย
บางกอกแอร์เวย์
ประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม
โดย นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
ข้อพิรุธครัวการบิน-คลังสินค้าสนามบินสุวรรณภูมิ ทำไมต้องบางกอกแอร์เวย์
โครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวงเงินลงทุนเกินกว่าหนึ่งพันล้านบาท โดยบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)หรือทอท.ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้ให้เอกชนเข้าดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ด้วยวิธีการการคัดเลือกตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 การคัดเลือกเอกชนจึงเริ่มเมื่อประมาณต้นปี 2546 ทอท.ได้มีคำสั่งทอท.ที่ 67/2546 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในโครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ ในการคัดเลือกเอกชนครั้งนี้มีผู้เสนอราคา 3 ราย และพบว่าทั้ง 3 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม ทีโออาร์ คณะกรรมการคัดเลือกฯได้ให้คะแนนทางเทคนิค ที่มีค่าถึง 80% ปรากฏว่า บริษัท เกท กูเม่ท์ มีคะแนนนำมาเป็นอันดับที่ 1 ส่วนบริษัท Sky Chefs-SaimFlight Services Joint Venture และบริษัท Bangkok Air Catering Joint Venture(ที่มีกลุ่ม บางกอกแอร์เวย์ส เป็นแกนนำ)มีคะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับแต่งานนี้กลับพบว่า ผู้ที่ชนะคะแนนทางด้านเทคนิคอันดับหนึ่งคือ เกท กูเม่ท์ ตกรอบไปเมื่อมีการเปิดซองข้อเสนอทางราคา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2546 โดยพบว่า บริษัท BangkokAir Catering Joint Venture เสนอราคามาสูงที่สุดถึง 116 ล้านบาท สูงกว่าอีก 2 บริษัทลิบลับคือ Sky Chefs-Saim Flight Services Joint Venture ซึ่งอยู่ที่อันดับ 2 เสนอราคามา 60 ล้านบาท ขณะที่ เกท กูเม่ท์ อยู่ในอันดับสุดท้าย ซึ่งเสนอราคามาต่ำที่สุดในราคาเพียง 50 ล้านบาท ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงให้ 2 บริษัท คือ Bangkok Air Catering Joint Venture กับบริษัท Sky Chefs-Saim Flight Services Joint Venture เป็นผู้ได้สิทธิ์ในการประกอบการโครงการครัวการบิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตามในการประมูลครั้งนี้มีข้อพิรุธมากมากมาย เช่น
1. ข้อมูลด้านคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการคัดเลือกรายหนึ่ง(กลุ่มบางกอกแอร์เวย์) ได้ใช้ประสบการณ์ของพันธมิตร ที่เคยเป็นผู้ประกอบการครัวการบินในท่าอากาศยานนานาชาติเสิ่นหยาง มณฑลซีอานประเทศจีนให้คณะกรรมการคัดเลือกเท่านั้นไม่ได้ใช้ประสบการณ์ของตัวเองเสนอให้พิจารณา และในที่สุดก็ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติ
2 .การตรวจสอบข้อมูลเรื่องจำนวนชุดอาหารที่ให้บริการซึ่งไม่สอดคล้องกับกับจำนวนผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานซีอาน ซึ่งแทนที่คณะกรรมการตรวจสอบจะตรวจสอบจากสายการบินอื่นๆหรือสายการบินที่เป็นลูกค้าก็กลับไม่ดำเนินการ กลับไปรับรองเอกสารยืนยันจากท่าอากาศยานซีอานฝ่ายเดียว
3. ข้อพิรุธที่สำคัญก็คือการที่ ทอท.ยืนยันว่าได้รับเอกสารยืนยันจากท่าอากาศยานซีอานซึ่งรับรองความถูกต้องด้านข้อมูลของบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกนั้น จากการตรวจสอบมีข้อมูลปรากฎว่าท่าอากาศยานเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 45 % (ครัวการบินที่ซีอาน) ซึ่งการรับรองความถูกต้องของข้องมูลเอกสารของ ทอท.ถือว่าไม่น่าเชื่อถือและมีพิรุธ และที่สำคัญเป็นการตรวจสอบหรือรับฟังข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น
4 .การพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มบางกอกร์แคเทอริ่งฯที่เสนอราคาสูงสุดถึง 116 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าผู้เสนอราคารายอื่นต่างกันกว่าเท่าตัวเช่น 60 ล้านบาทและ 50 ล้านบาทตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าได้มีการมองข้ามข้อเสนอด้านเทคนิค (เพราะผู้ที่ได้คะแนนด้านเทคนิคอันดับ 1 กลับไม่ได้รับการพิจารณา)
5. การเสนอราคาให้ผลตอบแทนจำนวน 116 ล้านบาท ถือว่าเป็นการเสนอราคาที่สูงเกินปกติหรือไม่ โดยทิ้งห่างผู้เสนอราคารายอื่นลิบลับ หากพิจารณาจากศักยภาพและคุณสมบัติของกลุ่มบริษัทนี้ชนะการประมูลให้บริหารครัวการบิน
ประมูลคลังสินค้าสนามบินสุวรรณภูมิไม่โปร่งใส?
การประมูลโครงการคลังสินค้าแห่งที่ 2 และโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุงในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อรองรับสนามบินกรุงเทพสากลแห่งที่สองหรือสนามบินสุวรรณภูมิที่มีกำหนจะเปิดใช้ในเดือนกันยายน 2548 อย่างไรก็ตามในการประมูลดังกล่าวมีการร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใส ก่อนที่มีการประกาศให้ กลุ่ม WFS-PG CARGO JOINT VENTURE ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หรือสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส และ WORLDWIDE FLIGHT SERVICE HOLDING S.A. เป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 แต่การประกวดราคาหรือการประมูลในครั้งมีความพิลึกพิลั่นเกิดขึ้นมากมาย และที่ผิดสังเกตก็คือบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) (ทอท.) ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 28.5%คือ บริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิส จำกัด หรือแท็กส์ กลับต้องพ่ายแพ้การประมูลอย่างไม่น่าเชื่อ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้อย่ามองไปว่าเป็นการประมูลที่โปร่งใสเพราะแม้แต่บริษัทที่ทอท.ถือหุ้นใหญ่ก็ยังไม่ชนะการประมูลหาได้ไม่ เพราะในการประมูลครั้งนี้กลุ่มที่ชนะการประมูลคือ WFS-PG CARGO JOINT VENTURE อันประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หรือสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส และ WORLDWIDE FLIGHT SERVICE HOLDING S.A. นั้นมีข้อร้องเรียนและมีข้อพิรุธมากมาย เพราะในกลุ่มที่ชนะการประมูลในครั้งนี้มี กลุ่มบริษัทจากฝรั่งเศสคือ บริษัทเวิลด์ไวด์ ไฟลต์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งถือเป็นเอกชนรายแรกจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นบริษัทของต่างชาติที่ได้เข้าร่วมบริหารโครงการในสนามบินแห่งนี้โดยตัดสิทธิ์บริษัทที่บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด(มหาชน) หรือ ทอท.ถือหุ้นใหญ่ออกไป นอกเหนือจากสิ่งที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือ ในการประมูลครั้งนี้กลุ่มที่ชนะการประมูล (กลุ่มWFS-PG CARGO JOINT VENTURE ที่มีบริษัทการบินกรุงเทพหรือบางกอกแอร์เวย์ร่วมอยู่ด้วยไม่ได้เป็นผู้เสนอผลตอบแทนให้กับรัฐสูงสุด โดยกลุ่มที่เสนอราคามากกว่าคือกลุ่มแท็กส์ ที่มีทอท.ถือหุ้นใหญ่กลับไม่ได้รับความสนใจจากคณะกรรมการแม้แต่น้อยขณะเดียวกันยังมีประเด็นที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งหาก พิจารณาจากหนังสือที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการพิจารณาเอกชนเข้าร่วมดำเนินการในโครงการคลังสินค้าและโครงการอุปกรณ์ภาคพื้นดินและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง ก็คือ กลุ่ม WFS-PG ยื่นข้อเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดทีโออาร์ นอกเหนือจากนี้ในการประมูลครั้งนี้ กลุ่ม WFS-PG ยังยื่นข้อเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดในทีโออาร์เช่นกัน ข้อที่เป็นพิรุธอีกข้อหนึ่งก็คือ แม้ว่าทาง สตง.ได้ทำหนังสือให้มีการทำหนังสือชี้แจงการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 28 มกราคม 2547 แต่เวลาได้ผ่านไปเป็นเวลานานแล้วปรากฎว่า ทางสตง.ก็ยังไม่ได้รับหนังสือชี้แจงแต่อย่างใด และถ้าพิจารณาถึงเหตุผลเชื่อมโยงย้อนหลังแล้วก็จะพบถึงความไม่ชอบมาพากลในการประมูลครัวการบินซึ่งกลุ่มบริษัทบางกอกแอร์เวย์ถูกร้องเรียนความไม่โปรงใสในทำนองเดียวกันนนี้มากแล้ว และเรื่องก็ถูกสตง.ตรวจสอบความไม่โปร่งใสเช่นกัน
ลำดับเหตุการณ์
8 ก.ย.2546 เปิดให้ยื่นซองประกวดราคา โดยมี 4 กลุ่มบริษัทเข้าร่วมแข่งขัน
9 ก.พ.2547 เวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส (WFS)และบางกอก แอร์เวย์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานคลังสินค้า ท่ามกลางการร้องเรียนในเรื่องของความไม่โปร่งใสโดยเฉพาะจากกลุ่มแท็กส์ ที่เข้าร่วมประมูลด้วยร้องขอความเป็นธรรม
9 ก.พ. 2547 (วันเดียวกัน) บริษัทเวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส (WFS)และบางกอก แอร์เวย์ได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญาในการดำเนินงานของสองสัมปทานดังกล่าว ซึ่งจะมีอายุในสัญญา 20 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันเปิดบริการสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งได้รับการกำหนดไว้ในวันที่ 29 กันยายน 2548
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
โดย นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
ข้อพิรุธครัวการบิน-คลังสินค้าสนามบินสุวรรณภูมิ ทำไมต้องบางกอกแอร์เวย์
โครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวงเงินลงทุนเกินกว่าหนึ่งพันล้านบาท โดยบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)หรือทอท.ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้ให้เอกชนเข้าดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ด้วยวิธีการการคัดเลือกตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 การคัดเลือกเอกชนจึงเริ่มเมื่อประมาณต้นปี 2546 ทอท.ได้มีคำสั่งทอท.ที่ 67/2546 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในโครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ ในการคัดเลือกเอกชนครั้งนี้มีผู้เสนอราคา 3 ราย และพบว่าทั้ง 3 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม ทีโออาร์ คณะกรรมการคัดเลือกฯได้ให้คะแนนทางเทคนิค ที่มีค่าถึง 80% ปรากฏว่า บริษัท เกท กูเม่ท์ มีคะแนนนำมาเป็นอันดับที่ 1 ส่วนบริษัท Sky Chefs-SaimFlight Services Joint Venture และบริษัท Bangkok Air Catering Joint Venture(ที่มีกลุ่ม บางกอกแอร์เวย์ส เป็นแกนนำ)มีคะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับแต่งานนี้กลับพบว่า ผู้ที่ชนะคะแนนทางด้านเทคนิคอันดับหนึ่งคือ เกท กูเม่ท์ ตกรอบไปเมื่อมีการเปิดซองข้อเสนอทางราคา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2546 โดยพบว่า บริษัท BangkokAir Catering Joint Venture เสนอราคามาสูงที่สุดถึง 116 ล้านบาท สูงกว่าอีก 2 บริษัทลิบลับคือ Sky Chefs-Saim Flight Services Joint Venture ซึ่งอยู่ที่อันดับ 2 เสนอราคามา 60 ล้านบาท ขณะที่ เกท กูเม่ท์ อยู่ในอันดับสุดท้าย ซึ่งเสนอราคามาต่ำที่สุดในราคาเพียง 50 ล้านบาท ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงให้ 2 บริษัท คือ Bangkok Air Catering Joint Venture กับบริษัท Sky Chefs-Saim Flight Services Joint Venture เป็นผู้ได้สิทธิ์ในการประกอบการโครงการครัวการบิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตามในการประมูลครั้งนี้มีข้อพิรุธมากมากมาย เช่น
1. ข้อมูลด้านคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการคัดเลือกรายหนึ่ง(กลุ่มบางกอกแอร์เวย์) ได้ใช้ประสบการณ์ของพันธมิตร ที่เคยเป็นผู้ประกอบการครัวการบินในท่าอากาศยานนานาชาติเสิ่นหยาง มณฑลซีอานประเทศจีนให้คณะกรรมการคัดเลือกเท่านั้นไม่ได้ใช้ประสบการณ์ของตัวเองเสนอให้พิจารณา และในที่สุดก็ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติ
2 .การตรวจสอบข้อมูลเรื่องจำนวนชุดอาหารที่ให้บริการซึ่งไม่สอดคล้องกับกับจำนวนผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานซีอาน ซึ่งแทนที่คณะกรรมการตรวจสอบจะตรวจสอบจากสายการบินอื่นๆหรือสายการบินที่เป็นลูกค้าก็กลับไม่ดำเนินการ กลับไปรับรองเอกสารยืนยันจากท่าอากาศยานซีอานฝ่ายเดียว
3. ข้อพิรุธที่สำคัญก็คือการที่ ทอท.ยืนยันว่าได้รับเอกสารยืนยันจากท่าอากาศยานซีอานซึ่งรับรองความถูกต้องด้านข้อมูลของบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกนั้น จากการตรวจสอบมีข้อมูลปรากฎว่าท่าอากาศยานเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 45 % (ครัวการบินที่ซีอาน) ซึ่งการรับรองความถูกต้องของข้องมูลเอกสารของ ทอท.ถือว่าไม่น่าเชื่อถือและมีพิรุธ และที่สำคัญเป็นการตรวจสอบหรือรับฟังข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น
4 .การพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มบางกอกร์แคเทอริ่งฯที่เสนอราคาสูงสุดถึง 116 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าผู้เสนอราคารายอื่นต่างกันกว่าเท่าตัวเช่น 60 ล้านบาทและ 50 ล้านบาทตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าได้มีการมองข้ามข้อเสนอด้านเทคนิค (เพราะผู้ที่ได้คะแนนด้านเทคนิคอันดับ 1 กลับไม่ได้รับการพิจารณา)
5. การเสนอราคาให้ผลตอบแทนจำนวน 116 ล้านบาท ถือว่าเป็นการเสนอราคาที่สูงเกินปกติหรือไม่ โดยทิ้งห่างผู้เสนอราคารายอื่นลิบลับ หากพิจารณาจากศักยภาพและคุณสมบัติของกลุ่มบริษัทนี้ชนะการประมูลให้บริหารครัวการบิน
ประมูลคลังสินค้าสนามบินสุวรรณภูมิไม่โปร่งใส?
การประมูลโครงการคลังสินค้าแห่งที่ 2 และโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุงในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อรองรับสนามบินกรุงเทพสากลแห่งที่สองหรือสนามบินสุวรรณภูมิที่มีกำหนจะเปิดใช้ในเดือนกันยายน 2548 อย่างไรก็ตามในการประมูลดังกล่าวมีการร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใส ก่อนที่มีการประกาศให้ กลุ่ม WFS-PG CARGO JOINT VENTURE ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หรือสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส และ WORLDWIDE FLIGHT SERVICE HOLDING S.A. เป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 แต่การประกวดราคาหรือการประมูลในครั้งมีความพิลึกพิลั่นเกิดขึ้นมากมาย และที่ผิดสังเกตก็คือบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) (ทอท.) ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 28.5%คือ บริษัทไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอร์วิส จำกัด หรือแท็กส์ กลับต้องพ่ายแพ้การประมูลอย่างไม่น่าเชื่อ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้อย่ามองไปว่าเป็นการประมูลที่โปร่งใสเพราะแม้แต่บริษัทที่ทอท.ถือหุ้นใหญ่ก็ยังไม่ชนะการประมูลหาได้ไม่ เพราะในการประมูลครั้งนี้กลุ่มที่ชนะการประมูลคือ WFS-PG CARGO JOINT VENTURE อันประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หรือสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส และ WORLDWIDE FLIGHT SERVICE HOLDING S.A. นั้นมีข้อร้องเรียนและมีข้อพิรุธมากมาย เพราะในกลุ่มที่ชนะการประมูลในครั้งนี้มี กลุ่มบริษัทจากฝรั่งเศสคือ บริษัทเวิลด์ไวด์ ไฟลต์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งถือเป็นเอกชนรายแรกจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นบริษัทของต่างชาติที่ได้เข้าร่วมบริหารโครงการในสนามบินแห่งนี้โดยตัดสิทธิ์บริษัทที่บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด(มหาชน) หรือ ทอท.ถือหุ้นใหญ่ออกไป นอกเหนือจากสิ่งที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือ ในการประมูลครั้งนี้กลุ่มที่ชนะการประมูล (กลุ่มWFS-PG CARGO JOINT VENTURE ที่มีบริษัทการบินกรุงเทพหรือบางกอกแอร์เวย์ร่วมอยู่ด้วยไม่ได้เป็นผู้เสนอผลตอบแทนให้กับรัฐสูงสุด โดยกลุ่มที่เสนอราคามากกว่าคือกลุ่มแท็กส์ ที่มีทอท.ถือหุ้นใหญ่กลับไม่ได้รับความสนใจจากคณะกรรมการแม้แต่น้อยขณะเดียวกันยังมีประเด็นที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งหาก พิจารณาจากหนังสือที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการพิจารณาเอกชนเข้าร่วมดำเนินการในโครงการคลังสินค้าและโครงการอุปกรณ์ภาคพื้นดินและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง ก็คือ กลุ่ม WFS-PG ยื่นข้อเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดทีโออาร์ นอกเหนือจากนี้ในการประมูลครั้งนี้ กลุ่ม WFS-PG ยังยื่นข้อเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดในทีโออาร์เช่นกัน ข้อที่เป็นพิรุธอีกข้อหนึ่งก็คือ แม้ว่าทาง สตง.ได้ทำหนังสือให้มีการทำหนังสือชี้แจงการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 28 มกราคม 2547 แต่เวลาได้ผ่านไปเป็นเวลานานแล้วปรากฎว่า ทางสตง.ก็ยังไม่ได้รับหนังสือชี้แจงแต่อย่างใด และถ้าพิจารณาถึงเหตุผลเชื่อมโยงย้อนหลังแล้วก็จะพบถึงความไม่ชอบมาพากลในการประมูลครัวการบินซึ่งกลุ่มบริษัทบางกอกแอร์เวย์ถูกร้องเรียนความไม่โปรงใสในทำนองเดียวกันนนี้มากแล้ว และเรื่องก็ถูกสตง.ตรวจสอบความไม่โปร่งใสเช่นกัน
ลำดับเหตุการณ์
8 ก.ย.2546 เปิดให้ยื่นซองประกวดราคา โดยมี 4 กลุ่มบริษัทเข้าร่วมแข่งขัน
9 ก.พ.2547 เวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส (WFS)และบางกอก แอร์เวย์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานคลังสินค้า ท่ามกลางการร้องเรียนในเรื่องของความไม่โปร่งใสโดยเฉพาะจากกลุ่มแท็กส์ ที่เข้าร่วมประมูลด้วยร้องขอความเป็นธรรม
9 ก.พ. 2547 (วันเดียวกัน) บริษัทเวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส (WFS)และบางกอก แอร์เวย์ได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญาในการดำเนินงานของสองสัมปทานดังกล่าว ซึ่งจะมีอายุในสัญญา 20 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันเปิดบริการสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งได้รับการกำหนดไว้ในวันที่ 29 กันยายน 2548
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-