ประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม
โดย นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
แอร์เอเชีย
บ.ไทยแอร์เอเชียเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน)กับบริษัทAirAsiaSdnBhdซึ่งเป็นผู้ประกอบการสายการบินราคาประหยัดของประเทศมาเลเซีย ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท ชิน คอร์ป และกลุ่มบริษัท Air Asia Sdn Bhd ในสัดส่วน ร้อยละ 50 และ 49 ตามลำดับ แอร์เอเชีย เปิดตัวบินครั้งแรก เพื่อพาคณะผู้สื่อข่าว ขึ้นลัก ฟ้าเมื่อวันที่ 2 ก.พ.2546 โดยมีนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอ เรชั่น จำกัด และนายทัศพลแบเลเว็ลด์ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารบริษัทไทย แอร์เอเชีย ให้การต้อน รับ สำหรับกำหนดการเดินทางครั้งนี้ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737-300 จำนวน 148 ที่นั่ง ในเที่ยวบิน เอฟดี 7884 เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กำหนดออกจากกรุงเทพฯ เวลา 10.30 น. ภายหลังจากเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า ได้เพียง 20 นาที นาวาอากาศเอกนเรศ งามปลั่ง ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทไทย แอร์เอเชีย ในฐานะกัปตันประจำเครื่องบิน แจ้งให้ผู้โดยสารภายในเครื่องว่าเครื่องบินจำเป็นต้องเดินทางกลับสนามบินดอนเมือง เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิค สร้างความหวาดเสียวให้คณะเดินทางเป็นอย่างมาก
ความไม่ชอบมาพากล
1.กลืนน้ำลายรักชาติ ให้สิทธิ์ต่างด้าวถือหุ้นกิจการการบินในไทย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม สั่ง ให้กรมขนส่งทางอากาศ ศึกษาในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบ โดยเฉพาะสัดส่วนการถือหุ้นของสายการบินต่างชาติที่จะเข้ามาดำเนิน การ เพราะกระทรวงคมนาคมไม่มีนโยบายให้ต่างชาติถือหุ้นทั้ง 100% แต่จะมีการแก้ไขประกาศเป็นกฎกระทรวงให้ยึดตามพ.ร.บ.การถือหุ้นต่างด้าวของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง กำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% กรมการขนส่งทางอากาศมีระเบียบ เรื่องการถือหุ้นของต่างชาติมาตั้งแต่ช่วง ที่ยังเป็นกรมการบินพาณิชย์ ซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 30% ในอดีตนั้นไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากนัก การแก้ไขประเด็นนี้ไม่จำเป็นต้องให้ครม.อนุมัติแต่แก้ไขเป็นกฎกระทรวง และยึดตามพ.ร.บ.กระทรวงพาณิชย์ได้เลย
2.แอร์เอเชียยื่นขอเสนอขอชักดาบทอท.ค่าใช้บริการ3ปี
นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการ (บอร์ด)ทอท. เมื่อวันที่30 กันยายน ว่า ได้รับการติดต่อจากสายการบินแอร์เอเชีย ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีความสนใจที่จะเข้าจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ในประเทศไทย โดยขอให้ทอท.ยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการจอดอากาศยาน (Landing) และค่าเช่าพื้นที่สำนักงานที่สนามบินดอนเมืองเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยให้เหตุผลว่าค่าโดยสารของสายการบิน ต้นทุนต่ำไม่สูงจึงจำเป็นจะต้องลดต้นทุนลง
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะทำให้กระทบกับธุรกิจของสายการบินอื่น ซึ่งเกิดความไม่เป็นธรรมโดยเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ นางสุพัตรา มีสวรรค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายแผนงานและการเงิน ทอท. รับไปดำเนินการทั้งนี้ได้ให้หลักการเบื้องต้นในการเจรจากับสาย การบินแอร์เอเชีย โดยการให้ค่า Landing ฟรี ในเส้นทางหลักๆ เช่น กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์-เชียงใหม่ หรือภูเก็ต คงเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นเส้นที่มีจำนวน ผู้โดยสารและสายการบินหลายแห่งมาลงเป็นหลักอย ู่แล้วจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านราคากันมากไป แต่หากเป็นเส้นทางบุกเบิกใหม่และยังไม่มีสายการบินใดมาลง เช่น กัวลาลัมเปอร์-ขอนแก่น การละเว้นก อาจทำได้ เพราะจะส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทย หรืออาจละเว้นการจัดเก็บในบางเที่ยวบิน เช่น ใน 1 สัปดาห์ อาจจัดเก็บ 3 เที่ยวบินแรกในราคาเต็ม ที่เหลือทอท.จะละเว้นการจัดเก็บ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจา
3. สั่งแก้ระเบียบ ลดค่าตั๋ว-สนามบิน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ปลายเดือน ธ.ค.นี้จะเสนอยกเลิกการกำหนดอัตรา ค่าโดยสารขั้นต่ำที่ปัจจุบันกำหนดอัตราต่ำสุดที่ 3.80 บาทต่อกิโลเมตร โดยอ้างว่า สาเหตุที่เสนอให้ยกเลิกไม่ใช่เพราะต้องการเอื้อประโยชน์ให้สาย การบินใดสายการบินหนึ่ง แต่ต้อง การให้สายการบินเอกชนเกิดการแข่งขันกัน ในด้านราคาและบริการให้มากขึ้น หากมีการแข่งขันผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะตกอยู่ที่ผู้โดยสาร หรือประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์การประชุม คณะกรรมการ ทอท.เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2546 ที่นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หลังการประชุมคณะกรรมการ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้ ทอท.สนับสนุนบริษัท แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (Air Asia Aviation) หรือ AAA ซึ่งจะเข้ามาดำเนิน ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ โดย ทอท.จะจัดหลุมจอดที่จะทำให้สายการบินต้นทุนต่ำสามารถขนถ่ายผู้โดยสารได้สะดวกและรวดเร็วนอกจากนั้นที่ประชุมยังอนุมัติให้แก้ไขข้อบังคับทอท.ว่าด้วยอัตราค่าภาระการใช้ท่าอากาศยาน ทรัพย์สิน บริการ และความสะดวกต่างๆ ในกิจการของ ทอท. สำหรับท่าอากาศยานกรุงเทพ และข้อบังคับ ว่าด้วยอัตราค่าภาระการใช้ทรัพย์สินบริการ และความสะดวกต่าง ๆ ในกิจการของ ทอท. สำหรับท่าอากาศยานภูมิภาค เรื่องค่าบริการใช้สะพานเทียบเครื่องบิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ไม่เกิน40นาทีคิดค่าบริการเหลือครึ่งเดียว ส่วนรายละเอียดค่าบริการใช้สะพานเทียบเครื่องบินที่ขออนุมัติ ประกอบด้วย
1.เครื่องบินแบบโบอิง 707,727,737,757 เครื่องบินดีซี 8,9,ไอแอล 62 เครื่องบินแอร์บัส 320 และเครื่องบินคองคอร์ด จัดเก็บในอัตรา 1,800 บาท
2.เครื่องบินแบบโบอิง 767, แอล 1011 เครื่องบินแอร์บัส เอ 300, เอ310, เอ330, เอ340 เครื่องบินดีซี 10 เครื่องบินเอ็มดี-11 และเครื่องบินไอแอล 86 จัดเก็บในอัตรา 2,500 บาท และ
3.เครื่องบินโบอิง 747 จัดเก็บในอัตรา 3,500 บาท การจอดเทียบ 1 ครั้ง หากใช้สะพานเทียบเครื่องบินไม่เกิน 1 ชั่วโมง 15 นาที ถ้าเกินกว่านี้ให้คิดค่าบริการเพิ่มขึ้นครึ่ง หนึ่งของอัตราการจอดเทียบ 1 ครั้ง ทุกๆ 30 นาที โดยเศษของ 30 นาที คิดเป็น 30 นาที สำหรับการจอดเทียบ ไม่เกิน 40 นาที ให้คิดค่าบริการครึ่งหนึ่งของการจอดเทียบ 1 ครั้งนอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ คัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. แต่เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นสพ.แนวหน้า ได้สัมภาษณ์ นายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด)บริษัท ท่าอากาศยานไทย(ทอท.)แสดงความเห็นคัดค้าน ในการลดค่าธรรมเรียม ทอท.โดยบอกว่ากระทรวงคมนาคม จะไม่มีนโยบายลดอัตราค่าธรรมเนียม อาทิค่าจอด ให้สำหรับสายการ บินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์ แอร์ไลน์)อย่างแน่นอนเพราะถือเป็นระเบียบที่จะต้องปฏิบัติของกระทรวงคมนาคมซึ่งจะต้องให้ความเป็นธรรมกับสายการบินเอกชนรายอื่นอย่างเท่าเทียมกันประกอบกับนโยบายของรัฐบาลกำลังผลักดันให้ท่าอากาศยานของประเทศไทยมีความเป็นสากล และศูนย์กลางการบินภูมิภาคมากขึ้น หากลดค่าธรรมเนียมให้กับสายการบินต้นทุนต่ำจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสายการบินต่างชาติได้
4.พื้นที่จอดเครื่องต้องทำเลดีใกล้อาคารผู้โดยสาร
นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ชี้แจงกระแสข่าวที่ระบุว่า สายการบินแอร์เอเชีย ยื่นข้อเสนอมายัง ทอท.เพื่อขอยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน เพราะแอร์ เอเชียไม่ได้ทำเรื่องเพื่อขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการลงจอด เพียงแต่มีการหารือถึงพื้นที่การลงจอดสำหรับเครื่องบินในบริเวณที่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งนี้หากอยู่ใกล้กับอาคารที่พักผู้โดยสารแล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าธรรมเนียมต่างๆลงได้สำหรับเรื่องการหาพื้นที่ให้กับสายการบินแอร์เอเชียนั้นทางทอท.ยินดีที่จะสนับสนุนดำเนินการให้แต่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสายการบินอื่นของไทยที่ใช้พื้นที่ของ ท่าอากาศยานดอนเมืองอยู่ก่อนหน้านี้แล้วโดยขณะนี้กำลังหารือ และศึกษาอยู่ว่าจะให้พื้นที่ในส่วนใดแก่สายการบิน แอร์ เอเชีย คาดว่าจะสามารถสรุปได้ในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้
5.ชินแอร์ อภิสิทธิ์เหนืออื่นใด ไม่ต้องจ่ายภาษี 8 ปี นับพันล้าน
นายสมพงษ์ วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) บีโอไอ. เมื่อวันที่ 26 มกราคม ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 2,484 ล้านบาท คือกิจการขนส่งทางอากาศของบริษัท แอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,120 ล้านบาท "โครงการนี้เป็นการให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เริ่มให้บริการเส้นทางบินในประเทศต้นปี 2547 ส่วนเส้นทางบินต่างประเทศจะให้บริการกลางปี 2547 ทั้งนี้บริษัทแอร์เอเซียฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่ใช้ประกอบกิจการด้วย" ทั้งนี้ บริษัทแอร์เอเซียฯ ได้ร่วมทุนกับบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งบริษัท ไทยแอร์เอเซีย จำกัด ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในไทย
6.ยื้อเปิด “นกแอร์”ให้เวลา “ชินแอร์”ทำตลาดก่อน
นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยจะถือหุ้น 39% ในสายการบินสกายเอเชียสายการบินต้นทุนต่ำที่การบินไทยจัดตั้ง ส่วนพันธมิตรในประเทศที่จะเข้าร่วมทุนได้แก่ ธนาคารกรุงไทยถือหุ้น 10%, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 10% และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด 10% ส่วนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คาดว่ามีความต้องการถือหุ้นในสัดส่วนไม่มาก ขณะที่บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กำลังรอบอร์ดอนุมัติ ส่วนต่างชาติยังไม่มีใครตกลงถือหุ้น คาดว่าในเดือน ก.พ.นี้จะได้ข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นในสกายเอเชีย แต่หากสกายเอเชียมีแผนเปิดบินเส้นทางบินในภูมิภาคเอเชียก็อาจจะเปิดทางให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจนายทนงกล่าวว่า ปัจจุบันสกายเอเชียมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท และจะเพิ่มทุนเป็น 500 ล้านบาทหลังเดือน ก.พ. และในอนาคตมีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ในเบื้องต้นบริษัทจะเปิดให้บริการอย่างน้อย 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต โดยมีเครื่องบินโบอิ้ง737-400 จำนวน 3 ลำประธานบอร์ดการบินไทยกล่าวว่า การเปิดให้บริการของสกายเอเชียจะเลื่อนออกไปเป็น 1 มิ.ย. 2547 จากที่เคยกำหนดไว้วันที่ 1 เม.ย. 2547 เพราะติดขั้นตอนราชการ โดยการบินไทยต้องได้รับอนุมัติการลงทุนในสกายเอเชียจากคณะรัฐมนตรีก่อน ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตบินกับกระทรวงคม นาคม และขอใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) "บอร์ดการบินไทยมองว่าให้เป็นสายการบินของคนไทยเหมือนการบินไทย เพียงแต่เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งผมเชื่อว่าการบินไทยกับพันธมิตรในประเทศเขาทำกันเองได้ แต่เหลือเวลา 2 เดือน เราไม่แน่ใจว่าจะเปิดได้ทัน 1 เม.ย. ทีมผู้จัดการก็บอกว่าจะเปิดได้ 1 มิ.ย. แต่ก็ไม่เป็นไร"
7.ใช้กรมประชาฯ“โฆษณาชวนเชื่อ”แอร์เอเชีย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวในรายการ นายกฯทักษิณ คุยกับประชาชน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2546 ในตอนหนึ่งว่า ยังมีเรื่องอีกหลายเรื่องที่เขาฝากมาพูดในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน รวมทั้งเรื่องของนักบินคนจนอยากเป็นนักบินจบปริญญาตรีอายุไม่เกิน 28 ทั้งผู้ชายผู้หญิงไปสมัครได้ที่กรมการบินพาณิชย์ จะให้เรียนฟรีเพราะว่ามันมีสปอนเซอร์มีการบินไทย มีบริษัทแอร์เอเชีย วิทยุการบิน มาช่วยกันเป็นสปอนเซอร์ก็ทำให้เรียนฟรี ปกติต้องเสียเงินค่าเล่าเรียน 1,500,000 บาท เรียนหนึ่งปีจบแล้วเป็นนักบินเลย "มีงานทำเพราะบริษัทที่เขาเป็นสปอนเซอร์ก็จะรับไปบิน อันนี้ถือว่าเป็นโครงการที่รัฐมนตรีวิเชษฐ์ กับรัฐมนตรีสุริยะช่วยกันทำขึ้นมา เพราะฉะนั้นพี่น้องลูกหลานคนจนคนที่ไม่มีรายได้รายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะส่งลูกทีละล้านห้ามีโอกาสแล้วครับจะรับทั้งหมด 150 คนนะครับ งวดแรกจะรับ 10 คนก่อนในเดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคมจะรับอีก 140 คน เพราะฉะนั้นก็ไปสมัครได้นะครับ ครับวันนี้ผมคงรบกวนเวลาเพราะว่าจริงๆ แล้วเหลือเรื่องอีกประมาณ 7-8 เรื่องที่จะเล่า แต่เวลาไม่พอแล้วครับ" พ.ต.ท.ทักษิณระบุอย่างไรก็ตาม พบว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2547 นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมช.คมนาคมเปิดเผยถึงการคัดเลือกผู้ที่จะได้รับทุนสนับสนุนในโครงการนักบินเอื้ออาทรว่า ที่ผ่านมามีผู้สนใจสมัครเข้าโครงการประมาณ2,000 คน ซึ่งแต่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการคัดเลือกรอบแรกเหลือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียง36คนโดยขั้นตอนต่อไปผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดจะต้องเข้าทดสอบในเรื่องเวชศาสตร์การบิน และเลือกเหลือเพียง 10 คนสรุปประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ ร.ม.ว.กระทรวงคมนาคม ในเรื่องแอร์เอเชียโดยนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิเชษฐ์กุล ส.ส.กระบี่ ข้อหา บริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ขาดจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง
- ทำลายบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) มาตลอด เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงตัวประธานบอร์ดจากตัวแทนจากกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงคมนาคม มาเป็นคนนอก โดยเฉพาะกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการที่มาจากมหาวิทยาลัยชินวัตรในปี 2546 แก้ระเบียบโดยออกกฎกระทรวงเอื้อประโยชน ์แอร์เอเซีย โดยแก้ไขกฎกระทรวงให้คนต่างด้าวที่ทำธุรกิจการบินจากเดิม 30 % เพิ่มเป็น 49% ให้สามารถทำธุรกิจสายการบินภายในประเทศ
- ใช้อำนาจให้ ทอท.ลดค่าธรรมเนียมการจอดอากาศยานเทียบเท่าการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ รวมทั้งลดค่าตั๋ว ลดค่าธรรมเนียมสนามบินหรือให้สิทธิพิเศษ (กรณีอนุญาตให้ใช้สถานที่ในท่าอากาศยานดอนเมือง) เอื้อประโยชน์แอร์เอเซีย อนุญาตให้นักบินต่างด้าว(มาเลเซีย) ซึ่งผิดกฎหมายแรงงาน หรือใช้ธงต่างชาติ(มาเลเซีย) ให้บินหรือติดบนเครื่องบินที่บินภายในประเทศได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
โดย นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
แอร์เอเชีย
บ.ไทยแอร์เอเชียเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน)กับบริษัทAirAsiaSdnBhdซึ่งเป็นผู้ประกอบการสายการบินราคาประหยัดของประเทศมาเลเซีย ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท ชิน คอร์ป และกลุ่มบริษัท Air Asia Sdn Bhd ในสัดส่วน ร้อยละ 50 และ 49 ตามลำดับ แอร์เอเชีย เปิดตัวบินครั้งแรก เพื่อพาคณะผู้สื่อข่าว ขึ้นลัก ฟ้าเมื่อวันที่ 2 ก.พ.2546 โดยมีนายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอ เรชั่น จำกัด และนายทัศพลแบเลเว็ลด์ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารบริษัทไทย แอร์เอเชีย ให้การต้อน รับ สำหรับกำหนดการเดินทางครั้งนี้ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737-300 จำนวน 148 ที่นั่ง ในเที่ยวบิน เอฟดี 7884 เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กำหนดออกจากกรุงเทพฯ เวลา 10.30 น. ภายหลังจากเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า ได้เพียง 20 นาที นาวาอากาศเอกนเรศ งามปลั่ง ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทไทย แอร์เอเชีย ในฐานะกัปตันประจำเครื่องบิน แจ้งให้ผู้โดยสารภายในเครื่องว่าเครื่องบินจำเป็นต้องเดินทางกลับสนามบินดอนเมือง เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิค สร้างความหวาดเสียวให้คณะเดินทางเป็นอย่างมาก
ความไม่ชอบมาพากล
1.กลืนน้ำลายรักชาติ ให้สิทธิ์ต่างด้าวถือหุ้นกิจการการบินในไทย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม สั่ง ให้กรมขนส่งทางอากาศ ศึกษาในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบ โดยเฉพาะสัดส่วนการถือหุ้นของสายการบินต่างชาติที่จะเข้ามาดำเนิน การ เพราะกระทรวงคมนาคมไม่มีนโยบายให้ต่างชาติถือหุ้นทั้ง 100% แต่จะมีการแก้ไขประกาศเป็นกฎกระทรวงให้ยึดตามพ.ร.บ.การถือหุ้นต่างด้าวของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง กำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 49% กรมการขนส่งทางอากาศมีระเบียบ เรื่องการถือหุ้นของต่างชาติมาตั้งแต่ช่วง ที่ยังเป็นกรมการบินพาณิชย์ ซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 30% ในอดีตนั้นไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากนัก การแก้ไขประเด็นนี้ไม่จำเป็นต้องให้ครม.อนุมัติแต่แก้ไขเป็นกฎกระทรวง และยึดตามพ.ร.บ.กระทรวงพาณิชย์ได้เลย
2.แอร์เอเชียยื่นขอเสนอขอชักดาบทอท.ค่าใช้บริการ3ปี
นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการ (บอร์ด)ทอท. เมื่อวันที่30 กันยายน ว่า ได้รับการติดต่อจากสายการบินแอร์เอเชีย ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีความสนใจที่จะเข้าจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ในประเทศไทย โดยขอให้ทอท.ยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการจอดอากาศยาน (Landing) และค่าเช่าพื้นที่สำนักงานที่สนามบินดอนเมืองเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยให้เหตุผลว่าค่าโดยสารของสายการบิน ต้นทุนต่ำไม่สูงจึงจำเป็นจะต้องลดต้นทุนลง
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะทำให้กระทบกับธุรกิจของสายการบินอื่น ซึ่งเกิดความไม่เป็นธรรมโดยเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ นางสุพัตรา มีสวรรค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายแผนงานและการเงิน ทอท. รับไปดำเนินการทั้งนี้ได้ให้หลักการเบื้องต้นในการเจรจากับสาย การบินแอร์เอเชีย โดยการให้ค่า Landing ฟรี ในเส้นทางหลักๆ เช่น กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์-เชียงใหม่ หรือภูเก็ต คงเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นเส้นที่มีจำนวน ผู้โดยสารและสายการบินหลายแห่งมาลงเป็นหลักอย ู่แล้วจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านราคากันมากไป แต่หากเป็นเส้นทางบุกเบิกใหม่และยังไม่มีสายการบินใดมาลง เช่น กัวลาลัมเปอร์-ขอนแก่น การละเว้นก อาจทำได้ เพราะจะส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทย หรืออาจละเว้นการจัดเก็บในบางเที่ยวบิน เช่น ใน 1 สัปดาห์ อาจจัดเก็บ 3 เที่ยวบินแรกในราคาเต็ม ที่เหลือทอท.จะละเว้นการจัดเก็บ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจา
3. สั่งแก้ระเบียบ ลดค่าตั๋ว-สนามบิน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ปลายเดือน ธ.ค.นี้จะเสนอยกเลิกการกำหนดอัตรา ค่าโดยสารขั้นต่ำที่ปัจจุบันกำหนดอัตราต่ำสุดที่ 3.80 บาทต่อกิโลเมตร โดยอ้างว่า สาเหตุที่เสนอให้ยกเลิกไม่ใช่เพราะต้องการเอื้อประโยชน์ให้สาย การบินใดสายการบินหนึ่ง แต่ต้อง การให้สายการบินเอกชนเกิดการแข่งขันกัน ในด้านราคาและบริการให้มากขึ้น หากมีการแข่งขันผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะตกอยู่ที่ผู้โดยสาร หรือประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์การประชุม คณะกรรมการ ทอท.เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2546 ที่นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หลังการประชุมคณะกรรมการ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้ ทอท.สนับสนุนบริษัท แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (Air Asia Aviation) หรือ AAA ซึ่งจะเข้ามาดำเนิน ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ โดย ทอท.จะจัดหลุมจอดที่จะทำให้สายการบินต้นทุนต่ำสามารถขนถ่ายผู้โดยสารได้สะดวกและรวดเร็วนอกจากนั้นที่ประชุมยังอนุมัติให้แก้ไขข้อบังคับทอท.ว่าด้วยอัตราค่าภาระการใช้ท่าอากาศยาน ทรัพย์สิน บริการ และความสะดวกต่างๆ ในกิจการของ ทอท. สำหรับท่าอากาศยานกรุงเทพ และข้อบังคับ ว่าด้วยอัตราค่าภาระการใช้ทรัพย์สินบริการ และความสะดวกต่าง ๆ ในกิจการของ ทอท. สำหรับท่าอากาศยานภูมิภาค เรื่องค่าบริการใช้สะพานเทียบเครื่องบิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ไม่เกิน40นาทีคิดค่าบริการเหลือครึ่งเดียว ส่วนรายละเอียดค่าบริการใช้สะพานเทียบเครื่องบินที่ขออนุมัติ ประกอบด้วย
1.เครื่องบินแบบโบอิง 707,727,737,757 เครื่องบินดีซี 8,9,ไอแอล 62 เครื่องบินแอร์บัส 320 และเครื่องบินคองคอร์ด จัดเก็บในอัตรา 1,800 บาท
2.เครื่องบินแบบโบอิง 767, แอล 1011 เครื่องบินแอร์บัส เอ 300, เอ310, เอ330, เอ340 เครื่องบินดีซี 10 เครื่องบินเอ็มดี-11 และเครื่องบินไอแอล 86 จัดเก็บในอัตรา 2,500 บาท และ
3.เครื่องบินโบอิง 747 จัดเก็บในอัตรา 3,500 บาท การจอดเทียบ 1 ครั้ง หากใช้สะพานเทียบเครื่องบินไม่เกิน 1 ชั่วโมง 15 นาที ถ้าเกินกว่านี้ให้คิดค่าบริการเพิ่มขึ้นครึ่ง หนึ่งของอัตราการจอดเทียบ 1 ครั้ง ทุกๆ 30 นาที โดยเศษของ 30 นาที คิดเป็น 30 นาที สำหรับการจอดเทียบ ไม่เกิน 40 นาที ให้คิดค่าบริการครึ่งหนึ่งของการจอดเทียบ 1 ครั้งนอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ คัดเลือกคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. แต่เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นสพ.แนวหน้า ได้สัมภาษณ์ นายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด)บริษัท ท่าอากาศยานไทย(ทอท.)แสดงความเห็นคัดค้าน ในการลดค่าธรรมเรียม ทอท.โดยบอกว่ากระทรวงคมนาคม จะไม่มีนโยบายลดอัตราค่าธรรมเนียม อาทิค่าจอด ให้สำหรับสายการ บินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์ แอร์ไลน์)อย่างแน่นอนเพราะถือเป็นระเบียบที่จะต้องปฏิบัติของกระทรวงคมนาคมซึ่งจะต้องให้ความเป็นธรรมกับสายการบินเอกชนรายอื่นอย่างเท่าเทียมกันประกอบกับนโยบายของรัฐบาลกำลังผลักดันให้ท่าอากาศยานของประเทศไทยมีความเป็นสากล และศูนย์กลางการบินภูมิภาคมากขึ้น หากลดค่าธรรมเนียมให้กับสายการบินต้นทุนต่ำจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสายการบินต่างชาติได้
4.พื้นที่จอดเครื่องต้องทำเลดีใกล้อาคารผู้โดยสาร
นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ชี้แจงกระแสข่าวที่ระบุว่า สายการบินแอร์เอเชีย ยื่นข้อเสนอมายัง ทอท.เพื่อขอยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน เพราะแอร์ เอเชียไม่ได้ทำเรื่องเพื่อขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการลงจอด เพียงแต่มีการหารือถึงพื้นที่การลงจอดสำหรับเครื่องบินในบริเวณที่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งนี้หากอยู่ใกล้กับอาคารที่พักผู้โดยสารแล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าธรรมเนียมต่างๆลงได้สำหรับเรื่องการหาพื้นที่ให้กับสายการบินแอร์เอเชียนั้นทางทอท.ยินดีที่จะสนับสนุนดำเนินการให้แต่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสายการบินอื่นของไทยที่ใช้พื้นที่ของ ท่าอากาศยานดอนเมืองอยู่ก่อนหน้านี้แล้วโดยขณะนี้กำลังหารือ และศึกษาอยู่ว่าจะให้พื้นที่ในส่วนใดแก่สายการบิน แอร์ เอเชีย คาดว่าจะสามารถสรุปได้ในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้
5.ชินแอร์ อภิสิทธิ์เหนืออื่นใด ไม่ต้องจ่ายภาษี 8 ปี นับพันล้าน
นายสมพงษ์ วนาภา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) บีโอไอ. เมื่อวันที่ 26 มกราคม ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 2,484 ล้านบาท คือกิจการขนส่งทางอากาศของบริษัท แอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,120 ล้านบาท "โครงการนี้เป็นการให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เริ่มให้บริการเส้นทางบินในประเทศต้นปี 2547 ส่วนเส้นทางบินต่างประเทศจะให้บริการกลางปี 2547 ทั้งนี้บริษัทแอร์เอเซียฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่ใช้ประกอบกิจการด้วย" ทั้งนี้ บริษัทแอร์เอเซียฯ ได้ร่วมทุนกับบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งบริษัท ไทยแอร์เอเซีย จำกัด ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในไทย
6.ยื้อเปิด “นกแอร์”ให้เวลา “ชินแอร์”ทำตลาดก่อน
นายทนง พิทยะ ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยจะถือหุ้น 39% ในสายการบินสกายเอเชียสายการบินต้นทุนต่ำที่การบินไทยจัดตั้ง ส่วนพันธมิตรในประเทศที่จะเข้าร่วมทุนได้แก่ ธนาคารกรุงไทยถือหุ้น 10%, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 10% และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด 10% ส่วนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คาดว่ามีความต้องการถือหุ้นในสัดส่วนไม่มาก ขณะที่บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กำลังรอบอร์ดอนุมัติ ส่วนต่างชาติยังไม่มีใครตกลงถือหุ้น คาดว่าในเดือน ก.พ.นี้จะได้ข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นในสกายเอเชีย แต่หากสกายเอเชียมีแผนเปิดบินเส้นทางบินในภูมิภาคเอเชียก็อาจจะเปิดทางให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจนายทนงกล่าวว่า ปัจจุบันสกายเอเชียมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท และจะเพิ่มทุนเป็น 500 ล้านบาทหลังเดือน ก.พ. และในอนาคตมีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ในเบื้องต้นบริษัทจะเปิดให้บริการอย่างน้อย 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ต โดยมีเครื่องบินโบอิ้ง737-400 จำนวน 3 ลำประธานบอร์ดการบินไทยกล่าวว่า การเปิดให้บริการของสกายเอเชียจะเลื่อนออกไปเป็น 1 มิ.ย. 2547 จากที่เคยกำหนดไว้วันที่ 1 เม.ย. 2547 เพราะติดขั้นตอนราชการ โดยการบินไทยต้องได้รับอนุมัติการลงทุนในสกายเอเชียจากคณะรัฐมนตรีก่อน ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตบินกับกระทรวงคม นาคม และขอใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) "บอร์ดการบินไทยมองว่าให้เป็นสายการบินของคนไทยเหมือนการบินไทย เพียงแต่เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งผมเชื่อว่าการบินไทยกับพันธมิตรในประเทศเขาทำกันเองได้ แต่เหลือเวลา 2 เดือน เราไม่แน่ใจว่าจะเปิดได้ทัน 1 เม.ย. ทีมผู้จัดการก็บอกว่าจะเปิดได้ 1 มิ.ย. แต่ก็ไม่เป็นไร"
7.ใช้กรมประชาฯ“โฆษณาชวนเชื่อ”แอร์เอเชีย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวในรายการ นายกฯทักษิณ คุยกับประชาชน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2546 ในตอนหนึ่งว่า ยังมีเรื่องอีกหลายเรื่องที่เขาฝากมาพูดในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน รวมทั้งเรื่องของนักบินคนจนอยากเป็นนักบินจบปริญญาตรีอายุไม่เกิน 28 ทั้งผู้ชายผู้หญิงไปสมัครได้ที่กรมการบินพาณิชย์ จะให้เรียนฟรีเพราะว่ามันมีสปอนเซอร์มีการบินไทย มีบริษัทแอร์เอเชีย วิทยุการบิน มาช่วยกันเป็นสปอนเซอร์ก็ทำให้เรียนฟรี ปกติต้องเสียเงินค่าเล่าเรียน 1,500,000 บาท เรียนหนึ่งปีจบแล้วเป็นนักบินเลย "มีงานทำเพราะบริษัทที่เขาเป็นสปอนเซอร์ก็จะรับไปบิน อันนี้ถือว่าเป็นโครงการที่รัฐมนตรีวิเชษฐ์ กับรัฐมนตรีสุริยะช่วยกันทำขึ้นมา เพราะฉะนั้นพี่น้องลูกหลานคนจนคนที่ไม่มีรายได้รายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะส่งลูกทีละล้านห้ามีโอกาสแล้วครับจะรับทั้งหมด 150 คนนะครับ งวดแรกจะรับ 10 คนก่อนในเดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคมจะรับอีก 140 คน เพราะฉะนั้นก็ไปสมัครได้นะครับ ครับวันนี้ผมคงรบกวนเวลาเพราะว่าจริงๆ แล้วเหลือเรื่องอีกประมาณ 7-8 เรื่องที่จะเล่า แต่เวลาไม่พอแล้วครับ" พ.ต.ท.ทักษิณระบุอย่างไรก็ตาม พบว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2547 นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมช.คมนาคมเปิดเผยถึงการคัดเลือกผู้ที่จะได้รับทุนสนับสนุนในโครงการนักบินเอื้ออาทรว่า ที่ผ่านมามีผู้สนใจสมัครเข้าโครงการประมาณ2,000 คน ซึ่งแต่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการคัดเลือกรอบแรกเหลือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียง36คนโดยขั้นตอนต่อไปผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดจะต้องเข้าทดสอบในเรื่องเวชศาสตร์การบิน และเลือกเหลือเพียง 10 คนสรุปประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ ร.ม.ว.กระทรวงคมนาคม ในเรื่องแอร์เอเชียโดยนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิเชษฐ์กุล ส.ส.กระบี่ ข้อหา บริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ขาดจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง
- ทำลายบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) มาตลอด เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงตัวประธานบอร์ดจากตัวแทนจากกระทรวงการคลัง หรือกระทรวงคมนาคม มาเป็นคนนอก โดยเฉพาะกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการที่มาจากมหาวิทยาลัยชินวัตรในปี 2546 แก้ระเบียบโดยออกกฎกระทรวงเอื้อประโยชน ์แอร์เอเซีย โดยแก้ไขกฎกระทรวงให้คนต่างด้าวที่ทำธุรกิจการบินจากเดิม 30 % เพิ่มเป็น 49% ให้สามารถทำธุรกิจสายการบินภายในประเทศ
- ใช้อำนาจให้ ทอท.ลดค่าธรรมเนียมการจอดอากาศยานเทียบเท่าการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ รวมทั้งลดค่าตั๋ว ลดค่าธรรมเนียมสนามบินหรือให้สิทธิพิเศษ (กรณีอนุญาตให้ใช้สถานที่ในท่าอากาศยานดอนเมือง) เอื้อประโยชน์แอร์เอเซีย อนุญาตให้นักบินต่างด้าว(มาเลเซีย) ซึ่งผิดกฎหมายแรงงาน หรือใช้ธงต่างชาติ(มาเลเซีย) ให้บินหรือติดบนเครื่องบินที่บินภายในประเทศได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-