สรุปประเด็นอภิปรายของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ไว้วางใจ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ร.ม.ว.คมนาคม รายละเอียด
- มีความผิดฐาน บริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพนำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ
- กล่าวหากรณีก่อสร้างทางหลวงสายแหลมฉบังบรรจบกับทางหลวง 331 ก่อความเสียหายให้กับแผ่นดินโครงการดังกล่าวครม.อนุมัติมาตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.2543 โดยบริษัทที่ชนะการประมูลคือ บริษัทกำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้างเสนอราคาต่ำสุดและต่อรองราคาเหลือเพียง 190 ล้านบาทจากราคากลาง 303 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 137 ล้านบาท แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เงินจากงบประมาณทั้งหมดจากเดิมที่ใช้เงินกู้จากธนาคารโลก ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ 1 เดือนต่อมามีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาและมีการเพิ่มสายทางจากเดิม 3 สายทางเป็น 4 สายทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็อนุมัติตามที่เสนอ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2546 ขณะเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทางบริษัทที่ชนะการประมูลบก็มีการยืนยันราคาก่อสร้างถึง 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายคือวันที่14 พ.ค. 2546 แต่ก็ยังไม่มีลงนามอนุมมัติให้ก่อสร้างจนในที่สุดเมื่อปลายปี 2546 บริษัทที่ชนะการประมูลก็ขอยกเลิกการยืนราคาและกองนิติกรกรมทางหลวงจึงเสนอให้คืนเรื่องและเจรจากับบริษัทที่เสนอราคาการประกวดต่ำกว่ารายต่อไป และจากนั้นก็มีการประมูลใหม่และได้บริษัทใหม่เป็นผู้ก่อสร้างแต่มีการเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 190 ล้านบาท เป็น กว่า 200 ล้าน ราคาเพิ่มขึ้น 105 ล้านบาท
- นายอภิสิทธิ์ อภิปรายว่า กรณีที่เกิดขึ้นทำให้การก่อสร้างทางหลวงสายแหลมฉบังบรรจบกับทางหลวง331 ทำให้ประเทศชาติต้องเสียหายทางงบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 105 ล้านาท ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องรับผิดชอบ เพราะหากเปรียบเทียบระยะเวลาในการอนุมัติโครงการก่อสร้างทางหลวงสายต่างๆทั่วประเทศปรากฎว่าส่วนใหญ่เวลาในการอนุมัติไม่เกิน 37 วัน แต่โครงการ กลับใช้เวลานานผิดปกติ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่เคยชี้แจง ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น นายสุริยะ จะต้องรับผิดชอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
- มีความผิดฐาน บริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพนำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ
- กล่าวหากรณีก่อสร้างทางหลวงสายแหลมฉบังบรรจบกับทางหลวง 331 ก่อความเสียหายให้กับแผ่นดินโครงการดังกล่าวครม.อนุมัติมาตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.2543 โดยบริษัทที่ชนะการประมูลคือ บริษัทกำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้างเสนอราคาต่ำสุดและต่อรองราคาเหลือเพียง 190 ล้านบาทจากราคากลาง 303 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 137 ล้านบาท แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เงินจากงบประมาณทั้งหมดจากเดิมที่ใช้เงินกู้จากธนาคารโลก ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ 1 เดือนต่อมามีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาและมีการเพิ่มสายทางจากเดิม 3 สายทางเป็น 4 สายทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็อนุมัติตามที่เสนอ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2546 ขณะเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทางบริษัทที่ชนะการประมูลบก็มีการยืนยันราคาก่อสร้างถึง 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายคือวันที่14 พ.ค. 2546 แต่ก็ยังไม่มีลงนามอนุมมัติให้ก่อสร้างจนในที่สุดเมื่อปลายปี 2546 บริษัทที่ชนะการประมูลก็ขอยกเลิกการยืนราคาและกองนิติกรกรมทางหลวงจึงเสนอให้คืนเรื่องและเจรจากับบริษัทที่เสนอราคาการประกวดต่ำกว่ารายต่อไป และจากนั้นก็มีการประมูลใหม่และได้บริษัทใหม่เป็นผู้ก่อสร้างแต่มีการเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 190 ล้านบาท เป็น กว่า 200 ล้าน ราคาเพิ่มขึ้น 105 ล้านบาท
- นายอภิสิทธิ์ อภิปรายว่า กรณีที่เกิดขึ้นทำให้การก่อสร้างทางหลวงสายแหลมฉบังบรรจบกับทางหลวง331 ทำให้ประเทศชาติต้องเสียหายทางงบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 105 ล้านาท ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต้องรับผิดชอบ เพราะหากเปรียบเทียบระยะเวลาในการอนุมัติโครงการก่อสร้างทางหลวงสายต่างๆทั่วประเทศปรากฎว่าส่วนใหญ่เวลาในการอนุมัติไม่เกิน 37 วัน แต่โครงการ กลับใช้เวลานานผิดปกติ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่เคยชี้แจง ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น นายสุริยะ จะต้องรับผิดชอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-