นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) เปิดเผยว่า ภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในด้านการลงทุนของประเทศจีนขณะนี้ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการต่างๆ อาทิ การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 และเจ้าภาพในการจัดงาน World Expo 2010 เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วเกินไป จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลจีนต้องหามาตรการในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจีนที่เกิดขึ้น คาดว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยโดยรวมมากนัก และยังคงรักษาระดับการเติบโตทั้งภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้ขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง
"จากการที่รัฐบาลจีนออกมาประกาศว่า ต้องการที่จะชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาต้องรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง และสิทธิประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของจีน ในครั้งนี้ ถือเป็นผลดีทางเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะหากเศรษฐกิจจีนไม่ชะลอตัว ในอนาคตราคาวัตถุดิบทั่วโลกย่อมจะสูงขึ้น และกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้ มาตรการชะลอการเติบโตเศรษฐกิจจีน หากถามว่ามีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่ามีบ้าง เนื่องจาก ขณะนี้จีนได้สั่งนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศแถบเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะไทยที่จีนสั่งนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 ในปีที่แล้ว แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบไม่มากนัก และไม่ถึงขั้นที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอยลงได้"นางชุตาภรณ์ กล่าว
สำหรับภาวะเศรษฐกิจจีนในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าเศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างในไตรมาสแรกของปี 2547 อัตราการเติบโตของจีนเท่ากับร้อยละ 9.7 ซึ่งสูงกว่าเป้าการขยายตัวทั้งปีที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 7 โดยปัจจัยหลักมาจากการลงทุนของรัฐในสาธารณูปโภค การเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนจากต่างประเทศ [FDI
] ซึ่งในปีนี้คาดการณ์ว่า จีนจะสามารถดึงการลงทุนจากต่างชาติได้เป็นมูลค่ากว่า 53 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลกที่คาดว่าจะเท่ากับ 114 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม จีน จัดเป็นศูนย์กลางการส่งออกสำคัญของไทย โดยเฉพาะ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแนวทางในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นศักยภาพในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีความพร้อม ซึ่งก็มีอยู่หลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และสิ่งทอ ที่รัฐบาลได้สนับสนุน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในทุกด้าน ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายการเข้าไปขยายการลงทุนในตลาดจีนได้มากขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติจีน พบว่า เศรษฐกิจภาพรวมในปี 2547 ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกน่าจะยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูง โดยคาดว่าจีนจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.5-9 อินเดียประมาณร้อยละ 7.2 ไทยร้อยละ 7 และเฉลี่ยทั้งภูมิภาคประมาณร้อยละ 5.4 สำหรับภาคอุตสาหกรรมเหล็ก ช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ผลผลิตเหล็กกล้าของจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26.38 โดยมีผลผลิตรวม 61.47 ล้านตัน และการนำเข้าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 10.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 17.49 ในขณะที่มีการส่งออก 1.62 ล้านตัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจีนที่เกิดขึ้น คาดว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยโดยรวมมากนัก และยังคงรักษาระดับการเติบโตทั้งภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้ขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง
"จากการที่รัฐบาลจีนออกมาประกาศว่า ต้องการที่จะชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาต้องรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง และสิทธิประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของจีน ในครั้งนี้ ถือเป็นผลดีทางเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะหากเศรษฐกิจจีนไม่ชะลอตัว ในอนาคตราคาวัตถุดิบทั่วโลกย่อมจะสูงขึ้น และกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้ มาตรการชะลอการเติบโตเศรษฐกิจจีน หากถามว่ามีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่ามีบ้าง เนื่องจาก ขณะนี้จีนได้สั่งนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศแถบเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะไทยที่จีนสั่งนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 ในปีที่แล้ว แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบไม่มากนัก และไม่ถึงขั้นที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอยลงได้"นางชุตาภรณ์ กล่าว
สำหรับภาวะเศรษฐกิจจีนในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าเศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างในไตรมาสแรกของปี 2547 อัตราการเติบโตของจีนเท่ากับร้อยละ 9.7 ซึ่งสูงกว่าเป้าการขยายตัวทั้งปีที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 7 โดยปัจจัยหลักมาจากการลงทุนของรัฐในสาธารณูปโภค การเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนจากต่างประเทศ [FDI
] ซึ่งในปีนี้คาดการณ์ว่า จีนจะสามารถดึงการลงทุนจากต่างชาติได้เป็นมูลค่ากว่า 53 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลกที่คาดว่าจะเท่ากับ 114 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม จีน จัดเป็นศูนย์กลางการส่งออกสำคัญของไทย โดยเฉพาะ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแนวทางในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นศักยภาพในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีความพร้อม ซึ่งก็มีอยู่หลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และสิ่งทอ ที่รัฐบาลได้สนับสนุน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในทุกด้าน ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายการเข้าไปขยายการลงทุนในตลาดจีนได้มากขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติจีน พบว่า เศรษฐกิจภาพรวมในปี 2547 ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกน่าจะยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูง โดยคาดว่าจีนจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.5-9 อินเดียประมาณร้อยละ 7.2 ไทยร้อยละ 7 และเฉลี่ยทั้งภูมิภาคประมาณร้อยละ 5.4 สำหรับภาคอุตสาหกรรมเหล็ก ช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ผลผลิตเหล็กกล้าของจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26.38 โดยมีผลผลิตรวม 61.47 ล้านตัน และการนำเข้าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 10.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 17.49 ในขณะที่มีการส่งออก 1.62 ล้านตัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-