REACH หรือ Registration, Evaluation and Authorization of Chemical Product เป็นระบบการควบคุมเคมีภัณฑ์รวมถึงสินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่จะผลิตและจำหน่ายในสหภาพยุโรป เสนอโดยคณะกรรมาธิการยุโรป เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2546 และได้ประกาศเป็นร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายในการใช้สารเคมี และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในสหภาพยุโรป
ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมาธิการยุโรป เริ่มจากการเสนอร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ไปยังประเทศคู่ค้าโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม -10 กรกฎาคม 2546 หลังจากนั้นจะรวบรวมและประมวลผลข้อคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงร่างระเบียบและจัดทำเป็นข้อเสนอ (Proposal) สำหรับระเบียบใหม่ ซึ่งจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรียุโรป (Council) และสหภาพยุโรป (European Parliament) ตามลำดับ จนประกาศออกเป็นระเบียบ ซึ่งคาดว่าจะให้ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548
สาระสำคัญของร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. การจดทะเบียน (Registration) : ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารเคมี จำนวน 30,000 ชนิดเกินกว่า 1 ตัน/ปี/รายจะต้องยื่นขอจดทะเบียนสารเคมี โดยแจ้งรายละเอียดด้านผลิต ด้านเทคนิคและคุณสมบัติความปลอดภัยของสารเคมี วัตถุประสงค์การนำไปใช้และมาตรการป้องกันอันตราย ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีหน้าที่จะต้องจัดวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กำหนดเวลาสำหรับการจดทะเบียนหลังจากระเบียบบังคับใช้จะเป็นไปตามปริมาณการผลิต/นำเข้าของสารเคมี กล่าวคือ
1 - 100 ตัน จดทะเบียนภายใน 3 ปี
100 - 1,000 ตัน จดทะเบียนภายใน 6 ปี
1,000 ตันขึ้นไปและสารประเภท CMRs จดทะเบียนภายใน 11 ปี
2. การประเมิน (Evaluation) : ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่มีสารเคมี จำนวน 6,000 ชนิด ในการผลิต/นำเข้าปริมาณเกินกว่า 100 ตัน/ปี/ราย จะต้องผ่านระบบการประเมินทั้ง Dossier และ Technical Evaluation อย่างไรก็ตาม สารเคมีที่ปริมาณต่ำกว่านี้อาจจะถูกเรียกประเมินได้โดย Competent Authority (CA) ซึ่งจะตรวจสอบ Proposal for Testing ที่ใช้ยื่นจดทะเบียนและอนุญาตให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าใช้ผลทดสอบหรือผลการศึกษาที่เคยดำเนินการโดยแหล่งอื่นที่ได้รับการยอมรับโดยสากลนอกเหนือจากของ EU
3. การอนุญาต (Authorization) : ผู้ผลิตหรือนำเข้าเข้าสารเคมีที่จัดเป็น CMRs(Carcinogenic, Mutagenic or Reprotoxic Substances) รวมทั้งสารเคมี PBTs (Persistent, Bioaccumulative and Toxic Substances) และสารเคมี vPvBs (Very Persistent and Very Bioaccumulative Substances) จำนวน 1,500 ชนิด นอกจากการจดทะเบียนและประเมินแล้วสารเคมีดังกล่าว จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะผลิต/จำหน่ายได้ ทั้งนี้การอนุญาตจะพิจารณาจากความสามารถในการควบคุมอันตรายจากการใช้สารเคมีแต่ละชนิด และหากว่าผู้ผลิต/ผู้นำเข้าสามารถชี้ให้เห็นว่าการผลิต/นำเข้าสารเคมีดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ผลคุ้มค่ากว่าความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีนั้น ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าอาจให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษได้
ข้อกำหนดอื่นที่สำคัญๆ ของร่างระเบียบฯ ได้แก่ สารเคมีทุกตัวที่พิสูจน์ได้ว่ามีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพมนุษย์และ/หรือสิ่งแวดล้อมอาจถูกจำกัดการผลิต การจำหน่ายและการใช้สารนั้นภายในเขต EU ส่วนสารยกเว้นที่ไม่อยู่ในข่าย ได้แก่ สารที่มีระเบียบอื่นบังคับอยู่แล้ว เช่น สารที่ใช้ผลิตยา สิ่งปรุงรส-อาหาร ส่วนผสมในอาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น ร่างระเบียบฯ ดังกล่าวมีผลกระทบต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเคมี กล่าวคือ ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกไทยที่มีสินค้าอยู่ในขอบข่ายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การจัดทำข้อมูลและรายละเอียดที่ใช้ในการยื่นและการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แม้แต่ผู้ส่งออกไทยจะส่งสินค้าไปยังประเทศ Non-EU หากประเทศ Non-EU นั้นนำเคมีภัณฑ์ไปผลิตสินค้าอื่นเพื่อส่งออกไป EU
สำหรับผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ของไทย ต้องรับภาระจากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของเคมีภัณฑ์ที่นำเข้า เนื่องจากราคาสินค้าที่ผู้ผลิตในกลุ่มประเทศ EU ปรับสูงขึ้น และอาจต้องรับผิดชอบการจัดทำเอกสารที่กำหนดไว้ในร่างระเบียบฯ กรณีที่นำเข้าจากผู้ผลิต Non-EU เพื่อผลิตสินค้าไปยัง EU หรือนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากวิธีการใช้ที่ได้ระบุไว้ในเอกสาร
ส่วนผู้ใช้เคมีภัณฑ์ขั้นปลายของไทย (Downstream Users) แม้ว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในแง่ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทดสอบและจัดทำเอกสาร แต่อาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการบริโภคสินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ และสินค้าอาจมีคุณภาพลดลงได้
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ในภาวะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้เกิดข้อจำกัดการลงทุนและการสร้างนวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ลดลง นอกจากนั้นเมื่อระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์มีผลบังคับใช้อาจส่งผลให้สารเคมีที่ใช้ในอุตสาห-กรรมมีปริมาณการใช้ลดลงด้วย
ดังนั้น ผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์ควรเตรียมความพร้อมโดยการติดตามความคืบหน้าในการพิจารณาเห็นชอบร่างระเบียบฯ เพราะยังมีโอกาสของประเทศคู่ค้า EU ในการเสนอข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขในรายละเอียด การเสนอภาครัฐในการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูล และศูนย์ทดสอบคุณสมบัติทางเคมีที่เป็นอันตรายตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า รวมทั้งการตรวจสอบและทำความเข้าใจในประเด็นของร่างระเบียบฯ ที่ยังไม่ชัดเจนเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้ว่าร่างระเบียบฯ ดังกล่าวอาจจะเป็นประเด็นแอบแฝงของการกีดกันทางการค้าต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของไทยก็ตาม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมาธิการยุโรป เริ่มจากการเสนอร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ไปยังประเทศคู่ค้าโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม -10 กรกฎาคม 2546 หลังจากนั้นจะรวบรวมและประมวลผลข้อคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงร่างระเบียบและจัดทำเป็นข้อเสนอ (Proposal) สำหรับระเบียบใหม่ ซึ่งจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรียุโรป (Council) และสหภาพยุโรป (European Parliament) ตามลำดับ จนประกาศออกเป็นระเบียบ ซึ่งคาดว่าจะให้ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548
สาระสำคัญของร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. การจดทะเบียน (Registration) : ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสารเคมี จำนวน 30,000 ชนิดเกินกว่า 1 ตัน/ปี/รายจะต้องยื่นขอจดทะเบียนสารเคมี โดยแจ้งรายละเอียดด้านผลิต ด้านเทคนิคและคุณสมบัติความปลอดภัยของสารเคมี วัตถุประสงค์การนำไปใช้และมาตรการป้องกันอันตราย ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีหน้าที่จะต้องจัดวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กำหนดเวลาสำหรับการจดทะเบียนหลังจากระเบียบบังคับใช้จะเป็นไปตามปริมาณการผลิต/นำเข้าของสารเคมี กล่าวคือ
1 - 100 ตัน จดทะเบียนภายใน 3 ปี
100 - 1,000 ตัน จดทะเบียนภายใน 6 ปี
1,000 ตันขึ้นไปและสารประเภท CMRs จดทะเบียนภายใน 11 ปี
2. การประเมิน (Evaluation) : ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่มีสารเคมี จำนวน 6,000 ชนิด ในการผลิต/นำเข้าปริมาณเกินกว่า 100 ตัน/ปี/ราย จะต้องผ่านระบบการประเมินทั้ง Dossier และ Technical Evaluation อย่างไรก็ตาม สารเคมีที่ปริมาณต่ำกว่านี้อาจจะถูกเรียกประเมินได้โดย Competent Authority (CA) ซึ่งจะตรวจสอบ Proposal for Testing ที่ใช้ยื่นจดทะเบียนและอนุญาตให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าใช้ผลทดสอบหรือผลการศึกษาที่เคยดำเนินการโดยแหล่งอื่นที่ได้รับการยอมรับโดยสากลนอกเหนือจากของ EU
3. การอนุญาต (Authorization) : ผู้ผลิตหรือนำเข้าเข้าสารเคมีที่จัดเป็น CMRs(Carcinogenic, Mutagenic or Reprotoxic Substances) รวมทั้งสารเคมี PBTs (Persistent, Bioaccumulative and Toxic Substances) และสารเคมี vPvBs (Very Persistent and Very Bioaccumulative Substances) จำนวน 1,500 ชนิด นอกจากการจดทะเบียนและประเมินแล้วสารเคมีดังกล่าว จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะผลิต/จำหน่ายได้ ทั้งนี้การอนุญาตจะพิจารณาจากความสามารถในการควบคุมอันตรายจากการใช้สารเคมีแต่ละชนิด และหากว่าผู้ผลิต/ผู้นำเข้าสามารถชี้ให้เห็นว่าการผลิต/นำเข้าสารเคมีดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ผลคุ้มค่ากว่าความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีนั้น ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าอาจให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษได้
ข้อกำหนดอื่นที่สำคัญๆ ของร่างระเบียบฯ ได้แก่ สารเคมีทุกตัวที่พิสูจน์ได้ว่ามีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพมนุษย์และ/หรือสิ่งแวดล้อมอาจถูกจำกัดการผลิต การจำหน่ายและการใช้สารนั้นภายในเขต EU ส่วนสารยกเว้นที่ไม่อยู่ในข่าย ได้แก่ สารที่มีระเบียบอื่นบังคับอยู่แล้ว เช่น สารที่ใช้ผลิตยา สิ่งปรุงรส-อาหาร ส่วนผสมในอาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น ร่างระเบียบฯ ดังกล่าวมีผลกระทบต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเคมี กล่าวคือ ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกไทยที่มีสินค้าอยู่ในขอบข่ายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การจัดทำข้อมูลและรายละเอียดที่ใช้ในการยื่นและการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แม้แต่ผู้ส่งออกไทยจะส่งสินค้าไปยังประเทศ Non-EU หากประเทศ Non-EU นั้นนำเคมีภัณฑ์ไปผลิตสินค้าอื่นเพื่อส่งออกไป EU
สำหรับผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ของไทย ต้องรับภาระจากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของเคมีภัณฑ์ที่นำเข้า เนื่องจากราคาสินค้าที่ผู้ผลิตในกลุ่มประเทศ EU ปรับสูงขึ้น และอาจต้องรับผิดชอบการจัดทำเอกสารที่กำหนดไว้ในร่างระเบียบฯ กรณีที่นำเข้าจากผู้ผลิต Non-EU เพื่อผลิตสินค้าไปยัง EU หรือนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากวิธีการใช้ที่ได้ระบุไว้ในเอกสาร
ส่วนผู้ใช้เคมีภัณฑ์ขั้นปลายของไทย (Downstream Users) แม้ว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในแง่ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทดสอบและจัดทำเอกสาร แต่อาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการบริโภคสินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ และสินค้าอาจมีคุณภาพลดลงได้
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ในภาวะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้เกิดข้อจำกัดการลงทุนและการสร้างนวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ลดลง นอกจากนั้นเมื่อระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์มีผลบังคับใช้อาจส่งผลให้สารเคมีที่ใช้ในอุตสาห-กรรมมีปริมาณการใช้ลดลงด้วย
ดังนั้น ผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์ควรเตรียมความพร้อมโดยการติดตามความคืบหน้าในการพิจารณาเห็นชอบร่างระเบียบฯ เพราะยังมีโอกาสของประเทศคู่ค้า EU ในการเสนอข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขในรายละเอียด การเสนอภาครัฐในการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูล และศูนย์ทดสอบคุณสมบัติทางเคมีที่เป็นอันตรายตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า รวมทั้งการตรวจสอบและทำความเข้าใจในประเด็นของร่างระเบียบฯ ที่ยังไม่ชัดเจนเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้ว่าร่างระเบียบฯ ดังกล่าวอาจจะเป็นประเด็นแอบแฝงของการกีดกันทางการค้าต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของไทยก็ตาม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-