การสร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมใหม่ หรือประดิษฐ์คิดค้นโครงการต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญ โดยมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในเชิงระบบ ทั้งในด้านการปรับปรุงและบุกเบิก เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการดำเนินงานด้านโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ ( Strategic Innovation ) ที่ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของประเทศ เป็นการยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ 5 สาขา ได้แก่ 1) อาหารและสมุนไพร 2) ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง 3)ซอฟต์แวร์และแมคานิกส์ 4)ยานยนต์และชิ้นส่วน 5)การออกแบบเชิงวิศวกรรมและเชิงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ทั้ง 5 สาขามีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการดำเนินธุรกิจของตนเอง ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงมีแผนงานการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ และการพัฒนาโครงการนวัตกรรมจากผลงานวิจัยและสิทธิบัตรขึ้นมา โดยร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ธนาคารทหารไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) สนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมใหม่ หรือประดิษฐ์คิดค้นโครงการต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อพิเศษยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี มีชื่อโครงการว่า "นวัตกรรมดี ฟรีดอกเบี้ย" ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีแบงก์ และ สนช. เพื่อสนับสนุนโครงการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจภาคเอกชน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียกระดับขีดความสามารถพัฒนาต้นแบบด้านเทคโนโลยี และด้านนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนผู้ประกอบการที่มีโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมและเป็นโครงการในระยะเริ่มต้นของการลงทุนโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวทาง สนช. ได้จัดสรรงบประมาณของสำนักงานฯ จำนวนกว่า 200 ล้านบาท สำหรับการรับภาระจ่ายในส่วนของดอกเบี้ยแทนผู้กู้ทุกบาททุกสตางค์ โดยผู้กู้หรือผู้ประกอบการเองไม่ต้องเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้แก่ธนาคารในช่วงระยะนานถึง 3 ปี ซึ่งใครที่ใช้สินเชื่อโครงการนี้ต้องถือว่าได้เงินไปพัฒนาธุรกิจแบบไม่มีต้นทุนของเงินกู้ยืมเลย (ที่มา:สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)
สำหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องเป็นการขอกู้ เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งเป็นการนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เอสเอ็มอีไทย ผู้ประกอบการที่สนใจจะขอกู้เงินในโครงการนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการนวัตกรรมซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการของ สนช. เจ้าหน้าที่ของธนาคารพันธมิตร เจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำการพิจารณาข้อเสนอโครงการนวัตกรรม (Proposal) ของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เช่น มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ และมีแผนการตลาดที่ดี โดยมีขั้นตอนในการขอรับการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม ดังนี้ คือ
1) เตรียมความพร้อมของตนเอง เช่น มีความตั่งใจและมุ่งมั่นจะดำเนินธุรกิจใหม่ มีความคิดแบบใหม่ด้านเทคโนโลยี พร้อมที่จะรับการตรวจสอบและประเมินด้านนวัตกรรม และต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 51%
2) เตรียมข้อมูลโครงการนวัตกรรมให้พร้อม ทั้งข้อมูลของผู้ประกอบการ และข้อมูลของโครงการ เช่น ข้อบ่งชี้ความเป็นนวัตกรรมของโครงการ (ความใหม่ของผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิต/บริการ ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือวิธีการดำเนินการโครงการ เป็นต้น
3) เตรียมผู้เชี่ยวชาญหรือหุ้นส่วน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการ
4) เตรียมยื่นข้อเสนอโครงการ โดยจัดส่งข้อมูลของโครงการจากขั้นตอนที่ 2 และ 3 มาที่ info@nia.or.th
5) เตรียมรับการสนับสนุน หลังจากโครงการผ่านการพิจารณาและได้รับการสนับสนุนผู้ประกอบการต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของการรับทุนจากสำนักงาน
จากโครงการดังกล่าวข้างต้นของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดี และเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะมีโอกาสพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เกิดขึ้น รวมทั้งได้รับการสนับสนุนทางด้าน วิชาการ เทคโนโลยี การผลิต การเงิน การลงทุน และการจัดการ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ธุรกิจใหม่ และการบริการแบบใหม่ ให้เกิดความเข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ
โครงการ "นวัตกรรมดี ฟรีดอกเบี้ย" เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2547 นี้เป็นต้นไป ถ้าหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่านใดมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ สนใจเข้าร่วมโครงการนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โทรศัพท์: 02-644-6000 หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทรศัพท์: 02-201-3700)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ทั้ง 5 สาขามีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการดำเนินธุรกิจของตนเอง ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงมีแผนงานการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ และการพัฒนาโครงการนวัตกรรมจากผลงานวิจัยและสิทธิบัตรขึ้นมา โดยร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ธนาคารทหารไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) สนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมใหม่ หรือประดิษฐ์คิดค้นโครงการต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อพิเศษยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี มีชื่อโครงการว่า "นวัตกรรมดี ฟรีดอกเบี้ย" ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีแบงก์ และ สนช. เพื่อสนับสนุนโครงการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจภาคเอกชน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียกระดับขีดความสามารถพัฒนาต้นแบบด้านเทคโนโลยี และด้านนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนผู้ประกอบการที่มีโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมและเป็นโครงการในระยะเริ่มต้นของการลงทุนโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวทาง สนช. ได้จัดสรรงบประมาณของสำนักงานฯ จำนวนกว่า 200 ล้านบาท สำหรับการรับภาระจ่ายในส่วนของดอกเบี้ยแทนผู้กู้ทุกบาททุกสตางค์ โดยผู้กู้หรือผู้ประกอบการเองไม่ต้องเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้แก่ธนาคารในช่วงระยะนานถึง 3 ปี ซึ่งใครที่ใช้สินเชื่อโครงการนี้ต้องถือว่าได้เงินไปพัฒนาธุรกิจแบบไม่มีต้นทุนของเงินกู้ยืมเลย (ที่มา:สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)
สำหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องเป็นการขอกู้ เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งเป็นการนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและสร้างความเข้มแข็งให้แก่เอสเอ็มอีไทย ผู้ประกอบการที่สนใจจะขอกู้เงินในโครงการนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการนวัตกรรมซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการของ สนช. เจ้าหน้าที่ของธนาคารพันธมิตร เจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำการพิจารณาข้อเสนอโครงการนวัตกรรม (Proposal) ของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เช่น มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ และมีแผนการตลาดที่ดี โดยมีขั้นตอนในการขอรับการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม ดังนี้ คือ
1) เตรียมความพร้อมของตนเอง เช่น มีความตั่งใจและมุ่งมั่นจะดำเนินธุรกิจใหม่ มีความคิดแบบใหม่ด้านเทคโนโลยี พร้อมที่จะรับการตรวจสอบและประเมินด้านนวัตกรรม และต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 51%
2) เตรียมข้อมูลโครงการนวัตกรรมให้พร้อม ทั้งข้อมูลของผู้ประกอบการ และข้อมูลของโครงการ เช่น ข้อบ่งชี้ความเป็นนวัตกรรมของโครงการ (ความใหม่ของผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิต/บริการ ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือวิธีการดำเนินการโครงการ เป็นต้น
3) เตรียมผู้เชี่ยวชาญหรือหุ้นส่วน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการ
4) เตรียมยื่นข้อเสนอโครงการ โดยจัดส่งข้อมูลของโครงการจากขั้นตอนที่ 2 และ 3 มาที่ info@nia.or.th
5) เตรียมรับการสนับสนุน หลังจากโครงการผ่านการพิจารณาและได้รับการสนับสนุนผู้ประกอบการต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของการรับทุนจากสำนักงาน
จากโครงการดังกล่าวข้างต้นของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดี และเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะมีโอกาสพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เกิดขึ้น รวมทั้งได้รับการสนับสนุนทางด้าน วิชาการ เทคโนโลยี การผลิต การเงิน การลงทุน และการจัดการ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ธุรกิจใหม่ และการบริการแบบใหม่ ให้เกิดความเข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ
โครงการ "นวัตกรรมดี ฟรีดอกเบี้ย" เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2547 นี้เป็นต้นไป ถ้าหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่านใดมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ สนใจเข้าร่วมโครงการนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โทรศัพท์: 02-644-6000 หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทรศัพท์: 02-201-3700)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-