แฉพิรุธล็อคสเปคขายข้าว
โดย นายตรีพล เจาะจิตต์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
เหตุผล 10 ประการ ที่ไม่ไว้วางใจให้ รมว.วัฒนา เมืองสุข บริหารกระทรวงพาณิชย์อีกต่อไป
ตอนที่ 1 ขายข้าวให้ อินโดนีเซีย (BULOG)
1.ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งและอ้างนายกรัฐมนตรี สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ อำนวยความสะดวกให้บริษัทเพรสซิเดนท์ จนได้ผลประโยชน์จากการขายข้าว ให้ประเทศอินโดนีเซียจำนวน 500,000 ตัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมกับบริษัทอื่น
2.สมคบกันหาผลประโยชน์จากการขายในราคาต่ำครั้งนี้ ทำให้ประเทศชาติเสียหายไปไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับบริษัทเพรสซิเดนท์ และ ผู้ช่วยเหลือไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
ตอนที่ 2 ทุกจริตการจำนำข้าว
3.ละเลย ไม่เอาใจใส่การเคลื่อนย้ายและการระบายข้าวสาร ทั้งๆที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาการระบายข้าว ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ รมว.กระทรวงพาณิชย์จึงเกิดการทุจริต ขึ้นหลายอย่าง เช่นการเวียนเทียนเอาข้าวใหม่ ไปขาย เอาข้าวเก่ามาสวมแทน การประมูลข้าวเพื่อส่งออก แต่กลับไม่ส่งออก การเอาข้าวสารในโกดังออกไปขายก่อน เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 ปี ประเทศชาติเสียหาย จากการรับจำนำข้าวประเมินค่าใช้จ่ายไม่ได้ เช่นมีข้าวผิดปกติทั้งหมด 2.4 ล้านกระสอบ ข้าวสารหายไม่น้อยกว่า 500,000 กระสอบเป็นต้น
4.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้อง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ดังเช่นในกรณี ประกาศขายข้าวในโกดังกลาง 3 โกดัง คือ โกดัง หจก.ดีลักกี้ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โกงดังบริษัท สยากสิกิจโรซ์มิก และโกงดังบริษัทพิจิตรโรงสีร่วมเจริญ 2 ไรซ์ แบบขายยกโกดังจำนวน 62,957 ตัน ในราคา 216 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 537 ล้านบาท ให้แก่บริษัท ข้าวทวีคุณ จำกัด ทั้งๆที่โกดังทั้ง 3 โกดัง เป็นบริษัทอยู่ในเครือเดียวกับบริษัทเพรสซิเดนท์แต่ รมว.ก็ประกาศขายทั้งหมด เพื่อล้างทุจริตทั้ง 3 โกดัง ชี้ให้เห็นว่า รมว.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้องทั้งๆที่ทุจริต แทนที่จะช่วยปกป้องทรัพย์สินของรัฐ กลับช่วยเหลือผู้ทุจริต
ตอนที่ 3 ส่อทุจริตการขายข่าววันที่ 17 ธันวาคม 2547และขายข้าวในราคาต่ำกว่าปกติ
5.ไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการ ในการยื่นซองเสนอราคากลับได้มีการกำหนดราคาร่วมกับบริษัทของพวกพ้อง เป็นการเอาเปรียบและไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับบริษัทอื่น
6.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้อง สมคบกับบริษัทพวกพ้องทุจริตทรัพย์สินของชาติ โดยการกำหนดราคาขายข้าวในราคาต่ำกว่าปกติ และขายให้ในปริมาณที่มากกว่าบริษัทอื่น ทั้งๆที่ บริษัทอื่นเสนอราคาสูงกว่าในการขายข้าวในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ประเทศชาติเสียหายไปประมาณ 1,374 ตัน ในการขายข่าววันที่ 14 มกราคม 2547 ประเทศเสียหายไปประมาณ 46.33 ล้านบาท จากการขายข้าวราคาต่ำประมาณ 23,167 ตัน
7.ได้มีการวางแผนกันทุจริต โดยได้ล็อคโกดังกลางของรัฐเอาไว้ ให้กับบริษัทเพรสซิเดนท์ จำนวนมาก เมื่อมีการประกาศขายข้าวจากรัฐบาล บริษัทดังกล่าวก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าบริษัทอ่าน เพราะมีโกดังในโควต้าของตัวเองอยู่แล้ว และรู้ว่าในโกงดังดังกล่าวมีข้าวสารชนิดใด และเป็นข้าวปีไหน
ตอนที่ 4 ส่อทุจริตการขายข้าว 29 เมษายน 2547
8.เจตนาช่วยเหลือบริษัทของพวกพ้อง โดยร่วมกันสมคบเตรียมข้อตกลงช่วยเหลือต่างๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้บริษัท เพรสซิเดนท์ กล้าที่จะเสนอราคาสูงกว่าบริษัทอื่น เช่นลดค่าประกันสัญญา จาก 5 % เหลือ 1% การเซ็นต์สัญญา จะแยกเซ็นสัญญาย่อยๆ หลายสัญญา ค่าการตลาด4.5 เหรียญ/ตัน เป็นต้น ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว มาดำเนินการหลังจากากรประกาศผลให้บริษัทเพรสซิเดนท์ เป็นผู้ชนะการประมูลเสนอราคาการซื้อขายครั้งนี้ ส่อทุจริตโดยผู้ขายและผู้ซื้อจะได้ผลประโยชน์ร่วมกัน จากค่าการตลาด 4.5 เหรียญ/ตัน และค่าปรับปรุงข้าวที่เพิ่มขึ้นจาก 500 เป็น 650 บาท/ตัน ไม่น้อยกว่า 943 ล้านบาท
9.โครงการจัดสร้างไซโล เก็บข้าวสารเป็นโครงการทุจริตเชิงนโยบาย และเป็นโครงการเพื่อบริษัทของพวกพ้อง โดยมีการกำหนดล๊อคสเป๊ค คุณสมบัติของไซโล และแจ้งให้บริษัทที่เป็นของพวกพ้อง และเครือญาติทราบล่วงหน้า เป็นการไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับบริษัทอื่นๆ
10.ไม่มีมาตราฐานในการบริหารงาน ไม่มีความยุติธรรม ไม่ยึดหลักเกณฑ์ของกฎหมาย โดยที่บริษัทเพรสซิเดนท์ ถูกดำเนินคดีในความผิดร่วมกันฉ้อโกง ตามประมาณกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา 83 และมาตรา 91 และความผิดอื่นๆที่สอบสวนพบแต่ปรากฏว่า กระทรวงพาณิชย์โดย รมว.วัฒนา เมืองสุข ก็ไม่ได้ดำเนินการขึ้นบัญชีดำแต่อย่างใด กลับปล่อยให้มีการประมูลข้าวในโครงการรับจำนวนของรัฐบาลทุกครั้งแต่ในกรณีที่โรงสีในโครงการ กระทำผิดกฎหมายกระทรวงพาณิชย์กลับขึ้นบัญชีดำ และไม่ให้ทำธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์อีกต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
โดย นายตรีพล เจาะจิตต์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
เหตุผล 10 ประการ ที่ไม่ไว้วางใจให้ รมว.วัฒนา เมืองสุข บริหารกระทรวงพาณิชย์อีกต่อไป
ตอนที่ 1 ขายข้าวให้ อินโดนีเซีย (BULOG)
1.ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งและอ้างนายกรัฐมนตรี สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ อำนวยความสะดวกให้บริษัทเพรสซิเดนท์ จนได้ผลประโยชน์จากการขายข้าว ให้ประเทศอินโดนีเซียจำนวน 500,000 ตัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมกับบริษัทอื่น
2.สมคบกันหาผลประโยชน์จากการขายในราคาต่ำครั้งนี้ ทำให้ประเทศชาติเสียหายไปไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับบริษัทเพรสซิเดนท์ และ ผู้ช่วยเหลือไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
ตอนที่ 2 ทุกจริตการจำนำข้าว
3.ละเลย ไม่เอาใจใส่การเคลื่อนย้ายและการระบายข้าวสาร ทั้งๆที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาการระบายข้าว ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ รมว.กระทรวงพาณิชย์จึงเกิดการทุจริต ขึ้นหลายอย่าง เช่นการเวียนเทียนเอาข้าวใหม่ ไปขาย เอาข้าวเก่ามาสวมแทน การประมูลข้าวเพื่อส่งออก แต่กลับไม่ส่งออก การเอาข้าวสารในโกดังออกไปขายก่อน เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 ปี ประเทศชาติเสียหาย จากการรับจำนำข้าวประเมินค่าใช้จ่ายไม่ได้ เช่นมีข้าวผิดปกติทั้งหมด 2.4 ล้านกระสอบ ข้าวสารหายไม่น้อยกว่า 500,000 กระสอบเป็นต้น
4.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้อง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ดังเช่นในกรณี ประกาศขายข้าวในโกดังกลาง 3 โกดัง คือ โกดัง หจก.ดีลักกี้ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โกงดังบริษัท สยากสิกิจโรซ์มิก และโกงดังบริษัทพิจิตรโรงสีร่วมเจริญ 2 ไรซ์ แบบขายยกโกดังจำนวน 62,957 ตัน ในราคา 216 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 537 ล้านบาท ให้แก่บริษัท ข้าวทวีคุณ จำกัด ทั้งๆที่โกดังทั้ง 3 โกดัง เป็นบริษัทอยู่ในเครือเดียวกับบริษัทเพรสซิเดนท์แต่ รมว.ก็ประกาศขายทั้งหมด เพื่อล้างทุจริตทั้ง 3 โกดัง ชี้ให้เห็นว่า รมว.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้องทั้งๆที่ทุจริต แทนที่จะช่วยปกป้องทรัพย์สินของรัฐ กลับช่วยเหลือผู้ทุจริต
ตอนที่ 3 ส่อทุจริตการขายข่าววันที่ 17 ธันวาคม 2547และขายข้าวในราคาต่ำกว่าปกติ
5.ไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางราชการ ในการยื่นซองเสนอราคากลับได้มีการกำหนดราคาร่วมกับบริษัทของพวกพ้อง เป็นการเอาเปรียบและไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับบริษัทอื่น
6.เจตนาช่วยเหลือพวกพ้อง สมคบกับบริษัทพวกพ้องทุจริตทรัพย์สินของชาติ โดยการกำหนดราคาขายข้าวในราคาต่ำกว่าปกติ และขายให้ในปริมาณที่มากกว่าบริษัทอื่น ทั้งๆที่ บริษัทอื่นเสนอราคาสูงกว่าในการขายข้าวในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ประเทศชาติเสียหายไปประมาณ 1,374 ตัน ในการขายข่าววันที่ 14 มกราคม 2547 ประเทศเสียหายไปประมาณ 46.33 ล้านบาท จากการขายข้าวราคาต่ำประมาณ 23,167 ตัน
7.ได้มีการวางแผนกันทุจริต โดยได้ล็อคโกดังกลางของรัฐเอาไว้ ให้กับบริษัทเพรสซิเดนท์ จำนวนมาก เมื่อมีการประกาศขายข้าวจากรัฐบาล บริษัทดังกล่าวก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าบริษัทอ่าน เพราะมีโกดังในโควต้าของตัวเองอยู่แล้ว และรู้ว่าในโกงดังดังกล่าวมีข้าวสารชนิดใด และเป็นข้าวปีไหน
ตอนที่ 4 ส่อทุจริตการขายข้าว 29 เมษายน 2547
8.เจตนาช่วยเหลือบริษัทของพวกพ้อง โดยร่วมกันสมคบเตรียมข้อตกลงช่วยเหลือต่างๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้บริษัท เพรสซิเดนท์ กล้าที่จะเสนอราคาสูงกว่าบริษัทอื่น เช่นลดค่าประกันสัญญา จาก 5 % เหลือ 1% การเซ็นต์สัญญา จะแยกเซ็นสัญญาย่อยๆ หลายสัญญา ค่าการตลาด4.5 เหรียญ/ตัน เป็นต้น ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว มาดำเนินการหลังจากากรประกาศผลให้บริษัทเพรสซิเดนท์ เป็นผู้ชนะการประมูลเสนอราคาการซื้อขายครั้งนี้ ส่อทุจริตโดยผู้ขายและผู้ซื้อจะได้ผลประโยชน์ร่วมกัน จากค่าการตลาด 4.5 เหรียญ/ตัน และค่าปรับปรุงข้าวที่เพิ่มขึ้นจาก 500 เป็น 650 บาท/ตัน ไม่น้อยกว่า 943 ล้านบาท
9.โครงการจัดสร้างไซโล เก็บข้าวสารเป็นโครงการทุจริตเชิงนโยบาย และเป็นโครงการเพื่อบริษัทของพวกพ้อง โดยมีการกำหนดล๊อคสเป๊ค คุณสมบัติของไซโล และแจ้งให้บริษัทที่เป็นของพวกพ้อง และเครือญาติทราบล่วงหน้า เป็นการไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับบริษัทอื่นๆ
10.ไม่มีมาตราฐานในการบริหารงาน ไม่มีความยุติธรรม ไม่ยึดหลักเกณฑ์ของกฎหมาย โดยที่บริษัทเพรสซิเดนท์ ถูกดำเนินคดีในความผิดร่วมกันฉ้อโกง ตามประมาณกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา 83 และมาตรา 91 และความผิดอื่นๆที่สอบสวนพบแต่ปรากฏว่า กระทรวงพาณิชย์โดย รมว.วัฒนา เมืองสุข ก็ไม่ได้ดำเนินการขึ้นบัญชีดำแต่อย่างใด กลับปล่อยให้มีการประมูลข้าวในโครงการรับจำนวนของรัฐบาลทุกครั้งแต่ในกรณีที่โรงสีในโครงการ กระทำผิดกฎหมายกระทรวงพาณิชย์กลับขึ้นบัญชีดำ และไม่ให้ทำธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์อีกต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-