แท็ก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
ชินวรณ์ บุญยเกียรติ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อมูลถอดถอน "อดิศัย" ฝ่าฝืนกฎหมาย !!!!!!!!
โดย นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
ญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ผมไม่คิดเลยว่าภายใต้การบริหารราชการแผ่นดิน ๓ ปี ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผมต้องลุกขึ้นมายืนอภิปรายไม่ไว้วางใจบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการถึง ๓ ครั้ง นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงนโยบายทางด้านการศึกษา นโยบายในการปฏิรูปการศึกษาล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพ ท่านประธานครับ ในช่วงระยะเวลา ๓ ปี กระทรวงศึกษาธิ การเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการ ถึง ๕ คนแล้วครับ ท่านแรกของประทานโทษที่เอ่ยนาม นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นนักปฎิรูปการศึกษาคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทยท่านต้องลาออกไปเพราะไม่สามารถขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์กฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่สอง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาวันแรกประกาศว่าจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการเมืองชัดๆ นับว่าเป็นคนเริ่มต้นที่ทำให้การปฎิรูปการศึกษาล้มเหลว แล้วก็หนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่สาม ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการศึกษา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถ่วงดึงการปฎิรูปการศึกษา จนถูกยื่นถอดถอนและถูกอิปรายไม่ไว้วางใจ สุดท้ายถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีไปคนที่สี่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ชื่อว่าเป็น่รัฐมนตรีที่ใจดีแต่ไม มีผลงานก็ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีไปจนถึงวันนี้
นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ห้าเข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายใต้รัฐบาลนี้ ที่มีความผิดพลาด ล้มเหลว สร้างความเสียหาย ความแตกแยก ไร้ประสิทธิภาพ ขาดคุณธรรม ขาดจริยรรม ขัดหลักนิติธรรม ทำลายระบบการปฏิรูปการศึกษาโดยสิ้นเชิง และมีพฤติกรรมส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิดรัฐธรรมนูญ และบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหลายประการ ซึ่งนำสู่การทำลายระบบการปฏิรูปการศึกษาของชาติ อันเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศและจะนำไปสู่ความเสียหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่สมควรให้ดำรงตำแหน่งอีกต่อไป
ผมจึงของอภิปรายไม่ไว้วางใจดังต่อไปนี้ ครับ
๑.) นายอดิศัย โพธารามิก จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฏหมายและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังนี้
๑.๑ นายอดิศัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ เนื่องจากมาตรา ๓๒ แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติไว้ว่าการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิ จารณาให้ความเห็น หรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรา ๘๑แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดให้ดำเนินการออกกฏกระทรวงเพื่อสรรหาและแต่งตั้งกรรมการของสภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา รวมถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม และคณะกรรมการสถานศึกษาตามมาตรา ๓๘ วรรคสองและวรรคสาม ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ และจะครบเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ๑๘๐ วัน คือ วันที่ ๙ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๔๖ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่สามารถสรรหากและแต่งตั้งคณะกรรมการขององค์กรบริหารศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรหลักทั้งสี่องค์กรดังกล่าวได้ภายในเงื่อนไขเวลาที่กฎหมายบัญญัติ
นอกจากนี้ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอให้คณะรัฐมนตรี ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการสรรหาและแต่งตั้งประธานกรรมการขององค์กรหลักในการบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มีการเตรียมการและออกกฎกระทรวงศึกษาธิการซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีโดยถูกต้องชอบธรรม ซึ่งนับว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขรณะนั้นประสงค์ให้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนด คือ ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งให้แล้วเสร็จ ภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่กฎหมายกระทรวงมีผลบังคับใช้หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ คือ ต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าว ทั้ง ๔ ฉบับ คือ
๑. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการสภาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. กฎกระทรวกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖
๓. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖
๔. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
เมื่อนายอดิศัย โพธารามิก เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ไม่ดำเนินการเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งผ่านกระบวนการสรรหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ตามกระบวนการที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกประการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย อาจเป็นเพราะได้ตัว บุคคลที่ไม่เป็นที่พอใจท่านรัฐมนตรีหรือไม่ รัฐมนตรีอดิศัยฯ จึงไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการส่อให้เห็นว่ารัฐมนตรี มีความจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วกฎกระทรวงดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและมีผลบังคับใช้เพียง ๔ เดือนเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเสนอยกเลิกกฎกระทรวงทั้งสามฉบับยกเว้นกฎกระทรวงว่าด้วยกรรมการสรรหาในสภาการศึกษาซึ่งผ่านความเห็นชอบไปแล้ว ในระว่างที่หน่วยงานดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการอุดมศึกษา จึงมีผลให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามกฎกระทรวงเดิมถูกยกเลิกไปด้วย นับได้ว่าเป็นการจงใจไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยการแต่งตั้งและสรรหา พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นผลให้การบริการการจัด
การศึกษา โดยคณะบุคคลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต้องล่าช้าและกระทบต่อการปฎิรูปโดยภาพรวมถึงแม้ว่าโดยภายหลัง นายอดิศัยโพธารามิก ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อออกกฎหมายกระทรวงเพื่อสรรหาและแต่งตั้งกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา กรรมการในกรรมการอาชีวศึกษากรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรรมการในกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและประกาศใช้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ตามแต่ผลกกรดำเนินการดังกล่าว ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน ซึ่งล่าช้ามาก และไม่แน่ใจว่าหากมีการสรรหาแล้วไม่ได้ตัวบุคคลตามที่ท่านรัฐมนตรีต้องการท่านอาจจะต้องใช้อำนาจรัฐมนตรียกเลิกกฎกระทรวงอีกหรือไม่ เหมือนกับที่รัฐมนตรีต้องการท่านอาจจะต้องใช้อำนาจรัฐมนตรียกเลิกกฎกระทรวงอีกหรือไม่ เหมือนกับที่รัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ว่า “กฎหมายระบุให้ออกกฎกระทรวงได้หากดูแล้วไม่เหมาะสมและตนก็สามารถออกกฎกระทรวงใหม่ได้” หากรัฐมนตรีที่จะต้องชูธงเดินหน้าเพื่อปฎิรูปการศึกษามีความคิดอย่างนี้เสียแล้ว จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายโดยเฉพาะมีผลการกระทำต่อองค์กรหลักในการปฎิรูปการศึกษาทั้งสี่แห่งนี้เสียแล้ว จะหวังได้อย่างไรกับการที่รัฐมนตรีผู้นี้จะไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจกับข้าราชการครูกับองค์กรอื่นๆ ต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด
๑.๒ นายอดิสัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจไม่ปฎิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ (๕) กล่าวคือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการนับว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่มีเจตนารมณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติเพื่อสนองตอบต่อเจตนารมณืของรัฐธรรมมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องการให้มีการบริหารโดยองค์คณะบุคคลปราศจากการครอบงำทางการเมือง และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรา ๑๓ จึงมีบัญญัติไว้ชัดเจนว่าในกรณีที่สภาการศึกษา คณะกรรมการศึกษาอาชีวศึกษาเสนอความเห็นหรือคำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนำความเห็นหรือคำแนะนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยมาตรา ๑๔ (๕)ได้บัญญัติไว้ว่าสภาการศึกามีหน้าที่ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในเรื่องกฎหมาย และกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษาและนอกจากหน้าที่ของสภาการศึกษาตามวรรคหนึ่งแล้วให้สภาการศึกษามีหน้าที่ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีเสนอนโยบายแผนการศึกษาชาติ และมาตราฐานการศึกษาให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการดำเนินออกกฎหมายหรือกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องให้สภาการศึกษาให้ความเห็นหรือคำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อประกอบการพิจารณาก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตร ีเพื่อพิจารณาต่อไป
แต่ปรากฎว่าตั้งแต่ นายอดิศัย โพธารามิก เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้เสนอร่างกฎหมาย และกฎกระทรวง โดยไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ ที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดจงใจไม่ดำเนินการตามขึ้นตอนที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือนายอดิศัย โพธารามิก ลงนามในประกาศกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับองค์กรหลักในการบริหารการศึกษา ๓ ฉบับ ได้แก่ กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีสรรหา การเลือก ประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่ง ของกรรมการในกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖ กฎกระทรวง การสรรหา และแต่งตั้งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กฎกระทรวง การสรรหา และแต่งตั้งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวง กำหนดการสรรหาและแต่งตั้ง ของกรรมการในคณะกรรมการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันเดียวกัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยไม่ให้สภาการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นหรือคำแนะนำตามอำนาจหน้าที่ ถือได้ว่าจงใจไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และหวังผลเพียงเร่งรัดดำเนินการยกเลิกกฎกระทรวงที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทันก่อนวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๗ อันเป็นวันครบกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงที่นายปองพล อดิเรกสารได้ลงนามไว้ และประกาศในกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทางปกครองจากผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการในกรรมการชุดดังกล่าว และหรือหวังผลเพียงเพื่อให้ได้ตัวบุคคลที่ตนพอใจหรือพวกพ้องโดยไม่ยำเกรงกฎหมาย หรือกฎกระทรวงซึ่งออกมาโดยคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน
๒.นายอดิศัย โพธารามิก ยังคงแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยจงใจเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ....... ซึ่งต้องเสนอใหม่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ...... มีอันตกไปเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้ง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ ปรากฎว่านายอดิศัย โพธารามิก ยังมีพฤติกรรมชัดเจนว่าจงใจไม่เสนอพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านสภาการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรที่กฎหมายประสงค์ให้ทำหน้าที่เชิงนโยบาย รวมถึงให้ความเห็น คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการกระทำของนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการเสนอกฏหมายและกฏกระทรวงโดยไม่ให้สภาการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นคำแนะนำตามอำนาจหน้าที่ทั้งสองครั้ง ทำให้การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ เกิดแนวปฎิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย จะนำไปสู่การทำลายเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ประสงค์ให้การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีลักณะพิเศษ ต่างจากบริหารราชการกระทรวง ทบวง กรม อื่น ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔นายอดิศัย โพธารามิก จึงไม่เหมาะสมกับการบริการเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแ ปลงและการปฏิรูปการศึกษา เมื่อกรอบแนวคิดผิดพลาดแล้วอาจนำสู่ปัญหาอื่นอีกมากมาย
๓. นายอดิศัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจใช้อำนาจขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2546 กล่าวคือ ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา และตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 บัญญัติว่าในวาระเริ่มแรกให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งมีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาตามมาตรา 12 และกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 64 ภายใน 180 วัน ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคุรุสภาในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เร่งรัดออกข้อบังคับของคุรุสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งคณะกรรมการคุรุสภา พ.ศ. 2546 และได้ดำเนินการสรรหาคัดเลือกตลอดจนจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการคุรุสภาประเภทต่างๆ ให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาแทนที่สนับสนุนให้ดำเนินการสำเร็จได้วยความรวดเร็ว กลับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ชะลอการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการคุรุสภาและ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งกำหนดไว้ในระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ไว้ก่อน โดยอ้างว่าได้รับการร้องเรียนถึงความกระชั้นชิดการกระทำดังกล่าว ของนายอดิศัย โพธารามิก ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อกฏหมายก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และนำไปสู่การหยุดชะงักของกระบวนการพัฒนาครูที่ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการคุรุสภาขึ้นปฏิบัติหน้าที่แม้ว่าได้ล่วงเลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว นอกจากนี้ นายอดิศัย โพธารามิก ยังได้ใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้าไปก้าวล่วงอย่างไม่เหมาะสมเป็นธรรมในองค์กรสภาวิชาชีพครูอีกหลายประเด็นซึ่งจะกล่าวต่อไปในกรณีการบริหารงานที่บกพร่องล้มเหลว
4. ประเด็นสำคัญที่สุด นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จงใจว่ากระทำการขัดต่อกฏหมายกล่าวคือ นายอดิศัย โพธารามิก ได้ใช้อำนาจ, ของประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและอำนาจรัฐมนตรีขัดกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2543 และยังดำเนินการออก ก.ค. และประกาศที่ขัดกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ด้วย ดังนี้
4.1 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามเสนอให้คณะรัฐมนตรีออกกฏ กค. ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523ว่าด้วยการกำหนดระดับเงินเดือนของตำแหน่งข้าราชการครู และลงนามประกาศใช้ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งขัดและแย้งกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ.2546มาตรา75ซึ่งบัญญัติไว้ว่าวาระเริ่มแรกเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาแล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาและให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาม มาตรา 37 ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา
4.2 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามในกฎฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ว่าด้วยการกำหนดระดับเงินเดือนของตำแหน่งข้าราชการครู เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้ตำแหนางผู้ช่วยอำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดระดับเงินเดือนในกฎ ก.ค.ฉบับนี้ ซึ่งขัดกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523 ที่อ้างถึง คือ มาตรา7(2) และมาตรา 30 วรรคสองเพราะมาตราดังกล่าว ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีออกกฎ ก.ค.ได้เฉพาะกำหนดว่าตำแหน่งข้าราชการครูตำแหน่งใดจะได้รับเงินเดือนระดับใดเท่านั้น การกำหนดตำแหน่งต้องออกเป็นพระราชบัญญัติตามนัยมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และการอ้างความในกฎ ก.ค.ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2535)และกฎก.ค.ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูนั้น จึงเป็นการใช้อำนาจโดยขัดด้วยกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 และกฏก.ค. ฉบับที่ 13 และกฎฉบับที่ 24 โดยสิ้นเชิง
4.3 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามในประกาศ ก.ค. เรื่องรับสมัครข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ประกาศทั้งสองฉบับ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 มาตรา 46 มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ประกอบกับกฎ ก.ค.ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2526) เป็นประกาศ ก.ค. ที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ขัดกับหลักกฎหมาย และเป็นการจงใจจะไม่รอใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะออกมามีผลบังคับใช้ ยังขัดกับหลักกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ด้วย กล่าวคือ มาตรา 44 บัญญัติไว้ว่าการแต่งตั้งข้าราชการครูให้ดำรงตำแหน่งที่ก.ค.ยังไม่ได้กำหนดตามมาตรา 31 จะกระทำมิได้ มาตรา 31 อ้างถึงตำแหน่งในมาตรา 30 (ค) คือตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษา แต่ตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 บัญญัติไว้ว่าการเลื่อนข้าราชการครูขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้รับเงินเดือนระดับสูงขึ้นให้เลื่อนข้าราชการครูขึ้นแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ การสอบแข่งขันให้เป็นไปตามมาตรา 38 ส่วนการคัดเลือกและคัดเลือก ให้ อกค.กรม หรือ อกค.จังหวัด แล้วแต่กรณี แต่นายอดิศัยฯ กลับไปดำเนินการในนาม ก.ค.เสียเอง ขัดกฎหมาย และแย้งกับกฎ ก.ค. การออกประกาศดังกล่าวทั้งสองฉบับ จึงออกโดยมิชอบถือว่านายอดิศัยฯ เป็นผู้สร้างระบบสอบคัดออกเป็นคนแรกของโลก
4.4 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการใช้อำนาจที่ส่อว่าจงใจขัดต่อกฎหมาย กฎกระทรวง แล้วยังใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทั้งที่มีหนังสือหารือจากส่วนราชการต้นสังกัด คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นแห่งหนึ่งในองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องและต้นสังกัดที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และไม่ได้ผ่านความเห็นหรือคำแนะนำของสภาการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นสภานโยบาย รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ ศธ.04009/5603 ด่วนที่สุด สงวันที่ 7 เมษายน 2547 เรื่อง ขอหารือแนวทางการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถึง เลขาธิการก.ค. ซึ่งมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีใจความสำคัญว่าการดำเนินการตามกฎก.ค. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2547 ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายหรือไม่ เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเลขาธิการ ก.ค. ได้ตอบกลับมาเพียง 2 ข้อเท่านั้น แต่นายอดิศัย โพธารามิก กลับให้สัมภาษณ์ว่าจะต้องเร่งรัดการบรรจุแต่งตั้ง ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงทักท้วงเพราะเสียเวลา ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่าพฤติการณ์ดังกล่าวส่อต่อการจงใจขัดต่อกฎหมายดังรายละเอียดดังกล่าวจากพฤติการณ์และข้อเท็จจริงทั้งหมด แสดงให้เห็นว่านายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบด้านการศึกษาโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานต่างๆทั้งยังเป็นผู้ต้องรักษาการตามพระราชบัญญัติอันได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ 2546 ละเลยการปฏิบัติตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย มีพฤติกรรมจงใจกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และส่อว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่พวกกระผมต้องยื่นให้วุฒิสภา พิจารณาถอดถอน นายอดิศัยโพธารามิก ออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 303 ถึงแม้ว่าท่านรัฐมนตรีจะออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ผมได้ให้นักกฎหมายและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคนช่วยตรวจสอบการยื่นถอดถอน ทุกคนบอกว่าเป็นเรื่องเบาปัญญา จนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องออกแถลงการณ์ว่าไม่เป็นความจริง แค่นี้ท่านรัฐมนตรียังนั่งอย่าบนบัลลังก์ ไม่มีหิริโอตัปปะต่อบูรพาจารย์อีกหรือแต่อย่างไรก็ตามท่านยังมีพฤติกรรมอีกหลายเรื่องที่ผมจะอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อไปท่านประธานที่เคารพครับ
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจกระทำขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหลายฉบับหลายกรรมหลายวาระแล้ว รัฐมนตรีท่านนี้ยังมีพฤติกรรมในการบริหารบกพร่อง ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพ มุ่งใช้อำนาจขาดคุณธรรม ขาดจริยธรรม ซึ่งกระผมประมวลได้เป็นผลงาน ชิ้นโบว์ดำสำหรับท่านรัฐมนตรี 9 ประการดังนี้
2.1 ไม่ได้ขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาโดยองค์รวมและยังมีพฤติกรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจ หน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษา โดยเฉพาะแนวคิด ที่จะรื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนายอดิศัยฯให้สัมภาษณ์ว่าเทอะทะต้องแก้ไขกฎหมายใหม่อันอาจนำไปสู่การรวมอำนาจทำลายระบบการปฎิรูปทางการศึกษาโดยสิ้นเชิงในอนาคต
2.2 ใช้อำนาจโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูง ไม่มีขวัญกำลังใจ อยู้ภายใต้การข่มขู่ของรัฐมนตรีทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2.3 ไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครู 120,000 คน ภาระครูที่มีมากขึ้นแต่อัตราไม่เพียงพอหรือการสรรหา ยังไม่ใช่คนของรัฐมนตรี จึงทำให้การปฏิรูปต้องล่าช้าไปอีก
2.4 การสั่งชะลอการแต่งตั้งกรรมการคุรุสภา และการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการครู เป็นการก้าวล่วงองค์กรวิชาชีพครูทั่วประเทศ ทำให้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาครูต้องล่าช้า ครูเสียขวัญกำลังใจ
2.5 การนำกระทรวงศึกษาธิการเข้าสู่ยุครวบอำนาจ ไม่ได้กระจายอำนาจลงสู่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาอย่างแท้จริง ตามมาตรา 39 พรบ.การศึกษาชาติ 2542 ให้เป็นกระทรวงปัญญาและเหตุผล มีหนังสือสั่งห้ามไม่ให้ครู ให้ข่าวสารข้อมูล ห้ามไม่ให้สัมภาษณ์ มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงองค์กรครู เป็นต้น
2.6 การปลดเปลื้องหนี้สินครูไม่คืบหน้า การระงับการจัดสวัสดิการรถยนต์ของคุรุสภา เงินกู้ของสมาชิก ชพด. ซึ่งเป็นสิทธิของครูที่เป็นสมาชิกคุรุสภาทั้งหมดมีปัญหาเพราะนายอดิศัยฯ เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และทำลายเครดิตครู โดยมีนโยบายไม่ให้ครูสามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ จนทำให้มีปัญหาสับสน รัฐมนตรีไม่เข้าใจสภาพชีวิตของครูทั่วประเทศอย่างแท้จริง
2.7 เริ่มมีข่าวหน้าหูในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และทุจริตเชิงนโยบาย เช่น กรณีโครงการจัดสร้างรถโมลายที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อเคลื่อนที่ไปยังโรงเรียน การส่งเสริมให้โรงเรียนได้รับเครื่องโทรศัพท์มือถือฟรีทราบว่าเป็นโนเกียรุ่น 3310 แต่ขณะนี้ถูกระงับไว้ก่อน
2.8 ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาภาคบังคับ และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 43 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 ที่มีบทบัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาศเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มีประเด็นเรื่องการกำหนดแนวทางการอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน12 ปี ซึ่งไม่ฟรีจริง และประเด็นความไม่เสมอภาคระหว่างโรงเรียน เกิดนโยบายโรงเรียนในฝันขึ้น รวมถึงประเด็นเด็กด้อยโอกาศ เด็กพิการ ที่จะต้องได้รับการศึกษาดูแลจากรัฐรวมทั้งเรื่องการศึกษาของสงฆ์ทุกระดับด้วย รัฐมนตรีอดิศัยฯ บกพร่อง ล้มเหลว ไม่ใส่ใจที่จะเร่งรัด หรือนโยบายพิเศษที่เกี่ยวกับการนี้
2.9 เรื่องการรับรองมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานการประเมิณผลทางการศึกษา นายอดิศัย โพธารามิก ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และปล่อยปละละเลยทำลายระบบความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในวงการศึกษาไทย เช่น
2.9.1 นายอดิศัย โพธารามิก ไม่ได้ให้ความสนใจและส่งเสริมการดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา ซึ่งเป็นองค์มหาชนที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องคุณภาพการศึกษา
2.9.2 การประกาศนำคะแนนจีพีเอ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจโดยขาดการเตรียมความพร้อมและขาดการประสานงานกับมหาวิทยาลัยจนนักเรียนและผู้ปกครองออกมาคัดค้าน
2.9.3 การใช้ผลสอบ NT (NATIONAL TEST) สำหรับนักเรียนชั้น ป. 6 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ทั้งที่เป็นการศึกษาภาคบังคับ และปล่อยปละละเลย ให้ข้อสอบรั่วต้องสอบใหม่ถึงจำนวน 200 โรงเรียน
2.9.4 ข้อสอบเอนทรานซ์รั่วเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นระบบที่ยุติธรรมที่สุด นักเรียนผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในระบบนี้ ถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงจากกรณีข้อสอบรั่ว และรัฐมนตรียังไม่มีแนวทางที่หาข้อยุติที่จะเรียกความเชื่อมั่นในระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจนมาถึงวันนี้
จากพฤติกรรมวิสัยทัศน์เจตคติของนายอดิศัย โพธารามิก ทั้งหมดนี้สรุปได้อย่างชัดเจนว่า นายอดิศัย โพธารามิก ไม่ควรจะอยู่บริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการต่อไปกระทรวงนี้ไม่เหมาะกับนายทุนนักธุรกิจ ไม่เหมาะกับระบบอำนาจนิยม ท่านประธานครับอยากจะอยู่ต่ออีกสี่ปีหรือครับ ก็มีความเสียหายมาก พอสำหรับการใช้อำนาจของท่านสำหรับการทำลายขวัญ กำลังใจ ของเพื่อนครู และเสียหายมากพอที่จะทำให้แรงขับเคลื่อนในการปฏิรูปการศึกษาต้องหยุดชะงักลง ผลการพิจารณาถอดถอนของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 303 จะเป็นบทพิสูจน์แนวคิดและเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญิติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ผมขอเป็นปากเสียงให้กับเพื่อนครูทั้งประเทศ นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติและผู้ปกครองนักเรียน ผู้ต้องการเห็นการศึกษาพัฒนาคน และพัฒนาชาติอย่างแท้จริง ผมไม่ไว้วางใจให้ท่านอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกต่อไป
ไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย ไม่แต่งตั้งกรรมการองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ภายในเงื่อนเวลาตามมาตรา 81
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
โดย นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
ญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ผมไม่คิดเลยว่าภายใต้การบริหารราชการแผ่นดิน ๓ ปี ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผมต้องลุกขึ้นมายืนอภิปรายไม่ไว้วางใจบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการถึง ๓ ครั้ง นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงนโยบายทางด้านการศึกษา นโยบายในการปฏิรูปการศึกษาล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพ ท่านประธานครับ ในช่วงระยะเวลา ๓ ปี กระทรวงศึกษาธิ การเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการ ถึง ๕ คนแล้วครับ ท่านแรกของประทานโทษที่เอ่ยนาม นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นนักปฎิรูปการศึกษาคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทยท่านต้องลาออกไปเพราะไม่สามารถขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์กฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่สอง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาวันแรกประกาศว่าจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการเมืองชัดๆ นับว่าเป็นคนเริ่มต้นที่ทำให้การปฎิรูปการศึกษาล้มเหลว แล้วก็หนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่สาม ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการศึกษา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถ่วงดึงการปฎิรูปการศึกษา จนถูกยื่นถอดถอนและถูกอิปรายไม่ไว้วางใจ สุดท้ายถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีไปคนที่สี่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ชื่อว่าเป็น่รัฐมนตรีที่ใจดีแต่ไม มีผลงานก็ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีไปจนถึงวันนี้
นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ห้าเข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายใต้รัฐบาลนี้ ที่มีความผิดพลาด ล้มเหลว สร้างความเสียหาย ความแตกแยก ไร้ประสิทธิภาพ ขาดคุณธรรม ขาดจริยรรม ขัดหลักนิติธรรม ทำลายระบบการปฏิรูปการศึกษาโดยสิ้นเชิง และมีพฤติกรรมส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิดรัฐธรรมนูญ และบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหลายประการ ซึ่งนำสู่การทำลายระบบการปฏิรูปการศึกษาของชาติ อันเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศและจะนำไปสู่ความเสียหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่สมควรให้ดำรงตำแหน่งอีกต่อไป
ผมจึงของอภิปรายไม่ไว้วางใจดังต่อไปนี้ ครับ
๑.) นายอดิศัย โพธารามิก จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฏหมายและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังนี้
๑.๑ นายอดิศัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ เนื่องจากมาตรา ๓๒ แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติไว้ว่าการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิ จารณาให้ความเห็น หรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรา ๘๑แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดให้ดำเนินการออกกฏกระทรวงเพื่อสรรหาและแต่งตั้งกรรมการของสภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา รวมถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม และคณะกรรมการสถานศึกษาตามมาตรา ๓๘ วรรคสองและวรรคสาม ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ และจะครบเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ๑๘๐ วัน คือ วันที่ ๙ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๔๖ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่สามารถสรรหากและแต่งตั้งคณะกรรมการขององค์กรบริหารศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรหลักทั้งสี่องค์กรดังกล่าวได้ภายในเงื่อนไขเวลาที่กฎหมายบัญญัติ
นอกจากนี้ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอให้คณะรัฐมนตรี ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการสรรหาและแต่งตั้งประธานกรรมการขององค์กรหลักในการบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มีการเตรียมการและออกกฎกระทรวงศึกษาธิการซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีโดยถูกต้องชอบธรรม ซึ่งนับว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขรณะนั้นประสงค์ให้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนด คือ ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งให้แล้วเสร็จ ภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่กฎหมายกระทรวงมีผลบังคับใช้หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ คือ ต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าว ทั้ง ๔ ฉบับ คือ
๑. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการสภาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. กฎกระทรวกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖
๓. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖
๔. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
เมื่อนายอดิศัย โพธารามิก เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ไม่ดำเนินการเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งผ่านกระบวนการสรรหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ตามกระบวนการที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกประการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย อาจเป็นเพราะได้ตัว บุคคลที่ไม่เป็นที่พอใจท่านรัฐมนตรีหรือไม่ รัฐมนตรีอดิศัยฯ จึงไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการส่อให้เห็นว่ารัฐมนตรี มีความจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วกฎกระทรวงดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและมีผลบังคับใช้เพียง ๔ เดือนเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเสนอยกเลิกกฎกระทรวงทั้งสามฉบับยกเว้นกฎกระทรวงว่าด้วยกรรมการสรรหาในสภาการศึกษาซึ่งผ่านความเห็นชอบไปแล้ว ในระว่างที่หน่วยงานดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการอุดมศึกษา จึงมีผลให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามกฎกระทรวงเดิมถูกยกเลิกไปด้วย นับได้ว่าเป็นการจงใจไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยการแต่งตั้งและสรรหา พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นผลให้การบริการการจัด
การศึกษา โดยคณะบุคคลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต้องล่าช้าและกระทบต่อการปฎิรูปโดยภาพรวมถึงแม้ว่าโดยภายหลัง นายอดิศัยโพธารามิก ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อออกกฎหมายกระทรวงเพื่อสรรหาและแต่งตั้งกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา กรรมการในกรรมการอาชีวศึกษากรรมการในกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรรมการในกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและประกาศใช้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ตามแต่ผลกกรดำเนินการดังกล่าว ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน ซึ่งล่าช้ามาก และไม่แน่ใจว่าหากมีการสรรหาแล้วไม่ได้ตัวบุคคลตามที่ท่านรัฐมนตรีต้องการท่านอาจจะต้องใช้อำนาจรัฐมนตรียกเลิกกฎกระทรวงอีกหรือไม่ เหมือนกับที่รัฐมนตรีต้องการท่านอาจจะต้องใช้อำนาจรัฐมนตรียกเลิกกฎกระทรวงอีกหรือไม่ เหมือนกับที่รัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ว่า “กฎหมายระบุให้ออกกฎกระทรวงได้หากดูแล้วไม่เหมาะสมและตนก็สามารถออกกฎกระทรวงใหม่ได้” หากรัฐมนตรีที่จะต้องชูธงเดินหน้าเพื่อปฎิรูปการศึกษามีความคิดอย่างนี้เสียแล้ว จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายโดยเฉพาะมีผลการกระทำต่อองค์กรหลักในการปฎิรูปการศึกษาทั้งสี่แห่งนี้เสียแล้ว จะหวังได้อย่างไรกับการที่รัฐมนตรีผู้นี้จะไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจกับข้าราชการครูกับองค์กรอื่นๆ ต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด
๑.๒ นายอดิสัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจไม่ปฎิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ (๕) กล่าวคือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการนับว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่มีเจตนารมณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติเพื่อสนองตอบต่อเจตนารมณืของรัฐธรรมมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องการให้มีการบริหารโดยองค์คณะบุคคลปราศจากการครอบงำทางการเมือง และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรา ๑๓ จึงมีบัญญัติไว้ชัดเจนว่าในกรณีที่สภาการศึกษา คณะกรรมการศึกษาอาชีวศึกษาเสนอความเห็นหรือคำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนำความเห็นหรือคำแนะนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยมาตรา ๑๔ (๕)ได้บัญญัติไว้ว่าสภาการศึกามีหน้าที่ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในเรื่องกฎหมาย และกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษาและนอกจากหน้าที่ของสภาการศึกษาตามวรรคหนึ่งแล้วให้สภาการศึกษามีหน้าที่ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีเสนอนโยบายแผนการศึกษาชาติ และมาตราฐานการศึกษาให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการดำเนินออกกฎหมายหรือกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องให้สภาการศึกษาให้ความเห็นหรือคำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อประกอบการพิจารณาก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตร ีเพื่อพิจารณาต่อไป
แต่ปรากฎว่าตั้งแต่ นายอดิศัย โพธารามิก เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้เสนอร่างกฎหมาย และกฎกระทรวง โดยไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ ที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดจงใจไม่ดำเนินการตามขึ้นตอนที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือนายอดิศัย โพธารามิก ลงนามในประกาศกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับองค์กรหลักในการบริหารการศึกษา ๓ ฉบับ ได้แก่ กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีสรรหา การเลือก ประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่ง ของกรรมการในกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖ กฎกระทรวง การสรรหา และแต่งตั้งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กฎกระทรวง การสรรหา และแต่งตั้งของกรรมการในกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวง กำหนดการสรรหาและแต่งตั้ง ของกรรมการในคณะกรรมการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันเดียวกัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยไม่ให้สภาการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นหรือคำแนะนำตามอำนาจหน้าที่ ถือได้ว่าจงใจไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และหวังผลเพียงเร่งรัดดำเนินการยกเลิกกฎกระทรวงที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทันก่อนวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๗ อันเป็นวันครบกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงที่นายปองพล อดิเรกสารได้ลงนามไว้ และประกาศในกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทางปกครองจากผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการในกรรมการชุดดังกล่าว และหรือหวังผลเพียงเพื่อให้ได้ตัวบุคคลที่ตนพอใจหรือพวกพ้องโดยไม่ยำเกรงกฎหมาย หรือกฎกระทรวงซึ่งออกมาโดยคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน
๒.นายอดิศัย โพธารามิก ยังคงแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยจงใจเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ....... ซึ่งต้องเสนอใหม่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ...... มีอันตกไปเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้ง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ ปรากฎว่านายอดิศัย โพธารามิก ยังมีพฤติกรรมชัดเจนว่าจงใจไม่เสนอพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านสภาการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรที่กฎหมายประสงค์ให้ทำหน้าที่เชิงนโยบาย รวมถึงให้ความเห็น คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการกระทำของนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการเสนอกฏหมายและกฏกระทรวงโดยไม่ให้สภาการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นคำแนะนำตามอำนาจหน้าที่ทั้งสองครั้ง ทำให้การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ เกิดแนวปฎิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย จะนำไปสู่การทำลายเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ประสงค์ให้การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีลักณะพิเศษ ต่างจากบริหารราชการกระทรวง ทบวง กรม อื่น ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔นายอดิศัย โพธารามิก จึงไม่เหมาะสมกับการบริการเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแ ปลงและการปฏิรูปการศึกษา เมื่อกรอบแนวคิดผิดพลาดแล้วอาจนำสู่ปัญหาอื่นอีกมากมาย
๓. นายอดิศัย โพธารามิก มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจใช้อำนาจขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2546 กล่าวคือ ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา และตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 บัญญัติว่าในวาระเริ่มแรกให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งมีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาตามมาตรา 12 และกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 64 ภายใน 180 วัน ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคุรุสภาในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เร่งรัดออกข้อบังคับของคุรุสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งคณะกรรมการคุรุสภา พ.ศ. 2546 และได้ดำเนินการสรรหาคัดเลือกตลอดจนจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการคุรุสภาประเภทต่างๆ ให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาแทนที่สนับสนุนให้ดำเนินการสำเร็จได้วยความรวดเร็ว กลับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ชะลอการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการคุรุสภาและ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งกำหนดไว้ในระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ไว้ก่อน โดยอ้างว่าได้รับการร้องเรียนถึงความกระชั้นชิดการกระทำดังกล่าว ของนายอดิศัย โพธารามิก ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อกฏหมายก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และนำไปสู่การหยุดชะงักของกระบวนการพัฒนาครูที่ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการคุรุสภาขึ้นปฏิบัติหน้าที่แม้ว่าได้ล่วงเลยระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว นอกจากนี้ นายอดิศัย โพธารามิก ยังได้ใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้าไปก้าวล่วงอย่างไม่เหมาะสมเป็นธรรมในองค์กรสภาวิชาชีพครูอีกหลายประเด็นซึ่งจะกล่าวต่อไปในกรณีการบริหารงานที่บกพร่องล้มเหลว
4. ประเด็นสำคัญที่สุด นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จงใจว่ากระทำการขัดต่อกฏหมายกล่าวคือ นายอดิศัย โพธารามิก ได้ใช้อำนาจ, ของประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและอำนาจรัฐมนตรีขัดกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2543 และยังดำเนินการออก ก.ค. และประกาศที่ขัดกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ด้วย ดังนี้
4.1 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามเสนอให้คณะรัฐมนตรีออกกฏ กค. ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523ว่าด้วยการกำหนดระดับเงินเดือนของตำแหน่งข้าราชการครู และลงนามประกาศใช้ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งขัดและแย้งกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ.2546มาตรา75ซึ่งบัญญัติไว้ว่าวาระเริ่มแรกเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาแล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาและให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาม มาตรา 37 ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา
4.2 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามในกฎฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ว่าด้วยการกำหนดระดับเงินเดือนของตำแหน่งข้าราชการครู เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้ตำแหนางผู้ช่วยอำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดระดับเงินเดือนในกฎ ก.ค.ฉบับนี้ ซึ่งขัดกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523 ที่อ้างถึง คือ มาตรา7(2) และมาตรา 30 วรรคสองเพราะมาตราดังกล่าว ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีออกกฎ ก.ค.ได้เฉพาะกำหนดว่าตำแหน่งข้าราชการครูตำแหน่งใดจะได้รับเงินเดือนระดับใดเท่านั้น การกำหนดตำแหน่งต้องออกเป็นพระราชบัญญัติตามนัยมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และการอ้างความในกฎ ก.ค.ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2535)และกฎก.ค.ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูนั้น จึงเป็นการใช้อำนาจโดยขัดด้วยกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 และกฏก.ค. ฉบับที่ 13 และกฎฉบับที่ 24 โดยสิ้นเชิง
4.3 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามในประกาศ ก.ค. เรื่องรับสมัครข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ประกาศทั้งสองฉบับ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 มาตรา 46 มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ประกอบกับกฎ ก.ค.ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2526) เป็นประกาศ ก.ค. ที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ขัดกับหลักกฎหมาย และเป็นการจงใจจะไม่รอใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะออกมามีผลบังคับใช้ ยังขัดกับหลักกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ด้วย กล่าวคือ มาตรา 44 บัญญัติไว้ว่าการแต่งตั้งข้าราชการครูให้ดำรงตำแหน่งที่ก.ค.ยังไม่ได้กำหนดตามมาตรา 31 จะกระทำมิได้ มาตรา 31 อ้างถึงตำแหน่งในมาตรา 30 (ค) คือตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษา แต่ตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 บัญญัติไว้ว่าการเลื่อนข้าราชการครูขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้รับเงินเดือนระดับสูงขึ้นให้เลื่อนข้าราชการครูขึ้นแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ การสอบแข่งขันให้เป็นไปตามมาตรา 38 ส่วนการคัดเลือกและคัดเลือก ให้ อกค.กรม หรือ อกค.จังหวัด แล้วแต่กรณี แต่นายอดิศัยฯ กลับไปดำเนินการในนาม ก.ค.เสียเอง ขัดกฎหมาย และแย้งกับกฎ ก.ค. การออกประกาศดังกล่าวทั้งสองฉบับ จึงออกโดยมิชอบถือว่านายอดิศัยฯ เป็นผู้สร้างระบบสอบคัดออกเป็นคนแรกของโลก
4.4 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการใช้อำนาจที่ส่อว่าจงใจขัดต่อกฎหมาย กฎกระทรวง แล้วยังใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทั้งที่มีหนังสือหารือจากส่วนราชการต้นสังกัด คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นแห่งหนึ่งในองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องและต้นสังกัดที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และไม่ได้ผ่านความเห็นหรือคำแนะนำของสภาการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นสภานโยบาย รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ ศธ.04009/5603 ด่วนที่สุด สงวันที่ 7 เมษายน 2547 เรื่อง ขอหารือแนวทางการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถึง เลขาธิการก.ค. ซึ่งมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีใจความสำคัญว่าการดำเนินการตามกฎก.ค. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2547 ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายหรือไม่ เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเลขาธิการ ก.ค. ได้ตอบกลับมาเพียง 2 ข้อเท่านั้น แต่นายอดิศัย โพธารามิก กลับให้สัมภาษณ์ว่าจะต้องเร่งรัดการบรรจุแต่งตั้ง ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงทักท้วงเพราะเสียเวลา ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่าพฤติการณ์ดังกล่าวส่อต่อการจงใจขัดต่อกฎหมายดังรายละเอียดดังกล่าวจากพฤติการณ์และข้อเท็จจริงทั้งหมด แสดงให้เห็นว่านายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบด้านการศึกษาโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานต่างๆทั้งยังเป็นผู้ต้องรักษาการตามพระราชบัญญัติอันได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ 2546 ละเลยการปฏิบัติตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย มีพฤติกรรมจงใจกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และส่อว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่พวกกระผมต้องยื่นให้วุฒิสภา พิจารณาถอดถอน นายอดิศัยโพธารามิก ออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 303 ถึงแม้ว่าท่านรัฐมนตรีจะออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ผมได้ให้นักกฎหมายและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคนช่วยตรวจสอบการยื่นถอดถอน ทุกคนบอกว่าเป็นเรื่องเบาปัญญา จนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องออกแถลงการณ์ว่าไม่เป็นความจริง แค่นี้ท่านรัฐมนตรียังนั่งอย่าบนบัลลังก์ ไม่มีหิริโอตัปปะต่อบูรพาจารย์อีกหรือแต่อย่างไรก็ตามท่านยังมีพฤติกรรมอีกหลายเรื่องที่ผมจะอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อไปท่านประธานที่เคารพครับ
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจกระทำขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหลายฉบับหลายกรรมหลายวาระแล้ว รัฐมนตรีท่านนี้ยังมีพฤติกรรมในการบริหารบกพร่อง ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพ มุ่งใช้อำนาจขาดคุณธรรม ขาดจริยธรรม ซึ่งกระผมประมวลได้เป็นผลงาน ชิ้นโบว์ดำสำหรับท่านรัฐมนตรี 9 ประการดังนี้
2.1 ไม่ได้ขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาโดยองค์รวมและยังมีพฤติกรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจ หน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษา โดยเฉพาะแนวคิด ที่จะรื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนายอดิศัยฯให้สัมภาษณ์ว่าเทอะทะต้องแก้ไขกฎหมายใหม่อันอาจนำไปสู่การรวมอำนาจทำลายระบบการปฎิรูปทางการศึกษาโดยสิ้นเชิงในอนาคต
2.2 ใช้อำนาจโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูง ไม่มีขวัญกำลังใจ อยู้ภายใต้การข่มขู่ของรัฐมนตรีทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2.3 ไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครู 120,000 คน ภาระครูที่มีมากขึ้นแต่อัตราไม่เพียงพอหรือการสรรหา ยังไม่ใช่คนของรัฐมนตรี จึงทำให้การปฏิรูปต้องล่าช้าไปอีก
2.4 การสั่งชะลอการแต่งตั้งกรรมการคุรุสภา และการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการครู เป็นการก้าวล่วงองค์กรวิชาชีพครูทั่วประเทศ ทำให้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาครูต้องล่าช้า ครูเสียขวัญกำลังใจ
2.5 การนำกระทรวงศึกษาธิการเข้าสู่ยุครวบอำนาจ ไม่ได้กระจายอำนาจลงสู่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาอย่างแท้จริง ตามมาตรา 39 พรบ.การศึกษาชาติ 2542 ให้เป็นกระทรวงปัญญาและเหตุผล มีหนังสือสั่งห้ามไม่ให้ครู ให้ข่าวสารข้อมูล ห้ามไม่ให้สัมภาษณ์ มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงองค์กรครู เป็นต้น
2.6 การปลดเปลื้องหนี้สินครูไม่คืบหน้า การระงับการจัดสวัสดิการรถยนต์ของคุรุสภา เงินกู้ของสมาชิก ชพด. ซึ่งเป็นสิทธิของครูที่เป็นสมาชิกคุรุสภาทั้งหมดมีปัญหาเพราะนายอดิศัยฯ เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และทำลายเครดิตครู โดยมีนโยบายไม่ให้ครูสามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ จนทำให้มีปัญหาสับสน รัฐมนตรีไม่เข้าใจสภาพชีวิตของครูทั่วประเทศอย่างแท้จริง
2.7 เริ่มมีข่าวหน้าหูในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และทุจริตเชิงนโยบาย เช่น กรณีโครงการจัดสร้างรถโมลายที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อเคลื่อนที่ไปยังโรงเรียน การส่งเสริมให้โรงเรียนได้รับเครื่องโทรศัพท์มือถือฟรีทราบว่าเป็นโนเกียรุ่น 3310 แต่ขณะนี้ถูกระงับไว้ก่อน
2.8 ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาภาคบังคับ และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 43 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 ที่มีบทบัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาศเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มีประเด็นเรื่องการกำหนดแนวทางการอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน12 ปี ซึ่งไม่ฟรีจริง และประเด็นความไม่เสมอภาคระหว่างโรงเรียน เกิดนโยบายโรงเรียนในฝันขึ้น รวมถึงประเด็นเด็กด้อยโอกาศ เด็กพิการ ที่จะต้องได้รับการศึกษาดูแลจากรัฐรวมทั้งเรื่องการศึกษาของสงฆ์ทุกระดับด้วย รัฐมนตรีอดิศัยฯ บกพร่อง ล้มเหลว ไม่ใส่ใจที่จะเร่งรัด หรือนโยบายพิเศษที่เกี่ยวกับการนี้
2.9 เรื่องการรับรองมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานการประเมิณผลทางการศึกษา นายอดิศัย โพธารามิก ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และปล่อยปละละเลยทำลายระบบความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในวงการศึกษาไทย เช่น
2.9.1 นายอดิศัย โพธารามิก ไม่ได้ให้ความสนใจและส่งเสริมการดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา ซึ่งเป็นองค์มหาชนที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องคุณภาพการศึกษา
2.9.2 การประกาศนำคะแนนจีพีเอ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจโดยขาดการเตรียมความพร้อมและขาดการประสานงานกับมหาวิทยาลัยจนนักเรียนและผู้ปกครองออกมาคัดค้าน
2.9.3 การใช้ผลสอบ NT (NATIONAL TEST) สำหรับนักเรียนชั้น ป. 6 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ทั้งที่เป็นการศึกษาภาคบังคับ และปล่อยปละละเลย ให้ข้อสอบรั่วต้องสอบใหม่ถึงจำนวน 200 โรงเรียน
2.9.4 ข้อสอบเอนทรานซ์รั่วเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นระบบที่ยุติธรรมที่สุด นักเรียนผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในระบบนี้ ถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงจากกรณีข้อสอบรั่ว และรัฐมนตรียังไม่มีแนวทางที่หาข้อยุติที่จะเรียกความเชื่อมั่นในระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจนมาถึงวันนี้
จากพฤติกรรมวิสัยทัศน์เจตคติของนายอดิศัย โพธารามิก ทั้งหมดนี้สรุปได้อย่างชัดเจนว่า นายอดิศัย โพธารามิก ไม่ควรจะอยู่บริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการต่อไปกระทรวงนี้ไม่เหมาะกับนายทุนนักธุรกิจ ไม่เหมาะกับระบบอำนาจนิยม ท่านประธานครับอยากจะอยู่ต่ออีกสี่ปีหรือครับ ก็มีความเสียหายมาก พอสำหรับการใช้อำนาจของท่านสำหรับการทำลายขวัญ กำลังใจ ของเพื่อนครู และเสียหายมากพอที่จะทำให้แรงขับเคลื่อนในการปฏิรูปการศึกษาต้องหยุดชะงักลง ผลการพิจารณาถอดถอนของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 303 จะเป็นบทพิสูจน์แนวคิดและเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญิติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ผมขอเป็นปากเสียงให้กับเพื่อนครูทั้งประเทศ นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติและผู้ปกครองนักเรียน ผู้ต้องการเห็นการศึกษาพัฒนาคน และพัฒนาชาติอย่างแท้จริง ผมไม่ไว้วางใจให้ท่านอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกต่อไป
ไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย ไม่แต่งตั้งกรรมการองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ภายในเงื่อนเวลาตามมาตรา 81
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-