เอ็นทรานซ์รั่วเพื่อใคร ????
โดย นายสนั่น สุธากุล ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
คำอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
19-21 พฤษภาคม 2547
- กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายสนั่น สุธากุล ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์
- กระผมขออนุญาตอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเป็นผู้ที่บริหาร ราชการแผ่นดินบกพร่อง ผิดพลาด ล้มเหลว และไร้ประสิทธิภาพ
- นายอดิศัยฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคนที่ 5 ในรัฐบาลนี้ แม้จะเข้ามารับตำแหน่งได้ประมาณ 6 เดือน แต่ได้สร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ให้วงการศึกษาหลายประการ สับสนวุ่นวายไปทั้งกระทรวง และได้สร้าง วีรกรรมที่คนไทยต้องจดจำไปตลอด เพราะเป็นเรื่องอื้อฉาว ครึกโครม และกระทบกระเทือนจิตใจประชาชน กว้างขวางและรุนแรงที่สุด ได้แก่ กรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว
- การสอบเอ็นทรานซ์หรือการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบสอบรวมนี้ เป็นระบบที่คนทั้งประเทศเชื่อมั่นว่ามีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และ โปร่งใส ไม่มีอำนาจใดๆแทรกแซงได้ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเงิน อำนาจทางการเมือง หรืออำนาจอิทธิพลอื่นใด เป็นระบบที่ตัดสินโอกาสเข้าเรียนกันด้วยความรู้ ความสามารถของเด็กจริงๆ ยากดีมีจนก็ แข่งขันกันได้ด้วยความเสมอภาค จนมีผู้กล่าวว่า ระบบเอ็นทรานซ์เป็นระบบที่เชื่อถือได้ในความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส เพียงระบบเดียว ที่เหลืออยู่ในสังคมไทย
- กระผมเป็น ส.ส.มาเกือบ 10 ปี มีผู้ปกครองฝากลูกหลานเข้าเรียนสถาบันต่างๆ เป็นประจำทุกปี แต่ไม่เคยมีใครฝากลูกหลานเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเขาเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของระบบว่าไม่สามารถ ใช้เส้นสายในการสอบเอ็นทรานซ์ได้
- แม้ในบางช่วง ระบบนี้จะถูกอำนาจบางอย่างแทรกแซงและท้าทาย เช่นกรณีที่เกิดในปี 2542 ที่มีผู้ทรงอำนาจทางการเมืองคนหนึ่ง ได้ส่งคนไปขอร้องให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบการสอบเอ็นทรานซ์ในขณะนั้น ช่วยเหลือเด็กคนหนึ่งให้เข้ามหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง โดยการเพิ่มคะแนน 3-4 คะแนน แต่ไม่สำเร็จ จนต่อมาผู้บริหารคนนั้นถูกอำนาจทางการเมืองตามเล่นงาน แต่เขาไม่ รู้สึกกลัวหรือเสียใจ กลับภูมิใจที่ได้ปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของระบบ และจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูของตนเองไว้ได้ เหมือนที่เกิดขึ้นกับ ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ศ.ดร.รัตนา สายคณิต และดร.ชาคร วิภูษณวนิช ในกรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ครั้งนี้ที่ท่านได้ใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม และจิตสำนึกแห่งความเป็นครู ช่วยปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของระบบการสอบเอ็นทรานซ์เอาไว้ และคนทั้งประเทศก็ ยกย่องและเชิดชูท่าน เพราะถ้าไม่มี 3 ท่านนี้ คนไทยทั้งประเทศจะไม่มีโอกาสรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อย่างแน่นอน
- การสอบเอ็นทรานซ์ หรือการสอบวัดความรู้ เพื่อเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2504 เป็นการสอบปีละครั้ง เรื่อยมาจนถึงปี 2542 จึงได้พัฒนา เป็นการสอบปีละ 2 ครั้งคือตุลาคม และมีนาคม แล้วให้ผู้สอบนำคะแนนสูงสุด ในแต่ละวิชาจากการสอบทั้ง 2 ครั้ง ไปใช้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยนำค่าGPA 5% และ PR 5 % มารวมด้วย (เอกสารประกอบ-ระเบียบการครั้งที่ 1 - 2 และ คู่มือสมัครเข้าเรียน)
- ในการดำเนินการมีคณะกรรมการชุดสำคัญที่รับผิดชอบคือ อนุกรรมการประสานงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ชุดใหญ่ ) คณะกรรมการดำเนินการสอบวัดความรู้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ชุดเล็ก) เป็นหลัก
- ในการออกข้อสอบและการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จะมีคณะกรรมการรับผิดชอบในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ การ กลั่นกรองข้อสอบ การจัดชุดข้อสอบ การจัดพิมพ์ การจัดเก็บรักษา การดำเนินการสอบ การตรวจ ข้อสอบ และการประกาศผลการสอบ (เอกสารประกอบ - บัตรสร้างข้อสอบ ต้นฉบับข้อสอบ ต้นฉบับเฉลยข้อสอบรายข้อ ต้นฉบับข้อสอบก่อนส่งพิมพ์ เฉลยข้อสอบทั้งชุด)
- ที่มาของปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว เริ่มส่อเค้าตั้งแต่หลังการประกาศผลการสอบวัด ความรู้เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เดือนตุลาคม 2546 โดยมีความเคลื่อนไหวของผู้หญิงฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง นักการเมืองหญิงคนหนึ่ง และครูสอนโรงเรียนกวดวิชาคนหนึ่ง เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนบางคนให้ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเป้าหมาย ต่อมานักการเมืองหญิงคนดังกล่าว ได้หารือกับข้าราชการระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งให้ร่วมหาทางช่วยเหลือด้วย
- ต่อมามีการปรับคณะรัฐมนตรี นายอดิศัยฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลังจากรับตำแหน่งได้ไม่กี่วัน นายอดิศัยฯ ได้มอบนโยบายแก่ นายวรเดช จันทรศร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้ปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกเข้าเรียนสถาบันอุดมศึกษา และมอบหมายให้ศึกษา หาแนวทางเสนอนายอดิศัยฯ ภายใน 1 เดือน ต่อมานายวรเดชฯ ก็ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและเกิดปัญหาอื้อฉาว และครึกโครมตามมา
ประเด็นที่อภิปรายไม่ไว้วางใจ
- ท่านประธานที่เคารพ ในฐานะสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร กระผมได้ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของนายอดิศัยฯ ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบ เอ็นทรานซ์รั่วแล้ว กระผมไม่สามารถไว้วางใจ นายอดิศัยฯ ให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ ดังมีเหตุผลที่สำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1. การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีประสิทธิภาพจนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว
ข้อ 2. นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจที่ขัดขวางการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพอต่อบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ
ข้อ 3. การบริหารราชการแผ่นดินของนายอดิศัยฯ มีเงื่อนงำและเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
ข้อ 1. การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีประสิทธิภาพจนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วมีกรณีบ่งชี้ 5 ประการ คือ
ประการที่ 1. การที่นายอดิศัยฯ ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยกำหนดค่า GPA เพิ่มเป็น ร้อยละ 25 และใช้ทันทีในปีการศึกษา 2547 โดยไม่ให้เวลาเตรียมตัวเข้าสู่ระบบใหม่สำหรับผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเป็นการดำเนินการแบบรีบร้อนและฉุกละหุก ทำให้ได้รับการคัดค้านจากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนจนต้องยกเลิกไป และก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า เป็นนโยบายที่ขาดความรอบคอบและที่สำคัญการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งรีบและร้อนรนนั้นน่าจะมีเป้าหมายซ่อนเร้นแอบแฝง เพื่อช่วยเหลือเด็กบางคนให้ได้คะแนนจากค่า GPA ตุนไปจากโรงเรียนโดยเฉพาะสำหรับลูกหลานของผู้มีอำนาจและอภิสิทธิ์ที่โรงเรียนเกรงใจเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเป้าหมายได้มากขึ้น
ประการที่ 2. การที่นายอดิศัยฯ มีนโยบายและมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมเป็นกรรมการกลั่นกรอง ข้อสอบวัดความรู้เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ในสัดส่วน 30 % จำนวน 8 คำสั่ง โดยให้เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบวิชาหลัก 8 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่ในทางปฏิบัติจริงพบว่า ครูที่ได้รับแต่งตั้ง มิได้มีส่วนร่วมในการสร้างข้อสอบ หรือกลั่นกรองข้อสอบแต่อย่างใด เพียงแต่ประชุมกับประธานกลั่นกรอง ข้อสอบบางวิชา ซักถามถึงวิธีออกข้อสอบ และ ผลการวิเคราะห์ข้อสอบในอดีต โดยที่ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลางระบุว่า ครูที่เป็นกรรมการเหล่านี้มิได้เห็นข้อสอบวัดความรู้ ครั้งที่ 1 (เดือนมีนาคม 2547) เลย แต่นายวรเดช จันทรศร เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาชี้แจงต่อ คณะกรรมาธิการการศึกษาว่า ที่ตนต้องเปิดดูซอง ต้นฉบับวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาที่เป็นข่าว อื้อฉาวนั้น เพราะต้องการตรวจความเรียบร้อยและ คำถูกผิดของข้อสอบ เนื่องจากมีครูสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับครูมัธยมศึกษา จนออกมาตอบโต้นายอดิศัย และนายวรเดชด้วยความไม่พอใจ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า การออกคำสั่งให้ครูเหล่านั้นมาเป็นกรรมการมีเป้าหมายที่แท้จริงอย่างไร จะให้มีส่วนร่วมออกข้อสอบจริงๆ หรือเพียงเพื่อใช้อ้างในการเปิดซองต้นฉบับข้อสอบดูเท่านั้น เรื่องนี้จึงเป็นข้อพิรุธที่น่าสนใจยิ่ง
ประการที่ 3. นายวรเดชฯ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยคำสั่ง ไม่เคยมีการประชุม และไม่ปรากฏการปฏิบัติงานในขั้นตอนใด ๆ แต่น่าสังเกตว่าเมื่อคณะกรรมาธิการการศึกษาถามว่าใช้อำนาจอะไรในการเปิดซองต้นฉบับข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา กลับชี้แจงว่าใช้อำนาจในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ ซึ่งการกระทำอย่างนี้ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน จึงถือว่ากรรมการชุดนี้น่าจะเป็นเพียงกรรมการ “ชุดตบตาประชาชน” เท่านั้น
ประการที่ 4. ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อสอบในแต่ละขั้นตอนมีหลักปฏิบัติที่รัดกุมและยึดถือกันอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด แต่ นายอดิศัยฯ ปล่อยปละละเลยให้นายวรเดชฯ ทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เปิดช่องให้ผู้ไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องโดยตรงเข้าถึงตัวข้อสอบและเอกสาร การสอบอื่นได้ง่ายขึ้น เหมือนเป็นการ “ ปิดประตูแต่ถอดกลอนไว้ให้โจร” ดังกรณีตัวอย่าง เช่น
กรณีที่1. มีการปรับเปลี่ยนตัวบุคคล ที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการที่ดูแลระบบการสอบ การสร้างข้อสอบในจุดสำคัญหลายจุด คล้ายกับมีการตระเตรียม วางแผนล่วงหน้า เพื่อเปิดทางโล่งในการเข้าถึงข้อสอบ สำหรับบางคน
กรณีที่ 2. การนำซองบรรจุต้นฉบับข้อสอบมาเปิดทั้งที่มีข้อปฏิบัติว่าห้ามเปิด(เอกสารประกอบ - ตัวอย่างซอง)
กรณีที่ 3. การเก็บรักษาซองบรรจุข้อสอบทุกวิชา ซึ่งโดยข้อปฏิบัติ ประธานอนุกรรมการจัดพิมพ์ฯ เป็นผู้เก็บรักษา แต่นายวรเดชฯ ให้นำมาเก็บไว้ที่ ห้องทำงานของตนเอง โดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อสอบ แทนที่จะเก็บในห้องมั่นคง กลับเก็บในห้องทำงาน พอสอบเสร็จก็ย้ายจากห้องทำงานไปเก็บที่ห้องมั่นคง
ประการที่ 5. นายอดิศัยฯ คอยโอบอุ้มและปกป้องนายวรเดชฯ จนเกินเหตุทั้งที่มีข้อพิรุธเกี่ยวกับการดำเนินการสอบเอ็นทรานซ์หลายกรณี เช่น
กรณีที่ 1. ในการเปิดดูต้นฉบับข้อสอบวิชา ภาษาไทยและสังคมศึกษาครั้งแรกนั้น นายวรเดชฯ ชี้แจงว่ามีผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง(นางศศิธร อหิงสโก) อยู่ด้วย และข้อสอบวางบนโต๊ะรับแขกตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปดูเป็นการส่วนตัว ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวไม่สอดคล้องกับคำให้การของ นางศศิธรฯ ที่ชี้แจงว่าตนเองขอออกไปทำธุระส่วนตัวเป็นเวลาประมาณ 30 นาที ทำให้นายวรเดชฯ มีโอกาสดู ข้อสอบดังกล่าวตามลำพังซึ่ง ขัดแย้งกับ คำให้การของนายวรเดชฯ ที่ชี้แจงคณะกรรมาธิการการศึกษาฯ อย่างชัดเจน
กรณีที่ 2. นายวรเดชฯ มาให้คำชี้แจงคณะ กรรมาธิการการศึกษาฯ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 แต่ไม่บอกว่าได้เปิดกล่องและเปิดซองข้อสอบ 2 กล่อง แล้วคือ กล่องที่ 1 วิชาเฉพาะ และกล่องที่ 2 วิชาหลัก ในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ที่ผ่านมาเพียงวันเดียว
กรณีที่ 3. ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 เลขานุการนายวรเดชฯ (นางรุจิรา สุนทรีรัตน์) ได้เดินทาง ไปรับต้นฉบับวิชาหลักจำนวน 16 วิชา 16 ซอง ด้วยตนเอง ณ สำนักพิมพ์ข้อสอบมหาวิทยาลัย รามคำแหง โดยขอรับให้ได้ในวันนั้นและถึงกับพูดว่า “ถ้าไม่ได้คอขาดแน่ๆ”
กรณีที่ 4. นายวรเดชฯ มอบให้เจ้าหน้าที่ 2 คน จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปขอพบประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ (ดร.ชาคร วิภูษณวนิช) ที่โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขอต้นฉบับ ทั้ง 2 วิชา โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของนายวรเดชฯ แต่ ดร.ชาครฯ ไม่ยินยอม และขอให้ทำเป็นหนังสือ นายวรเดชฯ จึงได้ทำหนังสือลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 แจ้งให้ ดร.ชาครฯ นำต้นฉบับข้อสอบทุกวิชาไปเก็บไว้ที่สำนักงานการอุดมศึกษาโดยเร็วที่สุด ทั้งที่วิธีการเช่นนี้ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน (เอกสารประกอบ — บันทึกของ ดร.ชาคร/หนังสือด่วนที่สุดที่ ศธ 0502/1741 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547)
กรณีที่ 5. เอกสารการสอบทุกรายการเป็นเอกสารลับที่จะต้องเก็บในห้องมั่นคง ในช่วงก่อนสอบแต่กลับเก็บอยู่ในห้องทำงานส่วนตัวของนายวรเดชฯ และเมื่อสอบเสร็จแล้วกลับนำเข้าไปเก็บใน ห้องมั่นคง เป็นเรื่องที่ชวนให้สงสัยว่าจะเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาเอกสารการสอบได้มากขึ้นอย่างไร
กรณีที่ 6. การไปรับข้อสอบทุกครั้งมีบัญชีระบุว่าในกล่องมีวิชาใด แล้วทำไมจึงต้องเปิดกล่องและนับ ข้อสอบทุกครั้ง โดยเฉพาะครั้ง สุดท้ายในวันที่ 10 มีนาคม 2547 มีการก้าวล่วงถึงการเปิดซองบัตร ต้นฉบับข้อสอบและแผ่นพิมพ์ต้นฉบับข้อสอบขนาด A4 (ต้นฉบับข้อสอบก่อนถ่ายเพลท เพื่อจัดพิมพ์)
กรณีที่ 7. การที่นายวรเดชฯ เชิญให้ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง ไปตรวจรับข้อสอบในวันที่ 10 มีนาคม 2547 โดยนายวรเดชฯ เป็นผู้เปิดกล่องวิชาหลัก ชวนให้เชื่อว่าเป็นการจัดฉากเพื่อ กลบเกลื่อนซองข้อสอบที่ถูกเปิดมาก่อน โดย นายวรเดชฯ ทำทีเป็นเปิดซองข้อสอบทั้งที่กล่องและซองข้อสอบวิชาหลักน่าจะถูกเปิดมาก่อนแล้ว และในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ที่เปิดกล่องและซองข้อสอบ ดังกล่าว การสอบข้อเขียนยังไม่แล้วเสร็จ คือเหลืออีก 4 วิชา ได้แก่ 10 มีนาคม 2547 สอบวิชาคณิตศาสตร์ 1 เคมี และชีววิทยา และวันที่ 11 มีนาคม 2547 สอบวิชาพละศึกษาปฏิบัติ ทั้งที่มีการพิมพ์กำกับที่ตัว ข้อสอบว่า “เอกสารนี้ เป็นเอกสารสงวนสิทธิ์ของทางราชการ ห้ามเผยแพร่ อ้างอิงหรือ เฉลยก่อนวันที่ 12 เมษายน 2547” นายวรเดชฯ อ้างว่าไม่ทราบและตนเองมีอำนาจที่จะทำได้ (เอกสารประกอบ-ข้อสอบจริง)
กรณีที่ 8. นายวรเดชฯ แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ต้องตัดสายรัดกล่องทิ้งไปเพราะมีตะกั่วผนึกอยู่ไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ทั้งที่ ดร.ชาครฯ ผู้บรรจุกล่องและผูกรัดกล่องยืนยันว่า ใช้สายคาดที่เป็นพลาสติก ไม่มีตะกั่วผนึกแต่อย่างใด เป็นข้อพิรุธที่ขัดแย้งกัน อีกประการหนึ่ง (หลักฐานประกอบ- ตัวอย่างกล่องและสายรัด)
กรณีที่ 9. เมื่อนายวรเดชฯ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีเสียงเรียกร้องให้นายอดิศัยฯ ดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ เพื่อสร้างความกระจ่างแก่สังคมในลักษณะต่างๆ เช่น ให้ตั้งกรรมการที่เป็นกลางเพื่อตรวจสอบ ให้ปลดหรือย้ายนายวรเดชฯ ออกจากตำแหน่งไปก่อน เรียกร้องให้นายวรเดชฯ ลาออกจากตำแหน่ง ร้องเรียนผ่านประธานสภา ผู้แทนราษฎร รวมทั้งการถวายฎีกา เป็นต้น แต่นายอดิศัยฯ กลับให้สัมภาษณ์โดยไม่ใส่ใจที่จะสนองตอบข้อเรียกร้องของสังคมแต่อย่างใดว่า “ได้รับรายงานจากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งมีการรายงานคำให้การของทุกคนเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีอะไร ข้อสอบไม่ได้รั่ว เชื่อมั่นใน ความบริสุทธิ์ของ ศ.รตอ.วรเดชฯ ทุกอย่างมีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนและผลการตรวจสอบออกมาแล้ว หากใครต้องการเรียกร้องให้ ศ.รตอ.วรเดชฯ ลาออกก็ไปเรียกร้องกันเองไม่เกี่ยวกับตนเอง” แต่ ต่อมาเมื่อทนแรงกดดันจากสังคมไม่ไหว จึงแต่งตั้งให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการตรวจสอบและย้าย นายวรเดชฯ ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ตามข้อเสนอของ ดร.สุเมธฯ และออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้น ให้นายวรเดชฯ เป็นรางวัลปลอบใจ
พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น บ่งชี้ให้เห็นว่า การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบ เอ็นทรานซ์ของนายอดิศัยฯ ไม่มีประสิทธิภาพ บกพร่อง ผิดพลาด จนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วที่ส่งผลให้เกิด ความเสียหายและกระทบกระเทือนจิตใจเด็กที่เข้าสอบ และคนไทยทั้งประเทศอย่างกว้างขวาง
ข้อ 2. นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวาง การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหา ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญมีกรณีบ่งชี้ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1. นายอดิศัยฯ ไม่ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรในการศึกษาปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยนับตั้งแต่เกิดปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรได้ขอความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง จากบุคคลและเอกสารหลักฐานต่างๆ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง จำนวน 6 ครั้ง แต่ ไม่เคยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่เลยแม้แต่ครั้งเดียว จนคณะกรรมาธิการการศึกษาได้มีมติเป็น เอกฉันท์ ให้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาดำเนินการ ประธานกรรมาธิการ การศึกษาจึงได้ทำหนังสือเรื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และข้าราชการระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ให้ความร่วมมือและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ความสำคัญสรุปได้ว่า คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ ได้นำปัญหาที่มีข่าวในสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อสอบ วัดความรู้ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษารั่ว เข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม 2547 และได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 อีกหลายครั้ง มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการและคณะทำงานสอบหาข้อมูลและข้อเท็จจริง ตลอดจนนำเรื่องเข้าพิจารณาโดยตรงอีกหลายครั้ง ปรากฏว่าในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวตามภาระกิจและหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติตลอดระยะเวลา 2 เดือน ไม่ได้รับความร่วมมือจากนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและข้าราชการในสังกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอดิศัยฯ ไม่เคยมา ชี้แจ้งตามหนังสือเรียนเชิญแม้แต่ครั้งเดียว คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ มี พฤติกรรมขัดขวางไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ให้เกียรติแก่องค์กรของสถาบันนิติบัญญัติ อันเป็นการจงใจละเมิดบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญมาตรา 189 และ มาตรา 212 หรือไม่
ประการที่ 2. นายอดิศัยฯ แถลงผ่าน สื่อมวลชนเกี่ยวกับการชี้แจงคณะกรรมาธิการ ในลักษณะไม่ให้ความสำคัญว่า “ตนทำหน้าที่บริหารประเทศ ผู้บริหารทำอะไรคนตามกันอยู่ กรรมาธิการ รัฐสภามีหน้าที่ตรวจสอบดูแลเพื่อ ประชาชนได้ แต่ต้องดูน้ำหนัก ว่าจำเป็นหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไป และที่ผ่านมาอยู่กระทรวงใดก็ไม่เคยมีเรื่องใด มีน้ำหนักที่รัฐมนตรีว่าการต้องไป ชี้แจงกรรมาธิการ”
การปกป้อง หรืออุ้มนายวรเดชฯ จน เกินเหตุ ทั้งที่มีพฤติการณ์ที่สังคมเคลือบแคลงสงสัย ว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาข้อสอบรั่วหลายประการ จึงเป็นผลให้สื่อมวลชนเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง และมีผลกระทบถึงความรู้สึกของท่านนายกรัฐมนตรี อย่าง รุนแรง ถึงขนาดต้องร้องไห้ ยกมือไหว้ขอร้อง สื่อมวลชนถึง 3 ครั้ง ผู้ที่มีส่วนโดยตรงที่ทำให้ นายกรัฐมนตรีต้องเสียน้ำตาตัวจริงไม่ใช่สื่อมวลชนแต่เป็นนายวรเดช และนายอดิศัย ต่างหาก ถ้าไม่อุ้มกันจนผิดปกติก็คงไม่อื้อฉาวและครึกโครมอย่างนี้ จากพฤติการณ์ ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่านายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวางและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการการศึกษา เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนทำให้การศึกษา ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้สมบูรณ์
ข้อ 3. การบริหารราชการแผ่นดินของนายอดิศัยฯ มีเงื่อนงำและเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
พฤติการณ์นายอดิศัยฯ ที่ควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายเกี่ยวกับการสอบเอ็นทรานซ์อย่างไร้ประสิทธิภาพ และการที่นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวางการตรวจสอบของฝ่าย นิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นอกจากแสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพและความไม่เคารพกฎหมายของนายอดิศัยฯ แล้ว ยังมีเงื่อนงำว่า จงใจเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้องด้วย ดังประเด็นบ่งชี้ที่สำคัญ ต่อไปนี้
ประการที่ 1 ผลจากการที่นายอดิศัยฯ ปล่อยปละละเลยในการกำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ปกป้องและโอบอุ้มบุคคลที่ถูกสงสัยว่าเป็นต้นเหตุ และ ขัดขวางไม่ให้องค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบอย่างจริงจัง ส่งผลให้คะแนนสอบวัดความรู้ของเด็กบางคนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ จนมี การวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในวงการต่างๆ ว่าเพราะได้รับประโยชน์จากข้อสอบที่รั่วออกไป ดังตัวอย่างคะแนนของเด็กคนหนึ่ง
รหัส ชื่อวิชา ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เพิ่ม/ลด %
01 ไทย 52.00 72.00 20.00 38.00
02 สังคม 41.25 67.50 26.25 63.00
03 อังกฤษ 64.00 84.00 20.00 31.00
08 วิทย์ 40.00 35.00 - 5.00 -15.00
09 คณิต 2 27.00 63.00 36.00 133.00
18 วัดแววครู 55.00 54.00 -1.00 -2.00
จากผลการสอบครั้งที่สองปรากฎว่า มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต 4 วิชาตามลำดับ คือ คณิตศาสตร์ 2 เพิ่ม 133 % สังคมศึกษา เพิ่ม 63% ภาษาไทย เพิ่ม 38% และภาษาอังกฤษ เพิ่ม 31%
ประการที่ 2 ผลการทดสอบ CU-TEP ของเด็กคนเดียวกันจำนวน 4 ครั้งในวิชาภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งคะแนนแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อ 20 มิถุนายน 2546 ได้ 55/485ครั้งที่ 2 เมื่อ 11 มกราคม 2547 ได้ 58/479
ครั้งที่ 3 เมื่อ 25 มกราคม 2547 ได้ 59/485
ครั้งที่ 4 เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2547ได้ 56/482
แต่จาก ผลการสอบวัดความรู้ฯ ในประเด็นที่ 1 วิชาภาษาอังกฤษของเด็กคนดังกล่าวในครั้งหลังเพิ่มขึ้นจากครั้งแรก 84 — 64 = 20 คะแนน คิดเป็น 31% หากเป็นคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากความรู้ความสามารถของเด็กเองจริง ก็ไม่น่าจะมีอัตราการเพิ่มที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ ดังนั้นคะแนนที่เพิ่มขึ้น ถึง 31% ในการสอบวิชาภาษาอังกฤษครั้งที่ 2 จึงไม่น่าจะเป็นความรู้ความสามารถของเด็กจริงๆ น่าจะมาจาก ผลของของข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มากกว่า
ประการที่ 3 กรณีที่นิสิตคนหนึ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีที่ไม่เหมือนคนอื่น และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า มีการใช้อำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงและช่วยเหลือ เป็นการดำเนินการที่ผิดระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีปฏิบัติของมหาวิทยาลัยหลายประการ คือ
1. สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรภาคพิเศษ ที่ทางคณะทำการรับนิสิตเอง โดยทำการสอบข้อเขียนที่จัดขึ้นต่างหาก
2. สมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาที่กำหนดคุณสมบัติว่า ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งที่ผู้สมัครจบสายศิลป์คำนวณ
3. เมื่อศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ผลการเรียนเฉลี่ย ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 เป็น 1.50 และ 1.58 ตามลำดับ แต่เมื่อขึ้นภาคเรียนที่ 1 ของปีที่ 2 ข้อมูลของเด็กคนนี้กลับถูกระบุในฝ่ายทะเบียนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่านิสิตโอนไปคณะสังคม โดยที่เลขรหัสประจำตัวนิสิตก็เปลี่ยนไป แต่ปีที่เข้าเรียนยังเหมือนเดิม ซึ่งนิสิตคนอื่นที่โอนคณะเช่นนี้ รหัสประจำตัวนิสิตจะต้องเหมือนเดิม
4. การย้ายคณะจากระบบภาคพิเศษที่รับต่างหากไปเข้าเรียนในภาคปกติที่รับนิสิตจากการสอบแข่งขันกันกับเด็กทั่วประเทศในระบบเอ็นทรานซ์
5. ในข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2521 ฉบับแก้ไขปรับปรุง กำหนดเกณฑ์ในการย้ายคณะ ข้อ 15.1.2 ระบุว่านิสิตที่มาเรียนในคณะเดิมแต่ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 ไม่มีสิทธิ์ย้ายคณะได้ กรณีดังกล่าวนี้ แม้จะเป็นเรื่องภายใของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จริง แต่เป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของชาติอย่างยิ่ง สังคมจึงมีความข้องใจ และต้องการคำตอบว่ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ท่านรัฐมนตรีช่วยหาคำตอบให้กับสังคมและคืนความยุติธรรมให้กับนิสิตทั่วไปได้หรือไม่
บทสรุป
การสอบเอ็นทรานซ์เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมานี้แม้ว่ากระบวนการตรวจสอบของฝ่ายต่าง ๆ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ข้อพิรุธและความผิดปกติที่ ค้นพบและปรากฏแล้ว สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ความบริสุทธิ์ ความยุติธรรม ความเสมอภาค และความโปร่งใสในการสอบครั้งนี้ที่ผู้เข้าสอบ 111,766 คน หวังจะได้รับนั้นถูกปล้นเงียบไปก่อนแล้ว ไม่ใช่โดยฝีมือโจรกระจอก แต่เป็นโจรเทวดา ปัญหา ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วครั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความ บกพร่องโดยสุจริต แต่เกิดจากการวางแผนอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ และมีพื้นฐานความคิดมาจากคนที่มี “ภูมิคุ้มกันทางจริยธรรมและจิตสำนึก บกพร่องหรือเรียกภาษาชาวบ้านทั่วไปว่า คนที่เป็นเอดส์ทางจริยธรรมและจิตสำนึก”
จากกรณีดังกล่าวข้างต้นที่ได้อภิปรายมานี้ กระผมขอ ยืนยันว่าไม่สามารถไว้วางใจนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้บริหารราชการแผ่นดิน ต่อไปได้และถ้าเป็นไปได้ที่กระผมขอแสดงความไม่ไว้วางใจต่อ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีด้วย ขอขอบคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-
โดย นายสนั่น สุธากุล ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์
รายละเอียด
คำอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
19-21 พฤษภาคม 2547
- กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายสนั่น สุธากุล ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์
- กระผมขออนุญาตอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเป็นผู้ที่บริหาร ราชการแผ่นดินบกพร่อง ผิดพลาด ล้มเหลว และไร้ประสิทธิภาพ
- นายอดิศัยฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคนที่ 5 ในรัฐบาลนี้ แม้จะเข้ามารับตำแหน่งได้ประมาณ 6 เดือน แต่ได้สร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ให้วงการศึกษาหลายประการ สับสนวุ่นวายไปทั้งกระทรวง และได้สร้าง วีรกรรมที่คนไทยต้องจดจำไปตลอด เพราะเป็นเรื่องอื้อฉาว ครึกโครม และกระทบกระเทือนจิตใจประชาชน กว้างขวางและรุนแรงที่สุด ได้แก่ กรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว
- การสอบเอ็นทรานซ์หรือการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบสอบรวมนี้ เป็นระบบที่คนทั้งประเทศเชื่อมั่นว่ามีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และ โปร่งใส ไม่มีอำนาจใดๆแทรกแซงได้ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเงิน อำนาจทางการเมือง หรืออำนาจอิทธิพลอื่นใด เป็นระบบที่ตัดสินโอกาสเข้าเรียนกันด้วยความรู้ ความสามารถของเด็กจริงๆ ยากดีมีจนก็ แข่งขันกันได้ด้วยความเสมอภาค จนมีผู้กล่าวว่า ระบบเอ็นทรานซ์เป็นระบบที่เชื่อถือได้ในความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส เพียงระบบเดียว ที่เหลืออยู่ในสังคมไทย
- กระผมเป็น ส.ส.มาเกือบ 10 ปี มีผู้ปกครองฝากลูกหลานเข้าเรียนสถาบันต่างๆ เป็นประจำทุกปี แต่ไม่เคยมีใครฝากลูกหลานเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเขาเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของระบบว่าไม่สามารถ ใช้เส้นสายในการสอบเอ็นทรานซ์ได้
- แม้ในบางช่วง ระบบนี้จะถูกอำนาจบางอย่างแทรกแซงและท้าทาย เช่นกรณีที่เกิดในปี 2542 ที่มีผู้ทรงอำนาจทางการเมืองคนหนึ่ง ได้ส่งคนไปขอร้องให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบการสอบเอ็นทรานซ์ในขณะนั้น ช่วยเหลือเด็กคนหนึ่งให้เข้ามหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง โดยการเพิ่มคะแนน 3-4 คะแนน แต่ไม่สำเร็จ จนต่อมาผู้บริหารคนนั้นถูกอำนาจทางการเมืองตามเล่นงาน แต่เขาไม่ รู้สึกกลัวหรือเสียใจ กลับภูมิใจที่ได้ปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของระบบ และจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูของตนเองไว้ได้ เหมือนที่เกิดขึ้นกับ ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ศ.ดร.รัตนา สายคณิต และดร.ชาคร วิภูษณวนิช ในกรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ครั้งนี้ที่ท่านได้ใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม และจิตสำนึกแห่งความเป็นครู ช่วยปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของระบบการสอบเอ็นทรานซ์เอาไว้ และคนทั้งประเทศก็ ยกย่องและเชิดชูท่าน เพราะถ้าไม่มี 3 ท่านนี้ คนไทยทั้งประเทศจะไม่มีโอกาสรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อย่างแน่นอน
- การสอบเอ็นทรานซ์ หรือการสอบวัดความรู้ เพื่อเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2504 เป็นการสอบปีละครั้ง เรื่อยมาจนถึงปี 2542 จึงได้พัฒนา เป็นการสอบปีละ 2 ครั้งคือตุลาคม และมีนาคม แล้วให้ผู้สอบนำคะแนนสูงสุด ในแต่ละวิชาจากการสอบทั้ง 2 ครั้ง ไปใช้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยนำค่าGPA 5% และ PR 5 % มารวมด้วย (เอกสารประกอบ-ระเบียบการครั้งที่ 1 - 2 และ คู่มือสมัครเข้าเรียน)
- ในการดำเนินการมีคณะกรรมการชุดสำคัญที่รับผิดชอบคือ อนุกรรมการประสานงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ชุดใหญ่ ) คณะกรรมการดำเนินการสอบวัดความรู้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ชุดเล็ก) เป็นหลัก
- ในการออกข้อสอบและการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จะมีคณะกรรมการรับผิดชอบในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ การ กลั่นกรองข้อสอบ การจัดชุดข้อสอบ การจัดพิมพ์ การจัดเก็บรักษา การดำเนินการสอบ การตรวจ ข้อสอบ และการประกาศผลการสอบ (เอกสารประกอบ - บัตรสร้างข้อสอบ ต้นฉบับข้อสอบ ต้นฉบับเฉลยข้อสอบรายข้อ ต้นฉบับข้อสอบก่อนส่งพิมพ์ เฉลยข้อสอบทั้งชุด)
- ที่มาของปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว เริ่มส่อเค้าตั้งแต่หลังการประกาศผลการสอบวัด ความรู้เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เดือนตุลาคม 2546 โดยมีความเคลื่อนไหวของผู้หญิงฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง นักการเมืองหญิงคนหนึ่ง และครูสอนโรงเรียนกวดวิชาคนหนึ่ง เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนบางคนให้ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเป้าหมาย ต่อมานักการเมืองหญิงคนดังกล่าว ได้หารือกับข้าราชการระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งให้ร่วมหาทางช่วยเหลือด้วย
- ต่อมามีการปรับคณะรัฐมนตรี นายอดิศัยฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลังจากรับตำแหน่งได้ไม่กี่วัน นายอดิศัยฯ ได้มอบนโยบายแก่ นายวรเดช จันทรศร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้ปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกเข้าเรียนสถาบันอุดมศึกษา และมอบหมายให้ศึกษา หาแนวทางเสนอนายอดิศัยฯ ภายใน 1 เดือน ต่อมานายวรเดชฯ ก็ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและเกิดปัญหาอื้อฉาว และครึกโครมตามมา
ประเด็นที่อภิปรายไม่ไว้วางใจ
- ท่านประธานที่เคารพ ในฐานะสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร กระผมได้ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของนายอดิศัยฯ ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบ เอ็นทรานซ์รั่วแล้ว กระผมไม่สามารถไว้วางใจ นายอดิศัยฯ ให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ ดังมีเหตุผลที่สำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1. การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีประสิทธิภาพจนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว
ข้อ 2. นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจที่ขัดขวางการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพอต่อบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ
ข้อ 3. การบริหารราชการแผ่นดินของนายอดิศัยฯ มีเงื่อนงำและเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
ข้อ 1. การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีประสิทธิภาพจนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วมีกรณีบ่งชี้ 5 ประการ คือ
ประการที่ 1. การที่นายอดิศัยฯ ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยกำหนดค่า GPA เพิ่มเป็น ร้อยละ 25 และใช้ทันทีในปีการศึกษา 2547 โดยไม่ให้เวลาเตรียมตัวเข้าสู่ระบบใหม่สำหรับผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเป็นการดำเนินการแบบรีบร้อนและฉุกละหุก ทำให้ได้รับการคัดค้านจากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนจนต้องยกเลิกไป และก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า เป็นนโยบายที่ขาดความรอบคอบและที่สำคัญการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งรีบและร้อนรนนั้นน่าจะมีเป้าหมายซ่อนเร้นแอบแฝง เพื่อช่วยเหลือเด็กบางคนให้ได้คะแนนจากค่า GPA ตุนไปจากโรงเรียนโดยเฉพาะสำหรับลูกหลานของผู้มีอำนาจและอภิสิทธิ์ที่โรงเรียนเกรงใจเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเป้าหมายได้มากขึ้น
ประการที่ 2. การที่นายอดิศัยฯ มีนโยบายและมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมเป็นกรรมการกลั่นกรอง ข้อสอบวัดความรู้เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ในสัดส่วน 30 % จำนวน 8 คำสั่ง โดยให้เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบวิชาหลัก 8 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่ในทางปฏิบัติจริงพบว่า ครูที่ได้รับแต่งตั้ง มิได้มีส่วนร่วมในการสร้างข้อสอบ หรือกลั่นกรองข้อสอบแต่อย่างใด เพียงแต่ประชุมกับประธานกลั่นกรอง ข้อสอบบางวิชา ซักถามถึงวิธีออกข้อสอบ และ ผลการวิเคราะห์ข้อสอบในอดีต โดยที่ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลางระบุว่า ครูที่เป็นกรรมการเหล่านี้มิได้เห็นข้อสอบวัดความรู้ ครั้งที่ 1 (เดือนมีนาคม 2547) เลย แต่นายวรเดช จันทรศร เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาชี้แจงต่อ คณะกรรมาธิการการศึกษาว่า ที่ตนต้องเปิดดูซอง ต้นฉบับวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาที่เป็นข่าว อื้อฉาวนั้น เพราะต้องการตรวจความเรียบร้อยและ คำถูกผิดของข้อสอบ เนื่องจากมีครูสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับครูมัธยมศึกษา จนออกมาตอบโต้นายอดิศัย และนายวรเดชด้วยความไม่พอใจ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า การออกคำสั่งให้ครูเหล่านั้นมาเป็นกรรมการมีเป้าหมายที่แท้จริงอย่างไร จะให้มีส่วนร่วมออกข้อสอบจริงๆ หรือเพียงเพื่อใช้อ้างในการเปิดซองต้นฉบับข้อสอบดูเท่านั้น เรื่องนี้จึงเป็นข้อพิรุธที่น่าสนใจยิ่ง
ประการที่ 3. นายวรเดชฯ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยคำสั่ง ไม่เคยมีการประชุม และไม่ปรากฏการปฏิบัติงานในขั้นตอนใด ๆ แต่น่าสังเกตว่าเมื่อคณะกรรมาธิการการศึกษาถามว่าใช้อำนาจอะไรในการเปิดซองต้นฉบับข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา กลับชี้แจงว่าใช้อำนาจในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ ซึ่งการกระทำอย่างนี้ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน จึงถือว่ากรรมการชุดนี้น่าจะเป็นเพียงกรรมการ “ชุดตบตาประชาชน” เท่านั้น
ประการที่ 4. ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อสอบในแต่ละขั้นตอนมีหลักปฏิบัติที่รัดกุมและยึดถือกันอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด แต่ นายอดิศัยฯ ปล่อยปละละเลยให้นายวรเดชฯ ทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เปิดช่องให้ผู้ไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องโดยตรงเข้าถึงตัวข้อสอบและเอกสาร การสอบอื่นได้ง่ายขึ้น เหมือนเป็นการ “ ปิดประตูแต่ถอดกลอนไว้ให้โจร” ดังกรณีตัวอย่าง เช่น
กรณีที่1. มีการปรับเปลี่ยนตัวบุคคล ที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการที่ดูแลระบบการสอบ การสร้างข้อสอบในจุดสำคัญหลายจุด คล้ายกับมีการตระเตรียม วางแผนล่วงหน้า เพื่อเปิดทางโล่งในการเข้าถึงข้อสอบ สำหรับบางคน
กรณีที่ 2. การนำซองบรรจุต้นฉบับข้อสอบมาเปิดทั้งที่มีข้อปฏิบัติว่าห้ามเปิด(เอกสารประกอบ - ตัวอย่างซอง)
กรณีที่ 3. การเก็บรักษาซองบรรจุข้อสอบทุกวิชา ซึ่งโดยข้อปฏิบัติ ประธานอนุกรรมการจัดพิมพ์ฯ เป็นผู้เก็บรักษา แต่นายวรเดชฯ ให้นำมาเก็บไว้ที่ ห้องทำงานของตนเอง โดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อสอบ แทนที่จะเก็บในห้องมั่นคง กลับเก็บในห้องทำงาน พอสอบเสร็จก็ย้ายจากห้องทำงานไปเก็บที่ห้องมั่นคง
ประการที่ 5. นายอดิศัยฯ คอยโอบอุ้มและปกป้องนายวรเดชฯ จนเกินเหตุทั้งที่มีข้อพิรุธเกี่ยวกับการดำเนินการสอบเอ็นทรานซ์หลายกรณี เช่น
กรณีที่ 1. ในการเปิดดูต้นฉบับข้อสอบวิชา ภาษาไทยและสังคมศึกษาครั้งแรกนั้น นายวรเดชฯ ชี้แจงว่ามีผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง(นางศศิธร อหิงสโก) อยู่ด้วย และข้อสอบวางบนโต๊ะรับแขกตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปดูเป็นการส่วนตัว ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวไม่สอดคล้องกับคำให้การของ นางศศิธรฯ ที่ชี้แจงว่าตนเองขอออกไปทำธุระส่วนตัวเป็นเวลาประมาณ 30 นาที ทำให้นายวรเดชฯ มีโอกาสดู ข้อสอบดังกล่าวตามลำพังซึ่ง ขัดแย้งกับ คำให้การของนายวรเดชฯ ที่ชี้แจงคณะกรรมาธิการการศึกษาฯ อย่างชัดเจน
กรณีที่ 2. นายวรเดชฯ มาให้คำชี้แจงคณะ กรรมาธิการการศึกษาฯ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 แต่ไม่บอกว่าได้เปิดกล่องและเปิดซองข้อสอบ 2 กล่อง แล้วคือ กล่องที่ 1 วิชาเฉพาะ และกล่องที่ 2 วิชาหลัก ในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ที่ผ่านมาเพียงวันเดียว
กรณีที่ 3. ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 เลขานุการนายวรเดชฯ (นางรุจิรา สุนทรีรัตน์) ได้เดินทาง ไปรับต้นฉบับวิชาหลักจำนวน 16 วิชา 16 ซอง ด้วยตนเอง ณ สำนักพิมพ์ข้อสอบมหาวิทยาลัย รามคำแหง โดยขอรับให้ได้ในวันนั้นและถึงกับพูดว่า “ถ้าไม่ได้คอขาดแน่ๆ”
กรณีที่ 4. นายวรเดชฯ มอบให้เจ้าหน้าที่ 2 คน จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปขอพบประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ (ดร.ชาคร วิภูษณวนิช) ที่โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขอต้นฉบับ ทั้ง 2 วิชา โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของนายวรเดชฯ แต่ ดร.ชาครฯ ไม่ยินยอม และขอให้ทำเป็นหนังสือ นายวรเดชฯ จึงได้ทำหนังสือลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 แจ้งให้ ดร.ชาครฯ นำต้นฉบับข้อสอบทุกวิชาไปเก็บไว้ที่สำนักงานการอุดมศึกษาโดยเร็วที่สุด ทั้งที่วิธีการเช่นนี้ไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน (เอกสารประกอบ — บันทึกของ ดร.ชาคร/หนังสือด่วนที่สุดที่ ศธ 0502/1741 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547)
กรณีที่ 5. เอกสารการสอบทุกรายการเป็นเอกสารลับที่จะต้องเก็บในห้องมั่นคง ในช่วงก่อนสอบแต่กลับเก็บอยู่ในห้องทำงานส่วนตัวของนายวรเดชฯ และเมื่อสอบเสร็จแล้วกลับนำเข้าไปเก็บใน ห้องมั่นคง เป็นเรื่องที่ชวนให้สงสัยว่าจะเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาเอกสารการสอบได้มากขึ้นอย่างไร
กรณีที่ 6. การไปรับข้อสอบทุกครั้งมีบัญชีระบุว่าในกล่องมีวิชาใด แล้วทำไมจึงต้องเปิดกล่องและนับ ข้อสอบทุกครั้ง โดยเฉพาะครั้ง สุดท้ายในวันที่ 10 มีนาคม 2547 มีการก้าวล่วงถึงการเปิดซองบัตร ต้นฉบับข้อสอบและแผ่นพิมพ์ต้นฉบับข้อสอบขนาด A4 (ต้นฉบับข้อสอบก่อนถ่ายเพลท เพื่อจัดพิมพ์)
กรณีที่ 7. การที่นายวรเดชฯ เชิญให้ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง ไปตรวจรับข้อสอบในวันที่ 10 มีนาคม 2547 โดยนายวรเดชฯ เป็นผู้เปิดกล่องวิชาหลัก ชวนให้เชื่อว่าเป็นการจัดฉากเพื่อ กลบเกลื่อนซองข้อสอบที่ถูกเปิดมาก่อน โดย นายวรเดชฯ ทำทีเป็นเปิดซองข้อสอบทั้งที่กล่องและซองข้อสอบวิชาหลักน่าจะถูกเปิดมาก่อนแล้ว และในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ที่เปิดกล่องและซองข้อสอบ ดังกล่าว การสอบข้อเขียนยังไม่แล้วเสร็จ คือเหลืออีก 4 วิชา ได้แก่ 10 มีนาคม 2547 สอบวิชาคณิตศาสตร์ 1 เคมี และชีววิทยา และวันที่ 11 มีนาคม 2547 สอบวิชาพละศึกษาปฏิบัติ ทั้งที่มีการพิมพ์กำกับที่ตัว ข้อสอบว่า “เอกสารนี้ เป็นเอกสารสงวนสิทธิ์ของทางราชการ ห้ามเผยแพร่ อ้างอิงหรือ เฉลยก่อนวันที่ 12 เมษายน 2547” นายวรเดชฯ อ้างว่าไม่ทราบและตนเองมีอำนาจที่จะทำได้ (เอกสารประกอบ-ข้อสอบจริง)
กรณีที่ 8. นายวรเดชฯ แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ต้องตัดสายรัดกล่องทิ้งไปเพราะมีตะกั่วผนึกอยู่ไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ทั้งที่ ดร.ชาครฯ ผู้บรรจุกล่องและผูกรัดกล่องยืนยันว่า ใช้สายคาดที่เป็นพลาสติก ไม่มีตะกั่วผนึกแต่อย่างใด เป็นข้อพิรุธที่ขัดแย้งกัน อีกประการหนึ่ง (หลักฐานประกอบ- ตัวอย่างกล่องและสายรัด)
กรณีที่ 9. เมื่อนายวรเดชฯ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีเสียงเรียกร้องให้นายอดิศัยฯ ดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ เพื่อสร้างความกระจ่างแก่สังคมในลักษณะต่างๆ เช่น ให้ตั้งกรรมการที่เป็นกลางเพื่อตรวจสอบ ให้ปลดหรือย้ายนายวรเดชฯ ออกจากตำแหน่งไปก่อน เรียกร้องให้นายวรเดชฯ ลาออกจากตำแหน่ง ร้องเรียนผ่านประธานสภา ผู้แทนราษฎร รวมทั้งการถวายฎีกา เป็นต้น แต่นายอดิศัยฯ กลับให้สัมภาษณ์โดยไม่ใส่ใจที่จะสนองตอบข้อเรียกร้องของสังคมแต่อย่างใดว่า “ได้รับรายงานจากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งมีการรายงานคำให้การของทุกคนเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีอะไร ข้อสอบไม่ได้รั่ว เชื่อมั่นใน ความบริสุทธิ์ของ ศ.รตอ.วรเดชฯ ทุกอย่างมีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนและผลการตรวจสอบออกมาแล้ว หากใครต้องการเรียกร้องให้ ศ.รตอ.วรเดชฯ ลาออกก็ไปเรียกร้องกันเองไม่เกี่ยวกับตนเอง” แต่ ต่อมาเมื่อทนแรงกดดันจากสังคมไม่ไหว จึงแต่งตั้งให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการตรวจสอบและย้าย นายวรเดชฯ ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ตามข้อเสนอของ ดร.สุเมธฯ และออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้น ให้นายวรเดชฯ เป็นรางวัลปลอบใจ
พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น บ่งชี้ให้เห็นว่า การควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายการสอบ เอ็นทรานซ์ของนายอดิศัยฯ ไม่มีประสิทธิภาพ บกพร่อง ผิดพลาด จนนำไปสู่ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วที่ส่งผลให้เกิด ความเสียหายและกระทบกระเทือนจิตใจเด็กที่เข้าสอบ และคนไทยทั้งประเทศอย่างกว้างขวาง
ข้อ 2. นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวาง การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหา ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญมีกรณีบ่งชี้ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1. นายอดิศัยฯ ไม่ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรในการศึกษาปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยนับตั้งแต่เกิดปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรได้ขอความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง จากบุคคลและเอกสารหลักฐานต่างๆ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง จำนวน 6 ครั้ง แต่ ไม่เคยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่เลยแม้แต่ครั้งเดียว จนคณะกรรมาธิการการศึกษาได้มีมติเป็น เอกฉันท์ ให้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาดำเนินการ ประธานกรรมาธิการ การศึกษาจึงได้ทำหนังสือเรื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และข้าราชการระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ให้ความร่วมมือและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ความสำคัญสรุปได้ว่า คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ ได้นำปัญหาที่มีข่าวในสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อสอบ วัดความรู้ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษารั่ว เข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม 2547 และได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 อีกหลายครั้ง มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการและคณะทำงานสอบหาข้อมูลและข้อเท็จจริง ตลอดจนนำเรื่องเข้าพิจารณาโดยตรงอีกหลายครั้ง ปรากฏว่าในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวตามภาระกิจและหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติตลอดระยะเวลา 2 เดือน ไม่ได้รับความร่วมมือจากนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและข้าราชการในสังกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอดิศัยฯ ไม่เคยมา ชี้แจ้งตามหนังสือเรียนเชิญแม้แต่ครั้งเดียว คณะกรรมาธิการการศึกษาฯ จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ มี พฤติกรรมขัดขวางไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ให้เกียรติแก่องค์กรของสถาบันนิติบัญญัติ อันเป็นการจงใจละเมิดบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญมาตรา 189 และ มาตรา 212 หรือไม่
ประการที่ 2. นายอดิศัยฯ แถลงผ่าน สื่อมวลชนเกี่ยวกับการชี้แจงคณะกรรมาธิการ ในลักษณะไม่ให้ความสำคัญว่า “ตนทำหน้าที่บริหารประเทศ ผู้บริหารทำอะไรคนตามกันอยู่ กรรมาธิการ รัฐสภามีหน้าที่ตรวจสอบดูแลเพื่อ ประชาชนได้ แต่ต้องดูน้ำหนัก ว่าจำเป็นหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไป และที่ผ่านมาอยู่กระทรวงใดก็ไม่เคยมีเรื่องใด มีน้ำหนักที่รัฐมนตรีว่าการต้องไป ชี้แจงกรรมาธิการ”
การปกป้อง หรืออุ้มนายวรเดชฯ จน เกินเหตุ ทั้งที่มีพฤติการณ์ที่สังคมเคลือบแคลงสงสัย ว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาข้อสอบรั่วหลายประการ จึงเป็นผลให้สื่อมวลชนเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง และมีผลกระทบถึงความรู้สึกของท่านนายกรัฐมนตรี อย่าง รุนแรง ถึงขนาดต้องร้องไห้ ยกมือไหว้ขอร้อง สื่อมวลชนถึง 3 ครั้ง ผู้ที่มีส่วนโดยตรงที่ทำให้ นายกรัฐมนตรีต้องเสียน้ำตาตัวจริงไม่ใช่สื่อมวลชนแต่เป็นนายวรเดช และนายอดิศัย ต่างหาก ถ้าไม่อุ้มกันจนผิดปกติก็คงไม่อื้อฉาวและครึกโครมอย่างนี้ จากพฤติการณ์ ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่านายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวางและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการการศึกษา เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนทำให้การศึกษา ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้สมบูรณ์
ข้อ 3. การบริหารราชการแผ่นดินของนายอดิศัยฯ มีเงื่อนงำและเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
พฤติการณ์นายอดิศัยฯ ที่ควบคุม กำกับ และติดตามนโยบายเกี่ยวกับการสอบเอ็นทรานซ์อย่างไร้ประสิทธิภาพ และการที่นายอดิศัยฯ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดขวางการตรวจสอบของฝ่าย นิติบัญญัติ เกี่ยวกับปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว โดยไม่นำพาต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นอกจากแสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพและความไม่เคารพกฎหมายของนายอดิศัยฯ แล้ว ยังมีเงื่อนงำว่า จงใจเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้องด้วย ดังประเด็นบ่งชี้ที่สำคัญ ต่อไปนี้
ประการที่ 1 ผลจากการที่นายอดิศัยฯ ปล่อยปละละเลยในการกำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ปกป้องและโอบอุ้มบุคคลที่ถูกสงสัยว่าเป็นต้นเหตุ และ ขัดขวางไม่ให้องค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบอย่างจริงจัง ส่งผลให้คะแนนสอบวัดความรู้ของเด็กบางคนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ จนมี การวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในวงการต่างๆ ว่าเพราะได้รับประโยชน์จากข้อสอบที่รั่วออกไป ดังตัวอย่างคะแนนของเด็กคนหนึ่ง
รหัส ชื่อวิชา ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เพิ่ม/ลด %
01 ไทย 52.00 72.00 20.00 38.00
02 สังคม 41.25 67.50 26.25 63.00
03 อังกฤษ 64.00 84.00 20.00 31.00
08 วิทย์ 40.00 35.00 - 5.00 -15.00
09 คณิต 2 27.00 63.00 36.00 133.00
18 วัดแววครู 55.00 54.00 -1.00 -2.00
จากผลการสอบครั้งที่สองปรากฎว่า มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต 4 วิชาตามลำดับ คือ คณิตศาสตร์ 2 เพิ่ม 133 % สังคมศึกษา เพิ่ม 63% ภาษาไทย เพิ่ม 38% และภาษาอังกฤษ เพิ่ม 31%
ประการที่ 2 ผลการทดสอบ CU-TEP ของเด็กคนเดียวกันจำนวน 4 ครั้งในวิชาภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งคะแนนแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อ 20 มิถุนายน 2546 ได้ 55/485ครั้งที่ 2 เมื่อ 11 มกราคม 2547 ได้ 58/479
ครั้งที่ 3 เมื่อ 25 มกราคม 2547 ได้ 59/485
ครั้งที่ 4 เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2547ได้ 56/482
แต่จาก ผลการสอบวัดความรู้ฯ ในประเด็นที่ 1 วิชาภาษาอังกฤษของเด็กคนดังกล่าวในครั้งหลังเพิ่มขึ้นจากครั้งแรก 84 — 64 = 20 คะแนน คิดเป็น 31% หากเป็นคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากความรู้ความสามารถของเด็กเองจริง ก็ไม่น่าจะมีอัตราการเพิ่มที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ ดังนั้นคะแนนที่เพิ่มขึ้น ถึง 31% ในการสอบวิชาภาษาอังกฤษครั้งที่ 2 จึงไม่น่าจะเป็นความรู้ความสามารถของเด็กจริงๆ น่าจะมาจาก ผลของของข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มากกว่า
ประการที่ 3 กรณีที่นิสิตคนหนึ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีที่ไม่เหมือนคนอื่น และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่า มีการใช้อำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงและช่วยเหลือ เป็นการดำเนินการที่ผิดระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีปฏิบัติของมหาวิทยาลัยหลายประการ คือ
1. สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรภาคพิเศษ ที่ทางคณะทำการรับนิสิตเอง โดยทำการสอบข้อเขียนที่จัดขึ้นต่างหาก
2. สมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาที่กำหนดคุณสมบัติว่า ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งที่ผู้สมัครจบสายศิลป์คำนวณ
3. เมื่อศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ผลการเรียนเฉลี่ย ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 เป็น 1.50 และ 1.58 ตามลำดับ แต่เมื่อขึ้นภาคเรียนที่ 1 ของปีที่ 2 ข้อมูลของเด็กคนนี้กลับถูกระบุในฝ่ายทะเบียนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่านิสิตโอนไปคณะสังคม โดยที่เลขรหัสประจำตัวนิสิตก็เปลี่ยนไป แต่ปีที่เข้าเรียนยังเหมือนเดิม ซึ่งนิสิตคนอื่นที่โอนคณะเช่นนี้ รหัสประจำตัวนิสิตจะต้องเหมือนเดิม
4. การย้ายคณะจากระบบภาคพิเศษที่รับต่างหากไปเข้าเรียนในภาคปกติที่รับนิสิตจากการสอบแข่งขันกันกับเด็กทั่วประเทศในระบบเอ็นทรานซ์
5. ในข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2521 ฉบับแก้ไขปรับปรุง กำหนดเกณฑ์ในการย้ายคณะ ข้อ 15.1.2 ระบุว่านิสิตที่มาเรียนในคณะเดิมแต่ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 ไม่มีสิทธิ์ย้ายคณะได้ กรณีดังกล่าวนี้ แม้จะเป็นเรื่องภายใของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จริง แต่เป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของชาติอย่างยิ่ง สังคมจึงมีความข้องใจ และต้องการคำตอบว่ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ท่านรัฐมนตรีช่วยหาคำตอบให้กับสังคมและคืนความยุติธรรมให้กับนิสิตทั่วไปได้หรือไม่
บทสรุป
การสอบเอ็นทรานซ์เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมานี้แม้ว่ากระบวนการตรวจสอบของฝ่ายต่าง ๆ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ข้อพิรุธและความผิดปกติที่ ค้นพบและปรากฏแล้ว สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ความบริสุทธิ์ ความยุติธรรม ความเสมอภาค และความโปร่งใสในการสอบครั้งนี้ที่ผู้เข้าสอบ 111,766 คน หวังจะได้รับนั้นถูกปล้นเงียบไปก่อนแล้ว ไม่ใช่โดยฝีมือโจรกระจอก แต่เป็นโจรเทวดา ปัญหา ข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่วครั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความ บกพร่องโดยสุจริต แต่เกิดจากการวางแผนอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ และมีพื้นฐานความคิดมาจากคนที่มี “ภูมิคุ้มกันทางจริยธรรมและจิตสำนึก บกพร่องหรือเรียกภาษาชาวบ้านทั่วไปว่า คนที่เป็นเอดส์ทางจริยธรรมและจิตสำนึก”
จากกรณีดังกล่าวข้างต้นที่ได้อภิปรายมานี้ กระผมขอ ยืนยันว่าไม่สามารถไว้วางใจนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้บริหารราชการแผ่นดิน ต่อไปได้และถ้าเป็นไปได้ที่กระผมขอแสดงความไม่ไว้วางใจต่อ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีด้วย ขอขอบคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/05/47--จบ--
-ดท-