กรุงเทพ--20 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประชุมสมัชชาแห่งชาติในพม่า สรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยผิดหวังที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (NLD) ไม่เข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพราะเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าจึงต้องการให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมไทยหวังว่า พรรค NLD จะเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป
2. ไทยหวังว่ารัฐบาลพม่าจะปล่อยตัวนางอองซาน ซู จี ให้เป็นอิสระโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาตินั้น ผู้แทน NLD ผู้ใดจะเข้าร่วมก็ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ NLD
3. ไทยเชื่อว่าการปล่อยตัวนางอองซาน ซู จี จะทำให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าเป็นไปด้วยดี สังคมโลกจะได้เข้าไปให้การสนับสนุนกระบวนการอย่างเต็มที่ ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้แจ้งไปยังรัฐบาลพม่าแล้วว่า แม้เป็นเรื่องภายในของพม่า แต่ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศของพม่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ชะงักขึ้นบ้าง ไทยก็อยากทราบเหตุผล เพราะไทยมักจะถูกสอบถามอยู่เสมอจากสังคมระหว่างประเทศ
4. ในการประชุมระดับรัฐมนตรีของ ASEM ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หารือกับประเทศสมาชิกของ ASEM เกี่ยวกับการรับลาว กัมพูชา พม่า เป็นสมาชิก โดยไทยและอาเซียนก็ประสงค์จะให้พม่าเข้าเป็นสมาชิก ASEM ดังนั้นหากพม่ามีความคืบหน้าในกระบวนการปรองดองแห่งชาติก็จะเป็นผลดีต่อการเข้าเป็นสมาชิก ASEM และในเดือนตุลาคม 2547 นี้ก็จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำ ASEM ซึ่งจะมีการหารือในเรื่องนี้ด้วย ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องการเห็นพม่ามีความคืบหน้าในเรื่องการปรองดองแห่งชาติและถ้าพม่ามีปัญหาขัดข้องอย่างไรไทยก็จะสามารถอธิบายให้นานาชาติทราบได้ ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปติดต่อกับพม่า ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการแล้ว แต่เนื่องจากเป็นการประชุมสมัชชาแห่งชาติวันแรก ทางฝ่ายพม่าจึงยังไม่ได้ชี้แจงให้ไทยทราบ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งได้รายงานว่า มีผู้แทนชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมประชุมมากพอสมควร แต่ก็ยอมรับว่าการเข้าร่วมของ NLD ยังมีความสำคัญอยู่เพื่อจะได้หารือกันด้วยเหตุด้วยผลในเรื่องที่ยังติดขัดอยู่
5. ต่อคำถามของสื่อมวลชนว่าเหตุการณ์ที่ยังไม่ชัดเจนในพม่าดังกล่าวจะมีผลต่อการประชุม Bangkok Process หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า กำลังหารือกับนานาประเทศโดยมีสมาชิก Bangkok Process หลายประเทศแจ้งว่าเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้ก็น่าจะเร่งให้มีการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 โดยเร็ว เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ปัญหาคืออะไร และมีอะไรที่สังคมระหว่างประเทศและประเทศสมาชิก Bangkok Process จะช่วยเหลือได้ ซึ่งประเทศไทยก็จะฟังความคิดเห็นดังกล่าวแต่ไทยก็เห็นว่าการประชุมฯ น่าจะเป็นประโยชน์กับพม่า ส่วนพม่ามีความเห็นอย่างไรนั้นยังไม่ได้หารือกัน
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยได้ ทาบทามพลเอกขิ่น ยุ้นต์ นายกรัฐมนตรีพม่าให้มาเยือนไทยในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 ทั้งนี้เป็นไปตามประเพณีของประเทศอาเซียนที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนโดยอาจจะเดินทางมาเยือนในลักษณะเช้ามาเย็นกลับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประชุมสมัชชาแห่งชาติในพม่า สรุปได้ดังนี้
1. ประเทศไทยผิดหวังที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (NLD) ไม่เข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพราะเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าจึงต้องการให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมไทยหวังว่า พรรค NLD จะเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป
2. ไทยหวังว่ารัฐบาลพม่าจะปล่อยตัวนางอองซาน ซู จี ให้เป็นอิสระโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาตินั้น ผู้แทน NLD ผู้ใดจะเข้าร่วมก็ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ NLD
3. ไทยเชื่อว่าการปล่อยตัวนางอองซาน ซู จี จะทำให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าเป็นไปด้วยดี สังคมโลกจะได้เข้าไปให้การสนับสนุนกระบวนการอย่างเต็มที่ ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้แจ้งไปยังรัฐบาลพม่าแล้วว่า แม้เป็นเรื่องภายในของพม่า แต่ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศของพม่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ชะงักขึ้นบ้าง ไทยก็อยากทราบเหตุผล เพราะไทยมักจะถูกสอบถามอยู่เสมอจากสังคมระหว่างประเทศ
4. ในการประชุมระดับรัฐมนตรีของ ASEM ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หารือกับประเทศสมาชิกของ ASEM เกี่ยวกับการรับลาว กัมพูชา พม่า เป็นสมาชิก โดยไทยและอาเซียนก็ประสงค์จะให้พม่าเข้าเป็นสมาชิก ASEM ดังนั้นหากพม่ามีความคืบหน้าในกระบวนการปรองดองแห่งชาติก็จะเป็นผลดีต่อการเข้าเป็นสมาชิก ASEM และในเดือนตุลาคม 2547 นี้ก็จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำ ASEM ซึ่งจะมีการหารือในเรื่องนี้ด้วย ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องการเห็นพม่ามีความคืบหน้าในเรื่องการปรองดองแห่งชาติและถ้าพม่ามีปัญหาขัดข้องอย่างไรไทยก็จะสามารถอธิบายให้นานาชาติทราบได้ ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปติดต่อกับพม่า ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการแล้ว แต่เนื่องจากเป็นการประชุมสมัชชาแห่งชาติวันแรก ทางฝ่ายพม่าจึงยังไม่ได้ชี้แจงให้ไทยทราบ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งได้รายงานว่า มีผู้แทนชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมประชุมมากพอสมควร แต่ก็ยอมรับว่าการเข้าร่วมของ NLD ยังมีความสำคัญอยู่เพื่อจะได้หารือกันด้วยเหตุด้วยผลในเรื่องที่ยังติดขัดอยู่
5. ต่อคำถามของสื่อมวลชนว่าเหตุการณ์ที่ยังไม่ชัดเจนในพม่าดังกล่าวจะมีผลต่อการประชุม Bangkok Process หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า กำลังหารือกับนานาประเทศโดยมีสมาชิก Bangkok Process หลายประเทศแจ้งว่าเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้ก็น่าจะเร่งให้มีการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 โดยเร็ว เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ปัญหาคืออะไร และมีอะไรที่สังคมระหว่างประเทศและประเทศสมาชิก Bangkok Process จะช่วยเหลือได้ ซึ่งประเทศไทยก็จะฟังความคิดเห็นดังกล่าวแต่ไทยก็เห็นว่าการประชุมฯ น่าจะเป็นประโยชน์กับพม่า ส่วนพม่ามีความเห็นอย่างไรนั้นยังไม่ได้หารือกัน
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยได้ ทาบทามพลเอกขิ่น ยุ้นต์ นายกรัฐมนตรีพม่าให้มาเยือนไทยในวันที่ 4 มิถุนายน 2547 ทั้งนี้เป็นไปตามประเพณีของประเทศอาเซียนที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนโดยอาจจะเดินทางมาเยือนในลักษณะเช้ามาเย็นกลับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-