เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมในเดือนมีนาคม 2547 ขยายตัวตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งแต่เป็นในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเร่งตัวขึ้น
ทางด้านอุปทาน ในภาคการผลิต รายได้จากภาคเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาปรับตัวดีขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันภาคบริการขยายตัว ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลง
ภาพรวมของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อน แม้ว่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง แต่รายได้จากภาคเกษตรและภาคบริการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ และอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนและมูลค่าการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น
ภาคเกษตร
ในเดือนมีนาคมนี้ ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันลดลง ทางด้านราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อนตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 และร้อยละ 45.5 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกมีมาก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4
ภาวะประมงชะลอตัวลง ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมงในภาคใต้ลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูมรสุมและต้นทุนจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ขณะเดียวกันผลผลิตกุ้งกุลาดำลดลงจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยง ส่วนราคาปรับตัวดีขึ้น โดยกุ้งกุลาดำราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4
สำหรับปศุสัตว์ มีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะสุกรราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.0 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น
ไตรมาสแรกปีนี้ รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เป็นผลจากราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคายางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นสำคัญ ส่วน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อย 3.4 ตามผลผลิตกาแฟ ขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด ลดลง เนื่องจากภาวะแห้งแล้ง
สำหรับภาวะประมงทรงตัว แต่ราคาปรับสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคมีมากขึ้น โดยไตรมาสแรกสัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ด้านกุ้งกุลาดำ ผลผลิตลดลงจากการที่เกษตรกรชะลอการเลี้ยง ส่งผลให้ราคาในช่วงไตรมาสแรกนี้ปรับตัวสูงขึ้นตลอด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 6.0
ส่วนปศุสัตว์และสัตว์ปีก ราคาสุกรและไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 และ 9.3 ตามลำดับ จากการระบาดของไข้หวัดนกและการเกิดโรควัวบ้าในต่างประเทศ
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนตามปริมาณวัตถุดิบ ทั้งการผลิตเพื่อการส่งออกและการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ โดยการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งพิจารณาจากปริมาณการส่งออก ได้แก่ ยางพารา ลดลงร้อยละ 18.0 ตามการลดลงของยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางสด ขณะเดียวกันอาหารทะเลกระป๋องลดลงร้อยละ 2.4 ส่วนสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งแช่แข็งการผลิตลดลงมาก เนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้า สำหรับน้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตลดลงร้อยละ 22.4
ไตรมาสแรกปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งอุตสาหกรรมยาง และน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงตามสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งที่มีการผลิตลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟ้องร้องการทุ่มตลาดกุ้งของประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
ภาคบริการท่องเที่ยว
สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากในช่วงปีก่อนเกิดปัญหาโรคซาร์สโดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างยังคงซบเซา เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับนักท่องเที่ยวมาเลเซียส่วนหนึ่งย้ายไปท่องเที่ยวยังฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อัตราการเข้าพักโรงแรมของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 55.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.0 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 61.6
ไตรมาสแรกปีนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ ในขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง จากการที่รายได้เกษตรกรที่ยังคงสูงขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เงื่อนไขการผ่อนชำระ ราคาสินค้าที่จูงใจ และการส่งเสริมการขาย
ไตรมาสแรกปีนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ การแข่งขันด้านการบริการ และสภาพแวดล้อมทางการเงินเอื้ออำนวย ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคมนี้ยังมีทิศทางขยายตัวตามการลงทุนภาคการก่อสร้างโดยเดือนนี้พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุด แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนเหล็กเส้นปรับตัวสูงขึ้น ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าตัว ขณะเดียวกัน การจดทะเบียนธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 และทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว
ไตรมาสแรกปีนี้ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว เครื่องชี้การลงทุนได้แก่ การก่อสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์ และการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 15.4 และกว่า 7 เท่าตัว ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
การจ้างงานในภาคใต้ที่ผ่านสำนักงานจัดหางานของรัฐในเดือนมีนาคมนี้ มีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 60.1 ผู้มาสมัครงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และผู้ได้รับการบรรจุงาน เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการนัดพบแรงงานย่อยของภาครัฐ
ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะการจ้างงานในช่วงนี้กระเตื้องขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นและขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 ตามราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เป็นสำคัญ เป็นผลจาการเพิ่มขึ้นของหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์และผลไม้ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
ไตรมาสแรกปีนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมีนาคมนี้ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 563.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ สินค้ายางพารา ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ ตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีนและญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 194.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ตามการนำเข้าสินค้าประเภทสินค้าทุน และเครื่องประมวลผลข้อมูล เป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 369.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
ไตรมาสแรกปีนี้ มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.5 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้ายางพารา และสัตว์น้ำ ขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 36.0
การคลัง
การจัดเก็บรายได้ในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.7 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 โดยในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 72.2 ของเงินที่ภาคใต้ได้รับการจัดสรร
ไตรมาสแรกปีนี้ มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจมีการปรับตัวดีขึ้น ทั้งในภาคการบริโภค การส่งออก และการลงทุน ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมีนาคมนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเกี่ยวกับธุรกิจด้านการส่งออกของสาขาธนาคารรัฐและเอกชนขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ด้านยอดคงค้างเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 64.5 สำหรับธุรกรรมของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการลงทุนและการส่งออก
ในไตรมาสแรกปีนี้ สาขาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีผลประกอบการดีขึ้น เนื่องจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อขยายตัวมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-
ทางด้านอุปทาน ในภาคการผลิต รายได้จากภาคเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาปรับตัวดีขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันภาคบริการขยายตัว ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลง
ภาพรวมของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อน แม้ว่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง แต่รายได้จากภาคเกษตรและภาคบริการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ และอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนและมูลค่าการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น
ภาคเกษตร
ในเดือนมีนาคมนี้ ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันลดลง ทางด้านราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อนตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 และร้อยละ 45.5 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกมีมาก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4
ภาวะประมงชะลอตัวลง ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมงในภาคใต้ลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูมรสุมและต้นทุนจากราคาน้ำมันสูงขึ้น ขณะเดียวกันผลผลิตกุ้งกุลาดำลดลงจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยง ส่วนราคาปรับตัวดีขึ้น โดยกุ้งกุลาดำราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4
สำหรับปศุสัตว์ มีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะสุกรราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.0 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น
ไตรมาสแรกปีนี้ รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เป็นผลจากราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคายางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นสำคัญ ส่วน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อย 3.4 ตามผลผลิตกาแฟ ขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด ลดลง เนื่องจากภาวะแห้งแล้ง
สำหรับภาวะประมงทรงตัว แต่ราคาปรับสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคมีมากขึ้น โดยไตรมาสแรกสัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ด้านกุ้งกุลาดำ ผลผลิตลดลงจากการที่เกษตรกรชะลอการเลี้ยง ส่งผลให้ราคาในช่วงไตรมาสแรกนี้ปรับตัวสูงขึ้นตลอด แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 6.0
ส่วนปศุสัตว์และสัตว์ปีก ราคาสุกรและไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 และ 9.3 ตามลำดับ จากการระบาดของไข้หวัดนกและการเกิดโรควัวบ้าในต่างประเทศ
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมนี้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนตามปริมาณวัตถุดิบ ทั้งการผลิตเพื่อการส่งออกและการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ โดยการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งพิจารณาจากปริมาณการส่งออก ได้แก่ ยางพารา ลดลงร้อยละ 18.0 ตามการลดลงของยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางสด ขณะเดียวกันอาหารทะเลกระป๋องลดลงร้อยละ 2.4 ส่วนสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งแช่แข็งการผลิตลดลงมาก เนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้า สำหรับน้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตลดลงร้อยละ 22.4
ไตรมาสแรกปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งอุตสาหกรรมยาง และน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงตามสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งที่มีการผลิตลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟ้องร้องการทุ่มตลาดกุ้งของประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
ภาคบริการท่องเที่ยว
สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากในช่วงปีก่อนเกิดปัญหาโรคซาร์สโดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างยังคงซบเซา เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับนักท่องเที่ยวมาเลเซียส่วนหนึ่งย้ายไปท่องเที่ยวยังฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อัตราการเข้าพักโรงแรมของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 55.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.0 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 61.6
ไตรมาสแรกปีนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ ในขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง จากการที่รายได้เกษตรกรที่ยังคงสูงขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เงื่อนไขการผ่อนชำระ ราคาสินค้าที่จูงใจ และการส่งเสริมการขาย
ไตรมาสแรกปีนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ การแข่งขันด้านการบริการ และสภาพแวดล้อมทางการเงินเอื้ออำนวย ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคมนี้ยังมีทิศทางขยายตัวตามการลงทุนภาคการก่อสร้างโดยเดือนนี้พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุด แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนเหล็กเส้นปรับตัวสูงขึ้น ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าตัว ขณะเดียวกัน การจดทะเบียนธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 และทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว
ไตรมาสแรกปีนี้ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว เครื่องชี้การลงทุนได้แก่ การก่อสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์ และการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 15.4 และกว่า 7 เท่าตัว ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
การจ้างงานในภาคใต้ที่ผ่านสำนักงานจัดหางานของรัฐในเดือนมีนาคมนี้ มีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 60.1 ผู้มาสมัครงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และผู้ได้รับการบรรจุงาน เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการนัดพบแรงงานย่อยของภาครัฐ
ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะการจ้างงานในช่วงนี้กระเตื้องขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นและขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 ตามราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เป็นสำคัญ เป็นผลจาการเพิ่มขึ้นของหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์และผลไม้ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
ไตรมาสแรกปีนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมีนาคมนี้ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 563.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ สินค้ายางพารา ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ ตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีนและญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 194.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ตามการนำเข้าสินค้าประเภทสินค้าทุน และเครื่องประมวลผลข้อมูล เป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 369.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
ไตรมาสแรกปีนี้ มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.5 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้ายางพารา และสัตว์น้ำ ขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 36.0
การคลัง
การจัดเก็บรายได้ในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.7 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 โดยในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 72.2 ของเงินที่ภาคใต้ได้รับการจัดสรร
ไตรมาสแรกปีนี้ มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจมีการปรับตัวดีขึ้น ทั้งในภาคการบริโภค การส่งออก และการลงทุน ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมีนาคมนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเกี่ยวกับธุรกิจด้านการส่งออกของสาขาธนาคารรัฐและเอกชนขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ด้านยอดคงค้างเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 64.5 สำหรับธุรกรรมของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการลงทุนและการส่งออก
ในไตรมาสแรกปีนี้ สาขาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีผลประกอบการดีขึ้น เนื่องจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อขยายตัวมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-