ฉบับที่ ๔
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ นาฬิกา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ตอบชี้แจง กรณีการจัดสรรหุ้น ปตท. และ
การก่อสร้างถนนรามอินทราวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ดังนี้
ในเรื่องของการจัดสรรหุ้น ปตท. นั้น ได้มีผู้ดำเนินการ ๒ ราย คือ โบรกเกอร์และ
ผู้มีอุปการะคุณ โดยมีการกระจายหุ้นผ่านกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุน กบข. และกองทุนประกันสังคม
ซึ่งกองทุนเหล่านี้จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการซื้อหุ้น ปตท. ดังนั้น ควรจะพิจารณาในด้านการบริหาร
จัดการมากกว่าด้านการเมือง
ส่วนการก่อสร้างถนนผ่านบริษัท Sc Asset (บางกอก บูเลอร์วาร์ด) ไม่ได้เป็นการ
เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลบางกลุ่ม แต่ กทม. ได้ทำการศึกษาในการแก้ไขปัญหาจราจรไว้อยู่ก่อนแล้วใน ๒ เส้นทาง คือ
- เส้นเกษตรศาสตร์ - สุขาภิบาล เพื่อเชื่อมรามอินทรา และวงแหวนรอบนอก
- เส้นรัชดาภิเษก - รามอินทรา
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติและสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง ๒ เส้นทางดังกล่าว โดยเส้นเกษตรศาสตร์-สุขาภิบาล
ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ต่อมาประเทศไทยได้ประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การก่อสร้าง
ถนนเส้นรัชดาภิเษก-รามอินทรา ถูกระงับไป จึงทำให้ปัญหาด้านการจราจรเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการ
สร้างถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจราจรในถนน ๕ สาย คือ
- สายรามอินทรา
- สายวงแหวนด้านตะวันออก
- สายนวมินทร์
- สายเกษตรศาสตร์-นวมินทร์
- สายรัชดาภิเษก
จากการสร้างถนนใน ๕ สายดังกล่าว ทำให้สามารถลดปัญหาการจราจรในเส้นทางเกษตรศาสตร์-สุขาภิบาล
และเส้นทางรัชดาภิเษก-รามอินทราได้ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และเป็นไปตามความต้องการ
ของประชาชน ไม่ใช่เอื้อประโยชน์เพื่อผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
ต่อจากนั้น นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ไร้ประสิทธิภาพ ขาดคุณธรรม
ขาดจริยธรรม ขาดหลักนิติธรรม และมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าปกป้องประโยชน์ของชาติ
ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว จะต้องมีการร่วมลงทุนกับเอกชนในการ ดำเนินการ
จัดสร้างครัวการบิน คลังสินค้า การบริหารภาคพื้นดิน และน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกบริษัท
เอกชนควรจะมีมาตรฐานในระดับโลก มีความโปร่งใส รวมทั้งเป็นมืออาชีพ และมีความชำนาญมากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น
๑. โครงการทำครัวการบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังจาก ครม. ได้มีมติแล้ว มี
บริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูล ๓ ราย คือ บริษัท Gate wome บริษัท Sky chefs fight service joint venture
และบริษัท Bangkok Air catering joint venture ซึ่งบริษัท Bangkok Air ได้รับสัมปทาน
ในการทำครัวการบิน แต่บริษัท Gate wome ได้เข้าร้องเรียนต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่า
บริษัท Bangkok Air ไม่มี คุณสมบัติครบถ้วนตามที่ได้ตกลงกันไว้ อีกทั้งยังมีผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย แต่ทาง
รัฐมนตรีก็ได้รับการยืนยันมาจากคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนว่า บริษัท Bangkok Air มีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้