แท็ก
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
พรรคประชาธิปัตย์
อลงกรณ์ พลบุตร
ส.ส.
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกฯ ในข้อกล่าวหาว่าบริหารราชการบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพ เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องในกรณีโครงการประมูลจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่มีวงเงินถึง 3,192 ล้านบาท ว่า บริษัทที่ได้รับการประมูลงานดังกล่าวคือ กิจการค้าร่วม บ. ซีเมนต์ เอจี บ.ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จก. บ.พอร์ทัลเน็ต จก.
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีการสอดไส้ใช้อำนาจรัฐเปลี่ยนแปลงแผนงานและงบประมาณโดยอ้างถึงมติบอร์ดกฟภ.ที่ให้เปลี่ยนจากการจัดซื้อเป็นการเช่าโดยก่อนหน้านั้นพบว่ามีการแต่งตั้งบอร์ดคนนามสกุลเดียวกับคนในรัฐบาล และบอร์ดเดิมก็มีคนนามสกุลเดียวกับพ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ อยู่ด้วย
‘แต่เหตุผลที่แสดงนั้นบอกว่า หากกฟภ.ลงทุนเองนั้นจะส่งผลกระทบทางการเงิน เพราะว่าในปี 2548 กฟภ.จะมีกำไรสุทธิ 700 ล้านบาท ปี 2549 มีกำไรสุทฦธิ 900 ล้านบาท และหากร่วมลงทุนกับเอกชนจะเกิดความล่าช้า แต่จากแผนการดำเนินงาน ปี 2547, 2548 เฉลี่ยไปถึงปี 2549 กฟภ.มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง’ นายอลงกรณ์ กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ต่อมานายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้ให้ความเห็นชอบและ ครม.ก็ได้อนุมัติงบประมาณให้กับโครงการดังกล่าว ส่งผลให้ถ้าบริษัทใดชนะการประกวดราคา ก็จะสามารถให้เช่าคอมพิวเตอร์ได้ตลอดปี ซึ่งสิ่งที่ผิดปกตินั้นคือ 3 บริษัทที่หลุดลอดเข้าไปนั้น ยื่นเสนอซอฟแวร์ชนิดเดียวกัน และเท่าที่ทราบคือการเปิดซองเพียงรายเดียวของบริษัทดังกล่าวนั้น ไม่ค่อยมีใครเขาทำกัน เพราะจะต้องถูกตรวจสอบว่ามีการฮั้วกันหรือไม่
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่สำคัญก็คือบ.พอร์ทัลเน็ต ซึ่งชนะการประกวดราคา เป็นบริษัทที่มีเงินหมุนเวียนตามงบดุลอยู่ 7,000 บาท เท่านั้น จึงถือว่ามีสถานะทางการเงินที่อ่อนแอมาก แต่กลับได้กลายมาเป็นคู่สัญญาในโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ ซึ่งปรากฏว่าบ.เอ็มลิงค์ที่มีญาติของนายกฯร่วมถือหุ้น ได้เข้าไปซื้อหุ้นบ.พอร์ทัลเน็ตจำนวนถึง 99.94 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 70% ของบริษัทดังกล่าว ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20/05/47--จบ--
-สส-
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีการสอดไส้ใช้อำนาจรัฐเปลี่ยนแปลงแผนงานและงบประมาณโดยอ้างถึงมติบอร์ดกฟภ.ที่ให้เปลี่ยนจากการจัดซื้อเป็นการเช่าโดยก่อนหน้านั้นพบว่ามีการแต่งตั้งบอร์ดคนนามสกุลเดียวกับคนในรัฐบาล และบอร์ดเดิมก็มีคนนามสกุลเดียวกับพ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ อยู่ด้วย
‘แต่เหตุผลที่แสดงนั้นบอกว่า หากกฟภ.ลงทุนเองนั้นจะส่งผลกระทบทางการเงิน เพราะว่าในปี 2548 กฟภ.จะมีกำไรสุทธิ 700 ล้านบาท ปี 2549 มีกำไรสุทฦธิ 900 ล้านบาท และหากร่วมลงทุนกับเอกชนจะเกิดความล่าช้า แต่จากแผนการดำเนินงาน ปี 2547, 2548 เฉลี่ยไปถึงปี 2549 กฟภ.มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง’ นายอลงกรณ์ กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ต่อมานายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้ให้ความเห็นชอบและ ครม.ก็ได้อนุมัติงบประมาณให้กับโครงการดังกล่าว ส่งผลให้ถ้าบริษัทใดชนะการประกวดราคา ก็จะสามารถให้เช่าคอมพิวเตอร์ได้ตลอดปี ซึ่งสิ่งที่ผิดปกตินั้นคือ 3 บริษัทที่หลุดลอดเข้าไปนั้น ยื่นเสนอซอฟแวร์ชนิดเดียวกัน และเท่าที่ทราบคือการเปิดซองเพียงรายเดียวของบริษัทดังกล่าวนั้น ไม่ค่อยมีใครเขาทำกัน เพราะจะต้องถูกตรวจสอบว่ามีการฮั้วกันหรือไม่
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่สำคัญก็คือบ.พอร์ทัลเน็ต ซึ่งชนะการประกวดราคา เป็นบริษัทที่มีเงินหมุนเวียนตามงบดุลอยู่ 7,000 บาท เท่านั้น จึงถือว่ามีสถานะทางการเงินที่อ่อนแอมาก แต่กลับได้กลายมาเป็นคู่สัญญาในโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ ซึ่งปรากฏว่าบ.เอ็มลิงค์ที่มีญาติของนายกฯร่วมถือหุ้น ได้เข้าไปซื้อหุ้นบ.พอร์ทัลเน็ตจำนวนถึง 99.94 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 70% ของบริษัทดังกล่าว ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20/05/47--จบ--
-สส-