ที่รัฐสภา วันนี้ (20 พ.ค.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นวันที่ 2 โดยนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวอภิปรายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง ข้อหาขาดคุณธรรม ขาดจริยธรรม เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ว่า หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยทั่วไปแล้วจะมีผลตอบแทนประมาณ 18-22% แต่ในช่วงๆหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์จะเห็นว่ามีหุ้นของบริษัทที่อยู่ในรัฐบาลจะมีผลตอบแทนมากกว่าหุ้นของหมวดอื่นๆ เช่น ไอทีวี มีผลตอบแทน 592% บริษัทในกลุ่มชินฯ 284% เอไอเอส 139% ไทยคม 101% ดังนั้นตนจึงตั้งคำถามว่าประการแรกนโยบายที่มี อยู่ที่ความแข็งแกร่งของแต่ละบริษัท และประการที่สองนโยบายนั้นรมว.คลังเอื้ออาทรให้เท่าเทียมกันหรือไม่
นายจุติ กล่าวโดยตั้งข้อสังเกตว่า หุ้นของไทธนาคารซึ่งเป็นหุ้นที่ขายไม่ออก คนไม่ค่อยซื้อ แต่ปรากฎเป็นข่าวออกมาว่ามีกองทุนต่างๆของรัฐบาลเข้าไปซื้อ เช่น กบข. กองทุนไทยสร้างโอกาส ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นรวมอยู่ 276 ล้านหุ้น ขาดทุน 1,420 ล้านบาท ดังนั้นตนจึงมีความเป็นห่วงแต่รมว.คลังก็ยืนยันว่าไม่มีการอุ้ม ไม่มีการเข้าไปแทรกแซง แต่ทำไมกองทุนของรัฐจึงตัดสินใจเข้าไปซื้อหุ้น และขณะเดียวกันในส่วนของหุ้นอุปการคุณโดยเฉพาะครอบครัวญาตินักการเมืองที่มีนามสกุลเดียวกันถือหุ้นอยู่ 9 ล้านหุ้นมีกำไร 954 ล้านบาท
นายจุติ กล่าวว่า รัฐบาลดำเนินการเป็นแบบ 2 มาตรฐานคือการกู้เงินของประชาชนทั่วไปนั้นไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเป็นธรรม แต่กลับมีบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายหนึ่งได้รับเงินกู้จากธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งเป็นเงินหลายสิบล้านบาท โดยการผ่อนชำระเป็นรายเดือน แต่ปัญหาคือว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้หรือไม่ ธนาคารของรัฐได้ดูประวัติทางด้านการเงินหรือไม่ ซึ่งต่อมาปรากฎว่า 6 เดือนแรกชำระเงินกู้ไม่ได้ ขอผ่อนผันว่าจะชำระใน 6 เดือนต่อไป ซึ่งจุดนี้ธนาคารต้องตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทดังกล่าวมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่
‘ตนได้ไปตรวจสอบข้อมูลของบริษัทดังกล่าวพบว่าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้เพราะบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเกิน 100 ล้าน ซึ่งความเป็นจริงไม่ควรจะให้มีการกู้ แต่ที่ได้รับการอนุมัตินั้นเพราะว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง เป็นญาติของนักการเมืองในรัฐบาล ดังนั้นเมื่อเกิดการขาดทุนขึ้นผู้ที่จะต้องรับภาระคือประชาชนเพราะเป็นเจ้าของธนาคารรัฐแห่งนั้น’ นายจุติ กล่าวและว่า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องหรือไม่
นายจุติ กล่าวถึงผลการประนอมหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ว่า การลดหนี้ของบสท.มีความเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีหนี้เงินต้น 1.8 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.2 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 3 ล้านบาท ไปขอประนอมหนี้กับบสท.โดยลดดอกเบี้ยให้ 1 ล้านบาท รวมต้องชำระหนี้ 2 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปี แต่อีกกรณีหนึ่งคือหนี้ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นนักการเมืองด้วยมีจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท บสท.ลดหนี้ให้โดยผ่อนชำระ 16.5% แต่สำหรับเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้นั้นจะต้องชำระคืนเงินต้น 100% ดอกเบี้ยก็ไม่ลด ดังนั้นข้อแตกต่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นการเอื้ออาทรนายทุน
‘ตนไปตรวจสอบพบว่าผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลด้วย’ นายจุติ กล่าวและว่า จะเห็นว่าอัตราของการเรียกเก็บหนี้ของคนจนสูงกว่าต้นทุน ในขณะที่อัตราเรียกเก็บหนี้ของเศรษฐีที่มีเส้นสายการเมืองถูกกว่าต้นทุนถึงเท่าตัว และจากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่ารัฐแปรกำไรให้เศรษฐี แปรหนี้ให้ประชาชน อุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20/05/47--จบ--
-สส-
นายจุติ กล่าวโดยตั้งข้อสังเกตว่า หุ้นของไทธนาคารซึ่งเป็นหุ้นที่ขายไม่ออก คนไม่ค่อยซื้อ แต่ปรากฎเป็นข่าวออกมาว่ามีกองทุนต่างๆของรัฐบาลเข้าไปซื้อ เช่น กบข. กองทุนไทยสร้างโอกาส ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นรวมอยู่ 276 ล้านหุ้น ขาดทุน 1,420 ล้านบาท ดังนั้นตนจึงมีความเป็นห่วงแต่รมว.คลังก็ยืนยันว่าไม่มีการอุ้ม ไม่มีการเข้าไปแทรกแซง แต่ทำไมกองทุนของรัฐจึงตัดสินใจเข้าไปซื้อหุ้น และขณะเดียวกันในส่วนของหุ้นอุปการคุณโดยเฉพาะครอบครัวญาตินักการเมืองที่มีนามสกุลเดียวกันถือหุ้นอยู่ 9 ล้านหุ้นมีกำไร 954 ล้านบาท
นายจุติ กล่าวว่า รัฐบาลดำเนินการเป็นแบบ 2 มาตรฐานคือการกู้เงินของประชาชนทั่วไปนั้นไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเป็นธรรม แต่กลับมีบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายหนึ่งได้รับเงินกู้จากธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งเป็นเงินหลายสิบล้านบาท โดยการผ่อนชำระเป็นรายเดือน แต่ปัญหาคือว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้หรือไม่ ธนาคารของรัฐได้ดูประวัติทางด้านการเงินหรือไม่ ซึ่งต่อมาปรากฎว่า 6 เดือนแรกชำระเงินกู้ไม่ได้ ขอผ่อนผันว่าจะชำระใน 6 เดือนต่อไป ซึ่งจุดนี้ธนาคารต้องตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทดังกล่าวมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่
‘ตนได้ไปตรวจสอบข้อมูลของบริษัทดังกล่าวพบว่าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้เพราะบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเกิน 100 ล้าน ซึ่งความเป็นจริงไม่ควรจะให้มีการกู้ แต่ที่ได้รับการอนุมัตินั้นเพราะว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง เป็นญาติของนักการเมืองในรัฐบาล ดังนั้นเมื่อเกิดการขาดทุนขึ้นผู้ที่จะต้องรับภาระคือประชาชนเพราะเป็นเจ้าของธนาคารรัฐแห่งนั้น’ นายจุติ กล่าวและว่า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องหรือไม่
นายจุติ กล่าวถึงผลการประนอมหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ว่า การลดหนี้ของบสท.มีความเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีหนี้เงินต้น 1.8 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.2 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 3 ล้านบาท ไปขอประนอมหนี้กับบสท.โดยลดดอกเบี้ยให้ 1 ล้านบาท รวมต้องชำระหนี้ 2 ล้านบาท ผ่อนชำระ 5 ปี แต่อีกกรณีหนึ่งคือหนี้ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นนักการเมืองด้วยมีจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท บสท.ลดหนี้ให้โดยผ่อนชำระ 16.5% แต่สำหรับเกษตรกรที่เข้าโครงการพักชำระหนี้นั้นจะต้องชำระคืนเงินต้น 100% ดอกเบี้ยก็ไม่ลด ดังนั้นข้อแตกต่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นการเอื้ออาทรนายทุน
‘ตนไปตรวจสอบพบว่าผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลด้วย’ นายจุติ กล่าวและว่า จะเห็นว่าอัตราของการเรียกเก็บหนี้ของคนจนสูงกว่าต้นทุน ในขณะที่อัตราเรียกเก็บหนี้ของเศรษฐีที่มีเส้นสายการเมืองถูกกว่าต้นทุนถึงเท่าตัว และจากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่ารัฐแปรกำไรให้เศรษฐี แปรหนี้ให้ประชาชน อุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20/05/47--จบ--
-สส-