ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (26 มีนาคม 2547 - 23 เมษายน 2547)
สหรัฐอเมริกา
- นาย Alan Greenspan ประธาน Fed ได้แถลงการณ์ต่อ Joint Economic Committee of Congress เกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่ายังมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากการขยายตัวของการใช้จ่ายของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ กอปรกับการจ้างงานเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และหากอุปสงค์ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้ภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตคงจะไม่สูงเท่ากับในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืดหมดไป อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากค่าจ้างแรงงานยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมากพอที่จะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ประกอบกับประสิทธิภาพการผลิตที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงจะเป็นปัจจัยที่ควบคุมการเพิ่มขึ้นของระดับราคาในระยะต่อไป แถลงการณ์ดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววันเนื่องจากยังไม่เห็น "broad-based inflation pressure"
อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (yoy) เท่ากับในเดือนก่อนหน้าหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (mom) ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นได้แก่ราคาสินค้าในหมวดพลังงาน เสื้อผ้า และการขนส่งหากไม่รวมอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นรัอยละ 1.6(yoy) เทียบกับร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4(mom) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี
สำหรับการฟื้นตัวของตลาดแรงงานมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการจ้างงานในภาคนอกเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือนมีนาคมปรับเพิ่มขึ้น 308,000 ราย เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 46,000 รายในเดือนก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ ได้มีการปรับตัวเลขของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมาเป็น 159,000 และ 46,000 รายตามลำดับ โดยสาเหตุที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้น เป็นผลมาจากการขยายการจ้างในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 70,000 รายเป็น 230,000 รายประกอบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่เคยลดลงมาโดยตลอด กลับมาทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
กลุ่มประเทศยูโร
-BCB Bulletin ประจำเดือนเมษายน 2547 ระบุว่านโยบายการเงินของ ECB ในปัจจุบันยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพระดับราคาในระยะปานกลาง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป อย่างไรก็ตาม ECB จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางด้านราคาอย่างใกล้ชิดต่อไป อนึ่ง นาย Otmar Issing ซึ่งเป็น ECB board memberและ Chief Economist ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนจะยังคงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (moderate and gradual) ต่อไป ตราบใดที่เศรษฐกิจของเยอรมนีและฝรั่งเศสยังไม่เร่งตัวขึ้นมากนัก
ส่วนในรายงาน Semi-annual World Economic outlook ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา IMF ยังคงเรียกร้องให้ ECB ปรับลดอดัตราดอกเบี้ยลง โดยให้เหตุผลว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนยังคงเปราะบาง การอุโภคบริโภคอยู่ในภาวะซบเซาและการว่างงานอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำและค่าเงินยูโรแข็ง นอกจากนี้ IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้ลงจากรัอยละ 1.9 (yoy) เป็นร้อยละ 1.7 ขณะที่ยังคงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปีหน้าไว้ที่รัอยละ 2.3 เช่นเดิม สำหรับ EU Commission ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของ EU ประจำปี 2547 ลงเช่นกันจากร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 1.7 และจากร้อยละ 2.0 เป็นร้อยละ 1.8 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มยูโรโซนล่าสุดในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.6 โดยเป็นผลจากราคายาสูบที่ปรับตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือน มีนาคมก็ปรับตัวสูงขึ้น เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (mom) หรือร้อยละ 0.3 (yoy) สูงกว่าเดือนก่อนหน้า และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (commomdity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าวัตถุดิบประเภทโลหะเหล็กที่มีราคาสูงขึ้นตามประสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ญี่ปุ่น
IMF1 ประเมินว่าในปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวถึงร้อยละ 3.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออก โดยเฉพาะตลาดจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นและการฟื้นตัวของการบริโภค ส่วนปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น คือ การปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินเยนในส่วนของทางการญี่ปุ่นก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้รัอยละ 3.0 (แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางการคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้รัอยละ 2.0)
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ต่อเนื่องจากสิ้นปี 2545 ทั้งนี้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ(BSI)ของไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี ในขณะเดียวกันผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ (Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่นประจำไตรมาสแรก ก็แสดงถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของบริษัทญี่ปุ่นทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยดัชนีของ large manufacturing อยู่ที่ร้อยละ 12 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 7 และเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2540 ในขณะเดียวกันดัชนีของ large non-manufacturing ปรับตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยในส่วนของบริษัทขนาดเล็ก แม้ว่าจะยังคงติดลบแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นซึ่งสะท้อนการฟื้นตัวที่ขยายออกไปจากภาคการส่งออก
สำหรับการค้าปลีกและการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546
ในส่วนของการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.3 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ดี คาดว่าการขยายตัวของการส่งออกอาจจะชะลอลง (moderate) ในช่วงครึ่งหลังของปี หากว่าจีนดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอลง
กลุ่มเอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.7 (yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจจีนยังขยายตัวในระดับสูง คือ การค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรซึ่งการค้าปลีกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 10.7 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวร้อยละ 43.0 จากการที่อุตสาหกรรมบางสาขามีการลงทุนที่เร่งขึ้นมาก อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก วัสดุก่อสร้าง และรถยนต์ จนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ พลังงาน และบริการขนส่ง และส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนสร้างความกังวลให้กับทางการว่าอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ จากการผลิต overcapacity อนึ่ง สำนักงานสถิติจีนคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในระดับสูงในไตรมาสที่ 2 แต่จะเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
การค้าระหว่างประเทศของจีนยังขยายตัวในระดับสูง โดยการส่งออกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 34.1 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 42.2 จากการนำเข้าทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อการลงทุน ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้จีนขาดดุลการค้าสูงถึง 8.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การขาดดุลการค้าในระดับสูงนี้อาจช่วยลดแรงกดดันเรื่องการปรับค่าเงินหยวนของจีนได้ระดับหนึ่ง
โดยรวมเศรษฐกิจจีนอยู่ในเกณฑ์ดีมาตั้งแต่ต้นปีอย่างไรก็ตามจีนยังประสบกับปัญหาการขยายตัวสูงต่อเนื่องของการลงทุนและสินเชื่อ โดยยอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน มีนาคม มีมูลค่า 16.7 ล้านล้านหยวน หรือขยายตัวร้อยละ 20.1 (yoy) ดังนั้นเพื่อปัองกันไม่ให้สินเชื่อขยายตัวมากเกินไปและเป็นการรักษาให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ธนาคารกลางจีนจึงประกาศปรับเพิ่มสัดส่วนการดำรงเงินสำรอง (reserve requirement ratio) จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.5 โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 25 เมษายน 2547 หลังจากได้ปรับไปแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้เริ่มใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่แตกต่างไปตามคุณภาพสินทรัพย์ของแต่ละสถาบันการเงิน หากสถาบันการเงินใดมีคุณภาพสินทรัพย์ไม่ดีและมี capital adequacy ratio ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางการกำหนด จะต้องมี reserve requirement ratio ที่ร้อยละ 8.0 อนึ่ง ธนาคารกลางคาดว่าการปรับเพิ่ม reserve requirement ratio ครั้งนี้จะสามารถดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบได้ 110 พันล้านหยวน
เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวดีขึ้น โดยการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นตัวแปรหลักของเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 22.5 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.0 สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.3 หากพิจารณาเป็นรายสินค้า สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ชิปและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวสูง ทั้งนี้การส่งออกของไต้หวันยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อไปอีกในช่วง 2-3 เดือนนี้ เนื่องจากคำสั่งซื้อเดือนมีนาคมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.8 (yoy) นอกจากนั้น มูลค่าคำสั่งซื้อในรูปดอลลาร์ สรอ.ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย
การส่งออกที่ขยายตัวดีส่งผลให้การผลิตขยายตัวสูงไปด้วย โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 15.7 (yoy) ในเดือนมีนาคม โดยอุตสาหกรรมขยายตัวสูงได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์
ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากภาคธุรกิจการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าอัตราการว่างงานของไตัหวันในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.7-4.8 เทียบกับในปี 2546 ร้อยละ 5.0
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ โดยภาคต่างประเทศขยายตัวดีต่อเนื่องการส่งออกในเดือนมีนาคมตัวร้อยละ 40 (yoy) จากอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังจีนขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.39 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ยังคงไม่ฟื้นตัวและอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้ว ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมอยู่ที่รัอยละ 3.1 (yoy) ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 (yoy) โดยเร่งตัวขึ้นมากจากราคาอาหารและวัตถุดิบ ทำให้คาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะเพิ่มในระยะต่อไป
ผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาปรากฏว่า พรรค Uri ที่สนับสนุนประธานาธิบดี Roh Moo Hyum ได้รับเสียงข้างมากในสภาถึง 152 ที่นั่งจากทั้งหมด 299 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นมากจากเดิมที่มีเพียง49 ที่นั่ง และสะท้อนความเห็นประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ต่อ Impeachment ของประธานาธิบดี ทำให้หันไปสนับสนุนพรรค Uri
การบริโภคภาคเอกชนของฮ่องกงฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจน โดยยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 13.1 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 8.0 (yoy) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมติดลบมากเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -2.1 (yoy) จากร้อยละ -2.0(yoy)ในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราว กล่าวคือ Utility rebate ซึ่งทางการเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม ได้ส่งผลให้ Utility chrges ลดลงร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อในฮ่องกงน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไปเนื่องจาก การบริโภคภาคเอกชนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวดีขึ้น
ทางการฮ่องกงได้ประกาศให้มีการประมูลที่ดินของทางการขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากที่หยุดการประมูลไปเป็นเวลา 20 เดือนนับตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2545 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยราคาที่พักอาศัย ร้านค้าปลีก และสำนักงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งทางการฮ่องกงคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่ำร้อยละ 15 ในปีนี้
กลุ่มอาเซียน
เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 11.1 (yoy) ตามขยายตัวของการส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.7 (yoy) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำเนื่องจากปีที่แล้วตรงกับเทศกาลตรุษจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24(yoy) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0(yoy) เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวลดลง อนึ่ง จากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 month interventionrate เป็น Overnight Policy Rate (OPR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.7
ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.2 (yoy) และ 4.1 (yoy) ในปีนี้และปีหน้าตามลำดับ ซึ่งนับเป็นการคาดการณ์อัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อ growth potential ของประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องพยายามลดการขาดดุลโดยเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งนี้การขาดดุลงบประมาณของฟิลิปปินส์ ณ สิ้น ไตรมาสแรกอยู่ที่ 56.85 พันล้านเปโซ ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไวัที่ร้อยละ 3.6
สำหรับการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.3 (yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.0 แต่เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 (yoy) หลังจากทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 นับตั้งแต่ต้นปี การเร่งตัวดังกล่าวเป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังไม่ได้แสดงความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อแต่อย่างใด
เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวต่อเนื่อง โดย Advance Estimate GDP สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 7.3 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 (yoy) ทั้งนี้ ทางการคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในช่วงการคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-5.5
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) แถลงว่าจะเปลี่ยนมาดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยจะให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า (NEER) ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย (Modest and Gradual Appreciation) จากเดิมที่ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง(Zero Percent Appreciation of SGD NEER ) ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพในระยะปานกลาง เนื่องจากในปัจจุบันแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียเริ่มส่งสัญญาณความเปราะบาง โดยการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 1.6 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 (yoy) เทียบกับร้อยละ 4.6 เดือนก่อนหน้า ปัจจัยส่วนใหญ่มาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
เงินรูเปียห์ในช่วงกลางเดือนเมษายนอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8,633 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.หรืออ่อนลงประมาณร้อยละ 2 จากต้นปี ทั้งนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งภายในประเทศซึ่งอินโดนีเซียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา และคาดว่าผลการนับคะแนนจะสามารถประกาศได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-
สหรัฐอเมริกา
- นาย Alan Greenspan ประธาน Fed ได้แถลงการณ์ต่อ Joint Economic Committee of Congress เกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่ายังมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากการขยายตัวของการใช้จ่ายของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ กอปรกับการจ้างงานเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และหากอุปสงค์ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้ภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตคงจะไม่สูงเท่ากับในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืดหมดไป อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากค่าจ้างแรงงานยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมากพอที่จะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ประกอบกับประสิทธิภาพการผลิตที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงจะเป็นปัจจัยที่ควบคุมการเพิ่มขึ้นของระดับราคาในระยะต่อไป แถลงการณ์ดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววันเนื่องจากยังไม่เห็น "broad-based inflation pressure"
อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (yoy) เท่ากับในเดือนก่อนหน้าหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (mom) ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นได้แก่ราคาสินค้าในหมวดพลังงาน เสื้อผ้า และการขนส่งหากไม่รวมอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นรัอยละ 1.6(yoy) เทียบกับร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4(mom) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี
สำหรับการฟื้นตัวของตลาดแรงงานมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการจ้างงานในภาคนอกเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือนมีนาคมปรับเพิ่มขึ้น 308,000 ราย เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 46,000 รายในเดือนก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ ได้มีการปรับตัวเลขของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมาเป็น 159,000 และ 46,000 รายตามลำดับ โดยสาเหตุที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้น เป็นผลมาจากการขยายการจ้างในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 70,000 รายเป็น 230,000 รายประกอบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่เคยลดลงมาโดยตลอด กลับมาทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
กลุ่มประเทศยูโร
-BCB Bulletin ประจำเดือนเมษายน 2547 ระบุว่านโยบายการเงินของ ECB ในปัจจุบันยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายเสถียรภาพระดับราคาในระยะปานกลาง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป อย่างไรก็ตาม ECB จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางด้านราคาอย่างใกล้ชิดต่อไป อนึ่ง นาย Otmar Issing ซึ่งเป็น ECB board memberและ Chief Economist ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนจะยังคงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (moderate and gradual) ต่อไป ตราบใดที่เศรษฐกิจของเยอรมนีและฝรั่งเศสยังไม่เร่งตัวขึ้นมากนัก
ส่วนในรายงาน Semi-annual World Economic outlook ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา IMF ยังคงเรียกร้องให้ ECB ปรับลดอดัตราดอกเบี้ยลง โดยให้เหตุผลว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนยังคงเปราะบาง การอุโภคบริโภคอยู่ในภาวะซบเซาและการว่างงานอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำและค่าเงินยูโรแข็ง นอกจากนี้ IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้ลงจากรัอยละ 1.9 (yoy) เป็นร้อยละ 1.7 ขณะที่ยังคงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปีหน้าไว้ที่รัอยละ 2.3 เช่นเดิม สำหรับ EU Commission ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของ EU ประจำปี 2547 ลงเช่นกันจากร้อยละ 1.8 เป็นร้อยละ 1.7 และจากร้อยละ 2.0 เป็นร้อยละ 1.8 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มยูโรโซนล่าสุดในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.6 โดยเป็นผลจากราคายาสูบที่ปรับตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือน มีนาคมก็ปรับตัวสูงขึ้น เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (mom) หรือร้อยละ 0.3 (yoy) สูงกว่าเดือนก่อนหน้า และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (commomdity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าวัตถุดิบประเภทโลหะเหล็กที่มีราคาสูงขึ้นตามประสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ญี่ปุ่น
IMF1 ประเมินว่าในปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวถึงร้อยละ 3.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออก โดยเฉพาะตลาดจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นและการฟื้นตัวของการบริโภค ส่วนปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น คือ การปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินเยนในส่วนของทางการญี่ปุ่นก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้รัอยละ 3.0 (แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางการคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้รัอยละ 2.0)
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ต่อเนื่องจากสิ้นปี 2545 ทั้งนี้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ(BSI)ของไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี ในขณะเดียวกันผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ (Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่นประจำไตรมาสแรก ก็แสดงถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของบริษัทญี่ปุ่นทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยดัชนีของ large manufacturing อยู่ที่ร้อยละ 12 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 7 และเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2540 ในขณะเดียวกันดัชนีของ large non-manufacturing ปรับตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยในส่วนของบริษัทขนาดเล็ก แม้ว่าจะยังคงติดลบแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นซึ่งสะท้อนการฟื้นตัวที่ขยายออกไปจากภาคการส่งออก
สำหรับการค้าปลีกและการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546
ในส่วนของการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.3 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ทำให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ดี คาดว่าการขยายตัวของการส่งออกอาจจะชะลอลง (moderate) ในช่วงครึ่งหลังของปี หากว่าจีนดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอลง
กลุ่มเอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.7 (yoy) ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจจีนยังขยายตัวในระดับสูง คือ การค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรซึ่งการค้าปลีกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 10.7 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวร้อยละ 43.0 จากการที่อุตสาหกรรมบางสาขามีการลงทุนที่เร่งขึ้นมาก อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก วัสดุก่อสร้าง และรถยนต์ จนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ พลังงาน และบริการขนส่ง และส่งผลให้ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนสร้างความกังวลให้กับทางการว่าอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ จากการผลิต overcapacity อนึ่ง สำนักงานสถิติจีนคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในระดับสูงในไตรมาสที่ 2 แต่จะเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
การค้าระหว่างประเทศของจีนยังขยายตัวในระดับสูง โดยการส่งออกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 34.1 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 42.2 จากการนำเข้าทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อการลงทุน ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้จีนขาดดุลการค้าสูงถึง 8.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การขาดดุลการค้าในระดับสูงนี้อาจช่วยลดแรงกดดันเรื่องการปรับค่าเงินหยวนของจีนได้ระดับหนึ่ง
โดยรวมเศรษฐกิจจีนอยู่ในเกณฑ์ดีมาตั้งแต่ต้นปีอย่างไรก็ตามจีนยังประสบกับปัญหาการขยายตัวสูงต่อเนื่องของการลงทุนและสินเชื่อ โดยยอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน มีนาคม มีมูลค่า 16.7 ล้านล้านหยวน หรือขยายตัวร้อยละ 20.1 (yoy) ดังนั้นเพื่อปัองกันไม่ให้สินเชื่อขยายตัวมากเกินไปและเป็นการรักษาให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ธนาคารกลางจีนจึงประกาศปรับเพิ่มสัดส่วนการดำรงเงินสำรอง (reserve requirement ratio) จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.5 โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 25 เมษายน 2547 หลังจากได้ปรับไปแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้เริ่มใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่แตกต่างไปตามคุณภาพสินทรัพย์ของแต่ละสถาบันการเงิน หากสถาบันการเงินใดมีคุณภาพสินทรัพย์ไม่ดีและมี capital adequacy ratio ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางการกำหนด จะต้องมี reserve requirement ratio ที่ร้อยละ 8.0 อนึ่ง ธนาคารกลางคาดว่าการปรับเพิ่ม reserve requirement ratio ครั้งนี้จะสามารถดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบได้ 110 พันล้านหยวน
เศรษฐกิจไต้หวันฟื้นตัวดีขึ้น โดยการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นตัวแปรหลักของเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 22.5 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.0 สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.3 หากพิจารณาเป็นรายสินค้า สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ชิปและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวสูง ทั้งนี้การส่งออกของไต้หวันยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อไปอีกในช่วง 2-3 เดือนนี้ เนื่องจากคำสั่งซื้อเดือนมีนาคมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.8 (yoy) นอกจากนั้น มูลค่าคำสั่งซื้อในรูปดอลลาร์ สรอ.ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย
การส่งออกที่ขยายตัวดีส่งผลให้การผลิตขยายตัวสูงไปด้วย โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 15.7 (yoy) ในเดือนมีนาคม โดยอุตสาหกรรมขยายตัวสูงได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์
ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากภาคธุรกิจการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าอัตราการว่างงานของไตัหวันในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.7-4.8 เทียบกับในปี 2546 ร้อยละ 5.0
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ โดยภาคต่างประเทศขยายตัวดีต่อเนื่องการส่งออกในเดือนมีนาคมตัวร้อยละ 40 (yoy) จากอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังจีนขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.39 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ยังคงไม่ฟื้นตัวและอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้ว ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมอยู่ที่รัอยละ 3.1 (yoy) ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 (yoy) โดยเร่งตัวขึ้นมากจากราคาอาหารและวัตถุดิบ ทำให้คาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้จะเพิ่มในระยะต่อไป
ผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาปรากฏว่า พรรค Uri ที่สนับสนุนประธานาธิบดี Roh Moo Hyum ได้รับเสียงข้างมากในสภาถึง 152 ที่นั่งจากทั้งหมด 299 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นมากจากเดิมที่มีเพียง49 ที่นั่ง และสะท้อนความเห็นประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ต่อ Impeachment ของประธานาธิบดี ทำให้หันไปสนับสนุนพรรค Uri
การบริโภคภาคเอกชนของฮ่องกงฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจน โดยยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 13.1 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 8.0 (yoy) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมติดลบมากเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -2.1 (yoy) จากร้อยละ -2.0(yoy)ในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราว กล่าวคือ Utility rebate ซึ่งทางการเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม ได้ส่งผลให้ Utility chrges ลดลงร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อในฮ่องกงน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไปเนื่องจาก การบริโภคภาคเอกชนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวดีขึ้น
ทางการฮ่องกงได้ประกาศให้มีการประมูลที่ดินของทางการขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากที่หยุดการประมูลไปเป็นเวลา 20 เดือนนับตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2545 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยราคาที่พักอาศัย ร้านค้าปลีก และสำนักงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งทางการฮ่องกงคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่ำร้อยละ 15 ในปีนี้
กลุ่มอาเซียน
เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 11.1 (yoy) ตามขยายตัวของการส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.7 (yoy) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำเนื่องจากปีที่แล้วตรงกับเทศกาลตรุษจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24(yoy) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0(yoy) เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวลดลง อนึ่ง จากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 month interventionrate เป็น Overnight Policy Rate (OPR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.7
ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.2 (yoy) และ 4.1 (yoy) ในปีนี้และปีหน้าตามลำดับ ซึ่งนับเป็นการคาดการณ์อัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อ growth potential ของประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องพยายามลดการขาดดุลโดยเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งนี้การขาดดุลงบประมาณของฟิลิปปินส์ ณ สิ้น ไตรมาสแรกอยู่ที่ 56.85 พันล้านเปโซ ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไวัที่ร้อยละ 3.6
สำหรับการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 7.5 (yoy) การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.3 (yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.0 แต่เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 (yoy) หลังจากทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 นับตั้งแต่ต้นปี การเร่งตัวดังกล่าวเป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังไม่ได้แสดงความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อแต่อย่างใด
เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวต่อเนื่อง โดย Advance Estimate GDP สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 7.3 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 (yoy) ทั้งนี้ ทางการคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในช่วงการคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-5.5
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) แถลงว่าจะเปลี่ยนมาดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยจะให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า (NEER) ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย (Modest and Gradual Appreciation) จากเดิมที่ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง(Zero Percent Appreciation of SGD NEER ) ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพในระยะปานกลาง เนื่องจากในปัจจุบันแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียเริ่มส่งสัญญาณความเปราะบาง โดยการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 1.6 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.1 (yoy) เทียบกับร้อยละ 4.6 เดือนก่อนหน้า ปัจจัยส่วนใหญ่มาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
เงินรูเปียห์ในช่วงกลางเดือนเมษายนอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8,633 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.หรืออ่อนลงประมาณร้อยละ 2 จากต้นปี ทั้งนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งภายในประเทศซึ่งอินโดนีเซียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา และคาดว่าผลการนับคะแนนจะสามารถประกาศได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-