แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมีนาคมขยายตัวต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวดี โดยเฉพาะการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เร่งตัวขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงใกล้เคียงกับเดือนก่อนจากทั้งการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการใช้จ่ายของรัฐบาลก็เร่งตัวจากเดือนก่อนสำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนนี้อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมากตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศไทยและความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออกทำให้มูลค่าการนำเข้าอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน และส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยชั่วคราวเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวสูงตามราคาสินค้าเกษตร ส่วนในภาคบริการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าฐานะในปีก่อนจะค่อนข้างต่ำจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
สำหรับทั้งไตรมาสแรกของปี 2547 แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจลงทุนจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เศรษฐกิจไทยโดยรวมก็ยังขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อาทิ รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวสูง การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราเร่ง และผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนั้น อุปสงค์ต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศโน้มลดลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 16.0 ในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวเป็นสำคัญ อาทิ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในอุตสาหกรรมยาสูบและปิโตรเลียม และการลดการผลิตชั่วคราวเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นนอกจากนี้ ภาวะภัยแล้วได้ส่งผลให้ปริมาณวัตถุดิบเพื่อผลิตน้ำตาลและสับปะรดกระป๋องลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดยานยนต์และเครื่องดื่มยังขยายตัวดีตามอุปสงค์ในประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 79.7 เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การเร่งผลิตก่อนเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน
ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 11.6 ในไตรมาสก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.5
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบเชิงลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ในระยะนี้สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 20.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เร่งตัวขึ้นทั้งปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากปลายปีก่อนเพราะมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลได้สิ้นสุดลง
ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 18.3
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 จากรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และ 52.7 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 ที่สำคัญได้แก่รายจ่ายเพื่อชดเชยผลขาดทุนและชดเชยค่าโดยสาร ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งผลให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.4 พันล้านบาท ในเดือนนี้ ส่วนดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 0.7 พันล้านบาทจากการเบิกจ่ายเงินฝากจากบัญชีรายได้ภาษีต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และรายจ่ายเงินโอนให้ อปท.รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 2.1 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 1 รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.0 ขณะที่รายจ่ายขยายตัวร้อยละ 20.3 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 22.2 ทั้งไตรมาสรัฐบาลเกินดุลเงินสด 4.8 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 ตามราคาข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคขณะที่อุปทานขาดแคลน ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ตามการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดาค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้มในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดามีส่วนทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.8 ขณะที่ราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และ 0.8 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนนี้ ดุลการค้าขาดดุล 308 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากมูลค่าการนำเข้าซึ่งอยู่ในระดับสูงที่ 8,154 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวที่ดีของอุปสงค์ในประเทศและความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก โดยหมวดสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและชิ้นส่วน และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 23.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 7,846 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยหมวดที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนยังคงเกิดดุลที่ 516 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้ เพราะแม้การท่องเที่ยวขาเข้าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกบ้าง แต่รายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และช่วยทดแทนการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงยังคงเกินดุล 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 184 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ณ สิ้นเดือนมีนาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ 7.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 27.3 ดุลการค้าเกินดุล 236 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 1,922 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 2,158 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 999 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระะเดียวกันปีก่อน ในอัตราร้อยละ 6.3 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของสินเชื่อ ทั้งนี้ สินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.9 ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการไถ่ถอน SLIPS ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.99 และ 1.04 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ในเดือนมีนาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน กอปรกับมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศและจากบริษัทต่างชาติเพื่อนำส่งกำไรกลับประเทศอย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงสิ้นเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ทยอยนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 39.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย
ในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสำหรับปีบัญชีใหม่อย่างไรก็ตามเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือนจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยชั่วคราวเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวสูงตามราคาสินค้าเกษตร ส่วนในภาคบริการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าฐานะในปีก่อนจะค่อนข้างต่ำจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
สำหรับทั้งไตรมาสแรกของปี 2547 แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจลงทุนจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เศรษฐกิจไทยโดยรวมก็ยังขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อาทิ รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวสูง การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราเร่ง และผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนั้น อุปสงค์ต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศโน้มลดลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 16.0 ในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวเป็นสำคัญ อาทิ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในอุตสาหกรรมยาสูบและปิโตรเลียม และการลดการผลิตชั่วคราวเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นนอกจากนี้ ภาวะภัยแล้วได้ส่งผลให้ปริมาณวัตถุดิบเพื่อผลิตน้ำตาลและสับปะรดกระป๋องลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดยานยนต์และเครื่องดื่มยังขยายตัวดีตามอุปสงค์ในประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 79.7 เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การเร่งผลิตก่อนเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน
ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 11.6 ในไตรมาสก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.5
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบเชิงลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ในระยะนี้สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 20.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เร่งตัวขึ้นทั้งปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากปลายปีก่อนเพราะมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลได้สิ้นสุดลง
ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 18.3
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 จากรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และ 52.7 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 ที่สำคัญได้แก่รายจ่ายเพื่อชดเชยผลขาดทุนและชดเชยค่าโดยสาร ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งผลให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.4 พันล้านบาท ในเดือนนี้ ส่วนดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 0.7 พันล้านบาทจากการเบิกจ่ายเงินฝากจากบัญชีรายได้ภาษีต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และรายจ่ายเงินโอนให้ อปท.รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 2.1 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 1 รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.0 ขณะที่รายจ่ายขยายตัวร้อยละ 20.3 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 22.2 ทั้งไตรมาสรัฐบาลเกินดุลเงินสด 4.8 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 ตามราคาข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคขณะที่อุปทานขาดแคลน ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ตามการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดาค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้มในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดามีส่วนทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.8 ขณะที่ราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และ 0.8 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนนี้ ดุลการค้าขาดดุล 308 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากมูลค่าการนำเข้าซึ่งอยู่ในระดับสูงที่ 8,154 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวที่ดีของอุปสงค์ในประเทศและความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก โดยหมวดสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและชิ้นส่วน และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 23.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 7,846 ล้านดอลลาร์ สรอ.โดยหมวดที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนยังคงเกิดดุลที่ 516 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้ เพราะแม้การท่องเที่ยวขาเข้าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกบ้าง แต่รายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และช่วยทดแทนการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงยังคงเกินดุล 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 184 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ณ สิ้นเดือนมีนาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ 7.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 20.9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 27.3 ดุลการค้าเกินดุล 236 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 1,922 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 2,158 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 999 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระะเดียวกันปีก่อน ในอัตราร้อยละ 6.3 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของสินเชื่อ ทั้งนี้ สินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.9 ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการไถ่ถอน SLIPS ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.99 และ 1.04 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ในเดือนมีนาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน กอปรกับมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศและจากบริษัทต่างชาติเพื่อนำส่งกำไรกลับประเทศอย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงสิ้นเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ทยอยนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 39.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย
ในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสำหรับปีบัญชีใหม่อย่างไรก็ตามเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือนจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-