1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และความไม่สงบในภาคใต้
ในเดือนมีนาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 115.8 สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์และปริมาณการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 27.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสินค้ารุ่นใหม่ทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการส่งเสริมการขายที่จูงใจ ส่วนปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทำสถิติสูงสุดของยอดจำหน่ายต่อเดือน โดยขยายตัวร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปัจจัยสนับสนุนหลัก ได้แก่ อำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงของรายได้เกษตรกร
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 28.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเบียร์ขยายตัวร้อยละ 16.4 ส่วนหนึ่งเพราะความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
สำหรับยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศในเดือนกุมภาพันธ์2547 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน
2 การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 63.9 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 20.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลัก ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างชะลอตัวเล็กน้อยหลังจากที่เร่งตัวสูงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนเพื่อรับประโยชน์จากการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินที่สิ้นสุดลง ณ สิ้นปี 2546 รายละเอียดเครื่องชี้ตาง ๆ มีดังนี้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 32.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวจากร้อยละ 25.6 ในเดือนก่อน และยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 21.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 18.3 ในเดือนก่อนตามการขยายตัวของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 16.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
3 ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนมีนาคมมีรายได้นำส่ง 91.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 ตามการขยายตัวของรายได้ภาษี และรายได้ที่มิใช่ภาษีในอัตราร้อยละ 13.1 และร้อยละ 52.7 ตามลำดับ สำหรับรายได้ภาษีอากรมีการนำส่ง 78.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาษีบนฐานรายได้และภาษีบนฐานการบริโภคในอัตราร้อยละ 10.3 และ 20.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 2.4
ทั้งนี้ ในเดือนนี้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีบนฐานรายได้และฐานการบริโภคสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามเอกสารงบประมาณรวม 12.8 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่ภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศมีการจัดเก็บต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 0.5 พันล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษี ในเดือนนี้มีการนำส่งรายได้ของรัฐพาณิชย์ที่สำคัญ คือ (1) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการนำส่งรายได้ก่อนกำหนด (2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2.0 พันล้านบาท (3) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 0.9 พันล้านบาท (4) การสื่อสารแห่งประเทศไทย 0.8 พันล้านบาท และ (5) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.8 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนมีนาคมรายจ่ายรัฐบาลเท่ากับ 93.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.5 (อัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 8.3) ทั้งนี้ รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ รายจ่ายเพื่อชดเชยผลขาดทุนและชดเชยค่าโดยสารให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 2.1 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินฝากจากบัญชีรายได้ภาษีต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐบาลจัดเก็บให้รวม 4.7 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.9 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนมีนาคมดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.4 พันล้านบาท ส่วนดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 0.7 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 2.1 พันล้านบาท นอกจากนี้มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 6.6 พันล้านบาท (โดยเป็นการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุล 8.0 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 20.0 พันล้านบาท และมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 43.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัดเพิ่มขึ้น 7.8 พันล้านบาท) และการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 1.2 พันล้านบาท ทำให้มีการใช้เงินคงคลังไปจำนวน 9.9 พันล้านบาท และเงินคงคลังลดลงเหลือ 28.4 พันล้านบาทในเดือนนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
การอุปโภคบริโภคยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และความไม่สงบในภาคใต้
ในเดือนมีนาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 115.8 สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์และปริมาณการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เครื่องชี้ในกลุ่มยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 27.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสินค้ารุ่นใหม่ทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการส่งเสริมการขายที่จูงใจ ส่วนปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทำสถิติสูงสุดของยอดจำหน่ายต่อเดือน โดยขยายตัวร้อยละ 15.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปัจจัยสนับสนุนหลัก ได้แก่ อำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงของรายได้เกษตรกร
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 28.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายเบียร์ขยายตัวร้อยละ 16.4 ส่วนหนึ่งเพราะความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
สำหรับยอดค้าปลีกรวมทั้งประเทศในเดือนกุมภาพันธ์2547 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน
2 การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 63.9 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 20.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลัก ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างชะลอตัวเล็กน้อยหลังจากที่เร่งตัวสูงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนเพื่อรับประโยชน์จากการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินที่สิ้นสุดลง ณ สิ้นปี 2546 รายละเอียดเครื่องชี้ตาง ๆ มีดังนี้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 32.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวจากร้อยละ 25.6 ในเดือนก่อน และยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 21.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 18.3 ในเดือนก่อนตามการขยายตัวของการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 16.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
3 ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนมีนาคมมีรายได้นำส่ง 91.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 ตามการขยายตัวของรายได้ภาษี และรายได้ที่มิใช่ภาษีในอัตราร้อยละ 13.1 และร้อยละ 52.7 ตามลำดับ สำหรับรายได้ภาษีอากรมีการนำส่ง 78.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาษีบนฐานรายได้และภาษีบนฐานการบริโภคในอัตราร้อยละ 10.3 และ 20.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 2.4
ทั้งนี้ ในเดือนนี้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีบนฐานรายได้และฐานการบริโภคสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามเอกสารงบประมาณรวม 12.8 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่ภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศมีการจัดเก็บต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 0.5 พันล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษี ในเดือนนี้มีการนำส่งรายได้ของรัฐพาณิชย์ที่สำคัญ คือ (1) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการนำส่งรายได้ก่อนกำหนด (2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2.0 พันล้านบาท (3) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 0.9 พันล้านบาท (4) การสื่อสารแห่งประเทศไทย 0.8 พันล้านบาท และ (5) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 0.8 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนมีนาคมรายจ่ายรัฐบาลเท่ากับ 93.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.5 (อัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 8.3) ทั้งนี้ รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ รายจ่ายเพื่อชดเชยผลขาดทุนและชดเชยค่าโดยสารให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 2.1 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินฝากจากบัญชีรายได้ภาษีต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐบาลจัดเก็บให้รวม 4.7 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.9 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนมีนาคมดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 1.4 พันล้านบาท ส่วนดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 0.7 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุล 2.1 พันล้านบาท นอกจากนี้มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 6.6 พันล้านบาท (โดยเป็นการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุล 8.0 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 20.0 พันล้านบาท และมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 43.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัดเพิ่มขึ้น 7.8 พันล้านบาท) และการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 1.2 พันล้านบาท ทำให้มีการใช้เงินคงคลังไปจำนวน 9.9 พันล้านบาท และเงินคงคลังลดลงเหลือ 28.4 พันล้านบาทในเดือนนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-