ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศช.เตรียมเสนอ ครม. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ดึงเศรษฐกิจนอกระบบทุกประเภทเข้ามาในระบบให้ถูกกฎหมาย รองเลขาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ร่างยุทธศาสตร์การบริหาร
จัดการเศรษฐกิจนอกระบบ” ว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในแต่ละปีมีมูลค่าที่เกิดจากเศรษฐกิจนอกระบบ ไม่รวมส่วนที่ผิดกฎหมาย
คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 45.5 ของจีดีพี โดยมีกำลังแรงงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ประมาณ 23.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของ
แรงงานทั้งประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจนอกระบบจะเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นระดับการพัฒนาของประเทศ โดยหากมีเศรษฐกิจนอกระบบอยู่มากยิ่งด้อย
พัฒนามาก และยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยากจนที่ยากต่อการแก้ไขได้ ดังนั้น สศช.จึงเห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์โดยการดึงเศรษฐกิจนอกระบบ
ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เข้ามาในระบบให้ถูกกฎหมาย โดยมีแผนการบริหารจัดการ 3 ประการ คือ 1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
นอกระบบให้เป็นฐานในการสนับสนุนเศรษฐกิจของไทย 2) ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและการกระจายโอกาสในสังคม และ 3) ยุทธศาสตร์
การบริหารความเสี่ยงและการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะเสนอให้ ครม.พิจารณาประมาณเดือน
ก.ค.-ส.ค.47 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. สศช.เตรียมปรับประมาณการจีดีพีปี 47 ใหม่ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 มิ.ย.47 นี้ สศช.จะแถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรก
รวมทั้งจะมีการแถลงปรับประมาณการจีดีพีปี 47 ใหม่ หลังจากประเมินข้อมูลปัจจัยที่มีผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบ อาทิ ราคาน้ำมัน แนวโน้ม
อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น ทั้งนี้ ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สศช.เดิม
แบ่งความเป็นไปได้ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) กรณีต่ำ จีดีพีเติบโตในช่วงร้อยละ 6.5-7.0 2) กรณีจีดีพีเติบโตร้อยละ
7.0-7.5 และ 3) กรณีสูงเติบโตร้อยละ 7.5-8.0 ซึ่งโอกาสที่จีดีพีจะกลับมาอยู่ในเป้าหมายเดิมนั้นมีความเป็นไปได้ เนื่องจากยังมีแรงหนุนจาก
แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้รับผลกระทบในเชิงบวกและปัจจัยในเชิงลบคลายความรุนแรงลง
(ผู้จัดการรายวัน)
3. ผลสำรวจรอยเตอร์สรุปราคาน้ำมันปรับขึ้นส่งผลกระทบต่อจีดีพีไทยลดลงร้อยละ 0.5 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลสำรวจความ
เห็นของนักวิเคราะห์ เพื่อประเมินแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการประเมินแนวโน้ม
เศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.5 และคาดว่าเศรษฐกิจไทยตลอดปี 47
ยังคงขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ก่อนปรับลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 6.0 ในปีหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ก.คลังเตรียมเสนอครม.จัดตั้งบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติจัดตั้ง
บ.ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กำกับดูแลของกรมธนารักษ์ โดย ก.คลังถือหุ้นทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่
ก่อสร้างและบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ.แจ้งวัฒนะ และบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ยังให้
กรมธนารักษ์ตั้งงบประมาณเพื่อชำระค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน 30 ปี และให้กรมธนารักษ์เปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 46 จำนวน 208,338 ล้านบาท
ไปเป็นทุนจดทะเบียนเริ่มแรกของ ธพส. รวมทั้งยังให้ ธพส.ระดมทุนผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายในการ
ดำเนินโครงการและจัดสรรหาพื้นที่ศูนย์ราชการกรุงเทพฯ (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. เดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากวอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 20 พ.ค.47
Conference Board ได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อประมาณการกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วง 3 — 6 เดือนข้างหน้า
สำหรับเดือน เม.ย.47 ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 115.9 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
และต่ำกว่าเดือน มี.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 การที่ตัวเลขดัชนีดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอยู่แสดงว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันรวมทั้งแนวโน้มการ
สูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจากการที่ตลาดแรงงานมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สรอ.
มากนัก และถ้าเฉลี่ยต่อปีดัชนีชี้นำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 4.0 โดยปัจจัยหลักที่ช่วยให้มีการเพิ่มขึ้น คือ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย
ปริมาณเงินหมุนเวียนที่แท้จริง การขออนุญาตก่อสร้าง และราคาหุ้น (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 พ.ค.47 สนง.สถิติ
แห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน มี.ค.47
จากยอดขายเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 โดยหากเทียบต่อปีแล้วยอดค้าปลีกในเดือน
เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นและยังคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ
นี้เพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.25 โดยคาด
ว่าภายในสิ้นปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 เป็นอย่างน้อย (รอยเตอร์)
3. G7 ส่งสัญญานต่อ OPEC เรื่องราคาน้ำมันที่สูงเกินไป รายงานจากปารีส เมื่อ วันที่ 20 พ.ค. 47 ในการประชุมระดับรมว.คลังที่
จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ รมว.คลังจากกลุ่ม G7 ซึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี จะเป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวม
ทั้งพิจารณาเกี่ยวกับผลกระทบจากการที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นเสนอต่อกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก - OPEC นอกจากนั้นรมว.คลังจากกลุ่ม G7 ยังได้
เรียกร้องให้สมาชิกสหภาพยุโรป — EU ให้เข้มงวดในเรื่องวินัยทางการคลัง ขณะเดียวกันก็เน้นนโยบายส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง
แข็งแกร่งด้วย ทั้งนี้การเรียกร้องดังกล่าวจะจัดพิมพ์เป็นบทความลงในนสพ. Les Echos ของฝรั่งเศส นสพ. Financial Time และ นสพ.
Handelsblatt ของเยอรมนี ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
4. ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสรอ.มากนัก รายงานจาก Seattle เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 47
นาย Ben Bernanke กรรมการ ธ.กลางสรอ. เปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อเศรษฐกิจสรอ.รวมทั้งการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ. ซึ่งมีแนวที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้ แต่กลับจะมีผลดีเนื่องจากราคาสินค้าถูกลง นอกจากนั้นจีนก็ยังมิใช่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ของสรอ. และเห็นว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า อย่างไรก็ตามสรอ.กำลังจับตามองสถานการณ์เศรษฐกิจ
ของจีนอย่างสนใจเนื่องจากเศรษฐกิจจีนส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่สำหรับสรอ.ไม่น่าจะวิตกมากนักแม้ว่าสรอ.จะประสบปัญหาการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้นในปีนี้แต่คาดว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
5. ไตรมาสแรกปี 47 จีดีพีของเกาหลีใต้เติบโตร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 21 พ.ค.47 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ของเกาหลีใต้ (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เติบโตร้อยละ 0.8 จากไตรมาส
ก่อนหน้า ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.1 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ การเติบโตของ
จีดีพีในอัตราที่ชะลอตัวลงและต่ำกว่าที่คาดไว้ มีสาเหตุจากการที่ผู้บริโภคยังคงมีภาระหนี้สินจำนวนมากโดยเฉพาะหนี้สินบัตรเครดิตอันเป็นอุปสรรค
ต่อการใช้จ่าย ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ การส่งออกที่เติบโตลดลงอันเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจจีนซบเซา รวมถึง
การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและวัตถุดิบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้พึ่งพาการ
นำเข้าวัตถุดิบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทชิพคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เรือและรถยนต์ ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกสินค้าและบริการในช่วงไตรมาส
แรกปี 47 ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.6 ขณะที่ตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคลหดตัวลงเป็นไตรมาส
ที่สอง โดยลดลงร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนที่ลดลงในระดับต่ำสุดร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21/5/47 20/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.718 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5316/40.8082 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 599.88/17.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.9 36.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช.เตรียมเสนอ ครม. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ดึงเศรษฐกิจนอกระบบทุกประเภทเข้ามาในระบบให้ถูกกฎหมาย รองเลขาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ร่างยุทธศาสตร์การบริหาร
จัดการเศรษฐกิจนอกระบบ” ว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในแต่ละปีมีมูลค่าที่เกิดจากเศรษฐกิจนอกระบบ ไม่รวมส่วนที่ผิดกฎหมาย
คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 45.5 ของจีดีพี โดยมีกำลังแรงงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ประมาณ 23.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของ
แรงงานทั้งประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจนอกระบบจะเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นระดับการพัฒนาของประเทศ โดยหากมีเศรษฐกิจนอกระบบอยู่มากยิ่งด้อย
พัฒนามาก และยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยากจนที่ยากต่อการแก้ไขได้ ดังนั้น สศช.จึงเห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์โดยการดึงเศรษฐกิจนอกระบบ
ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เข้ามาในระบบให้ถูกกฎหมาย โดยมีแผนการบริหารจัดการ 3 ประการ คือ 1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
นอกระบบให้เป็นฐานในการสนับสนุนเศรษฐกิจของไทย 2) ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและการกระจายโอกาสในสังคม และ 3) ยุทธศาสตร์
การบริหารความเสี่ยงและการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะเสนอให้ ครม.พิจารณาประมาณเดือน
ก.ค.-ส.ค.47 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. สศช.เตรียมปรับประมาณการจีดีพีปี 47 ใหม่ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 มิ.ย.47 นี้ สศช.จะแถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรก
รวมทั้งจะมีการแถลงปรับประมาณการจีดีพีปี 47 ใหม่ หลังจากประเมินข้อมูลปัจจัยที่มีผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบ อาทิ ราคาน้ำมัน แนวโน้ม
อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น ทั้งนี้ ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สศช.เดิม
แบ่งความเป็นไปได้ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) กรณีต่ำ จีดีพีเติบโตในช่วงร้อยละ 6.5-7.0 2) กรณีจีดีพีเติบโตร้อยละ
7.0-7.5 และ 3) กรณีสูงเติบโตร้อยละ 7.5-8.0 ซึ่งโอกาสที่จีดีพีจะกลับมาอยู่ในเป้าหมายเดิมนั้นมีความเป็นไปได้ เนื่องจากยังมีแรงหนุนจาก
แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้รับผลกระทบในเชิงบวกและปัจจัยในเชิงลบคลายความรุนแรงลง
(ผู้จัดการรายวัน)
3. ผลสำรวจรอยเตอร์สรุปราคาน้ำมันปรับขึ้นส่งผลกระทบต่อจีดีพีไทยลดลงร้อยละ 0.5 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลสำรวจความ
เห็นของนักวิเคราะห์ เพื่อประเมินแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการประเมินแนวโน้ม
เศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.5 และคาดว่าเศรษฐกิจไทยตลอดปี 47
ยังคงขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ก่อนปรับลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 6.0 ในปีหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ก.คลังเตรียมเสนอครม.จัดตั้งบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติจัดตั้ง
บ.ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กำกับดูแลของกรมธนารักษ์ โดย ก.คลังถือหุ้นทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่
ก่อสร้างและบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ.แจ้งวัฒนะ และบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ยังให้
กรมธนารักษ์ตั้งงบประมาณเพื่อชำระค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน 30 ปี และให้กรมธนารักษ์เปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 46 จำนวน 208,338 ล้านบาท
ไปเป็นทุนจดทะเบียนเริ่มแรกของ ธพส. รวมทั้งยังให้ ธพส.ระดมทุนผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายในการ
ดำเนินโครงการและจัดสรรหาพื้นที่ศูนย์ราชการกรุงเทพฯ (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. เดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 รายงานจากวอชิงตัน สรอ. เมื่อวันที่ 20 พ.ค.47
Conference Board ได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อประมาณการกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วง 3 — 6 เดือนข้างหน้า
สำหรับเดือน เม.ย.47 ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับ 115.9 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
และต่ำกว่าเดือน มี.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 การที่ตัวเลขดัชนีดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอยู่แสดงว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันรวมทั้งแนวโน้มการ
สูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจากการที่ตลาดแรงงานมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สรอ.
มากนัก และถ้าเฉลี่ยต่อปีดัชนีชี้นำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 4.0 โดยปัจจัยหลักที่ช่วยให้มีการเพิ่มขึ้น คือ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย
ปริมาณเงินหมุนเวียนที่แท้จริง การขออนุญาตก่อสร้าง และราคาหุ้น (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 20 พ.ค.47 สนง.สถิติ
แห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน มี.ค.47
จากยอดขายเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 โดยหากเทียบต่อปีแล้วยอดค้าปลีกในเดือน
เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นและยังคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ
นี้เพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.25 โดยคาด
ว่าภายในสิ้นปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 เป็นอย่างน้อย (รอยเตอร์)
3. G7 ส่งสัญญานต่อ OPEC เรื่องราคาน้ำมันที่สูงเกินไป รายงานจากปารีส เมื่อ วันที่ 20 พ.ค. 47 ในการประชุมระดับรมว.คลังที่
จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ รมว.คลังจากกลุ่ม G7 ซึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี จะเป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวม
ทั้งพิจารณาเกี่ยวกับผลกระทบจากการที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นเสนอต่อกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก - OPEC นอกจากนั้นรมว.คลังจากกลุ่ม G7 ยังได้
เรียกร้องให้สมาชิกสหภาพยุโรป — EU ให้เข้มงวดในเรื่องวินัยทางการคลัง ขณะเดียวกันก็เน้นนโยบายส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง
แข็งแกร่งด้วย ทั้งนี้การเรียกร้องดังกล่าวจะจัดพิมพ์เป็นบทความลงในนสพ. Les Echos ของฝรั่งเศส นสพ. Financial Time และ นสพ.
Handelsblatt ของเยอรมนี ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
4. ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสรอ.มากนัก รายงานจาก Seattle เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 47
นาย Ben Bernanke กรรมการ ธ.กลางสรอ. เปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อเศรษฐกิจสรอ.รวมทั้งการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสรอ. ซึ่งมีแนวที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้ แต่กลับจะมีผลดีเนื่องจากราคาสินค้าถูกลง นอกจากนั้นจีนก็ยังมิใช่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ของสรอ. และเห็นว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า อย่างไรก็ตามสรอ.กำลังจับตามองสถานการณ์เศรษฐกิจ
ของจีนอย่างสนใจเนื่องจากเศรษฐกิจจีนส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่สำหรับสรอ.ไม่น่าจะวิตกมากนักแม้ว่าสรอ.จะประสบปัญหาการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้นในปีนี้แต่คาดว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
5. ไตรมาสแรกปี 47 จีดีพีของเกาหลีใต้เติบโตร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 21 พ.ค.47 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ของเกาหลีใต้ (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เติบโตร้อยละ 0.8 จากไตรมาส
ก่อนหน้า ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.1 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ การเติบโตของ
จีดีพีในอัตราที่ชะลอตัวลงและต่ำกว่าที่คาดไว้ มีสาเหตุจากการที่ผู้บริโภคยังคงมีภาระหนี้สินจำนวนมากโดยเฉพาะหนี้สินบัตรเครดิตอันเป็นอุปสรรค
ต่อการใช้จ่าย ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ การส่งออกที่เติบโตลดลงอันเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจจีนซบเซา รวมถึง
การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและวัตถุดิบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้พึ่งพาการ
นำเข้าวัตถุดิบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทชิพคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เรือและรถยนต์ ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกสินค้าและบริการในช่วงไตรมาส
แรกปี 47 ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.6 ขณะที่ตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคลหดตัวลงเป็นไตรมาส
ที่สอง โดยลดลงร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนที่ลดลงในระดับต่ำสุดร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21/5/47 20/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.718 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5316/40.8082 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 599.88/17.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.9 36.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-