แท็ก
การนำเข้า
1.ภาคต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
ในเดือนมีนาคม 2547 ดุลการค้าขาดดุล 308 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 8,154 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยขยายตัวในเกณฑ์สูงทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและชิ้นส่วน และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 7,486 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 23.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก และเหล็ก เป็นสำคัญ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 516 ล้านดอลลาร์ สรอ.แม้ว่าการท่องเที่ยวขาเข้าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ แต่รายได้จากการท่องเที่ยวยังสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน จากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันในรูปดอลลาร์ สรอ. ที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศยังสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากฐานในปีก่อนต่ำกว่าปกติเพราะผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ส่วนรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุน โดยรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งภาคเอกชนและภาคทางการ โดยเฉพาะการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น
ในเดือนนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 184 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 668 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ขาดดุล 224 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของรัฐบาล การซื้อ ECP กลับโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และการชำระคืนสินเชื่อการค้า เป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ภาคเอกชนชาดดุล 871 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาคธนาคารเกินดุล 228 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการลดสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่เพราะฐานะการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิลดลง แต่ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารขาดดุล 1,159 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายการบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการชำระคืนสินเชื่อการค้าเป็นสำคัญ
ภาคทางการเกินดุล 647 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาครัฐขาดดุล 156 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของรัฐบาลและการซื้อ ECP กลับโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ในขณะที่ ธปท.เกินดุล 803 ล้านดอลลาร์ สรอ.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-
ในเดือนมีนาคม 2547 ดุลการค้าขาดดุล 308 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 36.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 8,154 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยขยายตัวในเกณฑ์สูงทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและชิ้นส่วน และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 7,486 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 23.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก และเหล็ก เป็นสำคัญ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 516 ล้านดอลลาร์ สรอ.แม้ว่าการท่องเที่ยวขาเข้าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ แต่รายได้จากการท่องเที่ยวยังสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน จากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันในรูปดอลลาร์ สรอ. ที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศยังสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากฐานในปีก่อนต่ำกว่าปกติเพราะผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ส่วนรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุน โดยรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งภาคเอกชนและภาคทางการ โดยเฉพาะการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น
ในเดือนนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 184 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 668 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ขาดดุล 224 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของรัฐบาล การซื้อ ECP กลับโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และการชำระคืนสินเชื่อการค้า เป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ภาคเอกชนชาดดุล 871 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาคธนาคารเกินดุล 228 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากการลดสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่เพราะฐานะการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิลดลง แต่ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารขาดดุล 1,159 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายการบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการชำระคืนสินเชื่อการค้าเป็นสำคัญ
ภาคทางการเกินดุล 647 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยภาครัฐขาดดุล 156 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของรัฐบาลและการซื้อ ECP กลับโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ในขณะที่ ธปท.เกินดุล 803 ล้านดอลลาร์ สรอ.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-