แท็ก
เกษตรกร
1.ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนมีนาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวสูงถึงร้อยบะ 17.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามความต้องการสินค้าจากตลาดโลก และการลดลงของอุปทานข้าวนาปรัง พืชไร่ และผักเนื่องจากภาวะความแห้งแล้งในประเทศ โดยราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนนี้ได้แก่ ข้ามหอมมะลิ ถั่วเขียว และผัก
ผลผลิตพืชผล ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากภาวะความแห้งแล้งและปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปรัง อ้อย และพืชไร่บางชนิด นอกจากนั้นการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ทำให้มีการชะลอการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไปคาดว่ารายได้เกษตรกรจะขยายตัวในเกณฑ์สูงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2547 ตามราคาพืชผลโดยเฉพาะข้าวและยางพารา ส่วนราคาถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมันจะทรงตัวในเกณฑ์สูงไปจนถึงช่วงปลายปีเนื่องจากเกิดภาวะภัยแล้งในหสรัฐฯและอาร์เจนตินาขณะที่อุปสงค์ในจีนเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาสินค้าเกษตรอื่นของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งราคาประมงและราคาปศุสัตว์
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามราคาปลาทะเลและปลาหมึกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และ 28.2 ตามลำดับประกอบกับราคากุ้งปรับตัวดีขึ้น
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ตามราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.0 เนื่องจากมีการบริโภคสุกรแทนไก่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่
สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป ราคาปศุสัตว์คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงจากราคาไก่เนื้อและไข่ไก่ที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไก่คลี่คลายเนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่จะไม่เพียงพอกับระดับความต้องการที่ปรับตัวดีขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก(สินค้า 12 ชนิดที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาข้าวสาร ยางพารา มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะราคาถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากอุปทานของพืชน้ำมันมีแนวโน้มที่จะลดลงตามผลผลิตถั่วเหลืองในฤดูการผลผลิต 2546/2547 โดยเฉพาะในสหรัฐฯ กอปรกับอุปสงค์ถั่วเหลืองของจีนเพิ่มขึ้นราคาพืชน้ำมันจึงน่าจะอยู่ในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าผลิผลิตน้ำมันในฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด
2.ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาจากเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและยาสูบ การลดการผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตปิโตรเคมีขั้นต้นบางรายเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิต และปัญหาทางเทคนิคของเครื่องจักรของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งผลของฐานที่สูงจากปีก่อน ในหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก
นอกจากปัจจัยชั่วคราวดังกล่าว ภาวะแห้งแล้งได้ส่งผลให้วัตถุดิบของอุตสาหกรรมน้ำตาล สับปะรดกระป๋องและยางแท่งลดลง ทำให้การผลิตในหมวดอาหารและหมวดอื่นๆ ลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดยานยนต์และอุปสงค์ขนส่งยังขยายตัวสูงจากการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่เพื่อรองรับงาน Motor Show ในช่วงปลายเดือน ขณะที่หมวดเครื่องดื่มก็ขยายตัวดี โดยเฉพาะการผลิตสุราและเบียร์ที่ได้รับผลดีจากการเลือกตั้งท้องถิ่นและการแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตรายใหญ่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้สูงขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 79.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาลเป็นสำคัญ
3.การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนมีนาคม 2547 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวนประมาณ 875,000 คน แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว จากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)สำหรับในระยะต่อไปคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะชะลอลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในความปลอดภัย ทั้งจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่
อัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือนมีนาคมเท่ากับร้อยละ 61.3 เพิ่มขึ้นระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนหนึ่งจากรายจ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
4.ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนกุมพาพันธ์ 2547 มูลค่าการซื้อขายที่ดินและเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ด้านอุปทานเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ยกเว้นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง สะท้อนให้เห็นถึงอุปทานที่อยู่อาศัยซึ่งขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยรวม ทั้งนี้ มีการเปิดตัวโครงการ ใหม่จำนวนมากในช่วงต้นปี ทั้งบ้านเดี่ยว อาคารชุด และทาวน์เฮ้าส์
ทางด้านอุปสงค์ จากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าปริมาณการซื้อขายบ้านและที่ดินในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ค่อนข้างดี สอดคล้องกับมูลค่าการซื้อขายที่ดิน
สำหรับด้านราคาคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงผลักด้านต้นทุน(Cost Push) ตามราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาประเมินที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือด้านก่อสร้าง โดยราคาอาคารชุดในเขต Central Business District(CBD) ได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะโครงการตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีศักยภาพทั้งเพื่อการลงทุนและเพื่อการเก็งกำไร
5.ภาคการค้า
ในเดือนมีนาคม 2547 ธุรกิจการค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งการค้าปลีกและค้าส่ง แม้จะเป็นช่วงนอกฤดูกาลของผลผลิตหลักทางการเกษตร โดยการค้าสินค้าอุปโภคบริโภคนอกภาคเกษตรขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัว เครื่องตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬาและการออกกำลังการเพื่อสุขภาพตลอดจนเวชภัณฑ์และสมุนไพร ส่วนสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะการท่องเที่ยวในประเทศ ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
โดยรวมภาวะธุรกิจการค้ายังคงมีบรรยากาศแจ่มใส ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้สถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคบ้าง แต่ก็มีผลกระทบเฉพาะการค้าไก่และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเท่านั้น ส่วนการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคอื่นๆ ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
6.โทรคมนาคม
เดือนกุมภาพันธ์ 2547
เดือนกุมภาพันธ์ จำนวนเลขหมายโทรศัพท์ พื้นฐานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 24.3 โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการพัฒนาการให้บริการเสริมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี เช่นบริการระบบการระบุตำแหน่งของเครื่องโทรศัพท์ และสถานที่อื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง
ตั้งแต่เดือนมกราคม บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศมีการลดอัตราค่าบริการลง ทั้งการโทรไปต่างประเทศในระบบปกติและการโทรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีการใช้บริการเพิ่มขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-
-ชพ-
ในเดือนมีนาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวสูงถึงร้อยบะ 17.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ รายละเอียดมีดังนี้
ราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามความต้องการสินค้าจากตลาดโลก และการลดลงของอุปทานข้าวนาปรัง พืชไร่ และผักเนื่องจากภาวะความแห้งแล้งในประเทศ โดยราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนนี้ได้แก่ ข้ามหอมมะลิ ถั่วเขียว และผัก
ผลผลิตพืชผล ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากภาวะความแห้งแล้งและปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปรัง อ้อย และพืชไร่บางชนิด นอกจากนั้นการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ทำให้มีการชะลอการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไปคาดว่ารายได้เกษตรกรจะขยายตัวในเกณฑ์สูงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2547 ตามราคาพืชผลโดยเฉพาะข้าวและยางพารา ส่วนราคาถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมันจะทรงตัวในเกณฑ์สูงไปจนถึงช่วงปลายปีเนื่องจากเกิดภาวะภัยแล้งในหสรัฐฯและอาร์เจนตินาขณะที่อุปสงค์ในจีนเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาสินค้าเกษตรอื่นของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งราคาประมงและราคาปศุสัตว์
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามราคาปลาทะเลและปลาหมึกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และ 28.2 ตามลำดับประกอบกับราคากุ้งปรับตัวดีขึ้น
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ตามราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.0 เนื่องจากมีการบริโภคสุกรแทนไก่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่
สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป ราคาปศุสัตว์คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงจากราคาไก่เนื้อและไข่ไก่ที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไก่คลี่คลายเนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่จะไม่เพียงพอกับระดับความต้องการที่ปรับตัวดีขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก(สินค้า 12 ชนิดที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาข้าวสาร ยางพารา มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะราคาถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากอุปทานของพืชน้ำมันมีแนวโน้มที่จะลดลงตามผลผลิตถั่วเหลืองในฤดูการผลผลิต 2546/2547 โดยเฉพาะในสหรัฐฯ กอปรกับอุปสงค์ถั่วเหลืองของจีนเพิ่มขึ้นราคาพืชน้ำมันจึงน่าจะอยู่ในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าผลิผลิตน้ำมันในฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด
2.ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาจากเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและยาสูบ การลดการผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตปิโตรเคมีขั้นต้นบางรายเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิต และปัญหาทางเทคนิคของเครื่องจักรของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งผลของฐานที่สูงจากปีก่อน ในหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก
นอกจากปัจจัยชั่วคราวดังกล่าว ภาวะแห้งแล้งได้ส่งผลให้วัตถุดิบของอุตสาหกรรมน้ำตาล สับปะรดกระป๋องและยางแท่งลดลง ทำให้การผลิตในหมวดอาหารและหมวดอื่นๆ ลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดยานยนต์และอุปสงค์ขนส่งยังขยายตัวสูงจากการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่เพื่อรองรับงาน Motor Show ในช่วงปลายเดือน ขณะที่หมวดเครื่องดื่มก็ขยายตัวดี โดยเฉพาะการผลิตสุราและเบียร์ที่ได้รับผลดีจากการเลือกตั้งท้องถิ่นและการแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตรายใหญ่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้สูงขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 79.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาลเป็นสำคัญ
3.การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนมีนาคม 2547 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวนประมาณ 875,000 คน แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว จากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)สำหรับในระยะต่อไปคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะชะลอลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในความปลอดภัย ทั้งจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่
อัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือนมีนาคมเท่ากับร้อยละ 61.3 เพิ่มขึ้นระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ส่วนหนึ่งจากรายจ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
4.ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนกุมพาพันธ์ 2547 มูลค่าการซื้อขายที่ดินและเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ด้านอุปทานเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ยกเว้นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง สะท้อนให้เห็นถึงอุปทานที่อยู่อาศัยซึ่งขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยรวม ทั้งนี้ มีการเปิดตัวโครงการ ใหม่จำนวนมากในช่วงต้นปี ทั้งบ้านเดี่ยว อาคารชุด และทาวน์เฮ้าส์
ทางด้านอุปสงค์ จากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าปริมาณการซื้อขายบ้านและที่ดินในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ค่อนข้างดี สอดคล้องกับมูลค่าการซื้อขายที่ดิน
สำหรับด้านราคาคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงผลักด้านต้นทุน(Cost Push) ตามราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาประเมินที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือด้านก่อสร้าง โดยราคาอาคารชุดในเขต Central Business District(CBD) ได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะโครงการตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีศักยภาพทั้งเพื่อการลงทุนและเพื่อการเก็งกำไร
5.ภาคการค้า
ในเดือนมีนาคม 2547 ธุรกิจการค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งการค้าปลีกและค้าส่ง แม้จะเป็นช่วงนอกฤดูกาลของผลผลิตหลักทางการเกษตร โดยการค้าสินค้าอุปโภคบริโภคนอกภาคเกษตรขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัว เครื่องตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬาและการออกกำลังการเพื่อสุขภาพตลอดจนเวชภัณฑ์และสมุนไพร ส่วนสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะการท่องเที่ยวในประเทศ ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
โดยรวมภาวะธุรกิจการค้ายังคงมีบรรยากาศแจ่มใส ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้สถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคบ้าง แต่ก็มีผลกระทบเฉพาะการค้าไก่และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเท่านั้น ส่วนการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคอื่นๆ ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
6.โทรคมนาคม
เดือนกุมภาพันธ์ 2547
เดือนกุมภาพันธ์ จำนวนเลขหมายโทรศัพท์ พื้นฐานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 24.3 โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการพัฒนาการให้บริการเสริมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี เช่นบริการระบบการระบุตำแหน่งของเครื่องโทรศัพท์ และสถานที่อื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง
ตั้งแต่เดือนมกราคม บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศมีการลดอัตราค่าบริการลง ทั้งการโทรไปต่างประเทศในระบบปกติและการโทรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีการใช้บริการเพิ่มขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-
-ชพ-