1.ฐานการเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่สูงต่อเนื่อง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 685.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยบะ 8.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนหรือร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า
การเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ที่สำคัญ ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นตามการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท. (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลง ส่วนใหญ่เนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในพันธบัตรของ ธปท.ที่ออกเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนมีนาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของสินเชื่อ
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
-เงินบาทอ่อนค่าลงจาก Sentiments ที่ดีของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินทรงตัวอยู่ในระดับเดิม
-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกระยะปรับลดลงสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนมีนาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน กอปรกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.จากรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และจากบริษัทต่างชาติเพื่อนำส่งกำไรกลับประเทศ อย่างไรก็ดี เงินบาทปรับค่าแข็งขึ้นในช่วงสิ้นเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ทยอยนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศ
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การปรับเพิ่มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทญี่ปุ่นเพื่อนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสำหรับปีบัญชีใหม่ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือนจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งปัจจัยลบจากข่าวการขู่ก่อการร้าย
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนมีนาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่อปี ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ โดยสภาพคล่องตึงตัวเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมสภาพคล่องสำหรับชำระค่าหุ้นดังกล่าว อย่างไรก็ดี สภาพคล่องได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่วนอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank) ระยะ 1 วัน ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.04 ต่อปี
สำหรับในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.97 ต่อปี ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากมีสภาพคล่องในระบบค่อนข้างมาก โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่นำสภาพคล่องส่วนที่เหลือจากการเตรียมสำหรับการเบิกถอนช่วงเทศกาลสงกรานต์มาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.99 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหลายแห่งได้นำสภาพคล่องคงเหลือมาให้กู้ในอัตราที่ต่ำลง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนมีนาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลงจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีนักวิเคราะห์บางสถาบันคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐฯ จะคงอยู่ที่ระดับต่ำจนถึงสิ้นปี นอกจากนี้ ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่ทำให้นักลงทุนกลับมาลงทุนเพิ่มขึ้น ในตลาดพันธบัตร ได้แก่ การปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และเหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศสเปน
ในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเป็นการปรับตัวสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งได้รับผลจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี รวมถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มในอนาคตอันใกล้
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
-สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัว
-อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการ ไถ่ถอน SLIPS ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อย 4.3 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนมีนาคมและในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-
ฐานเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่สูงต่อเนื่อง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 685.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยบะ 8.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนหรือร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า
การเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานของฐานเงินจากเดือนก่อนหน้า ที่สำคัญ ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นตามการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท. (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลง ส่วนใหญ่เนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในพันธบัตรของ ธปท.ที่ออกเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนมีนาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของสินเชื่อ
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
-เงินบาทอ่อนค่าลงจาก Sentiments ที่ดีของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินทรงตัวอยู่ในระดับเดิม
-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกระยะปรับลดลงสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนมีนาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นเดือน กอปรกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.จากรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และจากบริษัทต่างชาติเพื่อนำส่งกำไรกลับประเทศ อย่างไรก็ดี เงินบาทปรับค่าแข็งขึ้นในช่วงสิ้นเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ทยอยนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศ
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ การปรับเพิ่มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทญี่ปุ่นเพื่อนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยสำหรับปีบัญชีใหม่ อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของเดือนจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งปัจจัยลบจากข่าวการขู่ก่อการร้าย
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนมีนาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่อปี ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ โดยสภาพคล่องตึงตัวเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมสภาพคล่องสำหรับชำระค่าหุ้นดังกล่าว อย่างไรก็ดี สภาพคล่องได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่วนอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank) ระยะ 1 วัน ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.04 ต่อปี
สำหรับในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.97 ต่อปี ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากมีสภาพคล่องในระบบค่อนข้างมาก โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่นำสภาพคล่องส่วนที่เหลือจากการเตรียมสำหรับการเบิกถอนช่วงเทศกาลสงกรานต์มาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ปรับลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.99 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหลายแห่งได้นำสภาพคล่องคงเหลือมาให้กู้ในอัตราที่ต่ำลง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนมีนาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลงจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีนักวิเคราะห์บางสถาบันคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐฯ จะคงอยู่ที่ระดับต่ำจนถึงสิ้นปี นอกจากนี้ ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่ทำให้นักลงทุนกลับมาลงทุนเพิ่มขึ้น ในตลาดพันธบัตร ได้แก่ การปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และเหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศสเปน
ในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเป็นการปรับตัวสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งได้รับผลจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี รวมถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มในอนาคตอันใกล้
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
-สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัว
-อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการ ไถ่ถอน SLIPS ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อย 4.3 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนมีนาคมและในช่วงวันที่ 1-27 เมษายน 2547 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-/-ชพ-