1.เสถียรภาพในประเทศ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านราคา ภาวะการจ้างงาน และหนี้สาธารณะ
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมีนาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 เป็นผลจากราคาข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ ที่สูงขึ้นตามความต้องการบริโภคประกอบกับอุปทานขาดแคลน ส่วนราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ค่ารถโดยสาร และก๊าซหุงต้มในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการปรับขึ้นค่ารถโดยสารนี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ด้วย
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้ว่างงานมีจำนวนประมาณ 0.8 ล้านคน และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สภาพอากาศที่แห้งแล้งส่งผลให้การจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่องและแรงงานบางส่วนจากภาคเกษตรโยกย้ายเข้าสู่ภาคนอกเกษตร อนึ่ง การจ้างงานในภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามปกติหลังจากที่หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในเดือนมกราคม 2547 จากผลกระทบของโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในไก่
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,897.04 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 5.34 พันล้านบาทโดยเป็นผลจากการลดลงของหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจำนวน 16.29 และ8.95 พันล้านบาทตามลำดับ ขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 19.90 พันล้านบาท อนึ่ง ประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่สูงขึ้นในปี 2547 ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงมากจากร้อยละ 49.2 ในเดือนธันวาคม 2546 มาอยู่ที่ร้อยละ 44.73 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนึ้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547ลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน เหลือ 51.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนหนี้สุทธิของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และผลของเงินเยนที่มีค่าอ่อนลง
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ และการชำระคืนสินเชื่อการค้าของภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 34.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ภาคธนาคารมีการชำระหนี้สุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ในส่วนของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันมีการชำระเงินกู้ระยะยาวและสินเชื่อการค้าสุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น สุทธิจึงมีการชำระคืนเงินกู้ในภาคเอกชน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง หนี้ภาคเอกชนจึงลดลงทั้งสิ้น 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน เนื่องจากมีการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ที่ครบกำหนด ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อ ECP ในตลาดรองต่างประเทศ ทั้งนี้เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้หนี้ภาครัฐลดลงทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงโดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น ทั้งจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นและหนี้ระยะสั้นที่ลดลงขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านราคา ภาวะการจ้างงาน และหนี้สาธารณะ
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนมีนาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 เป็นผลจากราคาข้าวหอมมะลิ เนื้อสุกร และเนื้อไก่ ที่สูงขึ้นตามความต้องการบริโภคประกอบกับอุปทานขาดแคลน ส่วนราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ค่ารถโดยสาร และก๊าซหุงต้มในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการปรับขึ้นค่ารถโดยสารนี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ด้วย
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้ว่างงานมีจำนวนประมาณ 0.8 ล้านคน และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สภาพอากาศที่แห้งแล้งส่งผลให้การจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่องและแรงงานบางส่วนจากภาคเกษตรโยกย้ายเข้าสู่ภาคนอกเกษตร อนึ่ง การจ้างงานในภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามปกติหลังจากที่หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในเดือนมกราคม 2547 จากผลกระทบของโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในไก่
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,897.04 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 5.34 พันล้านบาทโดยเป็นผลจากการลดลงของหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจำนวน 16.29 และ8.95 พันล้านบาทตามลำดับ ขณะที่หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 19.90 พันล้านบาท อนึ่ง ประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่สูงขึ้นในปี 2547 ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงมากจากร้อยละ 49.2 ในเดือนธันวาคม 2546 มาอยู่ที่ร้อยละ 44.73 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนึ้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547ลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน เหลือ 51.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการชำระคืนหนี้สุทธิของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และผลของเงินเยนที่มีค่าอ่อนลง
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด โดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ และการชำระคืนสินเชื่อการค้าของภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มีจำนวน 34.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ภาคธนาคารมีการชำระหนี้สุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ในส่วนของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันมีการชำระเงินกู้ระยะยาวและสินเชื่อการค้าสุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดังนั้น สุทธิจึงมีการชำระคืนเงินกู้ในภาคเอกชน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง หนี้ภาคเอกชนจึงลดลงทั้งสิ้น 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ ลดลง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน เนื่องจากมีการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ที่ครบกำหนด ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ซื้อ ECP ในตลาดรองต่างประเทศ ทั้งนี้เมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้หนี้ภาครัฐลดลงทั้งสิ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงโดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 อยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น ทั้งจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นและหนี้ระยะสั้นที่ลดลงขณะที่สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-