1. ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย
- กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.0 และ103.2 ตามลำดับ โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของรัฐมีอัตราการขยายตัวของกำไรสูงที่สุด
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญสะท้อนถึงประสิทธิภาพการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ยที่โน้มต่ำลงและการลดลงของภาระดอกเบี้ยจ่ายจากการไถ่ถอน SLIPs และ CAPs ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีกำไรสุทธิ 25.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 103.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่รายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินค้าที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ก็มีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย ด้านภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตั้งแต่กลางปี 2546 และการไถ่ถอน SLIPsและSuper CAPs ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 40 26 และ 13.3 พันล้านบาท ตามลำดับ เป็นสำคัญ
แนวโน้มการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2547 น่าจะสามารถขยายสินเชื่อได้ต่อเนื่องและนำเสนอบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาคธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวด้านการเงินและการดำเนินงานที่ดีขึ้นมาก ขณะที่ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีสภาพคล่องในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-
- กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.0 และ103.2 ตามลำดับ โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของรัฐมีอัตราการขยายตัวของกำไรสูงที่สุด
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญสะท้อนถึงประสิทธิภาพการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ยที่โน้มต่ำลงและการลดลงของภาระดอกเบี้ยจ่ายจากการไถ่ถอน SLIPs และ CAPs ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีกำไรสุทธิ 25.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนและร้อยละ 103.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่รายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินค้าที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ก็มีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย ด้านภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตั้งแต่กลางปี 2546 และการไถ่ถอน SLIPsและSuper CAPs ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 40 26 และ 13.3 พันล้านบาท ตามลำดับ เป็นสำคัญ
แนวโน้มการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2547 น่าจะสามารถขยายสินเชื่อได้ต่อเนื่องและนำเสนอบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาคธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวด้านการเงินและการดำเนินงานที่ดีขึ้นมาก ขณะที่ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีสภาพคล่องในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชพ-/-ดพ-