ไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านรวม 4 ประเทศ โดยทางทิศเหนือไทยมีพรมแดนติดกับพม่าและลาว ทิศตะวันตกติดกับพม่า ทิศตะวันออกติดกับลาวและกัมพูชา ส่วนทิศใต้ติดกับมาเลเซีย ทั้งนี้ ไทยมีพรมแดนติดกับพม่าเป็นระยะทางยาวที่สุดถึง 2,400 กิโลเมตร รองลงมา คือ ลาว (1,810 กิโลเมตร) กัมพูชา (725 กิโลเมตร) และมาเลเซีย (647 กิโลเมตร) ซึ่งการมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ทำให้ไทยมีความได้เปรียบทางการค้าเหนือประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในเรื่องต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำ อีกทั้งไทยยังมีความใกล้ชิดทางการตลาดมากกว่า ทำให้ทราบถึงรสนิยมการบริโภคของประเทศเพื่อนบ้านได้ดีกว่า
ปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีสัดส่วนราว 64.5% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ ทั้งนี้ มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2546 มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นกว่า 35% สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการค้าชายแดนในปี 2546 สรุปได้ดังนี้
มูลค่าการค้าชายแดนกับแต่ละประเทศ ประเทศที่มีมูลค่าการค้าชายแดนกับไทยมากที่สุด คือ มาเลเซีย (66.0% ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดของไทย) รองลงมา คือ พม่า (20.1%) ลาว (7.7%) และกัมพูชา (6.0%) ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด ยกเว้นประเทศพม่าซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าสูงถึง 33,673.4 ล้านบาท โดยไทยขาดดุลการค้าชายแดนแก่พม่าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาจากการนำเข้าสินค้าประเภทเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ จากพม่า (ราว 97.0% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าชายแดนจากพม่าทั้งหมด)
สินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าผ่านการค้าชายแดน
- สินค้าส่งออก สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร อาทิ น้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน ฯลฯ โดยมาเลเซียนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเพื่อส่งออกต่อ (Re-exports) นอกนั้นเป็นสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องจักรทั้งที่ใช้และไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ขณะที่สินค้าที่ไทยส่งออกไปใน 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่ม
- สินค้านำเข้า สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องจักรทั้งที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้ารวมทั้งส่วนประกอบ ขณะที่สินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ลาว และกัมพูชา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ เชื้อเพลิง ไม้ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะและเศษโลหะต่างๆ หนังดิบและหนังฟอกพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ฯลฯ
ด่านการค้าชายแดน ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีดังนี้
- มาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.สงขลาเกือบทั้งหมด (ราว 97% ของการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย) ทางด่านปาร์ดังเบซาร์-รัฐปะลิส (มาเลเซีย) และทางด่านสะเดา-รัฐเกดะห์ (หรือไทรบุรี) ของมาเลเซีย นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.นราธิวาส ยะลา และสตูล ตามลำดับ
- พม่า ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.กาญจนบุรี (ราว 70% ของการค้าชายแดนไทย-พม่า) โดยเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่านแม่สอด (จ.ตาก)-ด่านท่าขี้เหล็กและด่านเมียวดี (พม่า) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.ระนอง เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ตามลำดับ
- ลาว ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.หนองคาย (กว่า 40% ของการค้าชายแดนไทย-ลาว) ทางด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว อ.เมือง-เมืองเวียงจันทน์ (ลาว) รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่าน อ.เมือง (จ.มุกดาหาร)-เมืองจันทบุรี (ลาว) ด่านช่องเม็ก (จ.อุบลราชธานี)-บ้านวังเต่า (ลาว) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.นครพนม เชียงราย เลย พะเยา น่าน และอุตรดิตถ์ ตามลำดับ
- กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.สระแก้ว (ราว 60% ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา) ทางด่านบ้านคลองลึกของไทยกับด่านปอยเปตของกัมพูชา รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่านบ้านหาดเล็ก (จ.ตราด)-เกาะกง (กัมพูชา) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.จันทบุรี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ตามลำดับ
คาดว่าในระยะต่อไปการค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่า ลาว และกัมพูชา จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากได้รับผลดีจากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Strategy: ECS) ระหว่างไทยกับประเทศทั้ง 3 ดังกล่าว โดยไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 เพื่อยืนยันความร่วมมือภายใต้ ECS โดยแผนปฏิบัติการภายใต้ ECS มีหลายโครงการที่ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะร่วมมือกันในลักษณะทวิภาคี ซึ่งจะสนับสนุนให้การค้าชายแดนระหว่างกันเติบโตยิ่งขึ้น อาทิ
- การส่งเสริมการผลิตและการรับซื้อสินค้าแบบทำสัญญาผูกพัน (Contract Farming)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมระหว่างกัน โดยไทยจะให้การสนับสนุนด้านวัตถุดิบ เมล็ดพันธุ์ การให้ความรู้ในการเพาะปลูก และเงินทุนแก่ประเทศเพื่อนบ้าน และไทยจะทำสัญญารับซื้อผลผลิตนั้นโดยไม่เก็บภาษีขาเข้า
- การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) โดยกำหนดให้การตรวจสอบสินค้าและการขออนุญาตนำเข้าสินค้ารวมอยู่ที่ด่านศุลกากรที่ชายแดนเพียงจุดเดียว เพื่อลดขั้นตอนในการนำเข้าสินค้าระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้มีด่านซึ่งเริ่มทดลองให้บริการลักษณะนี้ราว 5 ด่าน คือ ด่านแม่สอด (จ.ตาก)-ด่านเมียวดี (พม่า) ด่านแม่สาย (จ.เชียงราย)-ท่าขี้เหล็ก (พม่า) ด่าน อ.เมือง (จ.มุกดาหาร)-เมืองจันทบุรี (ลาว) ด่าน อ.อรัญประเทศ (จ.สระแก้ว)-ด่านปอยเปต (กัมพูชา) ด่านสะเดา (จ.สงขลา)-รัฐเกดะห์ (มาเลเซีย)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-
ปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีสัดส่วนราว 64.5% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ ทั้งนี้ มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2546 มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นกว่า 35% สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการค้าชายแดนในปี 2546 สรุปได้ดังนี้
มูลค่าการค้าชายแดนกับแต่ละประเทศ ประเทศที่มีมูลค่าการค้าชายแดนกับไทยมากที่สุด คือ มาเลเซีย (66.0% ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดของไทย) รองลงมา คือ พม่า (20.1%) ลาว (7.7%) และกัมพูชา (6.0%) ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด ยกเว้นประเทศพม่าซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าสูงถึง 33,673.4 ล้านบาท โดยไทยขาดดุลการค้าชายแดนแก่พม่าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาจากการนำเข้าสินค้าประเภทเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ จากพม่า (ราว 97.0% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าชายแดนจากพม่าทั้งหมด)
สินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าผ่านการค้าชายแดน
- สินค้าส่งออก สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร อาทิ น้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน ฯลฯ โดยมาเลเซียนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเพื่อส่งออกต่อ (Re-exports) นอกนั้นเป็นสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องจักรทั้งที่ใช้และไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ขณะที่สินค้าที่ไทยส่งออกไปใน 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่ม
- สินค้านำเข้า สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องจักรทั้งที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้ารวมทั้งส่วนประกอบ ขณะที่สินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ลาว และกัมพูชา จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ เชื้อเพลิง ไม้ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะและเศษโลหะต่างๆ หนังดิบและหนังฟอกพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ฯลฯ
ด่านการค้าชายแดน ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีดังนี้
- มาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.สงขลาเกือบทั้งหมด (ราว 97% ของการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย) ทางด่านปาร์ดังเบซาร์-รัฐปะลิส (มาเลเซีย) และทางด่านสะเดา-รัฐเกดะห์ (หรือไทรบุรี) ของมาเลเซีย นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.นราธิวาส ยะลา และสตูล ตามลำดับ
- พม่า ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.กาญจนบุรี (ราว 70% ของการค้าชายแดนไทย-พม่า) โดยเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่านแม่สอด (จ.ตาก)-ด่านท่าขี้เหล็กและด่านเมียวดี (พม่า) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.ระนอง เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ตามลำดับ
- ลาว ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.หนองคาย (กว่า 40% ของการค้าชายแดนไทย-ลาว) ทางด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว อ.เมือง-เมืองเวียงจันทน์ (ลาว) รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่าน อ.เมือง (จ.มุกดาหาร)-เมืองจันทบุรี (ลาว) ด่านช่องเม็ก (จ.อุบลราชธานี)-บ้านวังเต่า (ลาว) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.นครพนม เชียงราย เลย พะเยา น่าน และอุตรดิตถ์ ตามลำดับ
- กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน จ.สระแก้ว (ราว 60% ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา) ทางด่านบ้านคลองลึกของไทยกับด่านปอยเปตของกัมพูชา รองลงมาเป็นการค้าผ่านด่านบ้านหาดเล็ก (จ.ตราด)-เกาะกง (กัมพูชา) นอกนั้นเป็นการค้าผ่าน จ.จันทบุรี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ตามลำดับ
คาดว่าในระยะต่อไปการค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่า ลาว และกัมพูชา จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากได้รับผลดีจากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Strategy: ECS) ระหว่างไทยกับประเทศทั้ง 3 ดังกล่าว โดยไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 เพื่อยืนยันความร่วมมือภายใต้ ECS โดยแผนปฏิบัติการภายใต้ ECS มีหลายโครงการที่ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะร่วมมือกันในลักษณะทวิภาคี ซึ่งจะสนับสนุนให้การค้าชายแดนระหว่างกันเติบโตยิ่งขึ้น อาทิ
- การส่งเสริมการผลิตและการรับซื้อสินค้าแบบทำสัญญาผูกพัน (Contract Farming)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมระหว่างกัน โดยไทยจะให้การสนับสนุนด้านวัตถุดิบ เมล็ดพันธุ์ การให้ความรู้ในการเพาะปลูก และเงินทุนแก่ประเทศเพื่อนบ้าน และไทยจะทำสัญญารับซื้อผลผลิตนั้นโดยไม่เก็บภาษีขาเข้า
- การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) โดยกำหนดให้การตรวจสอบสินค้าและการขออนุญาตนำเข้าสินค้ารวมอยู่ที่ด่านศุลกากรที่ชายแดนเพียงจุดเดียว เพื่อลดขั้นตอนในการนำเข้าสินค้าระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้มีด่านซึ่งเริ่มทดลองให้บริการลักษณะนี้ราว 5 ด่าน คือ ด่านแม่สอด (จ.ตาก)-ด่านเมียวดี (พม่า) ด่านแม่สาย (จ.เชียงราย)-ท่าขี้เหล็ก (พม่า) ด่าน อ.เมือง (จ.มุกดาหาร)-เมืองจันทบุรี (ลาว) ด่าน อ.อรัญประเทศ (จ.สระแก้ว)-ด่านปอยเปต (กัมพูชา) ด่านสะเดา (จ.สงขลา)-รัฐเกดะห์ (มาเลเซีย)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-