นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2547 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
1. เดือนเมษายน 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 99,157 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 (เทียบกับปีที่แล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 82,911 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.5) โดยในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนฯ แล้วจำนวน 7,048 ล้านบาท
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณที่สำคัญได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,627 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,997 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.8)
ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ 24,090 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.4)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 12,735 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 11,442 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,339 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3)
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณที่สำคัญ ได้แก่
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,200 ล้านบาท (เดิมคาดว่าจะมีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในเดือนเมษายน 2547 แต่ปรากฏว่ายังไม่ได้ดำเนินการ)
การนำส่งรายได้จากกำไรของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,320 ล้านบาท (ตามประมาณการคาดว่าโรงงานยาสูบจะนำส่งรายได้ 1,500 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าได้รับยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรีไม่ต้องนำส่งรายได้เพื่อนำเงินไปสร้างโรงงานใหม่)
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 665,219 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 111,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 92,168 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 589,855 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 98,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 81,707 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ กรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิ ได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 14.9ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 356,576 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 69,131 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.6) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 34,473 17,718 และ 10,620 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 31.8 และ 14.4 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.9 20.5 และ 15.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 164,311 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 26,388 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ และภาษีน้ำมันฯ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,634 5,145 และ 3,149 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 33.3 24.5 และ 7.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.2 17.5 และ 5.4 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 60,601 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,243 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.0 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,530 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรและการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 83,731 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 21,232 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.6 หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ จะต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 6.1 เนื่องจาก ยังไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (กฝผ.) รายได้นำส่งคลังประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่น 31,435 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,566 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.8)
กรมธนารักษ์ 1,744 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 1,080 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.8) เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้เช่าศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 1,420 ล้านบาท แต่ปรากฏว่ายังไม่ได้ดำเนินการ
รัฐวิสาหกิจ 25,477 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,871 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.7 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 11,056 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30.3 สาเหตุที่สำคัญคือ
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ปีที่แล้ จำนวน 12,998 ล้านบาท (จากกำไรสุทธิก่อนการแปรรูปฯ และเงิน ปันผล) ขณะที่ปีนี้ได้รับเฉพาะเงินปันผล 4,500 ล้านบาท
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ปีที่แล้ว 2,303ล้านบาท (กำไรสุทธิก่อนการแปรรูปฯ และเงินปันผล) ขณะที่ปีนี้ได้รับเฉพาะเงินปันผล 905 ล้านบาท (คาดทั้งปี 1,293 ล้านบาท)
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่สูงกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ตลอดจนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7-และยังคงส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 18.9 และ 17.9 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่สูงกว่า ประมาณการถึงร้อยละ 16.1 ตลอดจนแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 จะจัดเก็บได้เกินเป้าหมายในอัตราที่สูง และแม้ว่าจะมีการปรับเป้าหมายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 135,500 ล้านบาท จากเดิม 928,100 ล้านบาท เป็น 1,063,600 ล้านบาทเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 1,063,600 ล้านบาท อย่างแน่นอน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2547 24 พฤษภาคม 2547--
1. เดือนเมษายน 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 99,157 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 (เทียบกับปีที่แล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 82,911 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.5) โดยในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนฯ แล้วจำนวน 7,048 ล้านบาท
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณที่สำคัญได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,627 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,997 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.8)
ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ 24,090 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.4)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 12,735 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 11,442 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,339 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3)
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณที่สำคัญ ได้แก่
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,200 ล้านบาท (เดิมคาดว่าจะมีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในเดือนเมษายน 2547 แต่ปรากฏว่ายังไม่ได้ดำเนินการ)
การนำส่งรายได้จากกำไรของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,320 ล้านบาท (ตามประมาณการคาดว่าโรงงานยาสูบจะนำส่งรายได้ 1,500 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าได้รับยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรีไม่ต้องนำส่งรายได้เพื่อนำเงินไปสร้างโรงงานใหม่)
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 665,219 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 111,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 92,168 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 589,855 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 98,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 81,707 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ กรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิ ได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 14.9ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 356,576 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 69,131 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.6) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 34,473 17,718 และ 10,620 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 31.8 และ 14.4 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.9 20.5 และ 15.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 164,311 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 26,388 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ และภาษีน้ำมันฯ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,634 5,145 และ 3,149 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 33.3 24.5 และ 7.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.2 17.5 และ 5.4 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 60,601 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,243 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.0 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,530 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.6 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรและการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 83,731 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 21,232 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.6 หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ จะต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 6.1 เนื่องจาก ยังไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (กฝผ.) รายได้นำส่งคลังประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่น 31,435 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,566 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.8)
กรมธนารักษ์ 1,744 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 1,080 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.8) เนื่องจากตามประมาณการคาดว่าจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้เช่าศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 1,420 ล้านบาท แต่ปรากฏว่ายังไม่ได้ดำเนินการ
รัฐวิสาหกิจ 25,477 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,871 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.7 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 11,056 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30.3 สาเหตุที่สำคัญคือ
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ปีที่แล้ จำนวน 12,998 ล้านบาท (จากกำไรสุทธิก่อนการแปรรูปฯ และเงิน ปันผล) ขณะที่ปีนี้ได้รับเฉพาะเงินปันผล 4,500 ล้านบาท
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ปีที่แล้ว 2,303ล้านบาท (กำไรสุทธิก่อนการแปรรูปฯ และเงินปันผล) ขณะที่ปีนี้ได้รับเฉพาะเงินปันผล 905 ล้านบาท (คาดทั้งปี 1,293 ล้านบาท)
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่สูงกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ตลอดจนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7-และยังคงส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 18.9 และ 17.9 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่สูงกว่า ประมาณการถึงร้อยละ 16.1 ตลอดจนแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 จะจัดเก็บได้เกินเป้าหมายในอัตราที่สูง และแม้ว่าจะมีการปรับเป้าหมายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 135,500 ล้านบาท จากเดิม 928,100 ล้านบาท เป็น 1,063,600 ล้านบาทเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 1,063,600 ล้านบาท อย่างแน่นอน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2547 24 พฤษภาคม 2547--