บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องการพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
นอกจากมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ตามปกติแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมออกอากาศ
ทาง ยูบีซี ช่อง ๑๙ และช่อง ๗๗ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องด่วน คือ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๕๘ คน เป็นผู้เสนอ
ก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะอนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎรได้แถลงเหตุผล ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าการเสนอญัตติ
ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลนี้
เป็นการเสนอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๖ โดยเฉพาะในมาตรา ๑๘๖ นั้น
ให้นำมาตรา ๑๘๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ซึ่งในมาตรา ๑๘๕ วรรคสอง บัญญัติว่า "การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรม
ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๓๐๔ (ยื่นถอดถอน)
ก่อนมิได้………………………..." โดยญัตติขอเปิดอภิปรายครั้งนี้
มีรัฐมนตรีถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจจำนวน ๘ คน ดังนี้
๑. รัฐมนตรีที่ถูกยื่นคำร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีจำนวน ๒ ท่าน ได้แก่
(๑) นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี
๒. รัฐมนตรีที่ถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงอย่างเดียว มีจำนวน
๖ ท่าน ได้แก่
(๑) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
(๒) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี
(๓) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๔) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๕) นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๖) นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในการอภิปรายรัฐมนตรีที่ถูกยื่นคำร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยนั้น
สมาชิกฯ มีสิทธิอภิปรายในประเด็น
เกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ส่อไปในการทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามมูลเหตุที่ได้ยื่นถอดถอน
ไว้แล้ว ส่วนรัฐมนตรีที่ถูกขออภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงอย่างเดียวนั้น สมาชิกฯ ไม่มีสิทธิอภิปรายถึงพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
ส่อไปในการทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้เสนอญัตติได้
แถลงเหตุผลแล้ว มีสมาชิกฯ อภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) และรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) โดยมีรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปราย
รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ซึ่งถูกอภิปรายพาดพิงได้ตอบชี้แจงเป็นลำดับ
โดยในระหว่างการพิจารณาญัตตินี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และเมื่อการอภิปราย
ดำเนินมาจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาญัตติดังกล่าวไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๙
(สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ทั้งนี้ในส่วนการอภิปราย
ถึงรองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ที่ประชุมได้มีมติให้พักการอภิปรายไว้ก่อนเพื่อหาข้อยุติต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องการพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
นอกจากมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
ตามปกติแล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมออกอากาศ
ทาง ยูบีซี ช่อง ๑๙ และช่อง ๗๗ จนกว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จ
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องด่วน คือ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๕๘ คน เป็นผู้เสนอ
ก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะอนุญาตให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎรได้แถลงเหตุผล ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่าการเสนอญัตติ
ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลนี้
เป็นการเสนอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๖ โดยเฉพาะในมาตรา ๑๘๖ นั้น
ให้นำมาตรา ๑๘๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ซึ่งในมาตรา ๑๘๕ วรรคสอง บัญญัติว่า "การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรม
ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๓๐๔ (ยื่นถอดถอน)
ก่อนมิได้………………………..." โดยญัตติขอเปิดอภิปรายครั้งนี้
มีรัฐมนตรีถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจจำนวน ๘ คน ดังนี้
๑. รัฐมนตรีที่ถูกยื่นคำร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีจำนวน ๒ ท่าน ได้แก่
(๑) นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี
๒. รัฐมนตรีที่ถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงอย่างเดียว มีจำนวน
๖ ท่าน ได้แก่
(๑) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
(๒) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี
(๓) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๔) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๕) นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๖) นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในการอภิปรายรัฐมนตรีที่ถูกยื่นคำร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และถูกขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยนั้น
สมาชิกฯ มีสิทธิอภิปรายในประเด็น
เกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ส่อไปในการทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามมูลเหตุที่ได้ยื่นถอดถอน
ไว้แล้ว ส่วนรัฐมนตรีที่ถูกขออภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงอย่างเดียวนั้น สมาชิกฯ ไม่มีสิทธิอภิปรายถึงพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
ส่อไปในการทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้เสนอญัตติได้
แถลงเหตุผลแล้ว มีสมาชิกฯ อภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) และรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) โดยมีรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปราย
รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ซึ่งถูกอภิปรายพาดพิงได้ตอบชี้แจงเป็นลำดับ
โดยในระหว่างการพิจารณาญัตตินี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และเมื่อการอภิปราย
ดำเนินมาจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาญัตติดังกล่าวไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๙
(สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ทั้งนี้ในส่วนการอภิปราย
ถึงรองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ที่ประชุมได้มีมติให้พักการอภิปรายไว้ก่อนเพื่อหาข้อยุติต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓