สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ยังทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้ม คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.46 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.42 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.62 บาท ส่วนราคา ลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.06 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เย็นลง ส่งผลให้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัว รวมทั้งข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ออกทางสื่ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเสนอสาระสำคัญของแผนแม่บทต่อที่ประชุม โดยมีมาตรการที่สำคัญคือ การจัดทำโครงการเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดภัยจากไข้หวัดนก เช่น ไก่พื้นเมือง ไก่ชน เป็ดไล่ทุ่ง ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ (ไบโอซีเคียวริตี้) อย่างน้อย 60 % ภายในวันที่ 31 พ.ค. 49 และเข้าสู่ระบบทั้งหมดภายในสิ้นปี 49 รวมถึงการพัฒนาการเลี้ยงระบบโซนนิ่ง และการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบแยกส่วน (คอมพาร์ตเมนต์) มาตรการสำคัญต่อมา คือ เฝ้าระวังและควบคุมโดยจะส่งเจ้าหน้าที่ออกเอ็กซเรย์ไข้หวัดนกทั่วประเทศปีละ 2 ครั้ง โดยฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค. และฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.ของทุกปี รวมถึงมาตรการศึกษาวิจัยและพัฒนาโรคไข้หวัดนกทุกมิติ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าในช่วง 3 ปี (ปี 2549-2551) การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกจะลดลงเรื่อยๆ และเหลือ 0 % หรือไม่พบจุดเกิดโรคเลย ในปี 2551
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.58 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.17 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 13.56 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 41.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.87
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ มีมากขึ้น และจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ผู้บริโภคยังคงมีความหวาดกลัวทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 232 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 234 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 241 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 270 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 215 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 252 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 297 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 302 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 292 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
พ.ย. สัปดาห์ที่1 สัปดาห์ที่2 สัปดาห์ที่3 สัปดาห์ที่4 สัปดาห์ที่5
สุกร 47 47.5 46.5 47.5 48.5 49.5
ไก่เนื้อ 39 39.5 38.5 31.5 29.5 25.5
ไข่ไก่ 245 250 240 222 196 196
ไข่เป็ด 386 386 386 386 386 386
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.03 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.57 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.28 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.04 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ยังทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้ม คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.46 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.42 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.62 บาท ส่วนราคา ลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.06 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เย็นลง ส่งผลให้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัว รวมทั้งข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ออกทางสื่ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเสนอสาระสำคัญของแผนแม่บทต่อที่ประชุม โดยมีมาตรการที่สำคัญคือ การจัดทำโครงการเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดภัยจากไข้หวัดนก เช่น ไก่พื้นเมือง ไก่ชน เป็ดไล่ทุ่ง ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ (ไบโอซีเคียวริตี้) อย่างน้อย 60 % ภายในวันที่ 31 พ.ค. 49 และเข้าสู่ระบบทั้งหมดภายในสิ้นปี 49 รวมถึงการพัฒนาการเลี้ยงระบบโซนนิ่ง และการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบแยกส่วน (คอมพาร์ตเมนต์) มาตรการสำคัญต่อมา คือ เฝ้าระวังและควบคุมโดยจะส่งเจ้าหน้าที่ออกเอ็กซเรย์ไข้หวัดนกทั่วประเทศปีละ 2 ครั้ง โดยฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค. และฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.ของทุกปี รวมถึงมาตรการศึกษาวิจัยและพัฒนาโรคไข้หวัดนกทุกมิติ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าในช่วง 3 ปี (ปี 2549-2551) การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกจะลดลงเรื่อยๆ และเหลือ 0 % หรือไม่พบจุดเกิดโรคเลย ในปี 2551
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.58 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.17 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 13.56 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.50 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 41.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.87
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ มีมากขึ้น และจากข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก ผู้บริโภคยังคงมีความหวาดกลัวทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 232 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 234 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 241 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 270 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 215 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 252 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 297 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 302 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 292 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
พ.ย. สัปดาห์ที่1 สัปดาห์ที่2 สัปดาห์ที่3 สัปดาห์ที่4 สัปดาห์ที่5
สุกร 47 47.5 46.5 47.5 48.5 49.5
ไก่เนื้อ 39 39.5 38.5 31.5 29.5 25.5
ไข่ไก่ 245 250 240 222 196 196
ไข่เป็ด 386 386 386 386 386 386
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.03 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.57 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.28 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.04 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2548--
-พห-