แท็ก
สุกร
สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลจากการที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ และสมาคมผู้ชำแหละสุกรไทย ได้ตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 50.00 บาท ส่งผลให้ราคาขายส่งสุกรชำแหละปรับตัวลดลง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้ม คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 53.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.67 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.33 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.84 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46) ลดลงจากตัวละ 1,000 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.81 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
แม้จะครบระยะเวลาปลอดไข้หวัดนกในฟาร์มไก่จุดสุดท้ายที่ จ. อุตรดิตถ์แล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังต้องเฝ้าระวังโรคต่อไปอีก 69 วัน จึงจะครบ 90 วัน ซึ่งตามระยะปลอดภัยขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือน นับจากครบกำหนดระยะเฝ้าระวัง 21 วัน ในขณะที่ประเทศผู้นำเข้านั้นกำหนดระยะเวลาปลอดภัยในฟาร์มระบบปิด 60 วัน และ ฟาร์มระบบเปิด 90 วัน ซึ่งผู้ประกอบการต้องรอให้ครบตามระยะเวลาจึงจะดำเนินการเลี้ยงไก่รอบใหม่ได้ โดยกรมปศุสัตว์จะทยอยอนุมัติให้แต่ละพื้นที่ที่ครบกำหนดแล้วสามารถเลี้ยงไก่ได้ และกรม ปศุสัตว์จะแจ้งให้ OIE ทราบถึงกรณีที่กระทรวงเกษตรได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเขต สีเขียวได้รับทราบต่อไป หากระยะ 6 เดือนต่อจากนี้ไปไม่พบปัญหาไข้หวัดนกอีกก็จะเร่งเจรจากับประเทศผู้นำเข้า โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ในเดือน สค.-กย. นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 35.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.08 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.66 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
แคนาดาวางแผนที่จะนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจำนวน 15,000-20,000 ตัน ซึ่งอาจนำเข้าจากสหรัฐ เพื่อทดแทนผลผลิตที่ขาดหายไป เนื่องจากโรคระบาดไข้หวัดนกทำให้ต้องทำลายไก่มากกว่า 19 ล้านตัว ใน 20 ฟาร์ม ไปประมาณ 10-12 % ของผลผลิตทั้งหมด ทางตะวันออกของเมืองแวน คูเวอร์ มณฑลบริติช โคลัมเบีย ซึ่งเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ ต่างกับใน เอเซียซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ไปอย่างน้อย 24 คน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนแล้ว ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 231 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 223 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 258 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.78
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.68 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลจากการที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ และสมาคมผู้ชำแหละสุกรไทย ได้ตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 50.00 บาท ส่งผลให้ราคาขายส่งสุกรชำแหละปรับตัวลดลง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้ม คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 53.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.67 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.33 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.84 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46) ลดลงจากตัวละ 1,000 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.81 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
แม้จะครบระยะเวลาปลอดไข้หวัดนกในฟาร์มไก่จุดสุดท้ายที่ จ. อุตรดิตถ์แล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังต้องเฝ้าระวังโรคต่อไปอีก 69 วัน จึงจะครบ 90 วัน ซึ่งตามระยะปลอดภัยขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือน นับจากครบกำหนดระยะเฝ้าระวัง 21 วัน ในขณะที่ประเทศผู้นำเข้านั้นกำหนดระยะเวลาปลอดภัยในฟาร์มระบบปิด 60 วัน และ ฟาร์มระบบเปิด 90 วัน ซึ่งผู้ประกอบการต้องรอให้ครบตามระยะเวลาจึงจะดำเนินการเลี้ยงไก่รอบใหม่ได้ โดยกรมปศุสัตว์จะทยอยอนุมัติให้แต่ละพื้นที่ที่ครบกำหนดแล้วสามารถเลี้ยงไก่ได้ และกรม ปศุสัตว์จะแจ้งให้ OIE ทราบถึงกรณีที่กระทรวงเกษตรได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเขต สีเขียวได้รับทราบต่อไป หากระยะ 6 เดือนต่อจากนี้ไปไม่พบปัญหาไข้หวัดนกอีกก็จะเร่งเจรจากับประเทศผู้นำเข้า โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ในเดือน สค.-กย. นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 35.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 40.08 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.66 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
แคนาดาวางแผนที่จะนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจำนวน 15,000-20,000 ตัน ซึ่งอาจนำเข้าจากสหรัฐ เพื่อทดแทนผลผลิตที่ขาดหายไป เนื่องจากโรคระบาดไข้หวัดนกทำให้ต้องทำลายไก่มากกว่า 19 ล้านตัว ใน 20 ฟาร์ม ไปประมาณ 10-12 % ของผลผลิตทั้งหมด ทางตะวันออกของเมืองแวน คูเวอร์ มณฑลบริติช โคลัมเบีย ซึ่งเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ ต่างกับใน เอเซียซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ไปอย่างน้อย 24 คน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนแล้ว ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 232 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 231 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 223 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 258 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.78
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.68 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-