แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 2 - 13 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,253.66 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,079.87 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,173.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.81 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 154.32 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.49 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.58 ตัน
การตลาด
สหรัฐเลื่อนประกาศภาษีนำเข้ากุ้งไทย
เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐกล่าวว่า สหรัฐเลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดอัตราภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดต่อกุ้งจากละตินอเมริกา และเอเชียออกไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โดยกำหนดแผนที่จะตัดสินขั้นต้นต่อเวียดนามและจีน ภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ส่วนไทย บราซิล อินเดีย และเอกวาดอร์ จะเลื่อนออกไปถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 จากเดิมที่กระทรวงพาณิชย์จะตัดสินภาษีนำเข้าวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เนื่องจากกุ้งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก
นายเอ็ดดี กอร์ดอน ประธานกลุ่มพันธมิตรกุ้งภาคใต้กล่าวว่า การเลื่อนการตัดสินใจออกไปจะทำให้ธุรกิจของชาวประมงกุ้งสหรัฐเสียหายมากขึ้น ทั้งนี้ชาวประมงกุ้งที่จับกุ้งจากทะเลเรียกร้องให้มีการกำหนดภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดตั้งแต่ 30% หรือกว่า 200% จากการนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2,400 ล้านดอลลาร์ โดยอ้างว่าการนำเข้ากุ้งเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคากุ้งทะเลลดลงถึง 33% อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ประกอบการภัตตาคาร ร้านขายของชำ และผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลสหรัฐร้องเรียนว่าวิธีการของกระทรวงพาณิชย์ สำหรับการเปรียบเทียบราคากุ้งภายในประเทศและต่างประเทศ อาจจะนำไปสู่การกำหนดภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายรายต่างก็ได้แสดงความวิตกกังวลเช่นกัน
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งในรัฐฟลอริดาของสหรัฐต่างรู้สึกว่าถูกรุกรานจากกุ้งเอเชียที่มีราคาถูกเข้ามาตีตลาดในสหรัฐ ทำให้เจ้าหน้าที่เกษตรของสหรัฐ ได้พยายามโฆษณาทางโทรทัศน์และทุ่มงบประชาสัมพันธ์คุณลักษณะพิเศษของกุ้งที่เลี้ยงในรัฐฟลอริดา เพื่อพยุงธุรกิจอุตสาหกรรมกุ้งที่มีมูลค่าปีละ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้คงอยู่ตลอดไป
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยกล่าวว่า การที่สหรัฐเลื่อนตัดสินภาษีนำเข้ากุ้งจากไทย เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทย หากจะให้เกิดผลดี สหรัฐควรจะเร่งประกาศภาษีนำเข้าให้เร็ว ที่สุด เพราะการเสียภาษีนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศ เชื่อว่าประเทศไทยจะเสียภาษีนำเข้าต่ำสุด ที่สำคัญหากมีการประกาศภาษีเร็วขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความแน่นอนในการทำตลาดส่งออกมากขึ้น แต่หากเป็นอยู่อย่างนี้จะเกิดความไม่ชัดเจน ไม่กล้าส่งออกและคิดว่าประมาณเดือนกรกฎาคมนี้สหรัฐน่าจะประกาศภาษีนำเข้ากุ้งได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.70 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 249.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 245.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.03 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 2 - 13 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,253.66 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,079.87 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,173.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.81 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 154.32 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 44.49 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.58 ตัน
การตลาด
สหรัฐเลื่อนประกาศภาษีนำเข้ากุ้งไทย
เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐกล่าวว่า สหรัฐเลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดอัตราภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดต่อกุ้งจากละตินอเมริกา และเอเชียออกไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โดยกำหนดแผนที่จะตัดสินขั้นต้นต่อเวียดนามและจีน ภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ส่วนไทย บราซิล อินเดีย และเอกวาดอร์ จะเลื่อนออกไปถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 จากเดิมที่กระทรวงพาณิชย์จะตัดสินภาษีนำเข้าวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เนื่องจากกุ้งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก
นายเอ็ดดี กอร์ดอน ประธานกลุ่มพันธมิตรกุ้งภาคใต้กล่าวว่า การเลื่อนการตัดสินใจออกไปจะทำให้ธุรกิจของชาวประมงกุ้งสหรัฐเสียหายมากขึ้น ทั้งนี้ชาวประมงกุ้งที่จับกุ้งจากทะเลเรียกร้องให้มีการกำหนดภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดตั้งแต่ 30% หรือกว่า 200% จากการนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2,400 ล้านดอลลาร์ โดยอ้างว่าการนำเข้ากุ้งเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคากุ้งทะเลลดลงถึง 33% อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ประกอบการภัตตาคาร ร้านขายของชำ และผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลสหรัฐร้องเรียนว่าวิธีการของกระทรวงพาณิชย์ สำหรับการเปรียบเทียบราคากุ้งภายในประเทศและต่างประเทศ อาจจะนำไปสู่การกำหนดภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายรายต่างก็ได้แสดงความวิตกกังวลเช่นกัน
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งในรัฐฟลอริดาของสหรัฐต่างรู้สึกว่าถูกรุกรานจากกุ้งเอเชียที่มีราคาถูกเข้ามาตีตลาดในสหรัฐ ทำให้เจ้าหน้าที่เกษตรของสหรัฐ ได้พยายามโฆษณาทางโทรทัศน์และทุ่มงบประชาสัมพันธ์คุณลักษณะพิเศษของกุ้งที่เลี้ยงในรัฐฟลอริดา เพื่อพยุงธุรกิจอุตสาหกรรมกุ้งที่มีมูลค่าปีละ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้คงอยู่ตลอดไป
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยกล่าวว่า การที่สหรัฐเลื่อนตัดสินภาษีนำเข้ากุ้งจากไทย เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทย หากจะให้เกิดผลดี สหรัฐควรจะเร่งประกาศภาษีนำเข้าให้เร็ว ที่สุด เพราะการเสียภาษีนำเข้ากุ้งจาก 6 ประเทศ เชื่อว่าประเทศไทยจะเสียภาษีนำเข้าต่ำสุด ที่สำคัญหากมีการประกาศภาษีเร็วขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความแน่นอนในการทำตลาดส่งออกมากขึ้น แต่หากเป็นอยู่อย่างนี้จะเกิดความไม่ชัดเจน ไม่กล้าส่งออกและคิดว่าประมาณเดือนกรกฎาคมนี้สหรัฐน่าจะประกาศภาษีนำเข้ากุ้งได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.70 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 249.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 245.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.03 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.18 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-