นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2547 ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวเล็กน้อย การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงทั้งการส่งออกและนำเข้า ภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าคงทนทั้งรถยนต์ จักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ต่อปี แม้ว่าจะชะลอจากร้อยละ 28.2 ต่อปีในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 26.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยยังทรงตัวอยู่เหนือระดับ 100 จุด โดยในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 101.6 จุด แต่ยังคงมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร เพื่อทดแทนกำลังการผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 38.9 ต่อปี ขณะที่รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนเมษายนขยายตัวถึงร้อยละ 84.8 ต่อปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมีผลมาจากอัตราภาษีที่ปรับเพิ่มสู่อัตราปกติ
การใช้จ่ายภาครัฐลดลงเล็กน้อย โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี แยกเป็นรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 7.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี เนื่องจากผลของการโอนเงินให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในปีที่ผ่านมาที่สูงถึง 12,939 ล้านบาท ทำให้ฐานการคำนวณสูง
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ต่อปี ดุลการค้าเดือนเมษายนขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 242.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี ชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงบางส่วนในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและยาสูบ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมีนาคมสูงถึงร้อยละ 79.7
สินเชื่อขยายตัวดีทั้งสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 10.4 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.3 ต่อปี ในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมีนาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมีนาคมเกินดุลทั้งสิ้น 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบริการในระดับสูง ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน คิดเป็น 6.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 596,855 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.6 ส่วนฐานะการคลังตามระบบ สศค. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 565,352 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายมีจำนวน 652,800 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 87,449 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุลทั้งสิ้น 78,585 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 13,314 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 2,861 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.18 ของ GDP ลดลงจากเดือนมกราคม 36 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 24.94 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ต่อปี ชะลอตัวจากร้อยละ 28.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม 2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 26.8 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 39.7 ต่อปี ในเดือนก่อน3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่สูงกว่า 100 จุด โดยในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 101.6 จุด ลดลงจาก 103.0 จุด เนื่องจากยังคงมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 และ 28.3 ต่อปี ขณะที่ ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 19.4 และ 17.7 ต่อปี
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักร โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำ ธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนเมษายนยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 84.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับอัตราภาษีเป็นอัตราปกติ 2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 35.5 ต่อปี และ 38.9 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 18.4 ต่อปี 3) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนเมษายนอยู่ที่ 106 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,476 ต่อปี เนื่องจากฐานการคำนวณที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน 4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี 5) ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 50.4 จุด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.6 จุด ในไตรมาสที่ 1
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.5 ในเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ 2) มูลค่าการนำเข้าเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี 3) ดุลการค้าเดือนเมษายนขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 242.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวเล็กน้อย โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนเมษายนอยู่ที่ 108.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี เนื่องจากผลของการโอนเงินให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในปีที่ผ่านมาที่สูงถึง 12,939 ล้านบาท ทำให้ฐานการคำนวณสูง โดยรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 7.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 1.0ต่อปี อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 11.2 ต่อปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 79.7 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ร้อยละ 76.5
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม สูงขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.2 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ลดลงจากร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.17 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.04 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์จำนวน 41.3 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการ
เงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.49 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนกุมภาพันธ์กำไรสุทธิ จำนวน 1,362 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมีนาคม 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมีนาคมเกินดุลทั้งสิ้น 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากดุลบริการที่ยังคงเกินดุลสูง 4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน คิดเป็น 6.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังประจำเดือนเมษายน 2547 และช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนเมษายน 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 99,157 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.1) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 89,959 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 9.3)
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 665,219 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 111,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.1) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 596,855 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 98,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.7 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.6) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนเมษายน 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 87,223 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายรวม 105,453 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 18,230 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 627 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 20,437 ล้านบาท ส่งผลให้ดุล การคลังของรัฐบาลเกินดุล 1,581 ล้านบาท
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 565,352 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 652,800 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 87,449 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 78,585 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 13,314 ล้านบาท
3. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 2,861 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.18 ของ GDP ลดลงจากเดือนมกราคม 2546 36 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 ของ GDP โดยประกอบด้วย เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,628 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 839 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 394 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 24.94 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 25.18 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลลดลงสุทธิ 23 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 5 พันล้านบาท และหนี้ FIDF ลดลงสุทธิ 8 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 6/2547 25 พฤษภาคม 2547--
-นท-
เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวเล็กน้อย การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงทั้งการส่งออกและนำเข้า ภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าคงทนทั้งรถยนต์ จักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ต่อปี แม้ว่าจะชะลอจากร้อยละ 28.2 ต่อปีในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 26.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยยังทรงตัวอยู่เหนือระดับ 100 จุด โดยในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 101.6 จุด แต่ยังคงมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร เพื่อทดแทนกำลังการผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 38.9 ต่อปี ขณะที่รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนเมษายนขยายตัวถึงร้อยละ 84.8 ต่อปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมีผลมาจากอัตราภาษีที่ปรับเพิ่มสู่อัตราปกติ
การใช้จ่ายภาครัฐลดลงเล็กน้อย โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี แยกเป็นรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 7.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี เนื่องจากผลของการโอนเงินให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในปีที่ผ่านมาที่สูงถึง 12,939 ล้านบาท ทำให้ฐานการคำนวณสูง
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ต่อปี ดุลการค้าเดือนเมษายนขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 242.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี ชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงบางส่วนในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและยาสูบ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมีนาคมสูงถึงร้อยละ 79.7
สินเชื่อขยายตัวดีทั้งสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 10.4 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.3 ต่อปี ในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมีนาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมีนาคมเกินดุลทั้งสิ้น 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบริการในระดับสูง ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน คิดเป็น 6.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 596,855 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.6 ส่วนฐานะการคลังตามระบบ สศค. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 565,352 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายมีจำนวน 652,800 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 87,449 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุลทั้งสิ้น 78,585 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 13,314 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 2,861 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.18 ของ GDP ลดลงจากเดือนมกราคม 36 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 24.94 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ต่อปี ชะลอตัวจากร้อยละ 28.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม 2) ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 26.8 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 39.7 ต่อปี ในเดือนก่อน3) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่สูงกว่า 100 จุด โดยในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 101.6 จุด ลดลงจาก 103.0 จุด เนื่องจากยังคงมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 และ 28.3 ต่อปี ขณะที่ ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 19.4 และ 17.7 ต่อปี
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักร โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำ ธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนเมษายนยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 84.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับอัตราภาษีเป็นอัตราปกติ 2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 35.5 ต่อปี และ 38.9 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 18.4 ต่อปี 3) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนเมษายนอยู่ที่ 106 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,476 ต่อปี เนื่องจากฐานการคำนวณที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน 4) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี 5) ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 50.4 จุด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.6 จุด ในไตรมาสที่ 1
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.5 ในเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ 2) มูลค่าการนำเข้าเดือนเมษายนอยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี 3) ดุลการค้าเดือนเมษายนขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 242.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวเล็กน้อย โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนเมษายนอยู่ที่ 108.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี เนื่องจากผลของการโอนเงินให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในปีที่ผ่านมาที่สูงถึง 12,939 ล้านบาท ทำให้ฐานการคำนวณสูง โดยรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 7.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ต่อปี
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 1.0ต่อปี อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 11.2 ต่อปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 79.7 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 75.4 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ร้อยละ 76.5
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี ในเดือนมีนาคม สูงขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.2 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ลดลงจากร้อยละ 12.8 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.17 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.04 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์จำนวน 41.3 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการ
เงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.49 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนกุมภาพันธ์กำไรสุทธิ จำนวน 1,362 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมีนาคม 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมีนาคมเกินดุลทั้งสิ้น 208 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากดุลบริการที่ยังคงเกินดุลสูง 4) ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน คิดเป็น 6.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังประจำเดือนเมษายน 2547 และช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนเมษายน 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 99,157 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 10.1) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 89,959 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 9.3)
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - เมษายน 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 665,219 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 111,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.1) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 596,855 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 98,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.7 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.6) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนเมษายน 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 87,223 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายรวม 105,453 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 18,230 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 627 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 20,437 ล้านบาท ส่งผลให้ดุล การคลังของรัฐบาลเกินดุล 1,581 ล้านบาท
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 565,352 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 652,800 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 87,449 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 78,585 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 13,314 ล้านบาท
3. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 2,861 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.18 ของ GDP ลดลงจากเดือนมกราคม 2546 36 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 ของ GDP โดยประกอบด้วย เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,628 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 839 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 394 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 24.94 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 25.18 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลลดลงสุทธิ 23 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 5 พันล้านบาท และหนี้ FIDF ลดลงสุทธิ 8 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 6/2547 25 พฤษภาคม 2547--
-นท-