กรุงเทพ--26 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลสรุปอย่างไม่เป็นทางการ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดการประชุม ISC — Symposium ครั้งที่ 34 , St. Gallen, Switzerland 13 พฤษภาคม 2547
(คำแปลสรุปอย่างไม่เป็นทางการ)
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดการประชุม ISC — Symposium ครั้งที่ 34 , St. Gallen, Switzerland 13 พฤษภาคม 2547
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การเป็นหุ้นส่วนโดยความแตกต่าง : ก้าวที่นำไปสู่การเสริมสร้างการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของโลก” ช่วงพิธีเปิดการการสัมมนา ISC-Symposium ครั้งที่ 34 ณ มหาวิทยาลัย St.Gallen ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ตามคำเชิญของ International Students' Committee สรุปสาระได้ดังนี้
1. กระแสโลกาภิวัฒน์ได้เกิดขึ้นภายหลังยุคของสงครามเย็น และเป็นกรอบความคิดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัฒน์ถูกมองว่าเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่กระแสโลกาวิวัฒน์ถูกวิพากวิจารณ์ โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาว่าทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันนี้อาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตที่คุกคามต่อเสถียรภาพระหว่างประเทศ การเกิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันนี้ อาจเกิดจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม มากกว่าตัวกระบวนการโลกาภิวัฒน์เอง นอกจากนี้ โลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเป็นผู้จัดการกับกระแสโลกาภิวัฒน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ และเครื่องมือสำคัญสำหรับการนี้ก็คือสถาบันและองค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินงานในกรอบพหุภาคี ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มากมาย เช่น องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก องค์กรการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. อย่างไรก็ตาม องค์กรเหล่านี้ต่างก็ได้เผชิญกับปัญหาและความท้าทายในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมย์ที่ได้วางไว้ อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนองค์กรที่มีอายุยาวนานทำได้ยาก เนื่องจากองค์กรเหล่านั้นได้พัฒนาระบบและขนาดที่ใหญ่จนขาดความคล่องตัว หรือไม่ก็ขาดความยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน องค์กรระหว่างประเทศอย่างองค์กรการค้าโลกที่แม้ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ และยังไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงองค์กร แต่ความคืบหน้าที่เกิดขึ้นช้ามาก ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ จากปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่ากระบวนการพหุภาคีและการเป็นหุ้นส่วนในระดับต่างๆ จะเกื้อหนุนกันเพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตและการพัฒนา
3. ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงประสบการณ์และความสำเร็จของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนจากความแตกต่าง และใช้ความเป็นหุ้นส่วนนี้สร้างกลุ่มความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างกระบวนการพหุภาคีให้เข้มแข็ง โดยได้ย้ำว่าสำหรับเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา การรักษาความสมดุลย์ระหว่างยุทธศาสตร์ของประเทศกับกระแสเศรษฐกิจของโลกมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในยุคปัจจุบันนี้ ความช่วยเหลือจากภายนอกไม่สามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาภายในประเทศได้อย่างที่เคยเป็นมา ดังนั้น ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นจะต้องคิดหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง เพราะในโลกนี้ ไม่มีวิธีการใดที่จะใช้ได้ผลกับทุกประเทศ ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าระบบการค้าเสรีอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเพิ่มระดับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนได้ การเปิดรับกระแสการค้าโลกอย่างเสรีอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น การเข้ามาจัดการของภาครัฐในการสร้างกฎเกณฑ์และสถาบันต่าง ๆ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการรักษาสมดุลระหว่างการเปิดรับกระแสภายนอก กับการจัดการภายในเพื่อตอบรับกระแสดังกล่าวนั้น ประเทศต่าง ๆ ต้องพยายามสร้างยุทธศาสตร์ขึ้นมา จากบริบททางสังคมและจุดเด่นของตนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ
4. ประเทศไทยได้ใช้หลักการของการช่วยเหลือตนเองและความเป็นหุ้นส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์โดยได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุด ในส่วนของการช่วยเหลือตนเองนั้น ประเทศไทยได้ดำเนินการตามหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการดำเนินนโยบายแบบคู่ขนานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าของไทยประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปีที่แล้ว สูงถึง 6.7% สูงเป็นอันดับสองของเอเชีย รองมาจากจีน นอกจากนี้ ประเทศไทยสามารถชำระหนี้คืนแก่องค์กรการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดถึง 2 ปี จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ประเทศไทยหวังว่าจะสามารถขจัดปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นได้ภายในปี 2552
5. อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดที่สามารถยืนหยัดตามลำพังได้ ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีมีความจำเป็นต่อการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพราะเราจะสามารถนำจุดเด่นหรือประสบการณ์ของแต่ละประเทศมาแบ่งปันกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะปัจจุบันนี้ เราได้เห็นแล้วว่านอกจากปัญหาทางด้านความยากจนและความแตกต่างของระดับการพัฒนาแล้ว ยังมีภัยจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (non-traditional security) และโรคระบาดต่างๆ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยประเทศใดหรือองค์กรใดแต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น นอกจากความร่วมมือในกรอบอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจึงได้ริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ทั้งในระดับระหว่างภูมิภาคและอนุภูมิภาค เพื่อลดช่องว่างและความแตกต่างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นในภูมิภาคตัวอย่างเช่น ความร่วมมือเอเชีย (ACD) เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแรงและการพัฒนาการอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยยอมรับความแตกต่าง แต่เน้นจุดร่วมเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน พันธบัตร
เอเชีย (Asia Bond) เป็นนวัตกรรมทางการคลังของเอเชีย กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ บังกลาเทศ - อินเดีย - พม่า - ศรีลังกา - ไทย (BIMST-EC) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) เป็นความร่วมมือในอนุภูมิภาคที่ลดความแตกต่างระหว่างกัน นอกจากนี้ การเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคียังเป็นความร่วมมือที่จะส่งเสริมการเจรจาในกรอบองค์กรการค้าโลกอีกทางหนึ่งด้วย
6. นอกจากนี้ เอเชียยังมีความร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย และเมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจเอเปกที่กรุงเทพฯ โดยมีหัวข้อการประชุมคือ “โลกแห่งความแตกต่าง : หุ้นส่วนสำหรับอนาคต” และการดำเนินงานของกลุ่มเอเปกมีความสำคัญต่อการสนับสนุนความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคีในการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เพราะเอเปกเป็นเวทีในระดับผู้นำเพียงเวทีเดียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในขณะเดียวกัน เอเชียก็มีความร่วมมือกับภูมิภาคยุโรปภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปด้วย
7. โดยสรุป ความเป็นหุ้นส่วนเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความแตกต่าง และความเป็นหุ้นส่วนกันในระดับต่างๆ ทั้งภายในภูมิภาคเดียวกัน และระหว่างภูมิภาค ทั้งระหว่างภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว กับภูมิภาคที่กำลังพัฒนา จะช่วยส่งเสริมระบบพหุภาคีให้เข้มแข็ง การเจรจาหารือระหว่างกัน จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละฝ่าย รวมทั้งจะช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างกันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
(คำแปลสรุปอย่างไม่เป็นทางการ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดการประชุม ISC — Symposium ครั้งที่ 34 , St. Gallen, Switzerland 13 พฤษภาคม 2547
(คำแปลสรุปอย่างไม่เป็นทางการ)
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดการประชุม ISC — Symposium ครั้งที่ 34 , St. Gallen, Switzerland 13 พฤษภาคม 2547
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การเป็นหุ้นส่วนโดยความแตกต่าง : ก้าวที่นำไปสู่การเสริมสร้างการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของโลก” ช่วงพิธีเปิดการการสัมมนา ISC-Symposium ครั้งที่ 34 ณ มหาวิทยาลัย St.Gallen ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ตามคำเชิญของ International Students' Committee สรุปสาระได้ดังนี้
1. กระแสโลกาภิวัฒน์ได้เกิดขึ้นภายหลังยุคของสงครามเย็น และเป็นกรอบความคิดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัฒน์ถูกมองว่าเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่กระแสโลกาวิวัฒน์ถูกวิพากวิจารณ์ โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาว่าทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันนี้อาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตที่คุกคามต่อเสถียรภาพระหว่างประเทศ การเกิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันนี้ อาจเกิดจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม มากกว่าตัวกระบวนการโลกาภิวัฒน์เอง นอกจากนี้ โลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเป็นผู้จัดการกับกระแสโลกาภิวัฒน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ และเครื่องมือสำคัญสำหรับการนี้ก็คือสถาบันและองค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินงานในกรอบพหุภาคี ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มากมาย เช่น องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก องค์กรการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. อย่างไรก็ตาม องค์กรเหล่านี้ต่างก็ได้เผชิญกับปัญหาและความท้าทายในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมย์ที่ได้วางไว้ อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนองค์กรที่มีอายุยาวนานทำได้ยาก เนื่องจากองค์กรเหล่านั้นได้พัฒนาระบบและขนาดที่ใหญ่จนขาดความคล่องตัว หรือไม่ก็ขาดความยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน องค์กรระหว่างประเทศอย่างองค์กรการค้าโลกที่แม้ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ และยังไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงองค์กร แต่ความคืบหน้าที่เกิดขึ้นช้ามาก ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ จากปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่ากระบวนการพหุภาคีและการเป็นหุ้นส่วนในระดับต่างๆ จะเกื้อหนุนกันเพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตและการพัฒนา
3. ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงประสบการณ์และความสำเร็จของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนจากความแตกต่าง และใช้ความเป็นหุ้นส่วนนี้สร้างกลุ่มความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างกระบวนการพหุภาคีให้เข้มแข็ง โดยได้ย้ำว่าสำหรับเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา การรักษาความสมดุลย์ระหว่างยุทธศาสตร์ของประเทศกับกระแสเศรษฐกิจของโลกมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในยุคปัจจุบันนี้ ความช่วยเหลือจากภายนอกไม่สามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาภายในประเทศได้อย่างที่เคยเป็นมา ดังนั้น ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นจะต้องคิดหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง เพราะในโลกนี้ ไม่มีวิธีการใดที่จะใช้ได้ผลกับทุกประเทศ ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าระบบการค้าเสรีอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเพิ่มระดับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนได้ การเปิดรับกระแสการค้าโลกอย่างเสรีอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น การเข้ามาจัดการของภาครัฐในการสร้างกฎเกณฑ์และสถาบันต่าง ๆ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการรักษาสมดุลระหว่างการเปิดรับกระแสภายนอก กับการจัดการภายในเพื่อตอบรับกระแสดังกล่าวนั้น ประเทศต่าง ๆ ต้องพยายามสร้างยุทธศาสตร์ขึ้นมา จากบริบททางสังคมและจุดเด่นของตนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ
4. ประเทศไทยได้ใช้หลักการของการช่วยเหลือตนเองและความเป็นหุ้นส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์โดยได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุด ในส่วนของการช่วยเหลือตนเองนั้น ประเทศไทยได้ดำเนินการตามหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการดำเนินนโยบายแบบคู่ขนานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าของไทยประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปีที่แล้ว สูงถึง 6.7% สูงเป็นอันดับสองของเอเชีย รองมาจากจีน นอกจากนี้ ประเทศไทยสามารถชำระหนี้คืนแก่องค์กรการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดถึง 2 ปี จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ประเทศไทยหวังว่าจะสามารถขจัดปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นได้ภายในปี 2552
5. อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดที่สามารถยืนหยัดตามลำพังได้ ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีมีความจำเป็นต่อการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพราะเราจะสามารถนำจุดเด่นหรือประสบการณ์ของแต่ละประเทศมาแบ่งปันกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะปัจจุบันนี้ เราได้เห็นแล้วว่านอกจากปัญหาทางด้านความยากจนและความแตกต่างของระดับการพัฒนาแล้ว ยังมีภัยจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (non-traditional security) และโรคระบาดต่างๆ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยประเทศใดหรือองค์กรใดแต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น นอกจากความร่วมมือในกรอบอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจึงได้ริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ทั้งในระดับระหว่างภูมิภาคและอนุภูมิภาค เพื่อลดช่องว่างและความแตกต่างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นในภูมิภาคตัวอย่างเช่น ความร่วมมือเอเชีย (ACD) เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแรงและการพัฒนาการอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยยอมรับความแตกต่าง แต่เน้นจุดร่วมเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน พันธบัตร
เอเชีย (Asia Bond) เป็นนวัตกรรมทางการคลังของเอเชีย กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ บังกลาเทศ - อินเดีย - พม่า - ศรีลังกา - ไทย (BIMST-EC) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) เป็นความร่วมมือในอนุภูมิภาคที่ลดความแตกต่างระหว่างกัน นอกจากนี้ การเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคียังเป็นความร่วมมือที่จะส่งเสริมการเจรจาในกรอบองค์กรการค้าโลกอีกทางหนึ่งด้วย
6. นอกจากนี้ เอเชียยังมีความร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย และเมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจเอเปกที่กรุงเทพฯ โดยมีหัวข้อการประชุมคือ “โลกแห่งความแตกต่าง : หุ้นส่วนสำหรับอนาคต” และการดำเนินงานของกลุ่มเอเปกมีความสำคัญต่อการสนับสนุนความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคีในการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เพราะเอเปกเป็นเวทีในระดับผู้นำเพียงเวทีเดียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในขณะเดียวกัน เอเชียก็มีความร่วมมือกับภูมิภาคยุโรปภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปด้วย
7. โดยสรุป ความเป็นหุ้นส่วนเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความแตกต่าง และความเป็นหุ้นส่วนกันในระดับต่างๆ ทั้งภายในภูมิภาคเดียวกัน และระหว่างภูมิภาค ทั้งระหว่างภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว กับภูมิภาคที่กำลังพัฒนา จะช่วยส่งเสริมระบบพหุภาคีให้เข้มแข็ง การเจรจาหารือระหว่างกัน จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละฝ่าย รวมทั้งจะช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างกันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-