นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานฐานะการคลังตามระบบ สศค. เดือนเมษายน 2547 สรุปได้ดังนี้
1. ฐานะการคลังตามระบบ สศค, เดือนเมษายน 2547
1.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 117,490 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 86,935 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมทั้งเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 30,555 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 100,057 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.0
1.2 รายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 114,150 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 105,165 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 915 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,070 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 96,716 ล้านบาท (แยกเป็นรายจ่ายประจำ 87,943 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 8,773 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 7.3
1.3 ดุลการคลังระบบ สศค. ของรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค.เดือนเมษายน 2547 เกินดุล 1,581 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วซึ่งเกินดุล 1,707ล้านบาท
2. ฐานะการคลังระบบ สศค. เดือนตุลาคม - เมษายน ปีงบประมาณ 2547
2.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 763,320 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 563,335 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 199,986 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 705,056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 24.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก
2.2 รายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 760,148 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 650,783 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือ จำนวน 6,467 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุน และเงินฝากนอกงบประมาณอีก 102,898 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 701,884 ล้านบาท (แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 644,246 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 57,638 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ถึงร้อยละ 21.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 24.2 ขณะที่รายจ่ายลงทุนชะลอตัวลงเล็กน้อยลดลงร้อยละ 3.1
2.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 60,810 ล้านบาท เกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิ 3,172 ล้านบาท และเมื่อรวมกับการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 10,142 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 13,314 ล้านบาท ขาดดุลลดลง 14,080 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
3. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มีจำนวน 54,724 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 13,072 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.1 ในขณะเดียวกันภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.4
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 115,993 ล้านบาท และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 76,493 ล้านบาท โดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 13,000 และ 26,500 ล้านบาทตามลำดับ การชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลัง ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่ และการกู้เงินของรัฐบาลยังมีส่วนช่วยลดภาวะสภาพคล่องล้นระบบในตลาดเงิน
5. บทสรุป
ตัวเลขทางการคลังตามระบบ สศค. สะท้อนให้เห็นว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ระบบเศรษฐกิจและภาคเอกชนมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนภาระภาษีและเงินประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 นอกจากนั้นรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลสูงขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10.5 การลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 3.1 ดุลเงินสดของรัฐบาลเกินดุล 3,172 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาดุลการคลัง (คือดุลเงินสดรวมกับการให้กู้ยืมสุทธิของรัฐบาล) รัฐบาลยังคงขาดดุล 13,314 ล้านบาท โดยภาพรวมนั้นสรุปได้ว่ารัฐบาลเริ่มลดบทบาทการเป็นผู้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง เมื่อเห็นว่าภาคการผลิต และการบริโภคของเอกชนเริ่มมีทิศทางดีขึ้นและมั่นคง ซึ่งจะส่งผลดีต่อฐานะการคลังในอนาคต
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2547 26 พฤษภาคม 2547--
1. ฐานะการคลังตามระบบ สศค, เดือนเมษายน 2547
1.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 117,490 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 86,935 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมทั้งเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 30,555 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 100,057 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.0
1.2 รายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 114,150 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 105,165 ล้านบาท รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 915 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,070 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 96,716 ล้านบาท (แยกเป็นรายจ่ายประจำ 87,943 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 8,773 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 7.3
1.3 ดุลการคลังระบบ สศค. ของรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค.เดือนเมษายน 2547 เกินดุล 1,581 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วซึ่งเกินดุล 1,707ล้านบาท
2. ฐานะการคลังระบบ สศค. เดือนตุลาคม - เมษายน ปีงบประมาณ 2547
2.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวม 763,320 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 563,335 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 199,986 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 705,056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 24.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก
2.2 รายจ่าย
รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 760,148 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน 650,783 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือ จำนวน 6,467 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุน และเงินฝากนอกงบประมาณอีก 102,898 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 701,884 ล้านบาท (แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 644,246 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 57,638 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ถึงร้อยละ 21.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 24.2 ขณะที่รายจ่ายลงทุนชะลอตัวลงเล็กน้อยลดลงร้อยละ 3.1
2.3 ดุลการคลัง
รัฐบาลเกินดุลการดำเนินงานเบื้องต้น 60,810 ล้านบาท เกินดุลการให้กู้ยืมสุทธิ 3,172 ล้านบาท และเมื่อรวมกับการให้กู้ยืมตามนโยบายรัฐบาลสุทธิจำนวน 10,142 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 13,314 ล้านบาท ขาดดุลลดลง 14,080 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
3. เงินคงคลังรัฐบาล
เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มีจำนวน 54,724 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 13,072 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประกอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐบาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.1 ในขณะเดียวกันภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.4
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 115,993 ล้านบาท และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 76,493 ล้านบาท โดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 13,000 และ 26,500 ล้านบาทตามลำดับ การชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลัง ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่ และการกู้เงินของรัฐบาลยังมีส่วนช่วยลดภาวะสภาพคล่องล้นระบบในตลาดเงิน
5. บทสรุป
ตัวเลขทางการคลังตามระบบ สศค. สะท้อนให้เห็นว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ระบบเศรษฐกิจและภาคเอกชนมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนภาระภาษีและเงินประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 นอกจากนั้นรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลสูงขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 10.5 การลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 3.1 ดุลเงินสดของรัฐบาลเกินดุล 3,172 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาดุลการคลัง (คือดุลเงินสดรวมกับการให้กู้ยืมสุทธิของรัฐบาล) รัฐบาลยังคงขาดดุล 13,314 ล้านบาท โดยภาพรวมนั้นสรุปได้ว่ารัฐบาลเริ่มลดบทบาทการเป็นผู้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง เมื่อเห็นว่าภาคการผลิต และการบริโภคของเอกชนเริ่มมีทิศทางดีขึ้นและมั่นคง ซึ่งจะส่งผลดีต่อฐานะการคลังในอนาคต
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2547 26 พฤษภาคม 2547--