โดย ส.ส.ตรีพล เจาะจิตต์
สรุปข้อมูลความเสียหายกรณีโรคไข้หวัดนกความเสียหายอันเกิดจากกรณีโรคไข้หวัดนกที่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลมีความล้มเหลวและข้อบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินมากมาย ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการเกษตร พรรคประชาธิปัตย์ ได้สรุปออกมาให้เห็นดังนี้
1. ความบกพร่องในการแต่งตั้งผู้บริหารที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ
2. ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความสามารถในด้านควบคุมโรคระบาด
3. ละเลย ไม่เอาใจใส่ในการปฏิบิตหน้าที่ จนเป็นเหตุให้โรคระบาดลุกลาม
4. ปิดบัง โกหก ประชาชนอย่างนาวนาน เป็นเหตุให้ประชาชนไม่ได้ระมัดระวัง จึงเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากความบกพร่องดังกล่าวทั้ง 4 ประการได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สิน เศรษฐกิจ คิดเป็นเงินไ ม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งแยกแยะให้เห็นดังนี้ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แยกดังนี้
1. ทำให้ประชาชนบริโภคน้อยลง 50 % เท่ากับ 11,355 ล้านบาท
2. ผลกระทบด้านการส่งออกสร้างความสูญเสีย 22160 ล้านบาท
3. ประเทศคู่ค้าตีกลับสินค้าสร้างความสูญเสีย 2400 ล้านบาท
4. ค่าเสียหายจากไก่ถูกฆ่า ประมาณ 40 ล้านตัว รวม 8,000 ล้านบาท
5. ค่าเสียหายจากการที่ไก่ถูกฆ่าต้องหยุดเลี้ยงอย่างน้อย 1 ปี รวม 4,800 ล้านบาท
6. สูญเสียจากกที่โรงงานชำแหละทำให้คนงานว่างงาน 6 เดือนคิดเป็นเงิน 18,000 ล้านบาท
7. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบ จำนวน 2630 ล้านบาท เป็นต้น
ซึ่งความเสียหายเหล่านี้รวมแล้วประมาณ 104845 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีความสูญเสียที่ยังประเมินค่าไม่ได้อีกจำนวนมาก เช่นการสูญเสียชีวิตของประชาชนจำนวน 8 ราย การสูญเสียด้านอาชีพ และขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ และสิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
สรุปข้อมูลความเสียหายกรณีโรคไข้หวัดนกความเสียหายอันเกิดจากกรณีโรคไข้หวัดนกที่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลมีความล้มเหลวและข้อบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินมากมาย ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการเกษตร พรรคประชาธิปัตย์ ได้สรุปออกมาให้เห็นดังนี้
1. ความบกพร่องในการแต่งตั้งผู้บริหารที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ
2. ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความสามารถในด้านควบคุมโรคระบาด
3. ละเลย ไม่เอาใจใส่ในการปฏิบิตหน้าที่ จนเป็นเหตุให้โรคระบาดลุกลาม
4. ปิดบัง โกหก ประชาชนอย่างนาวนาน เป็นเหตุให้ประชาชนไม่ได้ระมัดระวัง จึงเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากความบกพร่องดังกล่าวทั้ง 4 ประการได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สิน เศรษฐกิจ คิดเป็นเงินไ ม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งแยกแยะให้เห็นดังนี้ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แยกดังนี้
1. ทำให้ประชาชนบริโภคน้อยลง 50 % เท่ากับ 11,355 ล้านบาท
2. ผลกระทบด้านการส่งออกสร้างความสูญเสีย 22160 ล้านบาท
3. ประเทศคู่ค้าตีกลับสินค้าสร้างความสูญเสีย 2400 ล้านบาท
4. ค่าเสียหายจากไก่ถูกฆ่า ประมาณ 40 ล้านตัว รวม 8,000 ล้านบาท
5. ค่าเสียหายจากการที่ไก่ถูกฆ่าต้องหยุดเลี้ยงอย่างน้อย 1 ปี รวม 4,800 ล้านบาท
6. สูญเสียจากกที่โรงงานชำแหละทำให้คนงานว่างงาน 6 เดือนคิดเป็นเงิน 18,000 ล้านบาท
7. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบ จำนวน 2630 ล้านบาท เป็นต้น
ซึ่งความเสียหายเหล่านี้รวมแล้วประมาณ 104845 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีความสูญเสียที่ยังประเมินค่าไม่ได้อีกจำนวนมาก เช่นการสูญเสียชีวิตของประชาชนจำนวน 8 ราย การสูญเสียด้านอาชีพ และขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ และสิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-