รวมการผลาญงบของรัฐบาลทักษิณ "ในโครงการที่สุดโอเวอร์"
1.การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรทางรถไฟ (10-12 พฤศจิกายน 2544) ใช้เงินกว่า 10 ล้านบาทเป็นครั้งแรกที่ รัฐบาลทักษิณ เดินทางประชุม ครม.สัญจร โดยใช้รถไฟเป็นพาหนะ งานนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยยอมควักกระเป๋ากว่า 6 ล้านบาท เนรมิตขบวนรถไฟพิเศษ 918 ให้เป็น ห้องประชุมและห้องพักสำหรับแขกระดับผู้นำประเทศที่มาใช้บริการ นอกจากนี้ยังมีการใช้กำลังอารักขาตลอดเส้นทางกรุงเทพ-ศรีษะเกษ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทหลังการละลายงบประมาณดังกล่าวด้วยการเนรมิตโบกี้รถไฟเป็นสถานที่ประชุม แล้วไม่พบว่ามีการนำโบกี้รถไฟดังกล่าวมาใช้ประโยชน์อีกเลย ถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองอย่างยิ่งสำหรับการเสียเงินแล้วมีการใช้งานเพียงครั้งเดียว
2. กองทุนหมู่บ้าน 47กลิ่นทะแม่ง ทำฐานข้อมูล350ล.-พีอาร์89ล.เพียงแค่การจัดอันดับความน่าเชื่อถือกองทุนหมู่บ้าน ตั้งแต่ A - AA -AAA รัฐบาลโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ก็ใช้งบประมาณมโหฬารในการจัดทำจัดระบบฐานข้อมูล 350 ล้านบาท เพื่อจัดทำระบบออนไลน์จากทุกกองทุนทั่วประเทศและเชื่อมต่อหน่วยงานต่างๆ และจัดทำศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้ในการกลั่นกรอง ประมวลผลติดตาม และสนับสนุนเพื่อการรายงานเชิงบริหารจัดการ 2.เพื่อการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านอาชีพ 236 ล้านบาท3.งบประชาสัมพันธ์ 88.95 ล้านบาท และ 4.การพัฒนากองทุนหมู่บ้านจำนวน 6 หมื่นกองทุนให้เป็นนิติบุคคล 33 ล้านบาท
3. เอสเอ็มอี ผลาญงบ 1,000 ล้านบาทรัฐบาลชุดนี้เคยใช้เรื่องการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs หาเสียงกับประชาชนมาโดยตลอด และเมื่อมาเป็นรัฐบาลได้จัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงอุตสาหกรรมไปกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการให้บริการกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร แทนที่จะไปให้บริการในท้องถิ่นและภูมิภาค และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) คิดดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารพาณิชย์บางแห่ง โดยอยู่ที่ MLR 7% นอกจากนี้ ยังทำผิดบทบาทจากการส่งเสริมเอสเอ็มอี กลับไปจัดตั้งบริษัทและลงทุนเพื่อสร้างตราสินค้าสำหรับเสื้อยืด กางเกงยีนส์ยี่ห้อ"ไทโก้"แทน
4."โครงการฝึกอบรมครู : อีเลิร์นนิ่งฉาว" ผลาญ 4,000 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการผลาญงบโครงการฝึกอบรมครู e-Learning 4,000 ล้านบาท เผยเบื้องหลังเงื่อนงำความไม่โปร่งใสถูกตั้งข้อกังขาว่าเกิดจากฝีมือข้าราชการระดับบิ๊กชักใยสถาบันราชภัฏ-สปช.-กรมสามัญศึกษา เปิดปฏิบัติการ 3 ประสานเดินแผนเงียบ-รวบรัด ประเคนผลประโยชน์ให้เอกชนนับพันล้าน ทั้งที่โครงการนี้ใช้เงินลงทุนระบบคอมพิวเตอร์และค่าวิทยากรจิ๊บจ้อยแค่ไม่กี่สิบล้านเท่านั้น การฝึกอบรมครูรูปแบบอี-เลิร์นนิ่ง( e-Learnig) ภายใต้ "โครงการรวมพลังขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้สื่อ Electronic : โครงการนำร่องการเรียนรู้แบบ e-Learning ใน 8 สถาบันราชภัฏ"ระยะเวลา 5 ปี (2546-2551)
5.การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2003APEC (19-22 ตุลาคม 2546) ถลุงกว่า 5,000 ล้านบาทงบประมาณ APEC 5 วันใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท เท่ากับงบฯกระทรวงวิทย์ฯ ปี 2547 ทั้งปี 5,145ล้านบาท มีการทุ่มเนรมิต กรุงเทพใหม่เพื่อต้อนรับ ผู้นำ 21 ชาติในเอเปค จัดการประชุมอย่างอลังการ แถมมีของชำร่วยสุดหรู ให้ผู้นำโดยเฉพาะเสื้อตัวละ 90,000 บาท ตั้งค่าอาหารนักข่าว หัวละ 3,000 บาท เนรมิตอาคารใหม่ของนาวิกสภา ใช้ประมาณที่นี่ที่เดียวราว500ล้านยังมีการใช้เงินปรับปรุงทำเนียบประมาณ200ล้านการใช้งบประมาณก้อนโตเพื่อสร้างภาพครั้งนี้ถูกวิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเป็นประเทศเล็กที่กำลังพัฒนาแต่กลับทุ่มงบประมาณมากเกินไปในการสร้างภาพครั้งนี้
6.เต้นเพื่อสุขภาพ “Yellow Shirt Power"บันทึกในกินเนสส์บุ๊ก (ผลาญเงินไป 20 ล้านบาท)ความพยายามที่จะทำลงบันทึกกินเนสส์บุ๊คเรื่องจำนวนผู้ออกกำลังกายของไทย มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ยอดเงินที่ใช้ในงานนี้มีถึง 20ล้านบาท นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลไปยังจังหวัดต่างๆ พบว่า มีการสั่งการจากส่วนกลางให้จังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลอาทิ นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท นครปฐม สมุทรสาคร ระดมคนซึ่งนอกจากจะเป็นประชาชนทั่วไปแล้ว ยังเกณฑ์อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านอีก 10,000 คน ขอความร่วมมือไปยังโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดข้างต้น ส่งนักเรียนไปร่วมงานโรงเรียนละ 500 คน สมทบกับนักเรียนในเขต กทม.ประมาณ 20,000 คน ประสานกับชมรมออกกำลังกายในกรุงเทพฯ ที่มีความใกล้ชิดกับ ส.ก.-ส.ข.พรรคไทยรักไทยประมาณ 400 ชมรม สั่งการให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขจัดส่งข้าราชการกองละ 10 คนไปร่วมงาน มีการแจกเบี้ยเลี้ยงคนละ 200 บาท พร้อมเสื้อยืดมูลค่า 50 บาทอีก 1 ตัว
7.สมุดบันทึกสุขภาพ ผลาญงบ 50 ล้านบาทกระทรวงสาธารณสุขได้จัดพิมพ์สมุดประจำตัวบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งให้กับโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ถือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีอยู่ 46 ล้านคนทั่วประเทศ โดยกำหนดให้ประชาชนถือไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควบคู่ไปกับบัตรทองสมุดประจำตัว บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นสมุดขนาดโปสการ์ด กว้าง 3 นิ้วครึ่ง และสูง 5 นิ้ว มีทั้งสิ้น34 หน้ากระดาษรวมปก โดยหน้าปกมีช่องไว้สำหรับติดรูปภาพของเจ้าของบัตรทองขนาด 1 นิ้ว หน้า 2 ซึ่งเป็นปกด้านในเป็นสำเนาบัตรทองที่ให้เจ้าของบัตรกรอกรายละเอียดบัตรทองลงไป และมีข้อความว่า "สมุดประจำตัวนี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับบัตรทองเสมอ" กำกับอยู่ด้วยภายในเล่ม หน้าแรกเป็นคำแถลงถึงความเป็นมาของนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีพร้อมลายเซ็นโดยมีภาพ พ.ต.ท.ทักษิณประกอบด้วย หน้าที่สอง เป็นคำชี้แจงของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
8.บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ รัฐทุ่ม800ล้านบาทนำร่องทำบัตรอี-ซิติเซ่น รัฐบาลทุ่มงบก้อนแรก 800 ล้าน นำร่องทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุข้อมูลทั้งทะเบียนราษฎร์และสุขภาพ เริ่มก่อนในเขตเมืองและอำเภอใหญ่ ครอบคลุมประชากร 8-10 ล้านคนโดยมีเป้าหมายว่าจะทำทั้งประเทศใช้งบประมาณในโครงการนี้ทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท บัตรดังกล่าวเป็นการทำบัตรประชาชนในลักษณะของบัตรสมาร์ทการ์ด คือ จะบรรจุข้อมูลหลายอย่างอยู่ในบัตรใบเดียว สามารถเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ได้ ทั้งฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูลสิทธิหลักประกันสุขภาพในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการทำบัตรอี-ซิติเซ่น เป็นโครงการแรกของกรมการปกครอง โดยในช่วงแรกนี้จะนำร่องทำในบางพื้นที่ก่อน เช่นในอำเภอเมืองหรือจังหวัดใหญ่ๆ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการดำเนินการ แต่ในปีนี้รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณดำเนินการโครงการนี้ไว้แล้วประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมประชาชนประมาณ 8-10 ล้านคนมีมอบหมายให้คณะกรรมการสนเทศแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ การ์ดที่จะนำมาทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ มีราคาตั้งแต่ 50-100 บาท ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการสารสนเทศแห่งชาติจะกำหนดขนาดความจุของข้อมูลขนาดใด ถ้าใช้ขนาด 100 บาท ประชากรไทยขณะนี้ประมาณ 60 กว่าล้านคน จะใช้เงินถึง 6,000 ล้านบาท
9.โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น BANGKOK FASHION CITY EXTRAVAGANZA 2004(15 กุมภาพันธ์ 2547) ใช้งบประมาณ ราว 1,800 ล้านบาทเมืองแฟชั่น BANGKOK FASHION CITY ปิดถนนสุขุมวิทเพื่อโชว์ขบวนแฟชั่นพาเหรดตั้งแต่สยามเซ็นเตอร์ถึงศูนย์สรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียม อวดสายตาชาวโลก วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547นี้ มีการจัดขบวนรถ เทลเลอร์ขนาดใหญ่ รถสปอตเปิดประทุน และรถ DRIVER SOUND ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา โดยมีความยาวกว่า 1.5กิโลเมตร รวมทั้งเสื้อผ้าแบรนด์เนมชั้นนำ ทั้ง LOCAL BRAND และ SUPER BRAND กว่า 60 ยี่ห้อ ด้วยกัน ในงานนี้มี SUPERMODELSดารา นางแบบ CELEBRITIES ชื่อดังกว่า 800 คน เสื้อผ้าที่ใช้ในงานครั้งนี้ ออกแบบโดยดีไซเนอร์คนไทย จำนวน 100 ชุด ค่าตัวนางแบบกว่า10 ล้านบาท และประชาสัมพันธ์ 15 ล้านบาท รวม 3 วัน คือวันที่ 12-15 ก.พ. นี้ใช้งบประมาณในส่วนนี้ทั้งสิ้น 70 ล้านบาท"งบประมาณของแผนกิจกรรมในส่วนของการส่งเสริมการเผาพลอยของโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ที่สถาบันวิจัย อัญมณีและเครื่องประดับกำลังจะเสนอรัฐบาลนั้นเป็นที่น่าสังเกตุว่างบประมาณที่จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 9 คน มูลค่า 132 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 18 เดือน โดย
10.โครงการครัวไทยสู่โลก (จัดตั้งบริษัทพันธมิตรอาหารไทยTRA) 1,000 ล้านบาทขณะที่โครงการครัวไทยสู่โลก ทาง สสว.ได้เข้าร่วมลงทุนตั้งบริษัททีอาร์เอขึ้นมา ซึ่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รมว.อุตสาหกรรม ตอนนั้นได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่าเพื่อส่งเสริมให้อาหารไทยได้รับความนิยมทั่วโลก มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท และแจ้งว่าจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นภายใน 5 ปี แต่ขณะนี้โครงการยังไม่คืบหน้า
11.ถนนบอนด์สตรีท (ถนนคนเมา) หายไป 40 ล้านบาทโครงการถนนคนเมาเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องปิดตัวเองลงภายในเวลาไม่ถึงขวบปี ซึ่งโครงการนี้แจ้งเกิดขึ้นภายใต้การผลักดันของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในสมัยที่นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตสุราพื้นบ้านของไทย โดยได้ตั้งเป้าไว้อย่างสวยหรูที่จะให้เป็นศูนย์จำหน่ายปลีกและส่งสุราพื้นบ้านจากทุกภาคทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งพบปะระหว่างผู้ผลิต กลุ่มผู้จำหน่ายและผู้บริโภค โดยตั้งอยู่ที่บริเวณอาคารเลควิวคอนโดมิเนียม ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี ซึ่งมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2546 แต่เมื่อมีการสับเปลี่ยนเจ้ากระทรวงอุตสาหกรรมมาเป็นนายพินิจ จารุสมบัติ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 ได้ประกาศล้มโครงการถนนคนเมาทันทีโดยไม่อนุญาตให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)ต่อสัญญาเช่าพื้นที่ถนนบอนด์สตรีทอีก โดยจะหมดอายุสัญญาเช่า 1 ปีในช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 นี้การล้มโครงการถนนคนเมาก่อให้เกิดความเสียหายเกือบ 40 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าพื้นที่ จำนวน 8 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรม โปรโมตต่างๆ อีก 30 กว่าล้านบาท
12. บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง (เออาร์ที) ล้มอีก 300 ล้านบาทบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือเออาร์ที ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2545 เพื่อจุดประสงค์ช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก/โชห่วยแบบลงลึกถึงรากหญ้า เพื่อแก้ปัญหายักษ์ค้าปลีกที่รุกคืบเข้ามาทำให้ค้าปลีกรากหญ้าแข่งขันไม่ได้ โครงการดังกล่าวผลักดันโดยนายเนวิน ชิดชอบ สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จนถึงขณะนี้ใช้เงินไปเกือบ 300 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถช่วยเหลือค้าปลีกรากหญ้าได้ล่าสุดเมื่อ 11กุมภาพันธุ์ 2547 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ผู้บริหาร บริษัทเออาร์ทีปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารงานใหม่ทั้งหมด เพราะการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และไม่ได้ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น หรือทำให้ประชาชนซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรม
13.อีลิตการ์ด"ละเลงเงิน 5,000 ล้านบาทในขณะที่โครงการ "อีลิตการ์ด" ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ การ์ด จำกัด เพื่อขายบัตรอีลิตการ์ดให้นักธุรกิจชั้นนำของโลกมาใช้บริการและท่องเทียวในเมืองไทยในราคาใบละ 1 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าทางผู้ประกอบการต่างๆ ที่เป็นเซอร์วิสโพรไวเดอร์เข้าร่วมโครงการน้อยมาก จึงทำให้บริษัทหาทางออกโดยตั้งบริษัทลูก "ทีพีซี พร็อพเพอร์ตี้แอนด์เซอร์วิส" ขึ้นมาทำโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการให้บริการแก่สมาชิกผู้ถือบัตร โดยขออนุมัติวงเงินจากรัฐบาล 5,000 ล้านบาท
14.ซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง แอร์บัส CJ 319 (แอร์ฟอร์ซวัน 1,117 ล้านบาท) มีการนำงบส่งเสริมศักยภาพฯประจำปี 2547ไปจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง หรือแอร์บัส CJ319โดยตามมติครม.วันที่ 18 พ.ย. 2546 อ้างวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารประเทศและอารักขาคณะรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญซึ่งมีความปลอดภัยสูงเป็นจำนวนเงิน1.117พันล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์ของงบกลาง ซึ่งความจริงเรื่องนี้มีผลตั้งแต่ครม.มีมติเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2546 ให้แลกเปลี่ยนเฮลิคอปเตอร์ซุปเปอร์พูม่า MK2 จำนวน2 ลำมูลค่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับเครื่องบินแอร์บัส CJ319 ราคา 51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่วนต่าง30 ล้านเหรียญครม.มีมติอนุมัติให้เป็นงบผูกพัน ปี46 จำนวน109ล้านบาท และปี47 จำนวน1.117พันล้านบาท
15.งบเดินทางกระทรวงต่างประเทศ 129 ล้านบาทในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2547กระทรวงการต่างประเทศตั้งงบเดินทางไว้มากถึง 129 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตกเดือนละ 10 กว่าล้าน ถือว่าสูงมาก ควรจะนำไปเพิ่มเป็นสวัสดิการให้ข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศมากกว่า
16.อบรมผู้ว่าซีอีโอ สิงหาคม2546 เสียเงินไป 30 ล้านบาทแค่อบรมผู้ว่าราชการจังหวัดให้เข้าใจแนวคิดของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรในเรื่องผู้ว่าแบบบูรณาการ หรือซีอีโอ มีการใช้งบประมาณในการอบรมไปราว 30 ล้านบาท ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการใช้งบประมาณที่มากเกินไปแต่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย บอกว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพบุคลากร ไม่ควรมองเรื่องงบเพียงด้านเดียว เพราะอาจรู้สึกว่ามากแต่อยากให้มองในระยะยาว เพราะผู้ว่าฯ ต้องนำงบจากส่วนกลางหลายแสนล้านไปบริหารงาน เมื่อเปรียบเทียบกับงบที่เสียไปกับการอบรม 20-30 ล้านบาท เพื่อเติมศักยภาพการบริหารให้กับผู้ว่าฯ เป็นเรื่องที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
1.การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรทางรถไฟ (10-12 พฤศจิกายน 2544) ใช้เงินกว่า 10 ล้านบาทเป็นครั้งแรกที่ รัฐบาลทักษิณ เดินทางประชุม ครม.สัญจร โดยใช้รถไฟเป็นพาหนะ งานนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยยอมควักกระเป๋ากว่า 6 ล้านบาท เนรมิตขบวนรถไฟพิเศษ 918 ให้เป็น ห้องประชุมและห้องพักสำหรับแขกระดับผู้นำประเทศที่มาใช้บริการ นอกจากนี้ยังมีการใช้กำลังอารักขาตลอดเส้นทางกรุงเทพ-ศรีษะเกษ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทหลังการละลายงบประมาณดังกล่าวด้วยการเนรมิตโบกี้รถไฟเป็นสถานที่ประชุม แล้วไม่พบว่ามีการนำโบกี้รถไฟดังกล่าวมาใช้ประโยชน์อีกเลย ถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองอย่างยิ่งสำหรับการเสียเงินแล้วมีการใช้งานเพียงครั้งเดียว
2. กองทุนหมู่บ้าน 47กลิ่นทะแม่ง ทำฐานข้อมูล350ล.-พีอาร์89ล.เพียงแค่การจัดอันดับความน่าเชื่อถือกองทุนหมู่บ้าน ตั้งแต่ A - AA -AAA รัฐบาลโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ก็ใช้งบประมาณมโหฬารในการจัดทำจัดระบบฐานข้อมูล 350 ล้านบาท เพื่อจัดทำระบบออนไลน์จากทุกกองทุนทั่วประเทศและเชื่อมต่อหน่วยงานต่างๆ และจัดทำศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้ในการกลั่นกรอง ประมวลผลติดตาม และสนับสนุนเพื่อการรายงานเชิงบริหารจัดการ 2.เพื่อการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านอาชีพ 236 ล้านบาท3.งบประชาสัมพันธ์ 88.95 ล้านบาท และ 4.การพัฒนากองทุนหมู่บ้านจำนวน 6 หมื่นกองทุนให้เป็นนิติบุคคล 33 ล้านบาท
3. เอสเอ็มอี ผลาญงบ 1,000 ล้านบาทรัฐบาลชุดนี้เคยใช้เรื่องการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs หาเสียงกับประชาชนมาโดยตลอด และเมื่อมาเป็นรัฐบาลได้จัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงอุตสาหกรรมไปกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการให้บริการกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร แทนที่จะไปให้บริการในท้องถิ่นและภูมิภาค และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) คิดดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารพาณิชย์บางแห่ง โดยอยู่ที่ MLR 7% นอกจากนี้ ยังทำผิดบทบาทจากการส่งเสริมเอสเอ็มอี กลับไปจัดตั้งบริษัทและลงทุนเพื่อสร้างตราสินค้าสำหรับเสื้อยืด กางเกงยีนส์ยี่ห้อ"ไทโก้"แทน
4."โครงการฝึกอบรมครู : อีเลิร์นนิ่งฉาว" ผลาญ 4,000 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการผลาญงบโครงการฝึกอบรมครู e-Learning 4,000 ล้านบาท เผยเบื้องหลังเงื่อนงำความไม่โปร่งใสถูกตั้งข้อกังขาว่าเกิดจากฝีมือข้าราชการระดับบิ๊กชักใยสถาบันราชภัฏ-สปช.-กรมสามัญศึกษา เปิดปฏิบัติการ 3 ประสานเดินแผนเงียบ-รวบรัด ประเคนผลประโยชน์ให้เอกชนนับพันล้าน ทั้งที่โครงการนี้ใช้เงินลงทุนระบบคอมพิวเตอร์และค่าวิทยากรจิ๊บจ้อยแค่ไม่กี่สิบล้านเท่านั้น การฝึกอบรมครูรูปแบบอี-เลิร์นนิ่ง( e-Learnig) ภายใต้ "โครงการรวมพลังขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้สื่อ Electronic : โครงการนำร่องการเรียนรู้แบบ e-Learning ใน 8 สถาบันราชภัฏ"ระยะเวลา 5 ปี (2546-2551)
5.การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2003APEC (19-22 ตุลาคม 2546) ถลุงกว่า 5,000 ล้านบาทงบประมาณ APEC 5 วันใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท เท่ากับงบฯกระทรวงวิทย์ฯ ปี 2547 ทั้งปี 5,145ล้านบาท มีการทุ่มเนรมิต กรุงเทพใหม่เพื่อต้อนรับ ผู้นำ 21 ชาติในเอเปค จัดการประชุมอย่างอลังการ แถมมีของชำร่วยสุดหรู ให้ผู้นำโดยเฉพาะเสื้อตัวละ 90,000 บาท ตั้งค่าอาหารนักข่าว หัวละ 3,000 บาท เนรมิตอาคารใหม่ของนาวิกสภา ใช้ประมาณที่นี่ที่เดียวราว500ล้านยังมีการใช้เงินปรับปรุงทำเนียบประมาณ200ล้านการใช้งบประมาณก้อนโตเพื่อสร้างภาพครั้งนี้ถูกวิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเป็นประเทศเล็กที่กำลังพัฒนาแต่กลับทุ่มงบประมาณมากเกินไปในการสร้างภาพครั้งนี้
6.เต้นเพื่อสุขภาพ “Yellow Shirt Power"บันทึกในกินเนสส์บุ๊ก (ผลาญเงินไป 20 ล้านบาท)ความพยายามที่จะทำลงบันทึกกินเนสส์บุ๊คเรื่องจำนวนผู้ออกกำลังกายของไทย มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ยอดเงินที่ใช้ในงานนี้มีถึง 20ล้านบาท นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลไปยังจังหวัดต่างๆ พบว่า มีการสั่งการจากส่วนกลางให้จังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลอาทิ นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท นครปฐม สมุทรสาคร ระดมคนซึ่งนอกจากจะเป็นประชาชนทั่วไปแล้ว ยังเกณฑ์อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านอีก 10,000 คน ขอความร่วมมือไปยังโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดข้างต้น ส่งนักเรียนไปร่วมงานโรงเรียนละ 500 คน สมทบกับนักเรียนในเขต กทม.ประมาณ 20,000 คน ประสานกับชมรมออกกำลังกายในกรุงเทพฯ ที่มีความใกล้ชิดกับ ส.ก.-ส.ข.พรรคไทยรักไทยประมาณ 400 ชมรม สั่งการให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขจัดส่งข้าราชการกองละ 10 คนไปร่วมงาน มีการแจกเบี้ยเลี้ยงคนละ 200 บาท พร้อมเสื้อยืดมูลค่า 50 บาทอีก 1 ตัว
7.สมุดบันทึกสุขภาพ ผลาญงบ 50 ล้านบาทกระทรวงสาธารณสุขได้จัดพิมพ์สมุดประจำตัวบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งให้กับโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ถือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีอยู่ 46 ล้านคนทั่วประเทศ โดยกำหนดให้ประชาชนถือไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควบคู่ไปกับบัตรทองสมุดประจำตัว บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นสมุดขนาดโปสการ์ด กว้าง 3 นิ้วครึ่ง และสูง 5 นิ้ว มีทั้งสิ้น34 หน้ากระดาษรวมปก โดยหน้าปกมีช่องไว้สำหรับติดรูปภาพของเจ้าของบัตรทองขนาด 1 นิ้ว หน้า 2 ซึ่งเป็นปกด้านในเป็นสำเนาบัตรทองที่ให้เจ้าของบัตรกรอกรายละเอียดบัตรทองลงไป และมีข้อความว่า "สมุดประจำตัวนี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับบัตรทองเสมอ" กำกับอยู่ด้วยภายในเล่ม หน้าแรกเป็นคำแถลงถึงความเป็นมาของนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีพร้อมลายเซ็นโดยมีภาพ พ.ต.ท.ทักษิณประกอบด้วย หน้าที่สอง เป็นคำชี้แจงของนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
8.บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ รัฐทุ่ม800ล้านบาทนำร่องทำบัตรอี-ซิติเซ่น รัฐบาลทุ่มงบก้อนแรก 800 ล้าน นำร่องทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุข้อมูลทั้งทะเบียนราษฎร์และสุขภาพ เริ่มก่อนในเขตเมืองและอำเภอใหญ่ ครอบคลุมประชากร 8-10 ล้านคนโดยมีเป้าหมายว่าจะทำทั้งประเทศใช้งบประมาณในโครงการนี้ทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท บัตรดังกล่าวเป็นการทำบัตรประชาชนในลักษณะของบัตรสมาร์ทการ์ด คือ จะบรรจุข้อมูลหลายอย่างอยู่ในบัตรใบเดียว สามารถเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ได้ ทั้งฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูลสิทธิหลักประกันสุขภาพในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการทำบัตรอี-ซิติเซ่น เป็นโครงการแรกของกรมการปกครอง โดยในช่วงแรกนี้จะนำร่องทำในบางพื้นที่ก่อน เช่นในอำเภอเมืองหรือจังหวัดใหญ่ๆ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการดำเนินการ แต่ในปีนี้รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณดำเนินการโครงการนี้ไว้แล้วประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมประชาชนประมาณ 8-10 ล้านคนมีมอบหมายให้คณะกรรมการสนเทศแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ การ์ดที่จะนำมาทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ มีราคาตั้งแต่ 50-100 บาท ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการสารสนเทศแห่งชาติจะกำหนดขนาดความจุของข้อมูลขนาดใด ถ้าใช้ขนาด 100 บาท ประชากรไทยขณะนี้ประมาณ 60 กว่าล้านคน จะใช้เงินถึง 6,000 ล้านบาท
9.โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น BANGKOK FASHION CITY EXTRAVAGANZA 2004(15 กุมภาพันธ์ 2547) ใช้งบประมาณ ราว 1,800 ล้านบาทเมืองแฟชั่น BANGKOK FASHION CITY ปิดถนนสุขุมวิทเพื่อโชว์ขบวนแฟชั่นพาเหรดตั้งแต่สยามเซ็นเตอร์ถึงศูนย์สรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียม อวดสายตาชาวโลก วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547นี้ มีการจัดขบวนรถ เทลเลอร์ขนาดใหญ่ รถสปอตเปิดประทุน และรถ DRIVER SOUND ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา โดยมีความยาวกว่า 1.5กิโลเมตร รวมทั้งเสื้อผ้าแบรนด์เนมชั้นนำ ทั้ง LOCAL BRAND และ SUPER BRAND กว่า 60 ยี่ห้อ ด้วยกัน ในงานนี้มี SUPERMODELSดารา นางแบบ CELEBRITIES ชื่อดังกว่า 800 คน เสื้อผ้าที่ใช้ในงานครั้งนี้ ออกแบบโดยดีไซเนอร์คนไทย จำนวน 100 ชุด ค่าตัวนางแบบกว่า10 ล้านบาท และประชาสัมพันธ์ 15 ล้านบาท รวม 3 วัน คือวันที่ 12-15 ก.พ. นี้ใช้งบประมาณในส่วนนี้ทั้งสิ้น 70 ล้านบาท"งบประมาณของแผนกิจกรรมในส่วนของการส่งเสริมการเผาพลอยของโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ที่สถาบันวิจัย อัญมณีและเครื่องประดับกำลังจะเสนอรัฐบาลนั้นเป็นที่น่าสังเกตุว่างบประมาณที่จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 9 คน มูลค่า 132 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 18 เดือน โดย
10.โครงการครัวไทยสู่โลก (จัดตั้งบริษัทพันธมิตรอาหารไทยTRA) 1,000 ล้านบาทขณะที่โครงการครัวไทยสู่โลก ทาง สสว.ได้เข้าร่วมลงทุนตั้งบริษัททีอาร์เอขึ้นมา ซึ่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รมว.อุตสาหกรรม ตอนนั้นได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่าเพื่อส่งเสริมให้อาหารไทยได้รับความนิยมทั่วโลก มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท และแจ้งว่าจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นภายใน 5 ปี แต่ขณะนี้โครงการยังไม่คืบหน้า
11.ถนนบอนด์สตรีท (ถนนคนเมา) หายไป 40 ล้านบาทโครงการถนนคนเมาเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องปิดตัวเองลงภายในเวลาไม่ถึงขวบปี ซึ่งโครงการนี้แจ้งเกิดขึ้นภายใต้การผลักดันของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในสมัยที่นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตสุราพื้นบ้านของไทย โดยได้ตั้งเป้าไว้อย่างสวยหรูที่จะให้เป็นศูนย์จำหน่ายปลีกและส่งสุราพื้นบ้านจากทุกภาคทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งพบปะระหว่างผู้ผลิต กลุ่มผู้จำหน่ายและผู้บริโภค โดยตั้งอยู่ที่บริเวณอาคารเลควิวคอนโดมิเนียม ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี ซึ่งมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2546 แต่เมื่อมีการสับเปลี่ยนเจ้ากระทรวงอุตสาหกรรมมาเป็นนายพินิจ จารุสมบัติ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 ได้ประกาศล้มโครงการถนนคนเมาทันทีโดยไม่อนุญาตให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)ต่อสัญญาเช่าพื้นที่ถนนบอนด์สตรีทอีก โดยจะหมดอายุสัญญาเช่า 1 ปีในช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 นี้การล้มโครงการถนนคนเมาก่อให้เกิดความเสียหายเกือบ 40 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าพื้นที่ จำนวน 8 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรม โปรโมตต่างๆ อีก 30 กว่าล้านบาท
12. บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง (เออาร์ที) ล้มอีก 300 ล้านบาทบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือเออาร์ที ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2545 เพื่อจุดประสงค์ช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก/โชห่วยแบบลงลึกถึงรากหญ้า เพื่อแก้ปัญหายักษ์ค้าปลีกที่รุกคืบเข้ามาทำให้ค้าปลีกรากหญ้าแข่งขันไม่ได้ โครงการดังกล่าวผลักดันโดยนายเนวิน ชิดชอบ สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จนถึงขณะนี้ใช้เงินไปเกือบ 300 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถช่วยเหลือค้าปลีกรากหญ้าได้ล่าสุดเมื่อ 11กุมภาพันธุ์ 2547 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ผู้บริหาร บริษัทเออาร์ทีปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารงานใหม่ทั้งหมด เพราะการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และไม่ได้ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น หรือทำให้ประชาชนซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรม
13.อีลิตการ์ด"ละเลงเงิน 5,000 ล้านบาทในขณะที่โครงการ "อีลิตการ์ด" ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ การ์ด จำกัด เพื่อขายบัตรอีลิตการ์ดให้นักธุรกิจชั้นนำของโลกมาใช้บริการและท่องเทียวในเมืองไทยในราคาใบละ 1 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าทางผู้ประกอบการต่างๆ ที่เป็นเซอร์วิสโพรไวเดอร์เข้าร่วมโครงการน้อยมาก จึงทำให้บริษัทหาทางออกโดยตั้งบริษัทลูก "ทีพีซี พร็อพเพอร์ตี้แอนด์เซอร์วิส" ขึ้นมาทำโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการให้บริการแก่สมาชิกผู้ถือบัตร โดยขออนุมัติวงเงินจากรัฐบาล 5,000 ล้านบาท
14.ซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง แอร์บัส CJ 319 (แอร์ฟอร์ซวัน 1,117 ล้านบาท) มีการนำงบส่งเสริมศักยภาพฯประจำปี 2547ไปจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง หรือแอร์บัส CJ319โดยตามมติครม.วันที่ 18 พ.ย. 2546 อ้างวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารประเทศและอารักขาคณะรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญซึ่งมีความปลอดภัยสูงเป็นจำนวนเงิน1.117พันล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์ของงบกลาง ซึ่งความจริงเรื่องนี้มีผลตั้งแต่ครม.มีมติเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2546 ให้แลกเปลี่ยนเฮลิคอปเตอร์ซุปเปอร์พูม่า MK2 จำนวน2 ลำมูลค่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับเครื่องบินแอร์บัส CJ319 ราคา 51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่วนต่าง30 ล้านเหรียญครม.มีมติอนุมัติให้เป็นงบผูกพัน ปี46 จำนวน109ล้านบาท และปี47 จำนวน1.117พันล้านบาท
15.งบเดินทางกระทรวงต่างประเทศ 129 ล้านบาทในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2547กระทรวงการต่างประเทศตั้งงบเดินทางไว้มากถึง 129 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตกเดือนละ 10 กว่าล้าน ถือว่าสูงมาก ควรจะนำไปเพิ่มเป็นสวัสดิการให้ข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศมากกว่า
16.อบรมผู้ว่าซีอีโอ สิงหาคม2546 เสียเงินไป 30 ล้านบาทแค่อบรมผู้ว่าราชการจังหวัดให้เข้าใจแนวคิดของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรในเรื่องผู้ว่าแบบบูรณาการ หรือซีอีโอ มีการใช้งบประมาณในการอบรมไปราว 30 ล้านบาท ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการใช้งบประมาณที่มากเกินไปแต่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย บอกว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพบุคลากร ไม่ควรมองเรื่องงบเพียงด้านเดียว เพราะอาจรู้สึกว่ามากแต่อยากให้มองในระยะยาว เพราะผู้ว่าฯ ต้องนำงบจากส่วนกลางหลายแสนล้านไปบริหารงาน เมื่อเปรียบเทียบกับงบที่เสียไปกับการอบรม 20-30 ล้านบาท เพื่อเติมศักยภาพการบริหารให้กับผู้ว่าฯ เป็นเรื่องที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-