แท็ก
โยกย้าย
โดย วินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา
ได้เปิดแถลงอภิปรายนอกสภาว่า นโยบาย เอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง และมีการดำเนินการ 2 มาตรฐาน โดยมีการแบ่งแยกแล้วปกครอง ทั้งภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชน ภาคราชการ
1.ไม่มีความเป็นธรรมในการโยกย้ายแต่งตั้ง สร้างระบบใหม่ ใครไม่ใช่พวก ไม่ได้รับการพิจารณา
2. ล้วงลูกสร้างนิสัยให้ประจบสอพลอถึงจะได้ดี
3.สับเปลี่ยนเพื่อไปทำงานในสิ่งที่ต้องการ โดยเฉพาะ กรม กองที่สำคัญ ทนไม่ได้ก็ลาออกไป สั่งไม่ได้ไม่ทำตาม ก็โยกย้ายไปที่อื่นเสีย
4.ข้าราชการที่ดีๆลาออกไปเป็นจำนวนมาก เช่นปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี
5. ไม่มียุคสมัยใดที่ข้าราชการดีๆ ระดับสูงๆ จะลาออกมากเท่าสมัยรัฐบาลนี้ (ไม้ใช่ตามนโยบาย)
ภาคเอกชน ไม่เคยนึกว่าในระบบธุรกิจแบบเสรีนิยมที่มีการแข่งขันกันอย่างเสรีจะได้รับผลกระทบในการทำธุรกิจจากนโยบาย ทั้งทางตรง และทางอ้อม จากการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันในอดีต ธุรกิจอิงการเมือง อิงธุรกิจก็จริงแต่เขาเหล่านั้นทำมาหากินค้าขายแข่งขันอย่างเสรี มีความสบายใจ เพราะมีความเป็นธรรมแต่ในยุคดิจิตอลนายกทักษิณ รัฐบาลชุดนี้ บริหารแบบตาชำเลืองให้ผู้ประกอบการกลัวและตกใจ ต้องสนใจและเข้าหานายก อีกทั้งธุรกิจใดทำตัวแข่งขันอย่างเสรี ธุรกิจนั้น ตามไม่ทันคนอื่นและถูกกลั่นแกล้ง เอาเปรียบในรูปแบบต่างๆไม่ว่าทางภาษี หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาการแบ่งแยกและปกครอง สร้างนิสัยใครดีใครอยู่ นักธุรกิจทั้งหลายต้องให้ความสำคัญกับตัวบุคคล หรือนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ ต้องร่วมมือสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ มิเช่นนั้นอาจไม่ได้อะไรเลย ต้องทำตัวใกล้ชิดหรือเปลี่ยนสี ดังนั้นเมื่อทุกคนพุ่งเข้าหานายกฯโดยตรง ก็จะไม่ถูกกลั่นแกล้ง ไม่ใช่พวกพ้องและดำเนินการ 2 มาตรฐาน
1. กรณีธนาคารมหานคร ผู้บริหารได้กระทำความผิดตั้งแต่ พ.ศ.2538 — 2540
2. สร้างความเสียหายประมาณ 4,000ล้านบาท
3. ธปท. ได้ยื่นคำร้องทุกข์ กล่าวโทษผู้บริหาร และได้ดำเนินการตามกฎหมายเรื่อยมา
4. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ธปท.ได้มอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้พนักงานสอบสวน
5. 19 ก.พ.47 ปปง.ได้บุกค้นบ้านพักของอดีตผู้บริหารและญาติยึดทรัพย์ได้ประมาณ 150 ล้านบาท ที่กล่าวมานี้คือกรณีไม่ใช่พวกส่วนกรณีไม่ใช่พวกพ้อง อีกกรณีหนึ่งคือ
1. กรณีอดีตกรรมการผู้จัดการ บงล. ซิทก้า (จำกัด) ข้อหาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งความดำเนินคดี ข้อหากู้ยืมเงินหรือรับซื้อตั๋วแลกเงินโดยไม่มีอำนาจ และไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ อีกทั้งให้ยืมเงินโดยอ้อมโดยออกหนังสือรับประกันต่อธนาคารให้แก่บริษัทในเครือ โดยไม่วิเคราะห์ทางการเงิน บริษัทเสียหาย 415 ล้านบาท
2. เมื่อ 4 ส.ค. 2542 พนักงานสอบสวนกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ(สศก.)ได้สอบสวนเสร็จ อดีตกรรมการผู้จัดการผู้นั้นหลบหนี
3. เมื่อ10ธ.ค.46ชุดเฉพาะกิจตามจับกุมได้หลังจากนั้นวันที่11ธ.ค.46ได้ถูกส่งตัวไปให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจวันที่21พ.ค.47คดีสืบสวนพยานดำเนินคดีตามข้อกล่าวหา มาตรฐานที่ 2 ถ้าเป็นพวกพ้องจะได้ประโยชน์ เราคงเคยได้ยินข่าวมาบ้างแล้ว ผมขอยกตังอย่างว่า เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นประธานกรรมการในบริษัทแห่งหนึ่ง คนเดียวมีหนี้ 11,000ล้านบาท ถ้ารวมดอกเบี้ย + เงินต้น =14,000 ล้านบาท แต่ได้รับการประนอมหนี้เหลือ 2,500 ล้านบาท โดยให้ผ่อนชำระ 10 ปี 3 ปีแรกไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถ้าคิดละเอียดเท่ากับกู้ 100 บาท จ่ายคืน 16.50 บาท เขาชื่อนายประยุทธ มหากิจศิริ ตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยมาตรฐาน 2 ตัวอย่างที่ 2 ในหลายๆตัวอย่าง
1. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ธปท.ได้ร้องทุกข์ กล่าวโทษว่าผู้บริหารเงินทุนแห่งหนึ่ง(หลังจากได้รับการปลดปล่อยให้ลอยนวลมานาน) ได้ร่วมกระทำความผิด โดยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ จำนวน 10 บริษัท เป็นเงิน 4,360 ล้านบาทเศษ โดยไม่วิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ เหตุเกิดเมื่อ มีนาคม — กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทนั้นถูกปิดกิจการลงเมื่อกรกฎาคม 2543 อดีต ผกก.
2. กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ(สศก.) ซึ่งรับผิดชอบคดีสถาบันการเงินเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มั่นใจว่าสิ้นปี 2543 จะสามารถสรุปสำนวน ส่งอัยการได้หมด ซึ่งมี บริษัทดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ธันวาคม 2546 (ล่วงเลยมา 3 ปีเศษ — รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อ ก.พ. 44 ) พล.ต.ท. วงกต มณีรินทร์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้เปิดเผยว่าคดีบริษัทดังกล่าวยังอยู่ที่พนักงานอัยการและยังได้เปิดเผยต่อไปว่าได้ส่งไปให้อัยการแล้วประมาณ 10 คดี 11 มี.ค. 47 ได้รับการเปิดเผยจากผู้ว่าการ ธปท. ว่าได้ส่งข้อมูลไปให้ จนท. ตำรวจหมดแล้ว หลังจากนั้นจะเป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย เรื่องของบริษัทนี้เหมือนกับนับถอยหลังไปนับ 1 ใหม่ บริษัทนี้ชื่อว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร จำกัด (มหาชน) มีนายณรงค์ ปัทมะเสวี เป็นกรรมการผู้จัดการเหตุที่เป็นมาตรฐานที่ 2 คดีชักช้ามา 5 ปี 2 เดือน เพราะนายณรงค์ ปัทมะเสวี เป็น 1 ในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย คลานไม่ถึงไหน ใครเอื้อประโยชน์กับพวกพ้องและใครดำเนินการ 2 มาตรฐาน วันนี้ได้เห็น ผลงาน นโยบาย รูปร่าง หน้าตา ธาตุแท้ของรัฐบาลที่แท้จริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ได้เปิดแถลงอภิปรายนอกสภาว่า นโยบาย เอื้อประโยชน์กับพวกพ้อง และมีการดำเนินการ 2 มาตรฐาน โดยมีการแบ่งแยกแล้วปกครอง ทั้งภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชน ภาคราชการ
1.ไม่มีความเป็นธรรมในการโยกย้ายแต่งตั้ง สร้างระบบใหม่ ใครไม่ใช่พวก ไม่ได้รับการพิจารณา
2. ล้วงลูกสร้างนิสัยให้ประจบสอพลอถึงจะได้ดี
3.สับเปลี่ยนเพื่อไปทำงานในสิ่งที่ต้องการ โดยเฉพาะ กรม กองที่สำคัญ ทนไม่ได้ก็ลาออกไป สั่งไม่ได้ไม่ทำตาม ก็โยกย้ายไปที่อื่นเสีย
4.ข้าราชการที่ดีๆลาออกไปเป็นจำนวนมาก เช่นปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี
5. ไม่มียุคสมัยใดที่ข้าราชการดีๆ ระดับสูงๆ จะลาออกมากเท่าสมัยรัฐบาลนี้ (ไม้ใช่ตามนโยบาย)
ภาคเอกชน ไม่เคยนึกว่าในระบบธุรกิจแบบเสรีนิยมที่มีการแข่งขันกันอย่างเสรีจะได้รับผลกระทบในการทำธุรกิจจากนโยบาย ทั้งทางตรง และทางอ้อม จากการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันในอดีต ธุรกิจอิงการเมือง อิงธุรกิจก็จริงแต่เขาเหล่านั้นทำมาหากินค้าขายแข่งขันอย่างเสรี มีความสบายใจ เพราะมีความเป็นธรรมแต่ในยุคดิจิตอลนายกทักษิณ รัฐบาลชุดนี้ บริหารแบบตาชำเลืองให้ผู้ประกอบการกลัวและตกใจ ต้องสนใจและเข้าหานายก อีกทั้งธุรกิจใดทำตัวแข่งขันอย่างเสรี ธุรกิจนั้น ตามไม่ทันคนอื่นและถูกกลั่นแกล้ง เอาเปรียบในรูปแบบต่างๆไม่ว่าทางภาษี หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาการแบ่งแยกและปกครอง สร้างนิสัยใครดีใครอยู่ นักธุรกิจทั้งหลายต้องให้ความสำคัญกับตัวบุคคล หรือนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ ต้องร่วมมือสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ มิเช่นนั้นอาจไม่ได้อะไรเลย ต้องทำตัวใกล้ชิดหรือเปลี่ยนสี ดังนั้นเมื่อทุกคนพุ่งเข้าหานายกฯโดยตรง ก็จะไม่ถูกกลั่นแกล้ง ไม่ใช่พวกพ้องและดำเนินการ 2 มาตรฐาน
1. กรณีธนาคารมหานคร ผู้บริหารได้กระทำความผิดตั้งแต่ พ.ศ.2538 — 2540
2. สร้างความเสียหายประมาณ 4,000ล้านบาท
3. ธปท. ได้ยื่นคำร้องทุกข์ กล่าวโทษผู้บริหาร และได้ดำเนินการตามกฎหมายเรื่อยมา
4. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 ธปท.ได้มอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้พนักงานสอบสวน
5. 19 ก.พ.47 ปปง.ได้บุกค้นบ้านพักของอดีตผู้บริหารและญาติยึดทรัพย์ได้ประมาณ 150 ล้านบาท ที่กล่าวมานี้คือกรณีไม่ใช่พวกส่วนกรณีไม่ใช่พวกพ้อง อีกกรณีหนึ่งคือ
1. กรณีอดีตกรรมการผู้จัดการ บงล. ซิทก้า (จำกัด) ข้อหาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งความดำเนินคดี ข้อหากู้ยืมเงินหรือรับซื้อตั๋วแลกเงินโดยไม่มีอำนาจ และไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ อีกทั้งให้ยืมเงินโดยอ้อมโดยออกหนังสือรับประกันต่อธนาคารให้แก่บริษัทในเครือ โดยไม่วิเคราะห์ทางการเงิน บริษัทเสียหาย 415 ล้านบาท
2. เมื่อ 4 ส.ค. 2542 พนักงานสอบสวนกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ(สศก.)ได้สอบสวนเสร็จ อดีตกรรมการผู้จัดการผู้นั้นหลบหนี
3. เมื่อ10ธ.ค.46ชุดเฉพาะกิจตามจับกุมได้หลังจากนั้นวันที่11ธ.ค.46ได้ถูกส่งตัวไปให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจวันที่21พ.ค.47คดีสืบสวนพยานดำเนินคดีตามข้อกล่าวหา มาตรฐานที่ 2 ถ้าเป็นพวกพ้องจะได้ประโยชน์ เราคงเคยได้ยินข่าวมาบ้างแล้ว ผมขอยกตังอย่างว่า เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นประธานกรรมการในบริษัทแห่งหนึ่ง คนเดียวมีหนี้ 11,000ล้านบาท ถ้ารวมดอกเบี้ย + เงินต้น =14,000 ล้านบาท แต่ได้รับการประนอมหนี้เหลือ 2,500 ล้านบาท โดยให้ผ่อนชำระ 10 ปี 3 ปีแรกไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถ้าคิดละเอียดเท่ากับกู้ 100 บาท จ่ายคืน 16.50 บาท เขาชื่อนายประยุทธ มหากิจศิริ ตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยมาตรฐาน 2 ตัวอย่างที่ 2 ในหลายๆตัวอย่าง
1. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ธปท.ได้ร้องทุกข์ กล่าวโทษว่าผู้บริหารเงินทุนแห่งหนึ่ง(หลังจากได้รับการปลดปล่อยให้ลอยนวลมานาน) ได้ร่วมกระทำความผิด โดยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ จำนวน 10 บริษัท เป็นเงิน 4,360 ล้านบาทเศษ โดยไม่วิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ เหตุเกิดเมื่อ มีนาคม — กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทนั้นถูกปิดกิจการลงเมื่อกรกฎาคม 2543 อดีต ผกก.
2. กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ(สศก.) ซึ่งรับผิดชอบคดีสถาบันการเงินเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มั่นใจว่าสิ้นปี 2543 จะสามารถสรุปสำนวน ส่งอัยการได้หมด ซึ่งมี บริษัทดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ธันวาคม 2546 (ล่วงเลยมา 3 ปีเศษ — รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อ ก.พ. 44 ) พล.ต.ท. วงกต มณีรินทร์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้เปิดเผยว่าคดีบริษัทดังกล่าวยังอยู่ที่พนักงานอัยการและยังได้เปิดเผยต่อไปว่าได้ส่งไปให้อัยการแล้วประมาณ 10 คดี 11 มี.ค. 47 ได้รับการเปิดเผยจากผู้ว่าการ ธปท. ว่าได้ส่งข้อมูลไปให้ จนท. ตำรวจหมดแล้ว หลังจากนั้นจะเป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย เรื่องของบริษัทนี้เหมือนกับนับถอยหลังไปนับ 1 ใหม่ บริษัทนี้ชื่อว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร จำกัด (มหาชน) มีนายณรงค์ ปัทมะเสวี เป็นกรรมการผู้จัดการเหตุที่เป็นมาตรฐานที่ 2 คดีชักช้ามา 5 ปี 2 เดือน เพราะนายณรงค์ ปัทมะเสวี เป็น 1 ในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย คลานไม่ถึงไหน ใครเอื้อประโยชน์กับพวกพ้องและใครดำเนินการ 2 มาตรฐาน วันนี้ได้เห็น ผลงาน นโยบาย รูปร่าง หน้าตา ธาตุแท้ของรัฐบาลที่แท้จริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-