กรุงเทพ--27 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2547 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการเยือนฝรั่งเศสครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าจากผลการเยือนฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 ซึ่งการเยือนดังกล่าวเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) โดยฝรั่งเศสจะยกระดับสถานะและความสำคัญของไทยในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฝรั่งเศสในฐานะประเทศสำคัญในลำดับต้นของสหภาพยุโรปให้มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในสาขาความร่วมมือต่างๆ โดยทั้งสองประเทศได้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Action Plan) สำหรับเป็นแผนงานกำหนดกิจกรรมความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
2. ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ นอกจากจะได้มีหารือกับนาย Mr. Michel Barnier รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันและร่วมลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมด้วยแล้ว ยังได้มีโอกาสพบหารือกับนาย Xavier Darcos รัฐมนตรีดูแลงานด้านความร่วมมือการพัฒนาและประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส และนาย Donald Johnston เลขาธิการ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) อีกด้วย
3. แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Action Plan) จะเป็นกรอบการดำเนินการในระยะ 5 ปี (คศ.2004 | 2008) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศสทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและระหว่างประเทศทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและวิชาการ ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศ และคณะกรรมการร่วมไทย- ฝรั่งเศส (Thai-French Cooperation Committee) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกวางแผนงานและติดตามผลของความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ การค้า ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษา สภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศส เทคโนโลยีอวกาศ การบินพลเรือนและการรถไฟ เป็นต้น คณะกรรมการดังกล่าวจะมี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทยและฝรั่งเศส เป็นประธานโดยมีกรรมการจากภาครัฐและภาคเอกชนสองประเทศและจะมีการหารือทุกๆ ปี
4. การหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศ นายMichel Barnier มีประเด็นสำคัญดังนี้
- ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงลู่ทางต่างๆที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันในมิติต่างๆ ของความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ให้ความสำคัญกับบทบาทที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ฝรั่งเศสได้แจ้งด้วยว่า ประธานาธิบดีชีรัค ตอบรับที่จะเดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี 2548
- ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะขยายความร่วมมือโดยโทยจะเป็นGateway ให้กับฝรั่งเศส ในการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุนกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียโดยรวม ส่วนฝรั่งเศสก็จะเป็น Gateway ให้กับประเทศไทยในการเข้าสู่ตลาดEU และ ยุโรปโดยรวม
-ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยภายใต้กรอบ ACMECS โดยเฉพาะฝรั่งเศสสนใจโครงการรถไฟในลาวที่ไทยให้ความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในแอฟริกา ซึ่งในอดีตเคยเป็นอาณานิคมและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
- ฝรั่งเศสได้สอบถามทัศนะไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะพม่า และเห็นความสำคัญของบทบาทไทยภายใต้ Bangkok Process และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนต่อไปเพื่อให้กระบวนการปรองดองในพม่ามีผลคืบหน้าต่อไป
- ในส่วนของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซม ฝรั่งเศสเห็นด้วยกับท่าทีไทยว่า อาเซมเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างไทยและยุโรปและควรมีการผลักดันให้เวทีอาเซมเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยมิควรให้ประเด็นเรื่องพม่าเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือของสองภูมิภาค
- ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการวัฒนธรรม โดยขณะนี้ ฝรั่งเศสได้จัดสัปดาห์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ ขณะที่ไทยจะจัดสัปดาห์ฝรั่งเศสที่กรุงปารีสในปีหน้า
- ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์อิรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมติสหประชาชาติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ และจะมีการหารือในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
5. ในระหว่างการพบหารือกับ Mr. Xavier Darcos รัฐมนตรีดูแลงานด้านความร่วมมือ การพัฒนาและประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส นั้น ฝรั่งเศสแสดงความชื่นชมบทบาทไทยที่เปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ ฝรั่งเศสแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในโครงการต่างๆ ของไทยภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและ ACMECS เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งฝรั่งเศสมีความผูกพันในอดีตและมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดด้วยอยู่แล้ว
นอกจากนี้ โดยที่ขณะนี้ไทยมีนโยบายการส่งเสริมความสัมพันธ์กับแอฟริกา ซึ่งหลายประเทศในแอฟริกามองไทยว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีเศรษฐกิจ พอเพียงและโครงการปลูกพืชทดแทน เป็นต้น ฝรั่งเศสในฐานะที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับประเทศในแอฟริกาทั้งในช่วงอาณานิคม และปัจจุบันได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย ในการให้ความช่วยเหลือแก่แอฟริกา โดยทั้งสองประเทศจะจัดตั้งคณะทำงานร่วม 2 ฝ่ายจาก กรมวิเทศสหการของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝรั่งเศส
นอกจากนี้ นาย Darcos ยังได้แสดงความสนใจที่จะขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน โดยฝ่ายฝรั่งเศสจะได้จัดเทศกาลวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในประเทศไทยซึ่งจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า จนถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนฝ่ายไทยก็มีโครงการที่จะจัดเทศกาลประเทศไทยในฝรั่งเศสในปีหน้า นอกจากนี้ ทางรัฐบาลไทยก็มีโครงการที่จะส่งเด็กนักเรียนจากต่างจังหวัดของไทยไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในฝรั่งเศสเป็นจำนวน 165 คน
ในโอกาสเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ทาบทาม ฝ่ายฝรั่งเศสในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันอิสลามศึกษาในประเทศไทยด้วย
6. สำหรับการพบหารือนาย Donald Johnston เลขาธิการ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) นั้น มีผลหารือที่สำคัญ ดังนี้
6.1 เป็นการติดตามผลที่นายกรัฐมนตรีได้ไปเยือนและหารือกับ OECD ในปีที่แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและ OECD ให้มากขึ้น เพื่อก้าวสู่เป้าหมายในระยะยาวที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกของ OECD
6.2 ทั้งสองฝ่ายได้หารือขั้นตอนที่จะพัฒนาความร่วมมือเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.) การเป็นผู้สังเกตการณ์ของไทยในคณะกรรมการด้านการเกษตรของ
OECD
2.) การที่ไทยจะเป็นศูนย์รวมข้อมูลของ OECD ซึ่งจะจัดตั้งที่ วนอุทยานแห่งความรู้ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
3.) การที่ไทยจะเป็นศูนย์กิจกรรมของ OECD ในภูมิภาค ทั้งนี้
OECD ได้เน้นย้ำว่าไทยคือศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเอื้อต่อการจัดการประชุมและกิจกรรม
ต่างๆ ของ OECD
4.) การที่ไทยจะเป็นสมาชิกของศูนย์ OECED Development Center ซึ่งเป็นเวที สำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการประชุมหารือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา
ในการพบปะกับเลขาธิการ OECD รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ถือโอกาสนี้ สรุปให้ OECD ได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายไทยในการให้ความ ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่เพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะภายใต้กรอบ ACMECS และ ACD รวมทั้งได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการที่สำคัญต่างๆ อาทิ OTOP และการพัฒนา SMEs ซึ่งทางเลขาธิการ OECD ได้แสดงความชื่นชมบทบาทดังกล่าวของไทย และเห็นว่า จากบทบาทและประสบการณ์ของไทยดังกล่าว น่าจะมีลู่ทางหลายๆด้านที่จะขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD อันเป็นการที่ไทยจะก้าวสู่ความเป็นสมาชิก OECD ต่อไปในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2547 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการเยือนฝรั่งเศสครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าจากผลการเยือนฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 ซึ่งการเยือนดังกล่าวเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) โดยฝรั่งเศสจะยกระดับสถานะและความสำคัญของไทยในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฝรั่งเศสในฐานะประเทศสำคัญในลำดับต้นของสหภาพยุโรปให้มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในสาขาความร่วมมือต่างๆ โดยทั้งสองประเทศได้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Action Plan) สำหรับเป็นแผนงานกำหนดกิจกรรมความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
2. ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ นอกจากจะได้มีหารือกับนาย Mr. Michel Barnier รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันและร่วมลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมด้วยแล้ว ยังได้มีโอกาสพบหารือกับนาย Xavier Darcos รัฐมนตรีดูแลงานด้านความร่วมมือการพัฒนาและประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส และนาย Donald Johnston เลขาธิการ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) อีกด้วย
3. แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Action Plan) จะเป็นกรอบการดำเนินการในระยะ 5 ปี (คศ.2004 | 2008) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศสทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและระหว่างประเทศทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและวิชาการ ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศ และคณะกรรมการร่วมไทย- ฝรั่งเศส (Thai-French Cooperation Committee) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกวางแผนงานและติดตามผลของความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ การค้า ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษา สภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศส เทคโนโลยีอวกาศ การบินพลเรือนและการรถไฟ เป็นต้น คณะกรรมการดังกล่าวจะมี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทยและฝรั่งเศส เป็นประธานโดยมีกรรมการจากภาครัฐและภาคเอกชนสองประเทศและจะมีการหารือทุกๆ ปี
4. การหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศ นายMichel Barnier มีประเด็นสำคัญดังนี้
- ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงลู่ทางต่างๆที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันในมิติต่างๆ ของความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ให้ความสำคัญกับบทบาทที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ฝรั่งเศสได้แจ้งด้วยว่า ประธานาธิบดีชีรัค ตอบรับที่จะเดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี 2548
- ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะขยายความร่วมมือโดยโทยจะเป็นGateway ให้กับฝรั่งเศส ในการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุนกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียโดยรวม ส่วนฝรั่งเศสก็จะเป็น Gateway ให้กับประเทศไทยในการเข้าสู่ตลาดEU และ ยุโรปโดยรวม
-ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยภายใต้กรอบ ACMECS โดยเฉพาะฝรั่งเศสสนใจโครงการรถไฟในลาวที่ไทยให้ความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในแอฟริกา ซึ่งในอดีตเคยเป็นอาณานิคมและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
- ฝรั่งเศสได้สอบถามทัศนะไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะพม่า และเห็นความสำคัญของบทบาทไทยภายใต้ Bangkok Process และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนต่อไปเพื่อให้กระบวนการปรองดองในพม่ามีผลคืบหน้าต่อไป
- ในส่วนของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซม ฝรั่งเศสเห็นด้วยกับท่าทีไทยว่า อาเซมเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างไทยและยุโรปและควรมีการผลักดันให้เวทีอาเซมเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยมิควรให้ประเด็นเรื่องพม่าเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือของสองภูมิภาค
- ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการวัฒนธรรม โดยขณะนี้ ฝรั่งเศสได้จัดสัปดาห์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ ขณะที่ไทยจะจัดสัปดาห์ฝรั่งเศสที่กรุงปารีสในปีหน้า
- ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์อิรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมติสหประชาชาติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ และจะมีการหารือในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
5. ในระหว่างการพบหารือกับ Mr. Xavier Darcos รัฐมนตรีดูแลงานด้านความร่วมมือ การพัฒนาและประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส นั้น ฝรั่งเศสแสดงความชื่นชมบทบาทไทยที่เปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ ฝรั่งเศสแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในโครงการต่างๆ ของไทยภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและ ACMECS เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งฝรั่งเศสมีความผูกพันในอดีตและมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดด้วยอยู่แล้ว
นอกจากนี้ โดยที่ขณะนี้ไทยมีนโยบายการส่งเสริมความสัมพันธ์กับแอฟริกา ซึ่งหลายประเทศในแอฟริกามองไทยว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีเศรษฐกิจ พอเพียงและโครงการปลูกพืชทดแทน เป็นต้น ฝรั่งเศสในฐานะที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับประเทศในแอฟริกาทั้งในช่วงอาณานิคม และปัจจุบันได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทย ในการให้ความช่วยเหลือแก่แอฟริกา โดยทั้งสองประเทศจะจัดตั้งคณะทำงานร่วม 2 ฝ่ายจาก กรมวิเทศสหการของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝรั่งเศส
นอกจากนี้ นาย Darcos ยังได้แสดงความสนใจที่จะขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน โดยฝ่ายฝรั่งเศสจะได้จัดเทศกาลวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในประเทศไทยซึ่งจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า จนถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนฝ่ายไทยก็มีโครงการที่จะจัดเทศกาลประเทศไทยในฝรั่งเศสในปีหน้า นอกจากนี้ ทางรัฐบาลไทยก็มีโครงการที่จะส่งเด็กนักเรียนจากต่างจังหวัดของไทยไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในฝรั่งเศสเป็นจำนวน 165 คน
ในโอกาสเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ทาบทาม ฝ่ายฝรั่งเศสในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันอิสลามศึกษาในประเทศไทยด้วย
6. สำหรับการพบหารือนาย Donald Johnston เลขาธิการ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) นั้น มีผลหารือที่สำคัญ ดังนี้
6.1 เป็นการติดตามผลที่นายกรัฐมนตรีได้ไปเยือนและหารือกับ OECD ในปีที่แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและ OECD ให้มากขึ้น เพื่อก้าวสู่เป้าหมายในระยะยาวที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกของ OECD
6.2 ทั้งสองฝ่ายได้หารือขั้นตอนที่จะพัฒนาความร่วมมือเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.) การเป็นผู้สังเกตการณ์ของไทยในคณะกรรมการด้านการเกษตรของ
OECD
2.) การที่ไทยจะเป็นศูนย์รวมข้อมูลของ OECD ซึ่งจะจัดตั้งที่ วนอุทยานแห่งความรู้ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
3.) การที่ไทยจะเป็นศูนย์กิจกรรมของ OECD ในภูมิภาค ทั้งนี้
OECD ได้เน้นย้ำว่าไทยคือศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเอื้อต่อการจัดการประชุมและกิจกรรม
ต่างๆ ของ OECD
4.) การที่ไทยจะเป็นสมาชิกของศูนย์ OECED Development Center ซึ่งเป็นเวที สำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการประชุมหารือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา
ในการพบปะกับเลขาธิการ OECD รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ถือโอกาสนี้ สรุปให้ OECD ได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายไทยในการให้ความ ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่เพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะภายใต้กรอบ ACMECS และ ACD รวมทั้งได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการที่สำคัญต่างๆ อาทิ OTOP และการพัฒนา SMEs ซึ่งทางเลขาธิการ OECD ได้แสดงความชื่นชมบทบาทดังกล่าวของไทย และเห็นว่า จากบทบาทและประสบการณ์ของไทยดังกล่าว น่าจะมีลู่ทางหลายๆด้านที่จะขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD อันเป็นการที่ไทยจะก้าวสู่ความเป็นสมาชิก OECD ต่อไปในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-