กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดโพรเจกต์ยักษ์ดัน “OTOP-SME-BOI: Made in Thailand”เป็นเวทีจุดประกายความคิด สร้างฝันให้เป็นจริง สำหรับผู้เข้าชมคิดมีธุรกิจส่วนตัว เปิดห้องสัมมนากว่า 104 หลักสูตร จัดคลินิกปรึกษาแบบครบวงจร ทั้งปล่อยสินเชื่อและ เอื้อเฟื้อสถานที่ลงทุน หวังปลุกปั้นเถ้าแก่ใหม่ รับกระแสการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า งาน“OTOP-SME-BOI:Made in Thailand”ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11 -20 มิถุนายน 2547 ณ อาคาร 9-10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมความพร้อมไว้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว และคาดว่าเป้าหมายในการจัดงานปีนี้ จะสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย เนื่องจาก กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ โดยได้มีการเปิดหลักสูตรของทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันแล้วกว่า 104 หลักสูตร ตลอดจน การเปิดคลินิกให้คำปรึกษา และบริการปล่อยเงินกู้ด่วน ซึ่งล้วนแต่เอื้อประโยชน์ต่อผู้เข้าชม อันจะช่วยจุดประกายความคิดแก่คนที่สนใจประกอบธุรกิจ รวมถึง สร้างโอกาสการลงทุนให้เป็นไปได้ง่ายขึ้น
“ความสำเร็จที่ผู้ชมจะได้รับจากการจัดงานครั้งนี้ ต้องมากกว่าการจัดแสดงสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือการนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อพัฒนากิจการของตนเองเท่านั้น เนื่องจาก เวทีแห่งนี้ เปิดไว้สำหรับผู้เข้าชมทั่วไปที่ต้องการค้นหาคำตอบให้กับตัวเอง หรือ หาลู่ทางในการทำธุรกิจ เชื่อว่า “OTOP-SME-BOI:Made in Thailand” จะเป็นหนึ่งโอกาสสู่ความสำเร็จสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองจริงๆ” นายดำริกล่าว
สำหรับการจัดงานดังกล่าว นับเป็นรูปแบบการจัดงานที่สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานอย่างครบวงจร ทั้งในด้านการชมสินค้าที่นำมาจัดบูธ เพื่อจัดแสดงศักยภาพการผลิตสินค้าไทยและจัดจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ การให้ความรู้ทางวิชาการ การปูทางสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ และที่สำคัญ ยังมีส่วนสนับสนุนด้านเงินทุน โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และพื้นที่ประกอบการ ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรร โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เพื่อเปิดโอกาสประชาชนได้มีโอกาสสร้างธุรกิจของตนเองได้ง่ายขึ้น
นายดำริกล่าวว่า ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากกระแสนิยมการเปิดเสรีทางการค้า และข้อกีดกันทางการค้า ทำให้เกิดผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการผลิต การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว และช่วงชิงโอกาส หาข้อได้เปรียบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับการเวทีการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการในงาน OTOP-SME-BOI:Made in Thailand สศอ.ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “Benchmarking อุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้อย่างยั่งยืน” ในสาขารองเท้าและเครื่องหนัง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิกและแก้ว ขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มิ.ย. 47 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี โดยการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
“Benchmarking จะเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งต่างๆที่เป็นจุดอ่อนของแต่ละโรงงานได้ พร้อมๆกับสามารถเปรียบเทียบระดับความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการรู้ถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของแต่ละอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศคู่เปรียบเทียบ” นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ สศอ.ได้จัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในลักษณะของ Competitive Benchmarking จำนวน 14 สาขาอุตสาหกรรม ซึ่งดำเนินงานแล้วเสร็จไปแล้วจำนวน 8 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง ไม้และเครื่องเรือน และเซรามิกและแก้ว สำหรับ Benchmarking เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงองค์กรอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในขณะนี้ เนื่องจาก Benchmarking คือ ตัวก่อให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด (Breakthrough Improvement) ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมืออื่น โดยใช้เวลาน้อยลงในการพัฒนาขีดความสามารถ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า งาน“OTOP-SME-BOI:Made in Thailand”ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11 -20 มิถุนายน 2547 ณ อาคาร 9-10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมความพร้อมไว้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว และคาดว่าเป้าหมายในการจัดงานปีนี้ จะสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย เนื่องจาก กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการ โดยได้มีการเปิดหลักสูตรของทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันแล้วกว่า 104 หลักสูตร ตลอดจน การเปิดคลินิกให้คำปรึกษา และบริการปล่อยเงินกู้ด่วน ซึ่งล้วนแต่เอื้อประโยชน์ต่อผู้เข้าชม อันจะช่วยจุดประกายความคิดแก่คนที่สนใจประกอบธุรกิจ รวมถึง สร้างโอกาสการลงทุนให้เป็นไปได้ง่ายขึ้น
“ความสำเร็จที่ผู้ชมจะได้รับจากการจัดงานครั้งนี้ ต้องมากกว่าการจัดแสดงสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือการนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อพัฒนากิจการของตนเองเท่านั้น เนื่องจาก เวทีแห่งนี้ เปิดไว้สำหรับผู้เข้าชมทั่วไปที่ต้องการค้นหาคำตอบให้กับตัวเอง หรือ หาลู่ทางในการทำธุรกิจ เชื่อว่า “OTOP-SME-BOI:Made in Thailand” จะเป็นหนึ่งโอกาสสู่ความสำเร็จสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองจริงๆ” นายดำริกล่าว
สำหรับการจัดงานดังกล่าว นับเป็นรูปแบบการจัดงานที่สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานอย่างครบวงจร ทั้งในด้านการชมสินค้าที่นำมาจัดบูธ เพื่อจัดแสดงศักยภาพการผลิตสินค้าไทยและจัดจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ การให้ความรู้ทางวิชาการ การปูทางสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ และที่สำคัญ ยังมีส่วนสนับสนุนด้านเงินทุน โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และพื้นที่ประกอบการ ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรร โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เพื่อเปิดโอกาสประชาชนได้มีโอกาสสร้างธุรกิจของตนเองได้ง่ายขึ้น
นายดำริกล่าวว่า ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากกระแสนิยมการเปิดเสรีทางการค้า และข้อกีดกันทางการค้า ทำให้เกิดผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการผลิต การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว และช่วงชิงโอกาส หาข้อได้เปรียบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับการเวทีการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการในงาน OTOP-SME-BOI:Made in Thailand สศอ.ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “Benchmarking อุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้อย่างยั่งยืน” ในสาขารองเท้าและเครื่องหนัง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิกและแก้ว ขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มิ.ย. 47 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี โดยการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
“Benchmarking จะเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งต่างๆที่เป็นจุดอ่อนของแต่ละโรงงานได้ พร้อมๆกับสามารถเปรียบเทียบระดับความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการรู้ถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของแต่ละอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศคู่เปรียบเทียบ” นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ สศอ.ได้จัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในลักษณะของ Competitive Benchmarking จำนวน 14 สาขาอุตสาหกรรม ซึ่งดำเนินงานแล้วเสร็จไปแล้วจำนวน 8 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง ไม้และเครื่องเรือน และเซรามิกและแก้ว สำหรับ Benchmarking เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงองค์กรอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในขณะนี้ เนื่องจาก Benchmarking คือ ตัวก่อให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด (Breakthrough Improvement) ที่รวดเร็วกว่าเครื่องมืออื่น โดยใช้เวลาน้อยลงในการพัฒนาขีดความสามารถ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-