กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ลุยพบ “พินิจ” หาข้อสรุปโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ก่อนนำเสนอ ครม. หวังผลักดันสู่ความเป็นศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงของเอเซีย เน้นพัฒนาการเชื่อมโยงทั้งระบบต้นน้ำถึงปลายน้ำ คาดหากโครงการสำเร็จช่วยชาติเพิ่มรายได้ปีละกว่า 9,000 ล้านบาท
กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เดินทางเข้าพบนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อร่วมหารือถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โดยวางเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงของเอเซียและให้หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมดำเนินการ ทั้งนี้เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นายพินิจ กล่าวว่า ได้มีการหารือร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 2547 — 2552 โดยแผนดังกล่าวได้เน้นในเรื่องของการเชื่อมโยงทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือในรูปแบบของ Mold and Die Mother of Industry พร้อมกับการพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นการพัฒนาพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงของเอเซีย
ทั้งนี้ได้มีการวางเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ที่มุ่งให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศได้ถึง 7,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกเป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังมีรายได้เพิ่มจากการพัฒนาบุคลากรถึง 2,772 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ มีการนำเสนอให้จัดตั้งศูนย์กลางในการรวบร่วมข้อมูลแหล่งผลิต และรูปแบบของแม่พิมพ์ โดยให้คณะกรรมการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นผู้กำกับดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา แหล่งการผลิตและตัวแม่พิมพ์ไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกันทำให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยไม่สามารถติดต่อได้ในครั้งเดียว ขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยังต้องประสบกับปัญหา การขาดแคลนบุคลากรด้านเทคนิค และการจัดการที่ได้มาตรฐาน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างมีประมีประสิทธิภาพ และการจัดการที่เป็นระบบสากล รวมถึงการขาดการเชื่อมโยงกับระบบอุตสาหกรรมใหญ่ที่ใช้แม่พิมพ์คุณคุณภาพสูงหากสามารถรวมฐานการผลิตไว้ในแหล่งเดียวกัน การพัฒนาด้านการเชื่อมโยงให้เกิดการลงทุนที่ต่อเนื่องกันจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มากขึ้น
กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการศึกษาข้อมูลกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เห็นว่าปัจจุบันตลาดอุตสาหกรรมดังกล่าวกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศมาที่ประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีหากไทยจะตอบรับตามแนวโน้มความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวโดยส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันไทย — เยอรมัน และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ [MTEC
] ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลักด้านการพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยี
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของทางรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแม่พิมพ์ให้ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจาก อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นซัพพลายเออร์ให้กับอุตสาหกรรมหลักทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
"ในอนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์จะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่า สินค้าอุตสาหกรรมในหลายสาขามักเกี่ยวพันกับเรื่องของแม่พิมพ์ ดังนั้น ในแผนดังกล่าวจึงมีการพัฒนาเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา และศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีไม่กี่แห่งที่เปิดการสอนในสาขาแม่พิมพ์ ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับประเทศคู่แข่งอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน" นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า มูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี โดยสถิติการนำเข้าปี 2546 มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 20,698 ล้านบาท โดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ ไต้หวันและเกาหลีใต้ ขณะที่ สถิติการส่งออก พบว่า ปี 2546 มูลค่าการส่งออกแม่พิมพ์ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,141 ล้านบาท โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ มาเลเซีย และฮ่องกง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เดินทางเข้าพบนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อร่วมหารือถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โดยวางเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงของเอเซียและให้หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมดำเนินการ ทั้งนี้เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นายพินิจ กล่าวว่า ได้มีการหารือร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 2547 — 2552 โดยแผนดังกล่าวได้เน้นในเรื่องของการเชื่อมโยงทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือในรูปแบบของ Mold and Die Mother of Industry พร้อมกับการพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นการพัฒนาพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงของเอเซีย
ทั้งนี้ได้มีการวางเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ที่มุ่งให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศได้ถึง 7,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกเป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังมีรายได้เพิ่มจากการพัฒนาบุคลากรถึง 2,772 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ มีการนำเสนอให้จัดตั้งศูนย์กลางในการรวบร่วมข้อมูลแหล่งผลิต และรูปแบบของแม่พิมพ์ โดยให้คณะกรรมการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นผู้กำกับดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา แหล่งการผลิตและตัวแม่พิมพ์ไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกันทำให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยไม่สามารถติดต่อได้ในครั้งเดียว ขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยังต้องประสบกับปัญหา การขาดแคลนบุคลากรด้านเทคนิค และการจัดการที่ได้มาตรฐาน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างมีประมีประสิทธิภาพ และการจัดการที่เป็นระบบสากล รวมถึงการขาดการเชื่อมโยงกับระบบอุตสาหกรรมใหญ่ที่ใช้แม่พิมพ์คุณคุณภาพสูงหากสามารถรวมฐานการผลิตไว้ในแหล่งเดียวกัน การพัฒนาด้านการเชื่อมโยงให้เกิดการลงทุนที่ต่อเนื่องกันจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มากขึ้น
กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการศึกษาข้อมูลกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เห็นว่าปัจจุบันตลาดอุตสาหกรรมดังกล่าวกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศมาที่ประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีหากไทยจะตอบรับตามแนวโน้มความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวโดยส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันไทย — เยอรมัน และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ [MTEC
] ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลักด้านการพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยี
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของทางรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแม่พิมพ์ให้ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจาก อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นซัพพลายเออร์ให้กับอุตสาหกรรมหลักทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
"ในอนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์จะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่า สินค้าอุตสาหกรรมในหลายสาขามักเกี่ยวพันกับเรื่องของแม่พิมพ์ ดังนั้น ในแผนดังกล่าวจึงมีการพัฒนาเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา และศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีไม่กี่แห่งที่เปิดการสอนในสาขาแม่พิมพ์ ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับประเทศคู่แข่งอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน" นางชุตาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า มูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี โดยสถิติการนำเข้าปี 2546 มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 20,698 ล้านบาท โดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ ไต้หวันและเกาหลีใต้ ขณะที่ สถิติการส่งออก พบว่า ปี 2546 มูลค่าการส่งออกแม่พิมพ์ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,141 ล้านบาท โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ มาเลเซีย และฮ่องกง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-