สศอ.เดินหน้าทำแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกแถบอาเซียน เร่งสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หวังใช้มาตรการ ลดการนำเข้าสินค้านอก
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดสัมมนานำเสนอร่างแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยระดมสมองบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์ หาข้อสรุปเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้า (2548 — 2558)
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า การสร้างศักยภาพในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องมือกลจากต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญและเริ่มลงมือปฎิบัติกันอย่างจริงจัง โดยเน้นหนักในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ สร้างมาตรฐาน ยกระดับเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด ภายใต้แบรนด์เนมสัญชาติไทย และเมื่อผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือให้แก่ตลาดในประเทศได้แล้ว เป้าหมายต่อไป คือ เดินหน้าสู่ตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น กัมพูชา ลาว พม่า จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอัตราที่เพิ่มสูงชึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีอัตราที่ต่ำ
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอรูปแบบการผลิตเครื่องจักรกลในส่วนที่ควรส่งเสริม คือ เครื่องจักรกลขนาดเล็กและยืดหยุ่น(Small and Flexible Production) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในอนาคต และผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลของไทยที่มีความสามารถเฉพาะด้านในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อการขยายการผลิตและการส่งออก
สำหรับเครื่องจักรกลที่ผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาได้ และมีศักยภาพการผลิตเพื่อป้อนตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตร เครื่องเจียระไน เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องรีดโลหะ และกลุ่มเครื่องตัดกระดาษ เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องกลึง เครื่องตีขึ้นรูปโลหะ เครื่องจักรสำหรับเย็บหนัง/รองเท้า เครื่องจักรที่ใช้ในงานโรงสี เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมดังกล่าว ภาครัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการและกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อันได้แก่ มาตรการด้านภาษี การสร้างเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการลงทุน การวิจัยและพัฒนา การตลาดและการส่งออก รวมถึง การกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม อายุการใช้งาน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการนำเข้าเครื่องมือกล เครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ความต้องการของตลาด ที่มีต่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ผลิตในประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดสัมมนานำเสนอร่างแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยระดมสมองบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์ หาข้อสรุปเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้า (2548 — 2558)
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า การสร้างศักยภาพในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องมือกลจากต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญและเริ่มลงมือปฎิบัติกันอย่างจริงจัง โดยเน้นหนักในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ สร้างมาตรฐาน ยกระดับเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด ภายใต้แบรนด์เนมสัญชาติไทย และเมื่อผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือให้แก่ตลาดในประเทศได้แล้ว เป้าหมายต่อไป คือ เดินหน้าสู่ตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น กัมพูชา ลาว พม่า จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอัตราที่เพิ่มสูงชึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีอัตราที่ต่ำ
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอรูปแบบการผลิตเครื่องจักรกลในส่วนที่ควรส่งเสริม คือ เครื่องจักรกลขนาดเล็กและยืดหยุ่น(Small and Flexible Production) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในอนาคต และผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลของไทยที่มีความสามารถเฉพาะด้านในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อการขยายการผลิตและการส่งออก
สำหรับเครื่องจักรกลที่ผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาได้ และมีศักยภาพการผลิตเพื่อป้อนตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตร เครื่องเจียระไน เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องรีดโลหะ และกลุ่มเครื่องตัดกระดาษ เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องกลึง เครื่องตีขึ้นรูปโลหะ เครื่องจักรสำหรับเย็บหนัง/รองเท้า เครื่องจักรที่ใช้ในงานโรงสี เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมดังกล่าว ภาครัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการและกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อันได้แก่ มาตรการด้านภาษี การสร้างเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการลงทุน การวิจัยและพัฒนา การตลาดและการส่งออก รวมถึง การกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม อายุการใช้งาน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการนำเข้าเครื่องมือกล เครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ความต้องการของตลาด ที่มีต่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ผลิตในประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-