ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังให้ ธอส.รับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กก.ผจก.ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
เปิดเผยว่า รมว.คลังได้สั่งการให้ ธอส. เข้ามารับผิดชอบในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ กก.ผจก.ธ.อาคารสงเคราะห์เป็น
ผู้จัดการศูนย์ฯ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและประหยัด งปม. ในการใช้จ่าย โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในต้นเดือน ส.ค.47 ซึ่ง ธอส.
จะได้เร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธปท. กรมที่ดิน สนง.สถิติแห่งชาติ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้ประกอบการเพื่อขอความร่วมมือ
ในด้านข้อมูล ทั้งนี้ การดำเนินงานของศูนย์อสังหาฯ ได้มีการจัดทำดัชนีข้อมูลอสังหาฯ โดยแบ่งออกเป็น 6 ดัชนี คือ 1) ดัชนีของบ้านที่สร้าง
เสร็จแล้ว 2) ดัชนีของบ้านสร้างใหม่ 3) ดัชนีการให้สินเชื่อบ้าน 4) ดัชนีราคาของบ้าน 5) ดัชนีของยอดการขายบ้าน และ 6) ดัชนีการโอนบ้าน
ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำข้อมูลของดัชนีของบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว บ้านสร้างใหม่ และการให้สินเชื่อบ้านเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนที่เหลือยังไม่สามารถเก็บ
ข้อมูลได้ ทั้งนี้ ในการประกาศข้อมูลในแต่ละดัชนีจะต้องมีการกำหนดว่าตัวไหนควรจะประกาศเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ซึ่งในส่วนนี้
จะต้องมีการหารือกันอีกครั้ง เพราะการประกาศตัวเลขจะต้องมีการกำหนดที่ชัดเจนเพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยอาจจะให้ทีดีอาร์ไอและ
ธปท. เป็นผู้วิเคราะห์ดัชนีต่าง ๆ ให้ และเมื่อจะมีการประกาศตัวเลขต่อสาธารณะก็จะต้องเชิญสมาคมอสังหาฯ และสมาคมที่เกี่ยวข้องเข้ามา
รับทราบข้อมูลก่อนที่จะประกาศออกไป (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ให้ บง.และ บค. ที่ขอยกระดับเป็น ธ.ขนาดเล็กปล่อยกู้เฉพาะเอสเอ็มอีและรายย่อย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธ.พาณิชย์ บริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ บง. และ บค.
ที่ส่งแผนการยกระดับกิจการเป็นสถาบันการเงินรายย่อยที่ทำธุรกิจเฉพาะรายย่อย ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (Restricted Bank) ทราบ
ทั้งนี้ ธุรกรรมทางการเงินที่จะปล่อยกู้นั้นนอกจากรายย่อยหรือประชาชนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินแล้ว ยังสามารถปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ
เอสเอ็มอีได้ โดยธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง กิจการที่มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทกิจการค้าส่ง มี
คนงานไม่เกิน 25 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท และกิจการค้าปลีกไม่เกิน 15 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับขนาดกลาง
หมายถึง กิจการที่จ้างงาน 51-200 คน สินทรัพย์เกินกว่า 50-200 ล้านบาท กิจการค้าส่งที่จ้างงาน 26-50 คน สินทรัพย์เกินกว่า 50-10
ล้านบาท และกิจการค้าปลีกจ้างงาน 16-30 คน สินทรัพย์เกินกว่า 30-60 ล้านบาท หากแบ่งตามวัตถุประสงค์ สินเชื่อเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
เป็นสินเชื่อรายย่อย หากเพื่อดำเนินธุรกิจเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี ธุรกิจที่หลักแหล่งชัดเจนถือเป็นเอสเอ็มอี เช่น มีรถเข็นเป็นรายย่อย หากมี
แผงลอยเป็นเอสเอ็มอี การแบ่งประเภทดังกล่าวช่วยให้ ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อรายย่อยได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน สถาบันการเงินรูปแบบดังกล่าวต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 250 ล้านบาท ต้องเสนอแผนภายในเดือน ก.ค.นี้ หากรายใดไม่
เสนอแผนหรือไม่ผ่านตามเกณฑ์ของ ธปท. จะต้องคืนใบอนุญาตให้กับ ธปท. ในเวลา 1 ปี (โพสต์ทูเดย์)
3. ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้ตราสารหนี้ไทยจดทะเบียนข้ามชาติ นางภัทรียา เบญจพลชัย รอง ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า
เมื่อวันที่ 26 พ.ค.47 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติแผนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีตราสารที่หลากหลายและสามารถแข่งขันกับตลาด
ต่างประเทศได้ โดยอนุมัติให้มีการจดทะเบียนข้ามชาติ หรือ cross listing ของตราสารหนี้ระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์ใน
เอเชีย โดยเบื้องต้นจะจัดให้มีการ cross listing ของเอเชียบอนด์ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชีย
โดยอาจเป็นสกุลเงินเอเชียหรือเงินสกุลของประเทศในเอเชียที่ออกพันธบัตร นอกจากนี้ เพื่อให้มีตราสารหนี้ที่หลากหลายมากขึ้น บอร์ดตลาดหลัก
ทรัพย์ฯ ได้มีมติให้รับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ รัฐต่างประเทศ บริษัทจดทะเบียน และบริษัท
เอกชนที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การ
ระหว่างประเทศ รัฐต่างประเทศ บริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน ยังคงได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจนถึงเดือน ธ.ค.48
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.47 ลดต่ำสุดในรอบ 10 เดือน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาห
กรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ 98.2 จาก 106.3 ในเดือน
มี.ค. แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่ดีนัก และเป็นระดับดัชนีต่ำสุดในรอบ 10 เดือน และต่ำ
กว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 2 ในรอบปี 47 จากเดือน ม.ค. ดัชนีอยู่ที่ 99.5 สาเหตุที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้ประกอบ
การส่วนใหญ่ยังกังวลในเรื่องราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน การก่อการร้ายข้ามชาติ และสถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา
เป็นรายอุตสาหกรรมพบว่ามีดัชนีถึง 19 กลุ่ม ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ แก้วและกระจก เครื่องปรับอากาศ
และเครื่องทำความเย็น ชิ้นส่วนยานยนต์ และปูนซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ดัชนีรายกลุ่มอุตสาหกรรมลดลงเนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูง ภาวะ
การแข่งขันในตลาดที่รุนแรง และถูกสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาด (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การเพิ่มผลผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียจะช่วยบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันสูง รายงานจาก วอชิงตัน เมื่อ วันที่ 26 พ.ค. 47
รัฐบาลสรอ. เปิดเผยว่า หากซาอุดิอารเบียเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันตามที่ได้สัญญาไว้กับสรอ. ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันในช่วงฤดูร้อนได้
ทั้งนี้นาย Ali al-Naimi กล่าวว่าประเทศซาอุดิอารเบียจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันให้อยู่ในระดับ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ
วันละ 500,000 บาร์เรล เพื่อชดเชยอุปสงค์และทำให้ราคาน้ำมันลดลงจากที่ทำสถิติสูงสุดในปัจจุบัน โดย Energy Information Adminstration
— EIA ของสรอ. กล่าวว่า นักวิเคราะห์บางคนคาดว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียในครั้งนี้จะส่งผลต่อราคาน้ำมันเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น และเมื่อวันอังคารราคาน้ำมันที่ซื้อ-ขายกันก็ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก.พลังงาน สรอ. กล่าวว่าจะมีการทบทวน
ในเรื่องนี้และคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่แตกต่าง โดยเชื่อว่า การประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะทำให้ระดับราคาน้ำมันดิบลดลง และช่วยผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อ-ขายกันโดยปราศจากความเสี่ยง ราคาน้ำมันดิบส่งมอบล่วงหน้าใน
นิวยอร์กเมื่อวันพุธลดลงร้อยละ 1.1 อยู่ที่ระดับร้อยละ 40.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ภายหลังจากการขายทำกำไรของผู้ค้าน้ำมัน อย่างไร
ก็ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศของสรอ. ในสัปดาห์นี้ ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแกลลอนละ 2.06 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ EIA มิได้คาดการณ์
ว่าราคาน้ำมันจะลดลงเท่าไรจากการเพิ่มปริมาณการผลิตของซาอุดิอารเบียแต่กล่าวว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตดังกล่าว จะมีส่วนช่วยให้การน้ำเข้า
น้ำมันดิบของสรอ.ในช่วงเดือนก.ค. และส.ค. เพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านบาร์เรลเป็น 10.5 ล้านบาร์เรลอันจะทำให้การนำน้ำมันจากสต็อกคงคลัง
มาใช้ลดลง (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านใหม่และยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 พ.ค.47
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 1.093 ล้านหลัง ลดลง
ร้อยละ 11.8 จากจำนวน 1.239 ล.หลังในเดือน มี.ค.47 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.2 ล.หลัง เป็นการ
ลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เดือน ม.ค.37 ซึ่งมีสาเหตุจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปี ได้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 6.26 เมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า การลดลงของยอดขายบ้านใหม่ในเดือน
เม.ย.นี้ เป็นช่วงที่ยอดขายชะลอตัวเป็นประจำตามปกติ และเห็นว่ายอดขายจำนวนสูงกว่า 1 ล.หลัง ถือว่ายังคงแข็งแกร่งและไม่น่ากังวลใจ
นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน เม.ย.47 ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 2.9 จากเดือน มี.ค.47
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.7 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ย.45 ที่ลดลงร้อยละ 6.0 เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อสินค้าจำนวน
มากในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ดังนั้น ในเดือน เม.ย. จึงต้องผลิตตามคำสั่งซื้อที่ได้รับ แทนที่จะรับคำสั่งซื้อใหม่ (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 ลดลงสะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่คงที่ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 27 พ.ค.47
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหรือ METI รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงร้อย
ละ 1.0 จากเดือนก่อนและลดลงร้อยละ 0.8 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อปี
หลังจากที่ขยายตัวค่อนข้างดีในไตรมาสแรกปีนี้สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่คงที่ โดยยอดขายของร้านขนาดใหญ่ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
แนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน การบริโภคในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของ GDP และมีส่วนช่วย
ให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.1 จากทั้งหมดร้อยละ 1.4 ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ส่วนสาเหตุที่การบริโภคในประเทศลดลงอาจมาจากข้อบังคับ
ที่ให้ร้านค้าติดป้ายแสดงราคาโดยรวมภาษีผู้บริโภคร้อยละ 5.0 ไว้ด้วยโดยมีผลบังคับตั้งแต่ 1 เม.ย.47 ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนใจเมื่อเห็นราคา
สินค้าสูงขึ้น โดยสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคามากกว่าสินค้าในดีพาร์ทเมนท์สโตร์และ
คอนวีเนียนสโตร์ (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของมาเลเซียในไตรมาสแรกปี 47 ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 26 พ.ค.47 ธ.กลาง
มาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซียในไตรมาสแรกของปี 47 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล)
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สนับสนุนแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรากฏมาตั้งแต่กลางปี 46 รวมทั้งยังสูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 47 เป็นอัตราการขยายตัว
รายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจเคยขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ
มาเลเซียขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนและ สรอ.
ส่วนจีดีพีในไตรมาส 4 ปี 46 หลังจากที่มีการทบทวนตัวเลขใหม่อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.6 จากเดิมที่ร้อยละ 6.4 นอกจากนี้ ธ.กลางยังได้ประมาณ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 6.0-6.5 แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมทั่วโลกก็ตาม เช่น ความ
เป็นไปได้ในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. เศรษฐกิจของจีนที่เริ่มชะลอตัว และระดับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27/5/47 26/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.738 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5468/40.8380 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 611.41/13.71 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.96 35.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังให้ ธอส.รับผิดชอบการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กก.ผจก.ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
เปิดเผยว่า รมว.คลังได้สั่งการให้ ธอส. เข้ามารับผิดชอบในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ กก.ผจก.ธ.อาคารสงเคราะห์เป็น
ผู้จัดการศูนย์ฯ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและประหยัด งปม. ในการใช้จ่าย โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในต้นเดือน ส.ค.47 ซึ่ง ธอส.
จะได้เร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธปท. กรมที่ดิน สนง.สถิติแห่งชาติ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้ประกอบการเพื่อขอความร่วมมือ
ในด้านข้อมูล ทั้งนี้ การดำเนินงานของศูนย์อสังหาฯ ได้มีการจัดทำดัชนีข้อมูลอสังหาฯ โดยแบ่งออกเป็น 6 ดัชนี คือ 1) ดัชนีของบ้านที่สร้าง
เสร็จแล้ว 2) ดัชนีของบ้านสร้างใหม่ 3) ดัชนีการให้สินเชื่อบ้าน 4) ดัชนีราคาของบ้าน 5) ดัชนีของยอดการขายบ้าน และ 6) ดัชนีการโอนบ้าน
ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำข้อมูลของดัชนีของบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว บ้านสร้างใหม่ และการให้สินเชื่อบ้านเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนที่เหลือยังไม่สามารถเก็บ
ข้อมูลได้ ทั้งนี้ ในการประกาศข้อมูลในแต่ละดัชนีจะต้องมีการกำหนดว่าตัวไหนควรจะประกาศเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ซึ่งในส่วนนี้
จะต้องมีการหารือกันอีกครั้ง เพราะการประกาศตัวเลขจะต้องมีการกำหนดที่ชัดเจนเพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยอาจจะให้ทีดีอาร์ไอและ
ธปท. เป็นผู้วิเคราะห์ดัชนีต่าง ๆ ให้ และเมื่อจะมีการประกาศตัวเลขต่อสาธารณะก็จะต้องเชิญสมาคมอสังหาฯ และสมาคมที่เกี่ยวข้องเข้ามา
รับทราบข้อมูลก่อนที่จะประกาศออกไป (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ให้ บง.และ บค. ที่ขอยกระดับเป็น ธ.ขนาดเล็กปล่อยกู้เฉพาะเอสเอ็มอีและรายย่อย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธ.พาณิชย์ บริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ บง. และ บค.
ที่ส่งแผนการยกระดับกิจการเป็นสถาบันการเงินรายย่อยที่ทำธุรกิจเฉพาะรายย่อย ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (Restricted Bank) ทราบ
ทั้งนี้ ธุรกรรมทางการเงินที่จะปล่อยกู้นั้นนอกจากรายย่อยหรือประชาชนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินแล้ว ยังสามารถปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ
เอสเอ็มอีได้ โดยธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง กิจการที่มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทกิจการค้าส่ง มี
คนงานไม่เกิน 25 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท และกิจการค้าปลีกไม่เกิน 15 คน สินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับขนาดกลาง
หมายถึง กิจการที่จ้างงาน 51-200 คน สินทรัพย์เกินกว่า 50-200 ล้านบาท กิจการค้าส่งที่จ้างงาน 26-50 คน สินทรัพย์เกินกว่า 50-10
ล้านบาท และกิจการค้าปลีกจ้างงาน 16-30 คน สินทรัพย์เกินกว่า 30-60 ล้านบาท หากแบ่งตามวัตถุประสงค์ สินเชื่อเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
เป็นสินเชื่อรายย่อย หากเพื่อดำเนินธุรกิจเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี ธุรกิจที่หลักแหล่งชัดเจนถือเป็นเอสเอ็มอี เช่น มีรถเข็นเป็นรายย่อย หากมี
แผงลอยเป็นเอสเอ็มอี การแบ่งประเภทดังกล่าวช่วยให้ ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อรายย่อยได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน สถาบันการเงินรูปแบบดังกล่าวต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 250 ล้านบาท ต้องเสนอแผนภายในเดือน ก.ค.นี้ หากรายใดไม่
เสนอแผนหรือไม่ผ่านตามเกณฑ์ของ ธปท. จะต้องคืนใบอนุญาตให้กับ ธปท. ในเวลา 1 ปี (โพสต์ทูเดย์)
3. ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้ตราสารหนี้ไทยจดทะเบียนข้ามชาติ นางภัทรียา เบญจพลชัย รอง ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า
เมื่อวันที่ 26 พ.ค.47 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติแผนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีตราสารที่หลากหลายและสามารถแข่งขันกับตลาด
ต่างประเทศได้ โดยอนุมัติให้มีการจดทะเบียนข้ามชาติ หรือ cross listing ของตราสารหนี้ระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์ใน
เอเชีย โดยเบื้องต้นจะจัดให้มีการ cross listing ของเอเชียบอนด์ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชีย
โดยอาจเป็นสกุลเงินเอเชียหรือเงินสกุลของประเทศในเอเชียที่ออกพันธบัตร นอกจากนี้ เพื่อให้มีตราสารหนี้ที่หลากหลายมากขึ้น บอร์ดตลาดหลัก
ทรัพย์ฯ ได้มีมติให้รับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ รัฐต่างประเทศ บริษัทจดทะเบียน และบริษัท
เอกชนที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การ
ระหว่างประเทศ รัฐต่างประเทศ บริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน ยังคงได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจนถึงเดือน ธ.ค.48
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.47 ลดต่ำสุดในรอบ 10 เดือน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาห
กรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ 98.2 จาก 106.3 ในเดือน
มี.ค. แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่ดีนัก และเป็นระดับดัชนีต่ำสุดในรอบ 10 เดือน และต่ำ
กว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 2 ในรอบปี 47 จากเดือน ม.ค. ดัชนีอยู่ที่ 99.5 สาเหตุที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้ประกอบ
การส่วนใหญ่ยังกังวลในเรื่องราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน การก่อการร้ายข้ามชาติ และสถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา
เป็นรายอุตสาหกรรมพบว่ามีดัชนีถึง 19 กลุ่ม ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ แก้วและกระจก เครื่องปรับอากาศ
และเครื่องทำความเย็น ชิ้นส่วนยานยนต์ และปูนซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ดัชนีรายกลุ่มอุตสาหกรรมลดลงเนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูง ภาวะ
การแข่งขันในตลาดที่รุนแรง และถูกสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาด (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การเพิ่มผลผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียจะช่วยบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันสูง รายงานจาก วอชิงตัน เมื่อ วันที่ 26 พ.ค. 47
รัฐบาลสรอ. เปิดเผยว่า หากซาอุดิอารเบียเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันตามที่ได้สัญญาไว้กับสรอ. ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันในช่วงฤดูร้อนได้
ทั้งนี้นาย Ali al-Naimi กล่าวว่าประเทศซาอุดิอารเบียจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันให้อยู่ในระดับ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ
วันละ 500,000 บาร์เรล เพื่อชดเชยอุปสงค์และทำให้ราคาน้ำมันลดลงจากที่ทำสถิติสูงสุดในปัจจุบัน โดย Energy Information Adminstration
— EIA ของสรอ. กล่าวว่า นักวิเคราะห์บางคนคาดว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียในครั้งนี้จะส่งผลต่อราคาน้ำมันเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น และเมื่อวันอังคารราคาน้ำมันที่ซื้อ-ขายกันก็ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก.พลังงาน สรอ. กล่าวว่าจะมีการทบทวน
ในเรื่องนี้และคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่แตกต่าง โดยเชื่อว่า การประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอารเบียจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะทำให้ระดับราคาน้ำมันดิบลดลง และช่วยผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อ-ขายกันโดยปราศจากความเสี่ยง ราคาน้ำมันดิบส่งมอบล่วงหน้าใน
นิวยอร์กเมื่อวันพุธลดลงร้อยละ 1.1 อยู่ที่ระดับร้อยละ 40.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ภายหลังจากการขายทำกำไรของผู้ค้าน้ำมัน อย่างไร
ก็ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศของสรอ. ในสัปดาห์นี้ ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแกลลอนละ 2.06 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ EIA มิได้คาดการณ์
ว่าราคาน้ำมันจะลดลงเท่าไรจากการเพิ่มปริมาณการผลิตของซาอุดิอารเบียแต่กล่าวว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตดังกล่าว จะมีส่วนช่วยให้การน้ำเข้า
น้ำมันดิบของสรอ.ในช่วงเดือนก.ค. และส.ค. เพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านบาร์เรลเป็น 10.5 ล้านบาร์เรลอันจะทำให้การนำน้ำมันจากสต็อกคงคลัง
มาใช้ลดลง (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านใหม่และยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 พ.ค.47
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 1.093 ล้านหลัง ลดลง
ร้อยละ 11.8 จากจำนวน 1.239 ล.หลังในเดือน มี.ค.47 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะมีจำนวน 1.2 ล.หลัง เป็นการ
ลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เดือน ม.ค.37 ซึ่งมีสาเหตุจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปี ได้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 6.26 เมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า การลดลงของยอดขายบ้านใหม่ในเดือน
เม.ย.นี้ เป็นช่วงที่ยอดขายชะลอตัวเป็นประจำตามปกติ และเห็นว่ายอดขายจำนวนสูงกว่า 1 ล.หลัง ถือว่ายังคงแข็งแกร่งและไม่น่ากังวลใจ
นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน เม.ย.47 ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 2.9 จากเดือน มี.ค.47
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.7 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ย.45 ที่ลดลงร้อยละ 6.0 เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อสินค้าจำนวน
มากในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ดังนั้น ในเดือน เม.ย. จึงต้องผลิตตามคำสั่งซื้อที่ได้รับ แทนที่จะรับคำสั่งซื้อใหม่ (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 ลดลงสะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่คงที่ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 27 พ.ค.47
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหรือ METI รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงร้อย
ละ 1.0 จากเดือนก่อนและลดลงร้อยละ 0.8 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อปี
หลังจากที่ขยายตัวค่อนข้างดีในไตรมาสแรกปีนี้สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่คงที่ โดยยอดขายของร้านขนาดใหญ่ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
แนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน การบริโภคในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของ GDP และมีส่วนช่วย
ให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.1 จากทั้งหมดร้อยละ 1.4 ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ส่วนสาเหตุที่การบริโภคในประเทศลดลงอาจมาจากข้อบังคับ
ที่ให้ร้านค้าติดป้ายแสดงราคาโดยรวมภาษีผู้บริโภคร้อยละ 5.0 ไว้ด้วยโดยมีผลบังคับตั้งแต่ 1 เม.ย.47 ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนใจเมื่อเห็นราคา
สินค้าสูงขึ้น โดยสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคามากกว่าสินค้าในดีพาร์ทเมนท์สโตร์และ
คอนวีเนียนสโตร์ (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของมาเลเซียในไตรมาสแรกปี 47 ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 26 พ.ค.47 ธ.กลาง
มาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซียในไตรมาสแรกของปี 47 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล)
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สนับสนุนแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรากฏมาตั้งแต่กลางปี 46 รวมทั้งยังสูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 47 เป็นอัตราการขยายตัว
รายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจเคยขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ
มาเลเซียขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนและ สรอ.
ส่วนจีดีพีในไตรมาส 4 ปี 46 หลังจากที่มีการทบทวนตัวเลขใหม่อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.6 จากเดิมที่ร้อยละ 6.4 นอกจากนี้ ธ.กลางยังได้ประมาณ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 6.0-6.5 แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมทั่วโลกก็ตาม เช่น ความ
เป็นไปได้ในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. เศรษฐกิจของจีนที่เริ่มชะลอตัว และระดับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27/5/47 26/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.738 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5468/40.8380 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 611.41/13.71 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.96 35.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-