ไม่ส่งเสริมการศึกษาการศึกษาโดย (นายสนั่น สุธากุล ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์)
1. การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์เรียนในวัดและมัสยิด และการปรับเงินอุดหนุนอนุบาล 3 ปี ให้เหลือ 2 ปีที่สร้างความเดือดร้อนให้กับโรงเรียนที่เปิดสอน 3 ปีมาก่อนเป็นอย่างมาก
2. การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดสถานที่เรียนให้เด็กตามความต้องการ มีการนำผลการสอบNT มาใช้ในการจัดเด็กเข้าเรียน ล่อแหลมต่อการทำผิดกฎหมาย การสนับสนุนเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่ความเป็นเลิศยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง
3. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ที่ต้องจัดอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และไม่เสียค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยังจัดสรรเงินอุดหนุนไม่เพียงพอและเหมาะสม ทำให้โรงเรียนต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ(แป๊ะเจี๊ยะ) อย่างกว้างขวาง กระจายไปทั่วทั้งประเทศ ตั้งแต่ 5,000 — 100,000 บาท สร้างความเดือนและไม่เป็นธรรมแก่ ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
4. การจัดระบบและโครงสร้างทางการศึกษา ในส่วนกลางเขตพื้นที่และสถานศึกษายังไม่เรียบร้อย ทำให้การจัดการศึกษาในแต่ละแห่งมีปัญหาในทางปฏิบัติ เกิดความ สับสนวุ่นวายเป็นอย่างยิ่ง ถึงขั้นมีการประท้วงและขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
5. กฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ทั้งที่เลยกำหนดมาแล้วปีเศษ เคยมีปัญหาเสียงข้างมากลากไปจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคืนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แม้ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรจึงจะแล้วเสร็จ จะทำให้ การพัฒนาครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ต้องสะดุดเพราะเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ยังไม่มีผลบังคับใช้
6. ปัญหาเรื่องขาดแคลนอัตรากำลังครูที่มีอยู่ราวแสนอัตรา ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะระดับขั้นพื้นฐานเป็นอย่างยิ่ง เพราะครูที่สอนอยู่ต้องแบกภาระแทนครูที่ขาด ทำให้ไม่สามารถสอนได้อย่างเต็มที่ มีผลกระทบไปถึงเรื่องของ คุณภาพการศึกษาในภาพรวมด้วย
7. การปฏิรูปอาชีวศึกษา มีปัญหาเพราะกฎหมายอาชีวศึกษาไม่แล้วเสร็จและนโยบายการรับเด็กเข้าเรียนอาชีวศึกษาของรัฐแบบขยายเวลารับสมัครและไม่จำกัดจำนวน สร้างความเสียหายต่อโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนอย่างรุนแรง
8. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่ยอมรับกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ มีการดำเนินการหลานอย่างที่สวนทางกับเจตนารมย์และบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ เป็นผลให้เกิดปัญหาการปฏิรูปการศึกษาล่าช้า ล้มเหลว ผิดทิศผิดทาง และสับสนวุ่นวายเป็นประวัติการณ์
9. กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอที่จะให้เด็กยากจนกู้ยืม รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบฯ เพิ่มเติม แต่ปรับลดให้น้อยลงและอ้างเหตุว่า นักเรียนที่กู้ยืมและถึงกำหนดใช้คืนไม่รับผิดชอบก่อให้เกิดหนี้เสีย จึงมีมติ คณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงกองทุนกู้ยืม โดยไม่ให้เด็กมัธยมปลายกู้ยืม แต่จะให้กองทุนให้เปล่าขึ้นมาแทน และในระดับมหาวิทยาลัยจะให้เด็กทุกคนทั้งจนและรวยมีสิทธิ์กู้ยืมเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นจริง และการปรับปรุงกองทุนดังกล่าวจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและทำลายโอกาสของเด็กยากจน
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
1. การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์เรียนในวัดและมัสยิด และการปรับเงินอุดหนุนอนุบาล 3 ปี ให้เหลือ 2 ปีที่สร้างความเดือดร้อนให้กับโรงเรียนที่เปิดสอน 3 ปีมาก่อนเป็นอย่างมาก
2. การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดสถานที่เรียนให้เด็กตามความต้องการ มีการนำผลการสอบNT มาใช้ในการจัดเด็กเข้าเรียน ล่อแหลมต่อการทำผิดกฎหมาย การสนับสนุนเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่ความเป็นเลิศยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง
3. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ที่ต้องจัดอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และไม่เสียค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยังจัดสรรเงินอุดหนุนไม่เพียงพอและเหมาะสม ทำให้โรงเรียนต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ(แป๊ะเจี๊ยะ) อย่างกว้างขวาง กระจายไปทั่วทั้งประเทศ ตั้งแต่ 5,000 — 100,000 บาท สร้างความเดือนและไม่เป็นธรรมแก่ ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
4. การจัดระบบและโครงสร้างทางการศึกษา ในส่วนกลางเขตพื้นที่และสถานศึกษายังไม่เรียบร้อย ทำให้การจัดการศึกษาในแต่ละแห่งมีปัญหาในทางปฏิบัติ เกิดความ สับสนวุ่นวายเป็นอย่างยิ่ง ถึงขั้นมีการประท้วงและขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
5. กฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่แล้วเสร็จ ทั้งที่เลยกำหนดมาแล้วปีเศษ เคยมีปัญหาเสียงข้างมากลากไปจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคืนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แม้ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรจึงจะแล้วเสร็จ จะทำให้ การพัฒนาครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ต้องสะดุดเพราะเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ยังไม่มีผลบังคับใช้
6. ปัญหาเรื่องขาดแคลนอัตรากำลังครูที่มีอยู่ราวแสนอัตรา ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะระดับขั้นพื้นฐานเป็นอย่างยิ่ง เพราะครูที่สอนอยู่ต้องแบกภาระแทนครูที่ขาด ทำให้ไม่สามารถสอนได้อย่างเต็มที่ มีผลกระทบไปถึงเรื่องของ คุณภาพการศึกษาในภาพรวมด้วย
7. การปฏิรูปอาชีวศึกษา มีปัญหาเพราะกฎหมายอาชีวศึกษาไม่แล้วเสร็จและนโยบายการรับเด็กเข้าเรียนอาชีวศึกษาของรัฐแบบขยายเวลารับสมัครและไม่จำกัดจำนวน สร้างความเสียหายต่อโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนอย่างรุนแรง
8. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่ยอมรับกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ มีการดำเนินการหลานอย่างที่สวนทางกับเจตนารมย์และบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ เป็นผลให้เกิดปัญหาการปฏิรูปการศึกษาล่าช้า ล้มเหลว ผิดทิศผิดทาง และสับสนวุ่นวายเป็นประวัติการณ์
9. กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอที่จะให้เด็กยากจนกู้ยืม รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบฯ เพิ่มเติม แต่ปรับลดให้น้อยลงและอ้างเหตุว่า นักเรียนที่กู้ยืมและถึงกำหนดใช้คืนไม่รับผิดชอบก่อให้เกิดหนี้เสีย จึงมีมติ คณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงกองทุนกู้ยืม โดยไม่ให้เด็กมัธยมปลายกู้ยืม แต่จะให้กองทุนให้เปล่าขึ้นมาแทน และในระดับมหาวิทยาลัยจะให้เด็กทุกคนทั้งจนและรวยมีสิทธิ์กู้ยืมเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นจริง และการปรับปรุงกองทุนดังกล่าวจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและทำลายโอกาสของเด็กยากจน
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-