การประกันเอื้ออาทร เอื้อใคร?? โดย สุวโรช พะลัง ส.ส.ชุมพร
เปิดแถลงอภิปรายนอกสภาว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ มีหลายนโยบายที่ใช้ความพอใจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกล่มทุนทางการเมือง โดยเฉพาะในแวดวงของนายกรัฐมนตรีเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน อันเป็นทุจริตเชิงนโยบาย หากดูผิวเผินก็น่าจะเป็นการเอื้ออาทรต่อประชาชน แต่เมื่อเจาะลึกถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผลประโยชน์จากนโยบายนั้นนั้นตกอยู่กับธุรกิจของนายกรัฐมนตรีหรือคนรอบข้างทั้งสิ้น ธุรกิจประกันชีวิตเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นผลงานอย่างหนึ่งที่ปรากฎในคำแถลงผลงานปีนี้ของรัฐบาลชุดนี้ ท่ามกลางความหลากหลายเอื้ออาทรต่างๆใช้การโฆษณาบังหน้า มอมเมาประชาชนให้หลงเชื่อ เข้าทำนิติกรรมตามโครงการเอื้ออาทรต่างๆของรัฐในราคาถูก ให้ผลประโยชน์มาก อ้างว่าเป็นภาคสมัครใจโดยไม่มีการบังคับ แต่เมื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ กลับเป็นภาคบังคับมีบริษัทอันเป็นธุรกิจของนายกรัฐมนตรีและผู้อยู่ใกล้ชิดใช้บารมีทางการเมืองสั่งการผ่านฝ่ายการเมือง ผู้รับผิดชอบผ่านข้าราชการผู้ปฏิบัติเข้าทำสัญญากับประชาชนเอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่มีพรรคทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรมแต่อย่างใด เป็นลักษณะของธุรกิจการเมืองคือ เอาการเมืองมาหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเอาเปรียบประชาชน โครงการประกันชีวิตนักเรียนเอื้ออาทรก็เป็นโครงการอันหนึ่งที่มีการหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนผู้ปกครองนักเรียน โครงการนี้มิได้เป็นเรื่องคิดใหม่ ทำใหม่แต่ประการใด แต่เป็นการลักไก่จากโครงการของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ดำเนินการค้างไว้เพราะสิ้นวาระไปก่อน รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพียงแค่แปลงผลประโยชน์บางประการดูเหมือนประชาชน จะได้ประโยชน์มากขึ้น แต่กลับฉ้อฉลเก็บค่าเบี้ยประกันจากประชาชนมากกว่าที่ควรจะเป็น มิใช่เป็นการเอื้ออาทรที่สวยหรูแต่อย่างใด แต่เป็นการฉ้อโกงประชาชนอย่างเลือดเย็น กล่าวคือ โครงการประกันชีวิตนักเรียนทั้งระบบในภาคบังคับตามกฎหมายประมาณ 8 ล้านคน เกิดจากแนวคิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับนักเรียน และผู้ปกครองหากลูกหลานได้รับบาดเจ็บหรือล้มตาย โดยรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะตั้งกองทุนจากงบประมาณของแผ่นดินอันเป็นเงินภาษีของประชาชน จึงได้มอบหมายให้กรมประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ไปศึกษาทั้งระบบครบวงจร ตั้งแต่อัตราเบี้ยประกัน ลักษณะกรณีที่จะได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันชีวิตและค่าสินไหมทดแทนที่นักเรียนและผู้ปกครองจะได้รับ รัฐบาลชุดที่แล้วศึกษาได้ข้อสรุปว่า อัตราเบี้ยประกันในโครงการนี้ที่เหมาะในอัตรา5-7 บาท (ไม่มีนายหน้า) โดยใช้งบประมาณของแผ่นดินจัดตั้งเป็นกองทุน โดยค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับ หากเป็นไปตามกรณีที่กำหนดในกรมธรรม์ กรณีถึงแก่ความตายคุ้มครอง 30,000 บาท และลดหลั่นลงมาตารมลักษณะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นหลักประกันขึ้นพื้นฐานให้ลูกหลานคนไทยที่ศึกษาเล่าเรียนภาคบังคับทั้งระบบไม่ว่าจะยากจนเท่าใด ในเบื้องต้นรัฐจะดูแลเท่า เทียมกัน แต่หากผู้ปกครองรายใดมีฐานะดีอาจจะเพิ่มเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ค่าสินไหมทดแทนมากขึ้นก็เป็นเรื่องของผู้ปกครองแต่ละคน ปรากฏว่าเมื่อรัฐบาลชุดนี้ เข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อ กลับชะลอโครงการนี้ไว้ก่อน อ้างว่าเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมีปัญหา ให้ศึกษาค่าสินไหมทดแทนให้สูงกว่า 30,000 บาท ต่อมาถึงปี 45 ต่อเนื่องปี 46 กลับมีการหยิบยกโครงการนี้ ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ มีการเพิ่มค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท จากโครงการเดิมจึงได้รับเพียง 30,000 บาท ดูน่าจะดีขึ้น แต่ไม่มีการตั้งกองทุนตามแนวคิดเดิมของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันชีวิตจากนักเรียนทุกคน และเพิ่มเบี้ยประกันชีวิตจากอัตราคนละ 5-7 บาท มาเป็นคนละ 50 บาท / ปี ซึ่งหากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบข้อมูลอัตราดอกเบี้ยประกันชีวิตด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจนต่อสาธารณะทั่วไปว่าเพราะเหตุใดจึงเรียกเก็บเบี้ยประกันชีวิตสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะหากคำนวณจากค่าสินไหมทดแทนที่เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท จากโครงการเดิมที่คุ้มครองเพียง 30,000 บาท เขาเรียกเก็บเบี้ยประกันชีวิตเพียงคนละ 5-7 บาท / ปี แต่โครงการของรัฐบาลนี้ กลับเรียกเบี้ยประกันชีวิต เป็นคนละ 50 บาท / ปี สูงขึ้นอีก 10 เท่าตัวเพราะเหตุใด ซึ่งหากคำนวณค่าสินไหมทดแทนและเบี้ยประกันเดิมกับของใหม่ในรัฐบาลชุดนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าหากยึดค่าสินไหมทดแทน 100,000 บาท / คน เป็นตัวตั้ง จะสูงกว่าค่าสินไหมทดแทนของรัฐบาลเก่าประมาณ 3 เท่าตัว (จาก 30,000 บาทเป็น 100,000 บาท) ค่าเบี้ยประกันชีวิตก็น่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าตัว น่าจะเก็บเบี้ยประกันในอัตราคนละ 15-21 บาท / ปี (ไม่มีค่านายหน้า) แต่รัฐบาลนี้กลับเก็บเบี้ยประกันสูงถึง 50 บาท / คน/ปี หากคิดเด็กนักเรียนทั้งระบบค่าเบี้ยประกันชีวิตของรัฐบาลชุดนี้สูงกว่าที่ผ่านมา ประมาณ 240 ล้านบาท/ปี ประการต่อมาการยกเลิกไม่ตั้งกองทุนจากงบประมาณแผ่นดินมารอ งรับหลักประกันความเท่าเทียมขั้นพื้นฐานให้นักเรียนทุกคนที่ผู้ปกครองมีฐานะความจน , รวย ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งในเบื้องต้นน่าจะได้รับการดูแลจากรัฐที่เท่าเทียมกัน แต่รัฐบาลชุดนี้กลับไม่สนใจ ผลักให้เป็นภาระของผู้ปกครองนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเองในราคาที่สูงกว่าควรจะเป็น เพราะเหตุใด ไม่เคยบอกรายละเอียดให้ประชาชนทราบ ปกปิด ปิดบังเรื่องนี้ตลอดมาไม่ปรากฏในรายงานผลงาน ประจำปีที่เสนอต่อสภาแต่อย่างใด อย่างนี้เป็นการเอาเปรียบประชาชน เป็นการหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนหรือไม่ เศรษฐกิจฟื้นแล้ว ทำไมไม่ตั้งงบประมาณเป็นกองทุนเช่น แนวคิดที่รัฐบาลชุดที่แล้วดำเนินการ เพราะเหตุใด และที่สำคัญที่รัฐบาลชุดนี้อ้างว่าเป็นการประกันชีวิตในโครงการนี้แบบสมัครใจ คือ ใครจะเอาประกันหรือไม่ก็ได้ นั่นเป็นนโยบาย แต่เมื่อโรงเรียนต่างๆ นำไปปฎิบัติกลับเป็นการบังคับโดยปริยาย เพราะจะพิมพ์ค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองนักเรียนต้องจ่ายเป็นตารางเอกสารพร้อมระบุตัวเลขแต่ละรายการลงไปด้วย ซึ่งในส่วนการจ่ายค่าประกันชีวิตนักเรียน กลับเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนแต่ละคนถึงคนละ 120 บาท/ ปี สูงกว่าที่รัฐบาลประกาศในโครงการนี้ถึงคนละ 70 บาท/ ปี คิดเป็นเงินเบี้ยประกันที่เรียกเก็บเพิ่มขึ้นอีกถึง 560 ล้านบาท/ปี ซึ่งหากคิดเงินเบี้ยประกันที่ผู้ปกครองนักเรียนควรจะจ่ายสูงกว่าที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ศึกษาค้างไว้ถึง 560 + 240 = 800 ล้านบาท ถามว่าเงินส่วนต่างนี้อยู่ที่ใคร ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่ทราบยอยู่แล้วว่าโรงเรียนต่างๆได้เปิดภาคเรียน เรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆจากผู้ปกครองนักเรียนแล้ว ปรากฎว่าเท่าที่สำรวจพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตบางบริษัทได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่าบริษัทอื่น คือ บริษัทไพบูลย์ประกันชีวิต จำกัด อยู่ในเครือของบริษัทไทยประกันชีวิต และธนาคารทหารไทย มหาชน จำกัด และเมื่อตรวจสอบรายการผู้ที่ถือหุ้นของธนาคารทหารไทย มหาชน จำกัด ก็จะพบว่าตระกูลชินวัตร ของท่านนายกทักษิณ ถือหุ้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะในทางกองทัพบกที่มีพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นผู้บัญชาการทหารบกก็ดี หรือนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายกรัฐมนตรีถือหุ้นถึงเกือบ 2 ล้านหุ้นก็ตาม และแม้บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ก็ยังถือหุ้นอยู่ในธนาคารทหารไทย จำกัดด้วย อาจพูดได้ว่าธนาคารทหารไทย จำกัด เป็นของตระกูลชินวัตรและผู้ใกล้ชิด ในตระกูลนี้ จึงขอถามว่าเงินเบี้ยประกันชีวิตนักเรียน ที่เก็บในวงเงินที่สูงกว่าที่ควรจะเก็บประมาณ 800 ล้าน / ปี นั้นอยู่ในกระเป๋าของผู้ใกล้ชิด นายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ เป็นการเอื้ออาทรหรือเป็นการโกง(ฉ้อฉล , เอาเปรียบประชาชน นี่หรือวิธีการที่ประกาศว่ารวยแล้วไม่โกง หรือรวยมาเพราะโกง และยิ่งรวยก็ยิ่งโกง โกงไม่รู้จักจบสิ้น ลักษณะอย่างนี้ทำไมไม่แถลงรายละเอียดลงไปในผลงานของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐในวันนี้ด้วย เห็นว่าคำแถลงผลงานฯ ในวันนี้ไม่มีความชัดเจน มีการปกปิด ปิดบังความจริงที่ยังมีการเอาเปรียบประชาชน เอื้อผลประโยชน์ ให้กับผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะความยากจนจะหมดไป ได้อย่างไร หากบริหารเช่นนี้นานเท่าใด ประชาชนจะถูกเอาเปรียบมากขึ้นเท่านั้น ความยากจนของประชาชนจะสูงขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ส่วนกลุ่มทุนทางการเมืองของนายกฯ ก็จะรวยมากขึ้น เป็นเท่าทวีคูณเช่นกัน เป็นการทำนาบนหลังประชาชน แม้เด็กนักเรียนที่กำลังเจริญวัยก็ยังไม่ละเว้นที่จะหาประโยชน์ อย่างนี้จะเป็นเอื้ออาทรหรืออำนวยของพวกพ้อง หลอกลวงประชาชนรังแกเด็กๆหรือไม่
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
เปิดแถลงอภิปรายนอกสภาว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ มีหลายนโยบายที่ใช้ความพอใจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกล่มทุนทางการเมือง โดยเฉพาะในแวดวงของนายกรัฐมนตรีเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน อันเป็นทุจริตเชิงนโยบาย หากดูผิวเผินก็น่าจะเป็นการเอื้ออาทรต่อประชาชน แต่เมื่อเจาะลึกถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผลประโยชน์จากนโยบายนั้นนั้นตกอยู่กับธุรกิจของนายกรัฐมนตรีหรือคนรอบข้างทั้งสิ้น ธุรกิจประกันชีวิตเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นผลงานอย่างหนึ่งที่ปรากฎในคำแถลงผลงานปีนี้ของรัฐบาลชุดนี้ ท่ามกลางความหลากหลายเอื้ออาทรต่างๆใช้การโฆษณาบังหน้า มอมเมาประชาชนให้หลงเชื่อ เข้าทำนิติกรรมตามโครงการเอื้ออาทรต่างๆของรัฐในราคาถูก ให้ผลประโยชน์มาก อ้างว่าเป็นภาคสมัครใจโดยไม่มีการบังคับ แต่เมื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ กลับเป็นภาคบังคับมีบริษัทอันเป็นธุรกิจของนายกรัฐมนตรีและผู้อยู่ใกล้ชิดใช้บารมีทางการเมืองสั่งการผ่านฝ่ายการเมือง ผู้รับผิดชอบผ่านข้าราชการผู้ปฏิบัติเข้าทำสัญญากับประชาชนเอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่มีพรรคทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรมแต่อย่างใด เป็นลักษณะของธุรกิจการเมืองคือ เอาการเมืองมาหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเอาเปรียบประชาชน โครงการประกันชีวิตนักเรียนเอื้ออาทรก็เป็นโครงการอันหนึ่งที่มีการหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนผู้ปกครองนักเรียน โครงการนี้มิได้เป็นเรื่องคิดใหม่ ทำใหม่แต่ประการใด แต่เป็นการลักไก่จากโครงการของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่ดำเนินการค้างไว้เพราะสิ้นวาระไปก่อน รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพียงแค่แปลงผลประโยชน์บางประการดูเหมือนประชาชน จะได้ประโยชน์มากขึ้น แต่กลับฉ้อฉลเก็บค่าเบี้ยประกันจากประชาชนมากกว่าที่ควรจะเป็น มิใช่เป็นการเอื้ออาทรที่สวยหรูแต่อย่างใด แต่เป็นการฉ้อโกงประชาชนอย่างเลือดเย็น กล่าวคือ โครงการประกันชีวิตนักเรียนทั้งระบบในภาคบังคับตามกฎหมายประมาณ 8 ล้านคน เกิดจากแนวคิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับนักเรียน และผู้ปกครองหากลูกหลานได้รับบาดเจ็บหรือล้มตาย โดยรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะตั้งกองทุนจากงบประมาณของแผ่นดินอันเป็นเงินภาษีของประชาชน จึงได้มอบหมายให้กรมประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ไปศึกษาทั้งระบบครบวงจร ตั้งแต่อัตราเบี้ยประกัน ลักษณะกรณีที่จะได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันชีวิตและค่าสินไหมทดแทนที่นักเรียนและผู้ปกครองจะได้รับ รัฐบาลชุดที่แล้วศึกษาได้ข้อสรุปว่า อัตราเบี้ยประกันในโครงการนี้ที่เหมาะในอัตรา5-7 บาท (ไม่มีนายหน้า) โดยใช้งบประมาณของแผ่นดินจัดตั้งเป็นกองทุน โดยค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับ หากเป็นไปตามกรณีที่กำหนดในกรมธรรม์ กรณีถึงแก่ความตายคุ้มครอง 30,000 บาท และลดหลั่นลงมาตารมลักษณะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นหลักประกันขึ้นพื้นฐานให้ลูกหลานคนไทยที่ศึกษาเล่าเรียนภาคบังคับทั้งระบบไม่ว่าจะยากจนเท่าใด ในเบื้องต้นรัฐจะดูแลเท่า เทียมกัน แต่หากผู้ปกครองรายใดมีฐานะดีอาจจะเพิ่มเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้ค่าสินไหมทดแทนมากขึ้นก็เป็นเรื่องของผู้ปกครองแต่ละคน ปรากฏว่าเมื่อรัฐบาลชุดนี้ เข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อ กลับชะลอโครงการนี้ไว้ก่อน อ้างว่าเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมีปัญหา ให้ศึกษาค่าสินไหมทดแทนให้สูงกว่า 30,000 บาท ต่อมาถึงปี 45 ต่อเนื่องปี 46 กลับมีการหยิบยกโครงการนี้ ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ มีการเพิ่มค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท จากโครงการเดิมจึงได้รับเพียง 30,000 บาท ดูน่าจะดีขึ้น แต่ไม่มีการตั้งกองทุนตามแนวคิดเดิมของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันชีวิตจากนักเรียนทุกคน และเพิ่มเบี้ยประกันชีวิตจากอัตราคนละ 5-7 บาท มาเป็นคนละ 50 บาท / ปี ซึ่งหากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบข้อมูลอัตราดอกเบี้ยประกันชีวิตด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจนต่อสาธารณะทั่วไปว่าเพราะเหตุใดจึงเรียกเก็บเบี้ยประกันชีวิตสูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะหากคำนวณจากค่าสินไหมทดแทนที่เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท จากโครงการเดิมที่คุ้มครองเพียง 30,000 บาท เขาเรียกเก็บเบี้ยประกันชีวิตเพียงคนละ 5-7 บาท / ปี แต่โครงการของรัฐบาลนี้ กลับเรียกเบี้ยประกันชีวิต เป็นคนละ 50 บาท / ปี สูงขึ้นอีก 10 เท่าตัวเพราะเหตุใด ซึ่งหากคำนวณค่าสินไหมทดแทนและเบี้ยประกันเดิมกับของใหม่ในรัฐบาลชุดนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าหากยึดค่าสินไหมทดแทน 100,000 บาท / คน เป็นตัวตั้ง จะสูงกว่าค่าสินไหมทดแทนของรัฐบาลเก่าประมาณ 3 เท่าตัว (จาก 30,000 บาทเป็น 100,000 บาท) ค่าเบี้ยประกันชีวิตก็น่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าตัว น่าจะเก็บเบี้ยประกันในอัตราคนละ 15-21 บาท / ปี (ไม่มีค่านายหน้า) แต่รัฐบาลนี้กลับเก็บเบี้ยประกันสูงถึง 50 บาท / คน/ปี หากคิดเด็กนักเรียนทั้งระบบค่าเบี้ยประกันชีวิตของรัฐบาลชุดนี้สูงกว่าที่ผ่านมา ประมาณ 240 ล้านบาท/ปี ประการต่อมาการยกเลิกไม่ตั้งกองทุนจากงบประมาณแผ่นดินมารอ งรับหลักประกันความเท่าเทียมขั้นพื้นฐานให้นักเรียนทุกคนที่ผู้ปกครองมีฐานะความจน , รวย ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งในเบื้องต้นน่าจะได้รับการดูแลจากรัฐที่เท่าเทียมกัน แต่รัฐบาลชุดนี้กลับไม่สนใจ ผลักให้เป็นภาระของผู้ปกครองนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเองในราคาที่สูงกว่าควรจะเป็น เพราะเหตุใด ไม่เคยบอกรายละเอียดให้ประชาชนทราบ ปกปิด ปิดบังเรื่องนี้ตลอดมาไม่ปรากฏในรายงานผลงาน ประจำปีที่เสนอต่อสภาแต่อย่างใด อย่างนี้เป็นการเอาเปรียบประชาชน เป็นการหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนหรือไม่ เศรษฐกิจฟื้นแล้ว ทำไมไม่ตั้งงบประมาณเป็นกองทุนเช่น แนวคิดที่รัฐบาลชุดที่แล้วดำเนินการ เพราะเหตุใด และที่สำคัญที่รัฐบาลชุดนี้อ้างว่าเป็นการประกันชีวิตในโครงการนี้แบบสมัครใจ คือ ใครจะเอาประกันหรือไม่ก็ได้ นั่นเป็นนโยบาย แต่เมื่อโรงเรียนต่างๆ นำไปปฎิบัติกลับเป็นการบังคับโดยปริยาย เพราะจะพิมพ์ค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองนักเรียนต้องจ่ายเป็นตารางเอกสารพร้อมระบุตัวเลขแต่ละรายการลงไปด้วย ซึ่งในส่วนการจ่ายค่าประกันชีวิตนักเรียน กลับเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนแต่ละคนถึงคนละ 120 บาท/ ปี สูงกว่าที่รัฐบาลประกาศในโครงการนี้ถึงคนละ 70 บาท/ ปี คิดเป็นเงินเบี้ยประกันที่เรียกเก็บเพิ่มขึ้นอีกถึง 560 ล้านบาท/ปี ซึ่งหากคิดเงินเบี้ยประกันที่ผู้ปกครองนักเรียนควรจะจ่ายสูงกว่าที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ศึกษาค้างไว้ถึง 560 + 240 = 800 ล้านบาท ถามว่าเงินส่วนต่างนี้อยู่ที่ใคร ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่ทราบยอยู่แล้วว่าโรงเรียนต่างๆได้เปิดภาคเรียน เรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆจากผู้ปกครองนักเรียนแล้ว ปรากฎว่าเท่าที่สำรวจพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตบางบริษัทได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่าบริษัทอื่น คือ บริษัทไพบูลย์ประกันชีวิต จำกัด อยู่ในเครือของบริษัทไทยประกันชีวิต และธนาคารทหารไทย มหาชน จำกัด และเมื่อตรวจสอบรายการผู้ที่ถือหุ้นของธนาคารทหารไทย มหาชน จำกัด ก็จะพบว่าตระกูลชินวัตร ของท่านนายกทักษิณ ถือหุ้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะในทางกองทัพบกที่มีพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นผู้บัญชาการทหารบกก็ดี หรือนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายกรัฐมนตรีถือหุ้นถึงเกือบ 2 ล้านหุ้นก็ตาม และแม้บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ก็ยังถือหุ้นอยู่ในธนาคารทหารไทย จำกัดด้วย อาจพูดได้ว่าธนาคารทหารไทย จำกัด เป็นของตระกูลชินวัตรและผู้ใกล้ชิด ในตระกูลนี้ จึงขอถามว่าเงินเบี้ยประกันชีวิตนักเรียน ที่เก็บในวงเงินที่สูงกว่าที่ควรจะเก็บประมาณ 800 ล้าน / ปี นั้นอยู่ในกระเป๋าของผู้ใกล้ชิด นายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ เป็นการเอื้ออาทรหรือเป็นการโกง(ฉ้อฉล , เอาเปรียบประชาชน นี่หรือวิธีการที่ประกาศว่ารวยแล้วไม่โกง หรือรวยมาเพราะโกง และยิ่งรวยก็ยิ่งโกง โกงไม่รู้จักจบสิ้น ลักษณะอย่างนี้ทำไมไม่แถลงรายละเอียดลงไปในผลงานของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐในวันนี้ด้วย เห็นว่าคำแถลงผลงานฯ ในวันนี้ไม่มีความชัดเจน มีการปกปิด ปิดบังความจริงที่ยังมีการเอาเปรียบประชาชน เอื้อผลประโยชน์ ให้กับผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะความยากจนจะหมดไป ได้อย่างไร หากบริหารเช่นนี้นานเท่าใด ประชาชนจะถูกเอาเปรียบมากขึ้นเท่านั้น ความยากจนของประชาชนจะสูงขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ส่วนกลุ่มทุนทางการเมืองของนายกฯ ก็จะรวยมากขึ้น เป็นเท่าทวีคูณเช่นกัน เป็นการทำนาบนหลังประชาชน แม้เด็กนักเรียนที่กำลังเจริญวัยก็ยังไม่ละเว้นที่จะหาประโยชน์ อย่างนี้จะเป็นเอื้ออาทรหรืออำนวยของพวกพ้อง หลอกลวงประชาชนรังแกเด็กๆหรือไม่
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-