ตอบโต้"ชวลิต"กรณี CTIC-ถามหาความรับผิดชอบ จากรองนายกฝ่ายความมั่นคง โดย ส.ส.สุริทร์ พิศสุวรรณ
ประเด็นการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย ในหน้า ๕ ของ รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่ ๓ (วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗)
สืบเนื่องมาจากการที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ดูแลด้านความมั่นคง ได้กล่าวอ้างถึงองค์กรความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายที่เรียกว่า Counter Terrorism Intelligence Center (CTIC) เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค.๔๗ ในโอกาสอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่าเป็นองค์กร CTIC นี้เป็นองค์กรที่สร้างความแตกแยก ขัดแย้ง ในหมู่ ู่พี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดทางภาคใต้ และเป็นการเปิดช่องทางให้มีการเข้ามาก้าวก่ายด้านความมั่นคงในประเทศ
ประเด็นที่ ๑ จากข้อมูลที่ได้ตรวจสอบและมีการกล่าวอ้างไปในทางเดียวกันว่า องค์กรนี้ได้รับการจัดตั้งเมื่อต้นปี ๒๕๔๔ ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ จึงต้องการความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า การจัดตั้งองค์กรนี้เกิดขึ้นเมื่อใด? ที่กล่าวว่าต้นปี ๒๕๔๔ นั้น เป็นช่วงใด?
"ประเด็นที่ ๒ ในรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่ ๓ (วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗) หน้า ๕ ได้ยืนยันว่า ในการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย นั้น “มีการตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลต้องสงสัยและประสานด้านการข่าว จนนำไปสู่การจับกุมสมาชิกกลุ่ม เจมาห์ หรือ เจไอ ชาวสิงคโปร์ ที่สามารถขยายผลไปสู่การสืบทราบกลุ่มคนไทยที่ให้ความร่วมมือด้วย การสามารถผลักดันสมาชิกกลุ่ม อัล-ไคดา.......ไม่ให้เดินทางเข้าไทยได้สำเร็จ การปรับมาตรการรักษาความปลอดภัย ในช่วงการโจมตีอิรักของกองกำลังสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร และช่วงการประชุม APEC” และยังยืนยันหน้าเดียวกันว่า “ประเทศไทยได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนให้ประชาคมโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้าย และพร้อมร่วมมือกับมิตรประเทศในการปราบปราม นอกจากการร่วมมือในการประสานเครือข่ายด้านต่างๆระหว่างกันแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด ๒ ฉบับ เพิ่มฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และ เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นความผิดมูลฐานในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วย”
นอกจากนั้นในหน้า ๔๙ของรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ยัง ได้ระบุว่ารัฐบาลได้ “ประสานงานด้านการข่าวกับหน่วยงานด้านการข่าวในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ พบว่ามีผู้ก่อการร้ายสากลกลุ่มอัล-ไคดา กลุ่มเจมาห์ หรือ เจไอ ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จึงได้ร่วมกันสืบสวนหาข่าวจนพบตัวผู้ก่อการร้ายและมีการจับกุมที่สำคัญ ๒ ราย คือ :" การจับกุมนายอารีฟิน บิน อาลี สมาชิกเจไอชาวสิงคโปร์ แล้วผลักดันออกไปให้ทางการสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ซึ่งนไปสู่การดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องในไทย"
" การจับกุมนายฮัมบาลี หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจไอ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๖"
การ "อำนวยการและประสานงานทั้งภายในและต่างประเทศในการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการประสานงานกับต่างประเทศ ได้ดำเนินการทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยมีการจัดตั้ง Focal point การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง การแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ "การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ระหว่างกัน ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ" (หน้า 49) และในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล รัฐบาลยืนยันว่า “รัฐบาลได้ประสานข้อมูลกับมิตรประเทศมากขึ้น”
นอกจากนี้ในหน้า 50 ของรายงาน ฯ ยังมีการกล่าวอ้างถึงผลงานของรัฐบาลด้านความร่วมมือกับต่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายระหว่างประเทศดังนี้."นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติและเพิ่มระดับความร่วมมือทางด้านการข่าว การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการจัดตั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน"
และในหน้าเดียกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังยืนยันรายงานว่า ได "้ดำเนินมาตราการทางการข่าวกรอง โดยร่วมกับหน่วยข่าวมิตรประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในไทย ซึ่งการปฎิบัติงานนี้นำไปสู่การยับยั้งภัยคุกคามร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อการร้าย ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นพื้นที่กลุ่มก่อการร้าย ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นพื้นที่ก่อวินาศกรรมของกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศไม่เกิดผลเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งปกป้องชื่อเสียงบรรยากาศการค้าลงทุนต่างระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสถานะแวดล้อมสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสามารถฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจของประเทศขึ้นมาใหม่ได้ กระทั่งได้รับการยอมรับจากนานประเทศว่าไทยมีความมั่นคงปลอดภัยและเจ้าหน้าที่มีศักยภาพสามารถคุ้มครองผู้มาลงทุนในไทยได้"
ปัญหาที่ต้องการความกระจ่างจากรัฐบาล คือ ความร่วมมือการต่อต้านการก่อการร้ายสากลเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่ความร่วมมือดังกล่าว ต้องเป็นไปในกรอบของข้อตกลงความร่วมมือและผลสำเร็จที่กล่าวทั้งหมดนี้เกิดจาก CTIC มากน้อยเพียงใด? ถ้าหากว่าข้อกล่าวอ้างของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ว่า รัฐบาลชุดที่แล้วไปตกลงจัดตั้งมาและเป็นการสร้างปัญหา ก็สมควรที่จะยกเลิกโดยเร็ว ทำไมยังปล่อยให้เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่? การจัดตั้ง Focal point การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง โดยผ่านหน่วยงาน หรือ องค์กรใด? หรือ เป็นอันเดียวกับ CTIC ที่ท่านเห็นว่ามีปัญหาเป็นอันตรายต่อประเทศชาติหรือไม่? รัฐบาลต้องอธิบายให้เกิดความกระจ่างโดยเร็ว
ประเด็นที่ ๓ เรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลที่เป็นภาระหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล และข้อตกลงในบางเรื่อง บางประเด็น ก็ดำเนินไปในระดับหน่วยงานด้าน ข้อมูลข่าวกรองด้านความมั่นคงโดยเฉพาะ เพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามตัวบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ แต่การที่มีผู้รับผิดชอบระดับสูงในรัฐบาลออกมากล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประสิทธิภาพในความร่วมมือและการทำงานดังกล่าว เป็นการละเมิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องความมั่นคงและข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงหรือไม่?
ประเด็นที่ ๔ มีการรายงานข่าวในสื่อมวลชน ในช่วงเตรียมการประชุม APEC เช่นในหนังสือพิมพ์ Asia Wall Street Journal และ Financial Review ฉบับวันที่ ๑, ๒ และ ๓ ต.ค. ๒๕๔๖ กล่าวอ้างตรงกันว่า รัฐบาลได้ใช้ CTIC ในการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารป้องกันเหตุร้ายต่างๆที่พึงจะเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าประเทศไทยโดยรวมได้ประโยชน์ หากเห็นว่าเป็นภัยและสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติ รัฐบาลโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้ดูแลด้านความมั่นคง จำเป็นต้องยกเลิกหน่วยงานนี้โดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นจะถือว่าบกพร่องในหน้าที่และขาดความรับผิดชอบ
ประเด็นที่ ๕ มีการตั้งข้อสังเกตในบทบรรณาธิการของ หนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๒๕ พ.ค. ๔๗ โดยพาดหัวบทบรรณาธิการดังกล่าวว่า “วิธีการเพี้ยนของชวลิต (There’s madness to Chavalit’s method)” และตั้งข้อสังเกตว่า “รองนายกรัฐมนตรีท่านนี้ไม่สามารถได้รับความไว้วางใจให้ดูแลความมั่นคงของชาติอีกต่อไป เพราะผลจากการที่ท่านได้เปิดเผยข้อมูลลับของรัฐบาล ในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ” และตั้งข้อสังเกตว่า “เป็นการแสดงออกของบุคคลที่ไม่คงเส้นคงวาและไม่อยู่กับร่องกับรอย (Unstable and Erratic) นอกจากนี้บทบรรณาธิการดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า “พล.อ.ชวลิต คงต้องอธิบายต่อพวกเราว่า ทำไมรัฐบาลทักษิณ จึงไม่ยกเลิกหน่วยงานนี้เสีย หลังจากเข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศ ถ้าหากองค์กรนี้เป็นองค์กรที่เลวร้ายดังที่อ้าง” บทบรรณาธิการดังกล่าวยังแสดงความไม่ไว้วางใจต่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ให้ดูแลความมั่นคงแห่งชาติอีกต่อไป เพราะเหตุผลที่ว่า “การตัดสินใจที่แย่ ขาดวุฒิภาวะ และขาดความยั้งคิด (his judgment is poor, his maturity lacking and his mental alertness obviously failng).”
ในขณะที่รัฐบาลได้แสดงความภูมิใจต่อความสำเร็จด้านการดูแลความมั่นคงแห่งชาติ ในรายงานแสดงผลการดำ-เนินการ ฯ แต่ในขณะเดียวกัน รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กลับออกมาวิพากวิจารณ์หน่วยงานความร่วมมือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จดังกล่าว อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้ายได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องแสดงออกอย่างมีเอกภาพไม่ขัดแย้งกันเองและไม่ดำเนินการในลักษณะที่เพียงเพื่อต้องการตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์โดยปราศจากความรับผิดชอบ และขาดความรอบคอบในการนำข้อมูลบางอย่างมาเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาทบทวนวิธีการดังกล่าว และคำนึงถึงประเด็นที่ว่า ข้อความบางอย่างหรือการกระทำบางอย่าง หากไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในสภา เป็นการล่อแหลมต่อการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ เป็นการไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง ที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นำเรื่องนี้มากล่าวเป็นประเด็นทางการเมืองจนเป็นที่ห่วงกังวลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่ในขณะนี้
ประเด็นต่างๆที่ยกมาตั้งเป็นข้อสังเกต เพื่อเป็นคำถามนี้ ถ้า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่กล่าวถึงก่อน ผมก็จะไม่ยกขึ้นมาเป็นประเด็น เพราะผมตระหนักในผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่ในเมื่อท่านรองนายกได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมากล่าวในเวทีสาธารณะคือในสภาเสียเอง ประชาชนชาวไทยก็มีสิทธิที่จะขอความกระจ่างในเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด
และในฐานะที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นรองนายกฯ ดูแลด้านความมั่นคงของประเทศ ข้อกล่าวหาของบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation เมื่อวันที่ 25 พ.ค.นั้น ถือว่ารุนแรงมากและกระจายไปทั่วโลก อาจจะกระทบกับความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงของประเทศชาติอย่างมากได้ ใคร่ขอความกระจ่างว่าสิ่งที่บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation กล่าวหานั้น มีมูลความจริง แค่ไหน และท่านจะปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างไร? และหากท่านไม่ชี้แจงตอบโต้ข้อกล่าวหาให้กระจ่าง ก็จะไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงของท่านอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ประเด็นการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย ในหน้า ๕ ของ รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่ ๓ (วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗)
สืบเนื่องมาจากการที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ดูแลด้านความมั่นคง ได้กล่าวอ้างถึงองค์กรความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายที่เรียกว่า Counter Terrorism Intelligence Center (CTIC) เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค.๔๗ ในโอกาสอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่าเป็นองค์กร CTIC นี้เป็นองค์กรที่สร้างความแตกแยก ขัดแย้ง ในหมู่ ู่พี่น้อง ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดทางภาคใต้ และเป็นการเปิดช่องทางให้มีการเข้ามาก้าวก่ายด้านความมั่นคงในประเทศ
ประเด็นที่ ๑ จากข้อมูลที่ได้ตรวจสอบและมีการกล่าวอ้างไปในทางเดียวกันว่า องค์กรนี้ได้รับการจัดตั้งเมื่อต้นปี ๒๕๔๔ ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ จึงต้องการความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า การจัดตั้งองค์กรนี้เกิดขึ้นเมื่อใด? ที่กล่าวว่าต้นปี ๒๕๔๔ นั้น เป็นช่วงใด?
"ประเด็นที่ ๒ ในรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่ ๓ (วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗) หน้า ๕ ได้ยืนยันว่า ในการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย นั้น “มีการตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลต้องสงสัยและประสานด้านการข่าว จนนำไปสู่การจับกุมสมาชิกกลุ่ม เจมาห์ หรือ เจไอ ชาวสิงคโปร์ ที่สามารถขยายผลไปสู่การสืบทราบกลุ่มคนไทยที่ให้ความร่วมมือด้วย การสามารถผลักดันสมาชิกกลุ่ม อัล-ไคดา.......ไม่ให้เดินทางเข้าไทยได้สำเร็จ การปรับมาตรการรักษาความปลอดภัย ในช่วงการโจมตีอิรักของกองกำลังสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร และช่วงการประชุม APEC” และยังยืนยันหน้าเดียวกันว่า “ประเทศไทยได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนให้ประชาคมโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้าย และพร้อมร่วมมือกับมิตรประเทศในการปราบปราม นอกจากการร่วมมือในการประสานเครือข่ายด้านต่างๆระหว่างกันแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด ๒ ฉบับ เพิ่มฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และ เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นความผิดมูลฐานในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วย”
นอกจากนั้นในหน้า ๔๙ของรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ยัง ได้ระบุว่ารัฐบาลได้ “ประสานงานด้านการข่าวกับหน่วยงานด้านการข่าวในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ พบว่ามีผู้ก่อการร้ายสากลกลุ่มอัล-ไคดา กลุ่มเจมาห์ หรือ เจไอ ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จึงได้ร่วมกันสืบสวนหาข่าวจนพบตัวผู้ก่อการร้ายและมีการจับกุมที่สำคัญ ๒ ราย คือ :" การจับกุมนายอารีฟิน บิน อาลี สมาชิกเจไอชาวสิงคโปร์ แล้วผลักดันออกไปให้ทางการสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ซึ่งนไปสู่การดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องในไทย"
" การจับกุมนายฮัมบาลี หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจไอ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๖"
การ "อำนวยการและประสานงานทั้งภายในและต่างประเทศในการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการประสานงานกับต่างประเทศ ได้ดำเนินการทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยมีการจัดตั้ง Focal point การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง การแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ "การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ระหว่างกัน ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ" (หน้า 49) และในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล รัฐบาลยืนยันว่า “รัฐบาลได้ประสานข้อมูลกับมิตรประเทศมากขึ้น”
นอกจากนี้ในหน้า 50 ของรายงาน ฯ ยังมีการกล่าวอ้างถึงผลงานของรัฐบาลด้านความร่วมมือกับต่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายระหว่างประเทศดังนี้."นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติและเพิ่มระดับความร่วมมือทางด้านการข่าว การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการจัดตั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน"
และในหน้าเดียกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังยืนยันรายงานว่า ได "้ดำเนินมาตราการทางการข่าวกรอง โดยร่วมกับหน่วยข่าวมิตรประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในไทย ซึ่งการปฎิบัติงานนี้นำไปสู่การยับยั้งภัยคุกคามร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อการร้าย ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นพื้นที่กลุ่มก่อการร้าย ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นพื้นที่ก่อวินาศกรรมของกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศไม่เกิดผลเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งปกป้องชื่อเสียงบรรยากาศการค้าลงทุนต่างระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสถานะแวดล้อมสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสามารถฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจของประเทศขึ้นมาใหม่ได้ กระทั่งได้รับการยอมรับจากนานประเทศว่าไทยมีความมั่นคงปลอดภัยและเจ้าหน้าที่มีศักยภาพสามารถคุ้มครองผู้มาลงทุนในไทยได้"
ปัญหาที่ต้องการความกระจ่างจากรัฐบาล คือ ความร่วมมือการต่อต้านการก่อการร้ายสากลเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่ความร่วมมือดังกล่าว ต้องเป็นไปในกรอบของข้อตกลงความร่วมมือและผลสำเร็จที่กล่าวทั้งหมดนี้เกิดจาก CTIC มากน้อยเพียงใด? ถ้าหากว่าข้อกล่าวอ้างของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ว่า รัฐบาลชุดที่แล้วไปตกลงจัดตั้งมาและเป็นการสร้างปัญหา ก็สมควรที่จะยกเลิกโดยเร็ว ทำไมยังปล่อยให้เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่? การจัดตั้ง Focal point การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง โดยผ่านหน่วยงาน หรือ องค์กรใด? หรือ เป็นอันเดียวกับ CTIC ที่ท่านเห็นว่ามีปัญหาเป็นอันตรายต่อประเทศชาติหรือไม่? รัฐบาลต้องอธิบายให้เกิดความกระจ่างโดยเร็ว
ประเด็นที่ ๓ เรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลที่เป็นภาระหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล และข้อตกลงในบางเรื่อง บางประเด็น ก็ดำเนินไปในระดับหน่วยงานด้าน ข้อมูลข่าวกรองด้านความมั่นคงโดยเฉพาะ เพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามตัวบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ แต่การที่มีผู้รับผิดชอบระดับสูงในรัฐบาลออกมากล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประสิทธิภาพในความร่วมมือและการทำงานดังกล่าว เป็นการละเมิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องความมั่นคงและข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงหรือไม่?
ประเด็นที่ ๔ มีการรายงานข่าวในสื่อมวลชน ในช่วงเตรียมการประชุม APEC เช่นในหนังสือพิมพ์ Asia Wall Street Journal และ Financial Review ฉบับวันที่ ๑, ๒ และ ๓ ต.ค. ๒๕๔๖ กล่าวอ้างตรงกันว่า รัฐบาลได้ใช้ CTIC ในการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารป้องกันเหตุร้ายต่างๆที่พึงจะเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าประเทศไทยโดยรวมได้ประโยชน์ หากเห็นว่าเป็นภัยและสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติ รัฐบาลโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้ดูแลด้านความมั่นคง จำเป็นต้องยกเลิกหน่วยงานนี้โดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นจะถือว่าบกพร่องในหน้าที่และขาดความรับผิดชอบ
ประเด็นที่ ๕ มีการตั้งข้อสังเกตในบทบรรณาธิการของ หนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๒๕ พ.ค. ๔๗ โดยพาดหัวบทบรรณาธิการดังกล่าวว่า “วิธีการเพี้ยนของชวลิต (There’s madness to Chavalit’s method)” และตั้งข้อสังเกตว่า “รองนายกรัฐมนตรีท่านนี้ไม่สามารถได้รับความไว้วางใจให้ดูแลความมั่นคงของชาติอีกต่อไป เพราะผลจากการที่ท่านได้เปิดเผยข้อมูลลับของรัฐบาล ในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ” และตั้งข้อสังเกตว่า “เป็นการแสดงออกของบุคคลที่ไม่คงเส้นคงวาและไม่อยู่กับร่องกับรอย (Unstable and Erratic) นอกจากนี้บทบรรณาธิการดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า “พล.อ.ชวลิต คงต้องอธิบายต่อพวกเราว่า ทำไมรัฐบาลทักษิณ จึงไม่ยกเลิกหน่วยงานนี้เสีย หลังจากเข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศ ถ้าหากองค์กรนี้เป็นองค์กรที่เลวร้ายดังที่อ้าง” บทบรรณาธิการดังกล่าวยังแสดงความไม่ไว้วางใจต่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ให้ดูแลความมั่นคงแห่งชาติอีกต่อไป เพราะเหตุผลที่ว่า “การตัดสินใจที่แย่ ขาดวุฒิภาวะ และขาดความยั้งคิด (his judgment is poor, his maturity lacking and his mental alertness obviously failng).”
ในขณะที่รัฐบาลได้แสดงความภูมิใจต่อความสำเร็จด้านการดูแลความมั่นคงแห่งชาติ ในรายงานแสดงผลการดำ-เนินการ ฯ แต่ในขณะเดียวกัน รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กลับออกมาวิพากวิจารณ์หน่วยงานความร่วมมือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จดังกล่าว อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้ายได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องแสดงออกอย่างมีเอกภาพไม่ขัดแย้งกันเองและไม่ดำเนินการในลักษณะที่เพียงเพื่อต้องการตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์โดยปราศจากความรับผิดชอบ และขาดความรอบคอบในการนำข้อมูลบางอย่างมาเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาทบทวนวิธีการดังกล่าว และคำนึงถึงประเด็นที่ว่า ข้อความบางอย่างหรือการกระทำบางอย่าง หากไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในสภา เป็นการล่อแหลมต่อการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ เป็นการไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง ที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นำเรื่องนี้มากล่าวเป็นประเด็นทางการเมืองจนเป็นที่ห่วงกังวลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่ในขณะนี้
ประเด็นต่างๆที่ยกมาตั้งเป็นข้อสังเกต เพื่อเป็นคำถามนี้ ถ้า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่กล่าวถึงก่อน ผมก็จะไม่ยกขึ้นมาเป็นประเด็น เพราะผมตระหนักในผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่ในเมื่อท่านรองนายกได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมากล่าวในเวทีสาธารณะคือในสภาเสียเอง ประชาชนชาวไทยก็มีสิทธิที่จะขอความกระจ่างในเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด
และในฐานะที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นรองนายกฯ ดูแลด้านความมั่นคงของประเทศ ข้อกล่าวหาของบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation เมื่อวันที่ 25 พ.ค.นั้น ถือว่ารุนแรงมากและกระจายไปทั่วโลก อาจจะกระทบกับความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงของประเทศชาติอย่างมากได้ ใคร่ขอความกระจ่างว่าสิ่งที่บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation กล่าวหานั้น มีมูลความจริง แค่ไหน และท่านจะปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างไร? และหากท่านไม่ชี้แจงตอบโต้ข้อกล่าวหาให้กระจ่าง ก็จะไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงของท่านอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-