แท็ก
ทักษิณ ชินวัตร
3ปีทักษิณ:ใครรวย? 9 ก.พ 2544 - 9 ก.พ. 2547
นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 มาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 3 ปีเศษแล้ว แม้ว่าภาพภายนอกจะดูเหมือนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะค่อนข้างสูง มีการสร้างงานและสร้างรายได้ สร้างโอกาสให้กับประชาชนจำนวนมากก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงภาพลวงตาที่ถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น เพราะถ้ามองในแง่ของอัตราการเติบโต และความร่ำรวยที่แท้จริงแล้วมีแต่คนในรัฐบาลและพวกพ้องที่ใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะผลประโยชน์การบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภาค “คนรวย” ในตลาดหลักทรัพย์ ยิ่งทำให้กิจการต่างๆของ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในสังกัดกลุ่ม “ชินวัตร” มีราคาเพิ่มขึ้นและสร้างความร่ำรวยมหาศาล จากการเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆในตลาดหลักทรัพย์
1.บูมตลาดหุ้นทำเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้นใครได้รับประโยชน์
จากข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ปรากฎว่ามีหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีคนในครอบครัวชินวัตรเข้าไปถือหุ้นจำนวนมาก เช่น บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือ SHIN บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เชอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ ADVANC บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) หรือ SETTLE บริษัทเอ็มลิงค์ เอเชีย คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ MLINK บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) หรือ ITV บริษัทเอสซี แอสเสท จำกัด(มหาชน) หรือ SC ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TMBเป็นต้น เพราะหากเปรียบเทียบระยะเวลาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงปัจจุบันมูลค่าหุ้นของบริษัทเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นจำนวนมาก ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ยิ่งภาวะตลาดหุ้นบูมมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งสร้างมูลค่าหลักทรัพย์ตามมูลค่าตลาดรวม(มาร์เกตแค็ป) หรือเพิ่มสินทรัพย์ให้กับครอบครัวของนายกรัฐมนตรีที่เข้าไปถือหุ้นอยู่ในบริษัทเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงด้านราคาของหุ้นในเครือชินวัตร ซึ่งใช้ฐานข้อมูลราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 วันแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเกณฑ์ราคาเบื้องต้นเพื่อประเมินมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เทียบกับเมื่อรับตำแหน่งครบ 3 ปี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 พบว่ามีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นถึง 9.1 หมื่นล้านบาทโดยจากการคำนวณมูลค่าหุ้นเดิม กลุ่มชินวัตรถือรวมมีมูลค่า 1 แสนล้านบาทเศษ แต่เวลาผ่านพ้นมา 3 ปี ที่มีการใช้มาตรการทุกอย่างเพื่อให้ตลาดหุ้นบูมพบว่า มูลค่าหุ้นที่กลุ่มชินวัตรถือไว้ในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกถึง 91,799,815,047.25 บาท
2.ขายรัฐวิสาหกิจสร้างมาเก็ตแคปเพื่อประชาชนจริงหรือไม่มีการตั้งข้อสังเกตุกรณีพยายามผลักดันรัฐวิสาหกิจชั้นดีทั้งหลายเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยไม่ว่าจะเป็น บริษัทการบินไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย(ทอท.) เป็นต้น หรือล่าสุดจะเห็นได้จากกรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ที่ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์มากที่สุดและเป็นที่หมายปองของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากที่สุด ซึ่งถ้านำ เข้าตลาดหุ้นได้ก็จะยิ่งสร้างมาร์เกตแค็ป ในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นอีกการที่ทำให้มาเก็ตแคปในตลาดสูงขึ้นนี้จะเป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่จะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทที่เครือชินวัตรถือหุ้นอยู่ราคาขยับตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพย์สินในครอบครัวนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น และจะเป็นการปูทางในการนำบริษัทในเครือชินวัตร ที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกเกือบร้อยบริษัท เข้าไปจดทะเบียนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความร่ำรวยให้กับอาณาจักรชินวัตรขึ้นอีกทวีคูณดังนั้นด้วยผลประโยชน์จำนวนมหาศาลดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและทำทุกทางเพื่อให้ภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีความคึกคักอยู่ตลอดเวลา เช่นมีการออกมาตรการจูงใจนักเล่นหุ้นต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการออกมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่บุคคลที่นำเงินไปซื้อหุ้นผ่านกองทุนรวม หรือลดภาษีนักเล่นหุ้น เพื่อกระตุ้นการซื้อขายให้คึกคักอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งที่ตลาดหุ้นเกิดความ ผันผวน หุ้นตกต่ำ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็จะออกมาพูดชี้นำการซื้อขาย เช่น บอกว่า “ถ้าไม่เป็นนายกฯและมีเงิน จะเอาเงินสัก 1-2 พันล้านบาท ไปซื้อหุ้นซะเลย เพราะราคาหุ้นไทยตอนนี้ถูก เหลือเกิน ถูกมากๆ” (ที่มา:โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 4 ก.พ.47) เพราะด้วยคำพูดดังกล่าวส่งผลให้ในช่วงบ่ายวันเดียวกันก็มีแรงซื้อหุ้นกลับเข้ามาอย่างไม่คาดฝันมีการไล่ซื้อจนทำให้ดัชนีที่ติดลบเกือบ 18 จุดในชั่วโมงซื้อขายภาคเช้า กลายเป็นบวก 30 จุดในพริบตา ด้วยการไล่ซื้อของต่างชาติ หรือในบางช่วงที่กระทรวงการคลังออกมาตรการ ห้ามซื้อขายหุ้นแบบหักลบกลบหนี้ในวันเดียว (Net Settelment) เพื่อป้องกันการปั่นหุ้น ซึ่งมีผลให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ร่วงติดต่อนานถึงเกือบ สองสัปดาห์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลก็ต้องเลื่อนการใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพยุงตลาดหุ้นไม่ให้ตกต่ำลง อันจะมีผลทำให้ราคาหุ้นในเครือชินวัตรตกลงด้วย
3 .ตั้ง“สมคิด” เป็นรมว.คลังหวังเรียกความเชื่อมั่นนักเล่นหุ้นแม้กระทั่งในช่วงที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดทักษิณ 8 ที่นอกเหนือจากมีการปรับรัฐมนตรีบางคนออกไปเนื่องจากการแก้ปัญหาไม่สงบในภาคใต้ล้มเหลวแล้ว ยังมีการปรับรัฐมนตรีบางคนเช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ไปเป็นรัฐมนตรีคลังเพื่อหวังให้ไปกระตุ้นตลาดหุ้นให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพื่อให้ดัชนีหุ้นพุ่งขึ้นไปถึง 1,000จุดภายในปี 2547 ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ซึ่งคอลัมน์ นิสต์หลายฉบับตั้งข้อ สังเกตุเอาไว้ตรงกัน เช่น “การเปลี่ยนเก้าอี้ รมว.คลัง ครั้งนี้ เป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง ที่บ่งบอกว่า นายกรัฐมนตรีไทย กำลังต้องการเรียกศรัทธาจากนักลงทุนให้กลับคืนมาอย่างเร่งด่วน เพราะนายสมคิด ถือว่าเป็นผู้ที่นักลงทุนจำนวนมากนิยมชมชอบ เปรียบเสมือนฮีโร่ในดวงใจนักลงทุน” (ที่มา:บทความในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หน้า 7 ฉบับวันที่ 20 มีค.47 โดยจารุพันธ์ จิระรัชนิรม์)
สรุป
ความเติบโตในเชิงตัวเลข GDP ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามประโคมให้เห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยราวกับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่ขณะที่หนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งหมายถึงประชาชนจนลง ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าการเติบโตของตัวเลข GDP เป็นการเติบโตเพียงส่วนเดียวคือผู้กุมเศรษฐกิจในโครงสร้างส่วนบนนั่นคือการเติบโตในกระเป๋าของนักธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ดังที่มีการค้นพบในข้อมูลที่ยกมานี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจในเชิงรายได้ประชาชาติ ครั้งนี้ เป็นการฟื้นตัวที่คนในรัฐบาลและใกล้ชิดกับรัฐบบาลที่ใช้ตลาดหุ้นในการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ให้น้ำหนักและความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคหลักทรัพย์ หรือภาคที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดหลักทรัพย์มากที่สุด เพราะนั่นคือการที่เงินในกระเป๋าของ คนในรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจริงอยู่อาจจะมีการแก้ตัวว่าเป็นเรื่องของธุรกิจ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้น เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากพิจารณาให้ท่องแท้ ที่มูลค่าเพิ่มในทรัพย์สินให้กับตัวเองและวงศ์วานว่านเครือจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ อนาคตจะเป็นเครื่องพิสูจน์การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นถึงกว่า 9 หมื่นล้านในช่วงระยะเวลาเพียง 3 ปี เป็นเรื่องที่ทั้งน่ามหัศจรรย์ ปนกับความน่ากังขาอยู่ไม่น้อย หากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นดังกล่าว เป็นการเพิ่มขึ้นของกลุ่มนักธุรกิจธรรมดาคงไม่มีข้อน่าสังสัย หรือข้อสังเกตใดๆ แต่การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นในวงศ์วานว่านเครือคนในรัฐบาลซึ่ง มีอำนาจทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ จึงเป็นการเพิ่มขึ้นท่ามกลางข้อสังสัยอันมากมาย
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าบริหารประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 มาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 3 ปีเศษแล้ว แม้ว่าภาพภายนอกจะดูเหมือนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะค่อนข้างสูง มีการสร้างงานและสร้างรายได้ สร้างโอกาสให้กับประชาชนจำนวนมากก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงภาพลวงตาที่ถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น เพราะถ้ามองในแง่ของอัตราการเติบโต และความร่ำรวยที่แท้จริงแล้วมีแต่คนในรัฐบาลและพวกพ้องที่ใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะผลประโยชน์การบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภาค “คนรวย” ในตลาดหลักทรัพย์ ยิ่งทำให้กิจการต่างๆของ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในสังกัดกลุ่ม “ชินวัตร” มีราคาเพิ่มขึ้นและสร้างความร่ำรวยมหาศาล จากการเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆในตลาดหลักทรัพย์
1.บูมตลาดหุ้นทำเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้นใครได้รับประโยชน์
จากข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ปรากฎว่ามีหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีคนในครอบครัวชินวัตรเข้าไปถือหุ้นจำนวนมาก เช่น บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือ SHIN บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เชอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ ADVANC บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) หรือ SETTLE บริษัทเอ็มลิงค์ เอเชีย คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ MLINK บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) หรือ ITV บริษัทเอสซี แอสเสท จำกัด(มหาชน) หรือ SC ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TMBเป็นต้น เพราะหากเปรียบเทียบระยะเวลาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงปัจจุบันมูลค่าหุ้นของบริษัทเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นจำนวนมาก ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ยิ่งภาวะตลาดหุ้นบูมมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งสร้างมูลค่าหลักทรัพย์ตามมูลค่าตลาดรวม(มาร์เกตแค็ป) หรือเพิ่มสินทรัพย์ให้กับครอบครัวของนายกรัฐมนตรีที่เข้าไปถือหุ้นอยู่ในบริษัทเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงด้านราคาของหุ้นในเครือชินวัตร ซึ่งใช้ฐานข้อมูลราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 วันแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเกณฑ์ราคาเบื้องต้นเพื่อประเมินมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เทียบกับเมื่อรับตำแหน่งครบ 3 ปี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 พบว่ามีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นถึง 9.1 หมื่นล้านบาทโดยจากการคำนวณมูลค่าหุ้นเดิม กลุ่มชินวัตรถือรวมมีมูลค่า 1 แสนล้านบาทเศษ แต่เวลาผ่านพ้นมา 3 ปี ที่มีการใช้มาตรการทุกอย่างเพื่อให้ตลาดหุ้นบูมพบว่า มูลค่าหุ้นที่กลุ่มชินวัตรถือไว้ในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกถึง 91,799,815,047.25 บาท
2.ขายรัฐวิสาหกิจสร้างมาเก็ตแคปเพื่อประชาชนจริงหรือไม่มีการตั้งข้อสังเกตุกรณีพยายามผลักดันรัฐวิสาหกิจชั้นดีทั้งหลายเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยไม่ว่าจะเป็น บริษัทการบินไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย(ทอท.) เป็นต้น หรือล่าสุดจะเห็นได้จากกรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ที่ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์มากที่สุดและเป็นที่หมายปองของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากที่สุด ซึ่งถ้านำ เข้าตลาดหุ้นได้ก็จะยิ่งสร้างมาร์เกตแค็ป ในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นอีกการที่ทำให้มาเก็ตแคปในตลาดสูงขึ้นนี้จะเป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่จะทำให้ราคาหุ้นของบริษัทที่เครือชินวัตรถือหุ้นอยู่ราคาขยับตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพย์สินในครอบครัวนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น และจะเป็นการปูทางในการนำบริษัทในเครือชินวัตร ที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกเกือบร้อยบริษัท เข้าไปจดทะเบียนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความร่ำรวยให้กับอาณาจักรชินวัตรขึ้นอีกทวีคูณดังนั้นด้วยผลประโยชน์จำนวนมหาศาลดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและทำทุกทางเพื่อให้ภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีความคึกคักอยู่ตลอดเวลา เช่นมีการออกมาตรการจูงใจนักเล่นหุ้นต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการออกมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่บุคคลที่นำเงินไปซื้อหุ้นผ่านกองทุนรวม หรือลดภาษีนักเล่นหุ้น เพื่อกระตุ้นการซื้อขายให้คึกคักอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งที่ตลาดหุ้นเกิดความ ผันผวน หุ้นตกต่ำ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็จะออกมาพูดชี้นำการซื้อขาย เช่น บอกว่า “ถ้าไม่เป็นนายกฯและมีเงิน จะเอาเงินสัก 1-2 พันล้านบาท ไปซื้อหุ้นซะเลย เพราะราคาหุ้นไทยตอนนี้ถูก เหลือเกิน ถูกมากๆ” (ที่มา:โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 4 ก.พ.47) เพราะด้วยคำพูดดังกล่าวส่งผลให้ในช่วงบ่ายวันเดียวกันก็มีแรงซื้อหุ้นกลับเข้ามาอย่างไม่คาดฝันมีการไล่ซื้อจนทำให้ดัชนีที่ติดลบเกือบ 18 จุดในชั่วโมงซื้อขายภาคเช้า กลายเป็นบวก 30 จุดในพริบตา ด้วยการไล่ซื้อของต่างชาติ หรือในบางช่วงที่กระทรวงการคลังออกมาตรการ ห้ามซื้อขายหุ้นแบบหักลบกลบหนี้ในวันเดียว (Net Settelment) เพื่อป้องกันการปั่นหุ้น ซึ่งมีผลให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ร่วงติดต่อนานถึงเกือบ สองสัปดาห์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลก็ต้องเลื่อนการใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพยุงตลาดหุ้นไม่ให้ตกต่ำลง อันจะมีผลทำให้ราคาหุ้นในเครือชินวัตรตกลงด้วย
3 .ตั้ง“สมคิด” เป็นรมว.คลังหวังเรียกความเชื่อมั่นนักเล่นหุ้นแม้กระทั่งในช่วงที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดทักษิณ 8 ที่นอกเหนือจากมีการปรับรัฐมนตรีบางคนออกไปเนื่องจากการแก้ปัญหาไม่สงบในภาคใต้ล้มเหลวแล้ว ยังมีการปรับรัฐมนตรีบางคนเช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ไปเป็นรัฐมนตรีคลังเพื่อหวังให้ไปกระตุ้นตลาดหุ้นให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพื่อให้ดัชนีหุ้นพุ่งขึ้นไปถึง 1,000จุดภายในปี 2547 ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ซึ่งคอลัมน์ นิสต์หลายฉบับตั้งข้อ สังเกตุเอาไว้ตรงกัน เช่น “การเปลี่ยนเก้าอี้ รมว.คลัง ครั้งนี้ เป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง ที่บ่งบอกว่า นายกรัฐมนตรีไทย กำลังต้องการเรียกศรัทธาจากนักลงทุนให้กลับคืนมาอย่างเร่งด่วน เพราะนายสมคิด ถือว่าเป็นผู้ที่นักลงทุนจำนวนมากนิยมชมชอบ เปรียบเสมือนฮีโร่ในดวงใจนักลงทุน” (ที่มา:บทความในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หน้า 7 ฉบับวันที่ 20 มีค.47 โดยจารุพันธ์ จิระรัชนิรม์)
สรุป
ความเติบโตในเชิงตัวเลข GDP ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามประโคมให้เห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยราวกับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่ขณะที่หนี้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งหมายถึงประชาชนจนลง ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าการเติบโตของตัวเลข GDP เป็นการเติบโตเพียงส่วนเดียวคือผู้กุมเศรษฐกิจในโครงสร้างส่วนบนนั่นคือการเติบโตในกระเป๋าของนักธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ดังที่มีการค้นพบในข้อมูลที่ยกมานี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจในเชิงรายได้ประชาชาติ ครั้งนี้ เป็นการฟื้นตัวที่คนในรัฐบาลและใกล้ชิดกับรัฐบบาลที่ใช้ตลาดหุ้นในการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ให้น้ำหนักและความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคหลักทรัพย์ หรือภาคที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดหลักทรัพย์มากที่สุด เพราะนั่นคือการที่เงินในกระเป๋าของ คนในรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจริงอยู่อาจจะมีการแก้ตัวว่าเป็นเรื่องของธุรกิจ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้น เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากพิจารณาให้ท่องแท้ ที่มูลค่าเพิ่มในทรัพย์สินให้กับตัวเองและวงศ์วานว่านเครือจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ อนาคตจะเป็นเครื่องพิสูจน์การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นถึงกว่า 9 หมื่นล้านในช่วงระยะเวลาเพียง 3 ปี เป็นเรื่องที่ทั้งน่ามหัศจรรย์ ปนกับความน่ากังขาอยู่ไม่น้อย หากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นดังกล่าว เป็นการเพิ่มขึ้นของกลุ่มนักธุรกิจธรรมดาคงไม่มีข้อน่าสังสัย หรือข้อสังเกตใดๆ แต่การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นในวงศ์วานว่านเครือคนในรัฐบาลซึ่ง มีอำนาจทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ จึงเป็นการเพิ่มขึ้นท่ามกลางข้อสังสัยอันมากมาย
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-