แท็ก
วิทยุรัฐสภา
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่เขาเป็นประชาธิปไตยที่ค่อนข้างจะก้าวหน้าและก็สมบูรณ์ เขามีหลักอยู่อันหนึ่ง หลักนั้นเรียกว่า เวลาที่เท่าเทียมกัน เขาเรียกว่า Equal time คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตยของเราจะต้องมีเวลาเท่ากันในการที่จะเข้าถึงในการที่จะแสดงความคิดเห็นกับประชาชน ด้วยเหตุผลที่ว่าในเวทีกระบวนการประชาธิปไตยนั้น ความคิดเห็นต้องหลากหลาย พี่น้องประชาชนจะต้องร่วมตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง
รายการวิทยุรัฐสภาพบผู้นำฝ่ายค้าน คลื่นวิทยุ FM 87.5 MHz. วันพุธที่ 28 ก.ย.48 เวลา 08.30-09.00 น.
พิธีกร: ในช่วงนี้กิจการที่ท่านได้มีบทบาททางเวทีในเรื่องของทางโลก ในเรื่องของสหประชาชาติเองก็มีหลายบทบาท และก็เรื่องของการเลือกตั้งก็คงจะได้มาพูดคุยกันในวันนี้ครับ
ดร.สุรินทร์: เลือกตั้งที่จ.สตูลไม่ใช่เหรอครับ ก็ต้องขอขอบพระคุณวิทยุรัฐสภาคุณทศพล นี่คือช่องทางหนึ่งที่พี่น้องประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการรับรู้รับทราบแล้วก็แสดงออกซึ่งความคิดเห็น เป็นการแลกเปลี่ยนกันสองทาง ไม่ใช่พูดทางเดียว อันที่จริงในระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่เขาเป็นประชาธิปไตยที่ค่อนข้างจะก้าวหน้าและก็สมบูรณ์ เขามีหลักอยู่อันหนึ่งซึ่งคุณทศพลอาจเคยได้ยิน หลักนั้นเรียกว่า เวลาที่เท่าเทียมกัน เขาเรียกว่า Equal time คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตยของเราจะต้องมีเวลาเท่ากันในการที่จะเข้าถึงในการที่จะแสดงความคิดเห็นกับประชาชน ด้วยเหตุผลที่ว่าในเวทีกระบวนการประชาธิปไตยนั้น ความคิดเห็นต้องหลากหลาย พี่น้องประชาชนจะต้องร่วมตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง ทีนี้ความถูกต้องของข้อมูลความคิดเห็น มาตรการวิธีการที่จะแก้ปัญหาของสังคมมันไม่สามารถจะบอกได้ว่าอันไหนถูกต้องที่สุด มันเป็นเวทีที่จะต้องเปิดกว้างเพื่อจะแลกเปลี่ยนกันเพื่อจะให้ประชาชนได้มีส่วนได้รับรู้ในส่วนที่จะเลือกฟัง เลือกที่จะใช้ในการที่จะประกอบการตัดสินใจทางการเมืองของเขา แต่ว่าบ้านเราไม่ค่อยได้ทำ ถ้าฝ่ายรัฐบาลทำก็ทำไปฝ่ายเดียว แล้วก็พยายามที่จะไม่เปิดโอกาสไม่ให้โอกาส พูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ใช่วิธีการที่สมบูรณ์ในกระบวนการประชาธิปไตย ก็ต้องขอขอบพระคุณวิทยุรัฐสภาที่ทำหน้าที่นี้อยู่ คราวนี้ที่ผมรับผิดชอบอยู่ในขณะนี้ในฐานะที่เป็นฝ่ายค้าน ก็เนื่องจากมีประสบการณ์มาก่อนในเรื่องของความสัมพันธ์ การเมืองระหว่างประเทศได้รับการติดต่อประสานงานให้เข้าไปช่วย เข้าไปแนะนำ เข้าไปร่วมเป็นกรรมาธิการ ในกรอบของสหประชาชาติ นอกกรอบของสหประชาชาติหลายเรื่องทีเดียวครับ
แต่ประเด็นที่น่าสนใจในขณะนี้ที่เกิดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศก็คือ แนวความคิดเรื่องการที่ทุกประเทศในประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยเกี่ยวข้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้เพราะว่ากระบวนการโลกาภิวัฒน์ มันทำให้เขตแดนของเราพรมแดนของเราไม่สามารถที่จะปกป้องปัญหาต่าง ๆ ที่มันไหลบ่าข้ามแดนข้ามประเทศระหว่างกัน เช่น กรณีที่เห็นได้ชัดกรณีเรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ปัญหาการเคลื่อนไหวของเงินตรา ปัญหาของการเก็งค่าเงินบาท กำไร ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ กระบวนการทางด้านการเงินที่มันไหลบ่า ไหลผ่านกัน เกิดปัญหาขึ้นมามันไหลไปทั่วเลย มันเกิดขึ้นในประเทศไทย ประเทศเกาหลี ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย เลยไปถึงเม็กซิโก เลยไปถึงรัสเซีย กระทบกระเทือนกันไปหมด เราประสาน เราใกล้ชิด เราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นปัญหาต่าง ๆ มันจำเป็นจะต้องแก้รวมกัน มันจึงมีแนวความคิดใหม่ขึ้นมาอันหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก ในทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ นั่นก็คือ เรื่องของการที่จำเป็นจะต้องเปิดรับซึ่งกันและกัน จำเป็นจะต้องสื่อประสานกันมากขึ้นโดยถือหลักว่าไม่มีประเทศใดที่จะปกป้องป้องกันปัญหาอะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยลำพัง
ฉะนั้นจึงมีแนวความคิดขึ้นมาใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐมันไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนในอดีตอีกต่อไป เมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะในฐานะกลุ่มหรือในฐานะในกรอบของภูมิภาคองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ หมายถึงว่าส่วนหนึ่ง ของอำนาจอธิปไตยได้แบ่งปันไปแล้วและจำเป็นจะต้องแชร์กันจำเป็นจะต้องเปิดเข้าหากันจำเป็นจะต้องปรึกษาหารือกัน บางครั้งถึงขนาดจำเป็นจะต้องยกเรื่องข้างในขึ้นมาปรึกษาหารือกันได้โดยไม่ถือว่าเป็นการก้าวก่าย เนื่องจากปัญหามันไหลไปไหลมามันไหลบ่าระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องไฟไหม้ป่าในบอร์เนียว ไฟไหม้ป่าที่เกาะกาลิมันตัน หรือเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย รวมถึงประเทศไทยเราได้รับผลกระทบกระเทือนหมด แต่ว่านั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในของเขา ถ้าเขาไม่แก้เราก็จะต้องรับภาระตลอดไป แต่ถ้าเราไปพูดในเชิงที่จะไปให้ความเห็นตำหนิ หรือว่าเรียกร้องให้มีการแก้ไข เดี๋ยวจะหาว่ามีการก้าวก่าย นี่คือตัวอย่างคือประเด็นที่ชัดเจนที่สุด นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของยาเสพติด เรื่องของคนอพยพ กรณีของเราที่ 131 คนข้ามฟากไปยังมาเลเซียก็เหมือนกันเป็นลักษณะคล้าย ๆ กัน คือประชาคมระหว่างประเทศมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้
พิธีกร: ดังนั้นในแต่ละภูมิภาคก็ควรที่จะมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร เป็นกลุ่มในแต่ละภูมิภาค อย่างอาเซียนของเราที่มี 10 ประเทศ บวกกับอีก 3 ประเทศที่เรียกว่า อาเซียนพลัสทรี ตอนนี้เขาก็กำลังมีการพูดคุยเรื่องของการเมืองเรื่องของเศรษฐกิจ
คุณสุรินทร์: เพราะฉะนั้นปัญหาต่าง ๆ เมื่อเรารวมตัวกันแล้ว เราจะไม่ได้เฉพาะส่วนดีของการรวมตัว เมื่อรวมตัวกันแล้วต้องยอมรับว่าปัญหาของคนอื่นมันก็จะไหลบ่ามาสู่เราได้ด้วย ปัญหาของเราก็จะไหลบ่าไปสู่คนอื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะปรึกษาหาทางออกในการที่แก้ไขปัญหา อันนี้คือแง่คิดใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วก็มันจะกลายเป็นประเด็นมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ บางทีมันเป็นเรื่องที่ไกลตัวบางทีก็ใกล้ตัว บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เกี่ยวข้องกับการธนาคาร บางเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องซาร์ส เรื่องหวัดนก มันต้องทำร่วมกันแต่ว่าในอดีตไม่เคยมี ในอดีตถ้าเกิดปัญหาที่ฮ่องกง โตรอนโต้เขาอยู่สบายเขาไม่เคยเกี่ยวไม่เคยต้องวุ่นวายอะไรด้วย เดี๋ยวนี้เกิดโรคซาร์ที่ฮ่องกง ไปตายที่โตรอนโต้ตั้ง 24 คน
พิธีกร: แนวคิดเมื่อก่อนก็ถือว่าเป็นกิจการภายในประเทศแล้วแต่ว่าแต่ละในประเทศเขาจะจัดการกันอย่างไร
คุณสุรินทร์: ครับ แต่ตอนนี้ต้องรับรู้ร่วมกัน ช่วยกันแก้ไขซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่พี่น้องคนไทยเราควรจะรับทราบและควรจะตระหนักไว้ หลายคนก็รับรู้รับทราบไปแล้วบทความในสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็สะท้อนให้เห็นว่าได้ตระหนักถึงความแปรเปลี่ยนในความคิดของอันนี้ ซึ่งถ้าเราทราบหรือเราตระหนักก็จะไม่มีความรู้สึกหวั่นไหวกับการที่คนอื่นเขาแสดงความคิดเห็นในเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นภายในเรา เพราะบางครั้งเราอาจจะต้องแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้นที่มันมีผลกระทบต่อเราด้วย
พิธีกร: ก็คงจะต้องขอเรียนถาม ดร.สุรินทร์ ในโอกาสที่ถือเป็นโอกาสอันดี เท่าที่เห็นบทบาทการรวมตัวกันในเวทีระหว่างประเทศในแต่ละประเทศในแต่ละภูมิภาคเนี่ย เมื่อก่อนนี้เราคงจะเน้นไปในเรื่องของการรวมตัวกันเพื่อเป็นพลังต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันตอนนี้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศก็จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการก่อการร้ายครับ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับตอนนี้ เรื่องของการก่อการร้ายครับ
คุณสุรินทร์: ก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะว่าการก่อการร้ายนั้นมันก็ไม่มีพรหมแดนเหมือนกัน เพราะมันต้องการที่จะสร้างความหวาดกลัว ความระส่ำระสายให้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ว่าการก่อการร้ายสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยกำลังทหารโดยการใช้ความรุนแรงเท่านั้น ประเด็นนี้เป็นที่ตระหนักกันแล้วในเวทีระหว่างประเทศ ผมพยายามพูดเตือนสติเรื่องนี้มาตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ที่นิวยอร์ก 11 กันยาใหม่ ๆ ว่าการที่ไปโจมตีกันไปใช้ความรุนแรงกัน ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ในการตอบโต้มันอาจทำให้มีความรู้สึกสะใจพอใจว่าได้ตอบโต้แล้ว แต่ว่าปัญหามันจะยืดเยื้อปัญหามันจะไม่สามารถยุติได้ แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือ คนมีความรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีโอกาสเท่ากัน แล้วก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาทรัพยากรของตนเองได้ เพราะว่าความเหลื่อมล้ำในเรื่องวิทยาศาสตร์ ในเรื่องเทคโนโลยี ใครมีอำนาจมากกว่า ใครมีอำนาจสูงกว่าก็สามารถที่จะเอาประโยชน์ หาประโยชน์ได้จากทรัพยากรเหล่านั้นซึ่งฝังซึ่งซ่อนอยู่ ภายในประเทศใต้ดินใต้น้ำของประเทศต่าง ๆ ความขัดแย้งไม่เห็นตรงกันรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบเหล่านี้มันจำเป็นจะต้องแก้ไขและแก้ไขระยะยาว ดังนั้นที่สุดมันก็คือเรื่องของการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งมันต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่ถ้าหากว่าไม่เริ่มทำเนี่ยปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้มันก็จะมีมากขึ้น มันก็แก้ยาก
พิธีกร: ดังนั้นเวทีระหว่างประเทศที่จะเรียกว่าน่าที่จะกำหนดเป็นกรอบของสหประชาชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศตรงนี้ ก็ควรที่จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยบนหลักการของความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นใช่ไหมครับ
คุณสุรินทร์: ครับ แล้วก็ความร่วมมือกัน ความเท่าเทียมกันและก็ความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้เนี่ย มันไม่สามารถที่จะลบเลือนไปได้ ถ้าไม่มีการพัฒนาควบคู่ไปด้วย เพราะฉะนั้นประเทศโลกที่3ประเทศที่กำลังพัฒนาจึงเรียกร้องคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ไขความขัดแย้ง เรื่องของการเจรจาทางด้านการค้า เรื่องของการเปิดพรหมแดน แล้วก็การเคารพในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องไปด้วย ไม่ใช่ว่าจะทำได้ในลักษณะที่จะเอาประโยชน์จากประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าแล้ว นั้นไม่พูดถึงการพัฒนาไม่พูดถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องของความเป็นธรรมในการดูแลสุขภาพอนามัย เรื่องของการมีโอกาสเข้าถึงการบริการทางด้านสุขภาพ ยารักษาโรคบางชนิดมันแพงเกินไป ทำอย่างไรถึงจะลดราคาเพื่อที่จะให้หลาย ๆ ประเทศหลาย ๆ คนที่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการบริการลักษณะนี้ได้ สามารถที่จะเข้าถึงได้ ไม่งั้นก็จะแบ่งคนออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งสามารถที่จะเข้าถึงการรักษาได้ พวกโรคเอดส์ ยาโรคเอดส์นี้มันเกิดขึ้น ขณะนี้โรคเอดส์ในแอฟริกาและโรคเอดส์ในเอเชีย มันแพร่หลายมาก ๆ จนน่าเป็นห่วง เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดแต่ว่าบริษัทที่เขาคิดค้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้เนี่ย เขาต้องการที่จะยึดกุมทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้เอาไว้แล้วก็ตั้งราคาไว้สูงมาก ทำอย่างไรถึงจะให้ผลดังกล่าวถ้ามีโอกาสเท่าเทียมกัน ในโลกที่มันแคบลงทุกวันถ้าไม่คิดไม่แบ่งปันไม่มีการแชร์กันแล้วปัญหาของความขัดแย้งความเหลื่อมล้ำมันก็จะมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นแนวความคิดต่างๆ เหล่านี้มันกำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลก
พิธีกร: ลักษณะอย่างนี้ถ้าพูดถึงใกล้ตัวของในบ้านเราใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์อย่างนี้ ถ้าหากว่านำหลักการอย่างนี้เข้ามาจะสามารถทำให้คลี่คลายเหตุการณ์ต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลงไปได้ไหมครับ
คุณสุรินทร์: ผมคิดว่าเบื้องต้นก็ต้องยอมรับในความแตกต่าง ในความหลายหลายที่มีอยู่ในสังคมไทย ในแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติตั้งแต่ต้น เคารพเรื่องความแตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ไม่เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ทั่วไป แล้วก็ในเรื่องของการพัฒนา ในเรื่องของการสร้างทรัพยากรบุคคล ในเรื่องของการปรับโครงสร้างทางด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือศาสนาอิสลาม แล้วอาชีพของเขายังยึดกุมอยู่กับภาคเกษตร ภาคเกษตรจะต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ แต่ว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรธรรมชาติของเราคุณทศพลคงจะตระหนักดีว่าทั่วประเทศมันหร่อยหรอลง เมื่อหร่อยหรอลง คนที่ยังยึดมั่นอยู่ในภาคเกษตรก็จะเจอปัญหาจะประสบกับปัญหา แต่ว่าส่วนอื่นของประเทศเราสามารถที่จะถ่ายคนรุ่นใหม่ออกจากภาคเกษตร ออกจากท้องไร่ท้องนาเข้าไปสู่การจ้างงานในเมือง มีอาชีพอื่นที่เกิดขึ้นมีเทคโนโลยีการลงทุน มีการสร้างโรงงาน อพยพเข้ากรุงเทพมหานคร พื้นที่ส่วนนั้นเมื่อภาคเกษตรของเขาถูกกระทบกระเทือนโดยความหร่อยหรอ ความบั่นทอนเปลี่ยนแปลงไปของสภาพธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นชายทะเล ในน้ำ บนดิน ในภูเขา ในป่า ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาก็จะคับแคบลง อัตคัตลง ถ้าเกิดปัญหาในเรื่องของเศรษฐกิจในเรื่องของอาชีพ ก็จำเป็นจะต้องหาวิธีการที่จะไปพัฒนาอาชีพ การศึกษา การเตรียมคน การเตรียมอนาคต ซึ่งมันไม่ใช่ง่าย ต้องใช้เวลา แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเราก็ต้องค่อย ๆ เข้าใจขั้นตอนและสาเหตุของปัญหาแล้วก็พยายามที่จะให้โอกาสเข้าไปพัฒนา หลัง ๆ ก็ตระหนักในเรื่องนี้กันมากขึ้นนะครับ
พิธีกร: แล้วถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขต้นตอ หรือเข้าไปถึงปัญหาได้แท้จริงความเหลื่อมล้ำในสังคม ก็จะเกิดขึ้นแล้วก็อาจมีการแบ่งชนชั้นทางสังคม
คุณสุรินทร์: มันก็จะเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่นว่า มีการเผชิญหน้ากัน การไม่เข้าอกเข้าใจกันแล้วก็นำไปสู่ความขัดแย้ง ถ้าหากว่าแก้ไขไม่ได้หรือว่าไม่สามารถที่จะควบคุมกรอบของความขัดแย้งเอาไว้ได้ มันก็จะขยายกระจายไปเกิดปัญหาใหญ่โตกลายเป็นปัญหาที่ภูมิภาคก็ต้องเป็นห่วงด้วย เพราะว่ามันสามารถจะกระทบกระเทือนกันได้
พิธีกร: อย่างที่เราได้เห็นว่ามีการชุมนุมประท้วงเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลากับเรื่องของที่ดินทำกิน เรื่องของเกษตรที่เงินทุนต่าง ๆ ฉะนั้นก็ไม่สามารถไปชำระหนี้สินอะไรกับเขาได้ แล้วก็จะมีการรวบรวมบางทีหลายองค์กรก็มารวมกลุ่มกันเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
คุณสุรินทร์: อย่างน้อย ๆ ในเรื่องของส่วนอื่นของประเทศ ในเรื่องของภาษาไม่มีปัญหา ในเรื่องของความเชื่อวิถีชีวิตต่าง ๆ ไม่แตกต่างอะไรกันมากนัก ในพื้นที่ตรงนี้มันจะอ่อนไหวในเรื่องต่าง ๆเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นจะต้องเข้าใจ เป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อน ๆ ในอดีตตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มักมีปัญหานี้มาตลอด แต่ก็เลือกใช้วิธีที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาแก้ไขเรื่องของความไม่เข้าอกเข้าใจกัน เรื่องของความไม่ยุติธรรม การใช้อำนาจเกินเลย ขอบเขตของกฎหมาย ทั้งหมดทั้งหลายแก้กันมาตลอด และก็สามารถรักษา อย่างน้อย ๆ ไม่ให้ปัญหามันลุกลามใหญ่โต แต่ว่าผมโลกเหตุการณ์ของโลก การเปลี่ยนแปลงไปของบรรยากาศต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคนอกภูมิภาค ในประชาคมระหว่างประเทศมันมีส่วนในการกระตุ้น รวมทั้งแนวนโยบาย วิธีการ วิธีคิด การจัดการกับปัญหาภายในของเราด้วย ซึ่งทั้งหมดทั้งหลายมันมาผสม แล้วก็ก่อให้เกิดปฎิกริยา ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเราต้องวิเคราะห์แล้วก็หาต้นตอเหล่านี้กัน ทางกรรมการสมานฉันท์ก็พยายามที่จะปรึกษาหารือกันในเรื่องเหล่านี้ แล้วก็จะมีคำแนะนำอะไรออกมาเป็นรูปธรรมปลายปีนี้ครับ
พิธีกร: หมายความว่าในการที่จะมองปัญหาอะไรก็ตามก็ต้องมองถึงองค์รวมที่มีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเป็นบริบท ประกอบไปด้วยทุกส่วน และต้องเข้าไปถึงความลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
คุณสุรินทร์: ถูกต้องครับ เพราะปัญหาต่าง ๆ มันไม่สามารถที่จะแยกส่วนออกจากกันได้ มันมีส่วนสัมพันธ์แล้วก็มีแรงกระตุ้นมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าเราแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจภาพรวมต้นตอของปัญหา และหามาตรการที่ครอบคลุมจริง ๆ มันก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้
พิธีกร: ถ้าหากว่าเราจะมองถึงบทบาทในเวทีของโลกตอนนี้ ประเทศไทยควรจะอยู่จุดไหน แล้วก็ควรที่จะเข้าไปมีบทบาทอะไรมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้มั้ยครับ
คุณสุรินทร์: โอกาสของประเทศไทยดีมาก เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศเล็กประเทศขนาดกลาง ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร แล้วก็สามารถที่จะดำรงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ความเป็นเอกราชของตนเองมาได้ เป็นที่ยอมรับเป็นที่เชื่อถือ แต่ว่าความกดดันต่าง ๆในโลกมันมีมากเหลือเกิน มันมีการแก่งแย่งโอกาส แก่งแย่งเวที แก่งแย่งทรัพยากรกันมากถ้าหากเราวางตัวดี ๆ ถ้าหากว่าเราดำเนินแนวทางของเราอย่างรัดกุมอย่างมีเสถียรภาพ โอกาสของเราดีมากตอนนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะ handle ของเราอย่างไร เป็นที่ยอมรับเป็นที่เข้าใจเป็นที่ชื่นชมในอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันก็ต้องพยายามหันกลับไปดูว่าในอดีตทำกันมาอย่างไร
หมายเหตุ: เนื่องจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดภาระกิจ จึงได้มอบหมายให้ ดร.สุรินทร์พิศสุวรรณเป็นผู้ดำเนินรายการแทน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ก.ย. 2548--จบ--
รายการวิทยุรัฐสภาพบผู้นำฝ่ายค้าน คลื่นวิทยุ FM 87.5 MHz. วันพุธที่ 28 ก.ย.48 เวลา 08.30-09.00 น.
พิธีกร: ในช่วงนี้กิจการที่ท่านได้มีบทบาททางเวทีในเรื่องของทางโลก ในเรื่องของสหประชาชาติเองก็มีหลายบทบาท และก็เรื่องของการเลือกตั้งก็คงจะได้มาพูดคุยกันในวันนี้ครับ
ดร.สุรินทร์: เลือกตั้งที่จ.สตูลไม่ใช่เหรอครับ ก็ต้องขอขอบพระคุณวิทยุรัฐสภาคุณทศพล นี่คือช่องทางหนึ่งที่พี่น้องประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการรับรู้รับทราบแล้วก็แสดงออกซึ่งความคิดเห็น เป็นการแลกเปลี่ยนกันสองทาง ไม่ใช่พูดทางเดียว อันที่จริงในระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่เขาเป็นประชาธิปไตยที่ค่อนข้างจะก้าวหน้าและก็สมบูรณ์ เขามีหลักอยู่อันหนึ่งซึ่งคุณทศพลอาจเคยได้ยิน หลักนั้นเรียกว่า เวลาที่เท่าเทียมกัน เขาเรียกว่า Equal time คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตยของเราจะต้องมีเวลาเท่ากันในการที่จะเข้าถึงในการที่จะแสดงความคิดเห็นกับประชาชน ด้วยเหตุผลที่ว่าในเวทีกระบวนการประชาธิปไตยนั้น ความคิดเห็นต้องหลากหลาย พี่น้องประชาชนจะต้องร่วมตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง ทีนี้ความถูกต้องของข้อมูลความคิดเห็น มาตรการวิธีการที่จะแก้ปัญหาของสังคมมันไม่สามารถจะบอกได้ว่าอันไหนถูกต้องที่สุด มันเป็นเวทีที่จะต้องเปิดกว้างเพื่อจะแลกเปลี่ยนกันเพื่อจะให้ประชาชนได้มีส่วนได้รับรู้ในส่วนที่จะเลือกฟัง เลือกที่จะใช้ในการที่จะประกอบการตัดสินใจทางการเมืองของเขา แต่ว่าบ้านเราไม่ค่อยได้ทำ ถ้าฝ่ายรัฐบาลทำก็ทำไปฝ่ายเดียว แล้วก็พยายามที่จะไม่เปิดโอกาสไม่ให้โอกาส พูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ใช่วิธีการที่สมบูรณ์ในกระบวนการประชาธิปไตย ก็ต้องขอขอบพระคุณวิทยุรัฐสภาที่ทำหน้าที่นี้อยู่ คราวนี้ที่ผมรับผิดชอบอยู่ในขณะนี้ในฐานะที่เป็นฝ่ายค้าน ก็เนื่องจากมีประสบการณ์มาก่อนในเรื่องของความสัมพันธ์ การเมืองระหว่างประเทศได้รับการติดต่อประสานงานให้เข้าไปช่วย เข้าไปแนะนำ เข้าไปร่วมเป็นกรรมาธิการ ในกรอบของสหประชาชาติ นอกกรอบของสหประชาชาติหลายเรื่องทีเดียวครับ
แต่ประเด็นที่น่าสนใจในขณะนี้ที่เกิดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศก็คือ แนวความคิดเรื่องการที่ทุกประเทศในประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยเกี่ยวข้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้เพราะว่ากระบวนการโลกาภิวัฒน์ มันทำให้เขตแดนของเราพรมแดนของเราไม่สามารถที่จะปกป้องปัญหาต่าง ๆ ที่มันไหลบ่าข้ามแดนข้ามประเทศระหว่างกัน เช่น กรณีที่เห็นได้ชัดกรณีเรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ปัญหาการเคลื่อนไหวของเงินตรา ปัญหาของการเก็งค่าเงินบาท กำไร ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ กระบวนการทางด้านการเงินที่มันไหลบ่า ไหลผ่านกัน เกิดปัญหาขึ้นมามันไหลไปทั่วเลย มันเกิดขึ้นในประเทศไทย ประเทศเกาหลี ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย เลยไปถึงเม็กซิโก เลยไปถึงรัสเซีย กระทบกระเทือนกันไปหมด เราประสาน เราใกล้ชิด เราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นปัญหาต่าง ๆ มันจำเป็นจะต้องแก้รวมกัน มันจึงมีแนวความคิดใหม่ขึ้นมาอันหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก ในทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ นั่นก็คือ เรื่องของการที่จำเป็นจะต้องเปิดรับซึ่งกันและกัน จำเป็นจะต้องสื่อประสานกันมากขึ้นโดยถือหลักว่าไม่มีประเทศใดที่จะปกป้องป้องกันปัญหาอะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยลำพัง
ฉะนั้นจึงมีแนวความคิดขึ้นมาใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐมันไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนในอดีตอีกต่อไป เมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะในฐานะกลุ่มหรือในฐานะในกรอบของภูมิภาคองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ หมายถึงว่าส่วนหนึ่ง ของอำนาจอธิปไตยได้แบ่งปันไปแล้วและจำเป็นจะต้องแชร์กันจำเป็นจะต้องเปิดเข้าหากันจำเป็นจะต้องปรึกษาหารือกัน บางครั้งถึงขนาดจำเป็นจะต้องยกเรื่องข้างในขึ้นมาปรึกษาหารือกันได้โดยไม่ถือว่าเป็นการก้าวก่าย เนื่องจากปัญหามันไหลไปไหลมามันไหลบ่าระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องไฟไหม้ป่าในบอร์เนียว ไฟไหม้ป่าที่เกาะกาลิมันตัน หรือเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย รวมถึงประเทศไทยเราได้รับผลกระทบกระเทือนหมด แต่ว่านั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในของเขา ถ้าเขาไม่แก้เราก็จะต้องรับภาระตลอดไป แต่ถ้าเราไปพูดในเชิงที่จะไปให้ความเห็นตำหนิ หรือว่าเรียกร้องให้มีการแก้ไข เดี๋ยวจะหาว่ามีการก้าวก่าย นี่คือตัวอย่างคือประเด็นที่ชัดเจนที่สุด นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของยาเสพติด เรื่องของคนอพยพ กรณีของเราที่ 131 คนข้ามฟากไปยังมาเลเซียก็เหมือนกันเป็นลักษณะคล้าย ๆ กัน คือประชาคมระหว่างประเทศมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้
พิธีกร: ดังนั้นในแต่ละภูมิภาคก็ควรที่จะมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร เป็นกลุ่มในแต่ละภูมิภาค อย่างอาเซียนของเราที่มี 10 ประเทศ บวกกับอีก 3 ประเทศที่เรียกว่า อาเซียนพลัสทรี ตอนนี้เขาก็กำลังมีการพูดคุยเรื่องของการเมืองเรื่องของเศรษฐกิจ
คุณสุรินทร์: เพราะฉะนั้นปัญหาต่าง ๆ เมื่อเรารวมตัวกันแล้ว เราจะไม่ได้เฉพาะส่วนดีของการรวมตัว เมื่อรวมตัวกันแล้วต้องยอมรับว่าปัญหาของคนอื่นมันก็จะไหลบ่ามาสู่เราได้ด้วย ปัญหาของเราก็จะไหลบ่าไปสู่คนอื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะปรึกษาหาทางออกในการที่แก้ไขปัญหา อันนี้คือแง่คิดใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วก็มันจะกลายเป็นประเด็นมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ บางทีมันเป็นเรื่องที่ไกลตัวบางทีก็ใกล้ตัว บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เกี่ยวข้องกับการธนาคาร บางเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องซาร์ส เรื่องหวัดนก มันต้องทำร่วมกันแต่ว่าในอดีตไม่เคยมี ในอดีตถ้าเกิดปัญหาที่ฮ่องกง โตรอนโต้เขาอยู่สบายเขาไม่เคยเกี่ยวไม่เคยต้องวุ่นวายอะไรด้วย เดี๋ยวนี้เกิดโรคซาร์ที่ฮ่องกง ไปตายที่โตรอนโต้ตั้ง 24 คน
พิธีกร: แนวคิดเมื่อก่อนก็ถือว่าเป็นกิจการภายในประเทศแล้วแต่ว่าแต่ละในประเทศเขาจะจัดการกันอย่างไร
คุณสุรินทร์: ครับ แต่ตอนนี้ต้องรับรู้ร่วมกัน ช่วยกันแก้ไขซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่พี่น้องคนไทยเราควรจะรับทราบและควรจะตระหนักไว้ หลายคนก็รับรู้รับทราบไปแล้วบทความในสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็สะท้อนให้เห็นว่าได้ตระหนักถึงความแปรเปลี่ยนในความคิดของอันนี้ ซึ่งถ้าเราทราบหรือเราตระหนักก็จะไม่มีความรู้สึกหวั่นไหวกับการที่คนอื่นเขาแสดงความคิดเห็นในเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นภายในเรา เพราะบางครั้งเราอาจจะต้องแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้นที่มันมีผลกระทบต่อเราด้วย
พิธีกร: ก็คงจะต้องขอเรียนถาม ดร.สุรินทร์ ในโอกาสที่ถือเป็นโอกาสอันดี เท่าที่เห็นบทบาทการรวมตัวกันในเวทีระหว่างประเทศในแต่ละประเทศในแต่ละภูมิภาคเนี่ย เมื่อก่อนนี้เราคงจะเน้นไปในเรื่องของการรวมตัวกันเพื่อเป็นพลังต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันตอนนี้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศก็จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการก่อการร้ายครับ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับตอนนี้ เรื่องของการก่อการร้ายครับ
คุณสุรินทร์: ก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะว่าการก่อการร้ายนั้นมันก็ไม่มีพรหมแดนเหมือนกัน เพราะมันต้องการที่จะสร้างความหวาดกลัว ความระส่ำระสายให้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ว่าการก่อการร้ายสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยกำลังทหารโดยการใช้ความรุนแรงเท่านั้น ประเด็นนี้เป็นที่ตระหนักกันแล้วในเวทีระหว่างประเทศ ผมพยายามพูดเตือนสติเรื่องนี้มาตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ที่นิวยอร์ก 11 กันยาใหม่ ๆ ว่าการที่ไปโจมตีกันไปใช้ความรุนแรงกัน ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ในการตอบโต้มันอาจทำให้มีความรู้สึกสะใจพอใจว่าได้ตอบโต้แล้ว แต่ว่าปัญหามันจะยืดเยื้อปัญหามันจะไม่สามารถยุติได้ แล้วที่สำคัญที่สุดก็คือ คนมีความรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีโอกาสเท่ากัน แล้วก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาทรัพยากรของตนเองได้ เพราะว่าความเหลื่อมล้ำในเรื่องวิทยาศาสตร์ ในเรื่องเทคโนโลยี ใครมีอำนาจมากกว่า ใครมีอำนาจสูงกว่าก็สามารถที่จะเอาประโยชน์ หาประโยชน์ได้จากทรัพยากรเหล่านั้นซึ่งฝังซึ่งซ่อนอยู่ ภายในประเทศใต้ดินใต้น้ำของประเทศต่าง ๆ ความขัดแย้งไม่เห็นตรงกันรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบเหล่านี้มันจำเป็นจะต้องแก้ไขและแก้ไขระยะยาว ดังนั้นที่สุดมันก็คือเรื่องของการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งมันต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่ถ้าหากว่าไม่เริ่มทำเนี่ยปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้มันก็จะมีมากขึ้น มันก็แก้ยาก
พิธีกร: ดังนั้นเวทีระหว่างประเทศที่จะเรียกว่าน่าที่จะกำหนดเป็นกรอบของสหประชาชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศตรงนี้ ก็ควรที่จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยบนหลักการของความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นใช่ไหมครับ
คุณสุรินทร์: ครับ แล้วก็ความร่วมมือกัน ความเท่าเทียมกันและก็ความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้เนี่ย มันไม่สามารถที่จะลบเลือนไปได้ ถ้าไม่มีการพัฒนาควบคู่ไปด้วย เพราะฉะนั้นประเทศโลกที่3ประเทศที่กำลังพัฒนาจึงเรียกร้องคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ไขความขัดแย้ง เรื่องของการเจรจาทางด้านการค้า เรื่องของการเปิดพรหมแดน แล้วก็การเคารพในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องไปด้วย ไม่ใช่ว่าจะทำได้ในลักษณะที่จะเอาประโยชน์จากประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าแล้ว นั้นไม่พูดถึงการพัฒนาไม่พูดถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องของความเป็นธรรมในการดูแลสุขภาพอนามัย เรื่องของการมีโอกาสเข้าถึงการบริการทางด้านสุขภาพ ยารักษาโรคบางชนิดมันแพงเกินไป ทำอย่างไรถึงจะลดราคาเพื่อที่จะให้หลาย ๆ ประเทศหลาย ๆ คนที่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการบริการลักษณะนี้ได้ สามารถที่จะเข้าถึงได้ ไม่งั้นก็จะแบ่งคนออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งสามารถที่จะเข้าถึงการรักษาได้ พวกโรคเอดส์ ยาโรคเอดส์นี้มันเกิดขึ้น ขณะนี้โรคเอดส์ในแอฟริกาและโรคเอดส์ในเอเชีย มันแพร่หลายมาก ๆ จนน่าเป็นห่วง เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดแต่ว่าบริษัทที่เขาคิดค้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้เนี่ย เขาต้องการที่จะยึดกุมทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้เอาไว้แล้วก็ตั้งราคาไว้สูงมาก ทำอย่างไรถึงจะให้ผลดังกล่าวถ้ามีโอกาสเท่าเทียมกัน ในโลกที่มันแคบลงทุกวันถ้าไม่คิดไม่แบ่งปันไม่มีการแชร์กันแล้วปัญหาของความขัดแย้งความเหลื่อมล้ำมันก็จะมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นแนวความคิดต่างๆ เหล่านี้มันกำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลก
พิธีกร: ลักษณะอย่างนี้ถ้าพูดถึงใกล้ตัวของในบ้านเราใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์อย่างนี้ ถ้าหากว่านำหลักการอย่างนี้เข้ามาจะสามารถทำให้คลี่คลายเหตุการณ์ต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลงไปได้ไหมครับ
คุณสุรินทร์: ผมคิดว่าเบื้องต้นก็ต้องยอมรับในความแตกต่าง ในความหลายหลายที่มีอยู่ในสังคมไทย ในแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติตั้งแต่ต้น เคารพเรื่องความแตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ไม่เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ทั่วไป แล้วก็ในเรื่องของการพัฒนา ในเรื่องของการสร้างทรัพยากรบุคคล ในเรื่องของการปรับโครงสร้างทางด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือศาสนาอิสลาม แล้วอาชีพของเขายังยึดกุมอยู่กับภาคเกษตร ภาคเกษตรจะต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ แต่ว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรธรรมชาติของเราคุณทศพลคงจะตระหนักดีว่าทั่วประเทศมันหร่อยหรอลง เมื่อหร่อยหรอลง คนที่ยังยึดมั่นอยู่ในภาคเกษตรก็จะเจอปัญหาจะประสบกับปัญหา แต่ว่าส่วนอื่นของประเทศเราสามารถที่จะถ่ายคนรุ่นใหม่ออกจากภาคเกษตร ออกจากท้องไร่ท้องนาเข้าไปสู่การจ้างงานในเมือง มีอาชีพอื่นที่เกิดขึ้นมีเทคโนโลยีการลงทุน มีการสร้างโรงงาน อพยพเข้ากรุงเทพมหานคร พื้นที่ส่วนนั้นเมื่อภาคเกษตรของเขาถูกกระทบกระเทือนโดยความหร่อยหรอ ความบั่นทอนเปลี่ยนแปลงไปของสภาพธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นชายทะเล ในน้ำ บนดิน ในภูเขา ในป่า ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาก็จะคับแคบลง อัตคัตลง ถ้าเกิดปัญหาในเรื่องของเศรษฐกิจในเรื่องของอาชีพ ก็จำเป็นจะต้องหาวิธีการที่จะไปพัฒนาอาชีพ การศึกษา การเตรียมคน การเตรียมอนาคต ซึ่งมันไม่ใช่ง่าย ต้องใช้เวลา แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเราก็ต้องค่อย ๆ เข้าใจขั้นตอนและสาเหตุของปัญหาแล้วก็พยายามที่จะให้โอกาสเข้าไปพัฒนา หลัง ๆ ก็ตระหนักในเรื่องนี้กันมากขึ้นนะครับ
พิธีกร: แล้วถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขต้นตอ หรือเข้าไปถึงปัญหาได้แท้จริงความเหลื่อมล้ำในสังคม ก็จะเกิดขึ้นแล้วก็อาจมีการแบ่งชนชั้นทางสังคม
คุณสุรินทร์: มันก็จะเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่นว่า มีการเผชิญหน้ากัน การไม่เข้าอกเข้าใจกันแล้วก็นำไปสู่ความขัดแย้ง ถ้าหากว่าแก้ไขไม่ได้หรือว่าไม่สามารถที่จะควบคุมกรอบของความขัดแย้งเอาไว้ได้ มันก็จะขยายกระจายไปเกิดปัญหาใหญ่โตกลายเป็นปัญหาที่ภูมิภาคก็ต้องเป็นห่วงด้วย เพราะว่ามันสามารถจะกระทบกระเทือนกันได้
พิธีกร: อย่างที่เราได้เห็นว่ามีการชุมนุมประท้วงเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลากับเรื่องของที่ดินทำกิน เรื่องของเกษตรที่เงินทุนต่าง ๆ ฉะนั้นก็ไม่สามารถไปชำระหนี้สินอะไรกับเขาได้ แล้วก็จะมีการรวบรวมบางทีหลายองค์กรก็มารวมกลุ่มกันเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
คุณสุรินทร์: อย่างน้อย ๆ ในเรื่องของส่วนอื่นของประเทศ ในเรื่องของภาษาไม่มีปัญหา ในเรื่องของความเชื่อวิถีชีวิตต่าง ๆ ไม่แตกต่างอะไรกันมากนัก ในพื้นที่ตรงนี้มันจะอ่อนไหวในเรื่องต่าง ๆเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นจะต้องเข้าใจ เป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อน ๆ ในอดีตตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มักมีปัญหานี้มาตลอด แต่ก็เลือกใช้วิธีที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาแก้ไขเรื่องของความไม่เข้าอกเข้าใจกัน เรื่องของความไม่ยุติธรรม การใช้อำนาจเกินเลย ขอบเขตของกฎหมาย ทั้งหมดทั้งหลายแก้กันมาตลอด และก็สามารถรักษา อย่างน้อย ๆ ไม่ให้ปัญหามันลุกลามใหญ่โต แต่ว่าผมโลกเหตุการณ์ของโลก การเปลี่ยนแปลงไปของบรรยากาศต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคนอกภูมิภาค ในประชาคมระหว่างประเทศมันมีส่วนในการกระตุ้น รวมทั้งแนวนโยบาย วิธีการ วิธีคิด การจัดการกับปัญหาภายในของเราด้วย ซึ่งทั้งหมดทั้งหลายมันมาผสม แล้วก็ก่อให้เกิดปฎิกริยา ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเราต้องวิเคราะห์แล้วก็หาต้นตอเหล่านี้กัน ทางกรรมการสมานฉันท์ก็พยายามที่จะปรึกษาหารือกันในเรื่องเหล่านี้ แล้วก็จะมีคำแนะนำอะไรออกมาเป็นรูปธรรมปลายปีนี้ครับ
พิธีกร: หมายความว่าในการที่จะมองปัญหาอะไรก็ตามก็ต้องมองถึงองค์รวมที่มีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเป็นบริบท ประกอบไปด้วยทุกส่วน และต้องเข้าไปถึงความลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
คุณสุรินทร์: ถูกต้องครับ เพราะปัญหาต่าง ๆ มันไม่สามารถที่จะแยกส่วนออกจากกันได้ มันมีส่วนสัมพันธ์แล้วก็มีแรงกระตุ้นมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าเราแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจภาพรวมต้นตอของปัญหา และหามาตรการที่ครอบคลุมจริง ๆ มันก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้
พิธีกร: ถ้าหากว่าเราจะมองถึงบทบาทในเวทีของโลกตอนนี้ ประเทศไทยควรจะอยู่จุดไหน แล้วก็ควรที่จะเข้าไปมีบทบาทอะไรมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้มั้ยครับ
คุณสุรินทร์: โอกาสของประเทศไทยดีมาก เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศเล็กประเทศขนาดกลาง ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร แล้วก็สามารถที่จะดำรงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ความเป็นเอกราชของตนเองมาได้ เป็นที่ยอมรับเป็นที่เชื่อถือ แต่ว่าความกดดันต่าง ๆในโลกมันมีมากเหลือเกิน มันมีการแก่งแย่งโอกาส แก่งแย่งเวที แก่งแย่งทรัพยากรกันมากถ้าหากเราวางตัวดี ๆ ถ้าหากว่าเราดำเนินแนวทางของเราอย่างรัดกุมอย่างมีเสถียรภาพ โอกาสของเราดีมากตอนนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะ handle ของเราอย่างไร เป็นที่ยอมรับเป็นที่เข้าใจเป็นที่ชื่นชมในอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันก็ต้องพยายามหันกลับไปดูว่าในอดีตทำกันมาอย่างไร
หมายเหตุ: เนื่องจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดภาระกิจ จึงได้มอบหมายให้ ดร.สุรินทร์พิศสุวรรณเป็นผู้ดำเนินรายการแทน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ก.ย. 2548--จบ--