ดร.สรรเสริญ สมะลาภา’ กับความเห็นภาพรวมเศรษฐกิจไทย
...ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เลขานุการคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ กับความเห็น กรณีภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ระบุการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในประเทศ
เศรษฐกิจ ในมุมมองของมหภาค ณ ขณะนี้ปัญหาอยู่หลายเรื่องด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เรื่องของราคาดอกเบี้ย เรื่องของประเทศจีนที่ชะลอเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาภาคใต้ แต่ทั้ง 4 เรื่องเบื้องต้นไม่ใช่ปัญหาหลักในขณะนี้ เพราะว่าปัญหาหลักในขณะนี้คือ เรื่องของการกระจายรายได้ให้ประชาชน พอพูดถึงการกระจายรายได้ให้กับประชาชน ถ้าดูจากรายได้ของคนทั้งประเทศ ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือเรียกสั้นๆว่าจีดีพี ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือการบริโภคของประชาชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 60 % ของจีดีพี เมื่อดูว่าการที่จีดีพีขยายตัวได้ถึง 6.7 % ในปี 2546 นั้น มาจากการบริโภคด้านใดบ้าง การบริโภคสินค้าการเกษตรขยายตัวเพียง 2 % เพราะฉะนั้นการที่จีดีพีขยายตัวได้ 6.7% ในปีที่แล้วไม่ได้มาจากการบริโภคสินค้าเกษตรเป็นหลัก การบริโภคอาหารต้องขยายตัวเพียง 1% เครื่องแต่งกาย 1% เท่านั้น ส่วนในเรื่องของโรงแรมและภัตคารไม่ขยายตัว แต่กับหดตัวถึง 3.8 % เพราะฉะนั้นการที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ทั้ง 4 รายการเบื้องต้นมีส่วนช่วยชุดเศรษฐกิจน้อยมาก คำถามก็คือว่าแล้วอะไรชุดเศรษฐกิจบ้าง คำตอบคือจาก 2 ภาคหลักคือ การบริโภคยานพาหนะ และการสื่อสาร
การบริโภคยานพาหนะพูดแล้วจะตกใจ เพราะปีที่แล้วขยายตัวถึง 36.3% ส่วนการสื่อสารก็ไม่แพ้กัน ขยายตัว 25.5% ถ้าหากถามต่อไปว่าทั้ง 2 ภาคนี้ขยายตัวมานานหรือยัง คำตอบคือไม่นานเพราะเพิ่งจะมาขยายตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คือตอนที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหาร เพราะฉะนั้นใครจะรวยจากเรื่องนี้ก็เป็นที่ทราบกันแล้ว อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ชี้ชัดที่สุดในเรื่องของการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรมก็คือจำนวนผู้มีงานทำ สำรวจโดยสนง.สถิติแห่งชาติ ล่าสุดก็คือเดือนมี.ค.2547 เพราะถ้าดูจากรายภาคแล้ว ในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคเกษตรมีการจ้างงานโดยเฉลี่ยลดลง 386,000 เทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว ส่วนภาคอุตสาหกรรมกับมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้าน 6 หมื่นคน เทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้สอดคล้องกับการบริโภคที่ดี เฉพาะในส่วนของยานพาหนะและการสื่อสาร คำถามคือทำไมการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง เป็นเพราะว่างานทางด้านเศรษฐกิจในเรื่องหลักๆนั้น จริงๆแล้วรัฐบาลไม่ได้สร้างอะไรใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือรัฐบาลไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตของประเทศ ซึ่งเมื่อก่อนเราต้องนำเข้าวัตถุดิบกับสินค้าทุนมาผลิตสินค้ามากเท่าใด ปัจจุบันก็ยังคงมากเท่านั้นอยู่ และเมื่อเศรษฐกิจโตขึ้น การนำเข้าทั้งวัตถุดิบและสินค้าทุนก็ขยายตัวขึ้น ทำให้ล่าสุดการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก และในเดือนมี.ค.ประเทศไทยก็ขาดดุลการค้าไปแล้วถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เดือนเม.ย.อีก 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการขาดดุล2 เดือนติดต่อกัน และการนำเข้าก็ยังขยายตัวสูงขึ้นต่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และตลอด3 ปีที่รัฐบาลไม่ได้ทำเรื่องนี้รัฐบาลมั่วทำอะไรอยู่ คำตอบก็คือตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐบาลทำเป็นการโยกเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา
ตัวอย่างที่คิดว่าชัดเจนที่สุดก็คือในเรื่องของกองทุนวายุภักษ์ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย เพราะเป็นเพียงการโยกเงิน โยกผลประโยชน์ที่อยู่ที่กระทรวงการคลังมาเป็นผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุน แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว เพราะว่ายอดซื้อหน่วยลงทุนของประชาชนมีเพียง 2หมื่นลานจากที่เปิดจองทั้งหมด 7 หมื่นล้าน เมื่อพูดถึงกองทุนนี้แล้ว วัตถุประสงค์ของกองทุนนี้ยอมเป็นข้อกังขา เพราะว่าเริ่มแรกที่เดียวที่รัฐบาลได้แถลง กองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชนรายย่อย เนื่องจากว่าสภาวะดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นต่ำ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวจะพบว่ารัฐบาลได้ประกาศว่าจะนำเงินสำรองของกองทุนนั้น 3 หมื่นล้าน ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบอกว่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีราคาสูง จริงๆแล้วจะถูกหรือจะแพงก็แล้วแต่มุมมอง แต่ข้อกังขาก็คือว่ารัฐบาลจะประกาศที่จะซื้อหุ้นก่อนที่กองทุนนี้ซื้อจริงกันใหม่ เพราะนั้นทำให้เกิดการเก็ง กำไร และแน่นอนที่สุดครับ หุ้นที่กองทุนนี้จะซื้อก็จะแพงกว่าที่ควรจะเป็น และผลประโยชน์ของประชาชนผู้ซื้อหน่วยลงทุนก็จะลดลง ถึงแม้ว่าหุ้นจะขึ้นบ้างลงบ้าง แต่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนั้นที่รัฐบาลประกาศว่าจะซื้อหุ้นๆขึ้นจริงๆ เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนนี้ มีไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนรายย่อย หรือเพื่อปั่นหุ้นกันแน่อันนั้นเป็นข้อกังขาที่จะต้องเรียนถามไปถึงรัฐบาล นอกจากนั้นเรื่องข้อเท็จจริงที่ว่าหุ้นที่อยู่ในกองทุนนี้มีหุ้นรัฐวิสาหกิจส่วนกองทุนวายุภักษ์ จึงเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะแอบแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเงียบ โดยไม่ให้ประชาชนรับทราบ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องติดตามการดำเนินงานของกองทุนนี้อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีการแอบแปรรูปรัฐวิสาหกิจจริงหรือไม่ และถ้าหากแปรจริงรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรจะมีความเหมาะสมหรือไม่ อันนั้นก็เป็นเรื่องของกองทุนวายุภักษ์
ในเรื่องของกองทุนหมู่บ้านอันนี้ก็พูดกันมาหลายครั้ง แต่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการโยกเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา เพราะเป็นการโยกเงินงบประมาณไปไว้ที่หมู่บ้าน พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจดีว่ารัฐบาลได้คะแนนเสียงจากเรื่องนี้ แต่มาถึงตอนนี้แล้วรัฐบาลจะปฏิเสธไม่ได้ ว่ากองทุนหมู่บ้านนี้มีปัญหา เพราะว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำคือ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนและหนี้ของกองทุนหมู่บ้านนี้ก็เป็นปัญหาในลำดับต้นๆ ยอดที่กองทุนหมู่บ้านที่มีปัญหามีถึง 4 หมื่น 2 พันล้าน จากที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย จากวงเงินทั้งหมด 7 หมื่นล้าน ที่รัฐบาลได้ปล่อยกู้ในช่วงแรก คิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่เดียวครับ คือมากกว่าครึ่ง แต่ทั้งนี้ในส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนโดยรวม แต่ว่าจะขอตำหนินโยบายกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลสร้างปัญหาเรื่องหนี้ให้ประชาชนไปแล้ว และกำลังจะย้ายปัญหานั้นไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ผ่านทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเข้าใจดีว่ารัฐบาลจะได้คะแนนเสียงอีกรอบในระยะเวลาสั้น แต่สิ่งที่พวกเราต้องคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว คือผมคิดว่าถ้ายกหนี้ให้เสร็จไปเลยในรอบเดียวก็จะสูญเสียทีเดียวและก็จบกันไป แต่ว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดครั้งนี้ แต่ถ้าจะทำในแบบที่รัฐบาลกำลังจะทำก็คือโยนหนี้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ก็ไม่มั่นใจว่าตราบใดที่ประชาชนยังเป็นหนี้อยู่จะมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รอบ 2 รอบ 3 และรอบ 4 ต่อไปหรือไม่ และคนที่แย่ที่สุดคือธนาคารรัฐที่เป็นผู้รับภาระ สิ่งที่น่าวิตกมากขึ้นก็คือ พรบ.การบริหารหนี้สาธารณะ ที่รัฐบาลกำลังจะออก ก็จะเปิดให้รัฐบาลรับโอนหนี้ของธนาคารรัฐมาอีกรอบหนึ่ง และถ้าหากยอดสะสมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีมากตามการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายรอบ ผลสุดท้ายครับประชาชนผู้เสียภาษีก็จะเป็นผู้จ่ายอย่างมหาศาล ต้องขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้ต่อต้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนโดยรวม แต่จะขอตำหนิเรื่องกองทุนหมู่บ้าน เพราะรัฐบาลสร้างหนี้ให้กับประชาชนกลุ่มหนึ่งไปแล้ว และกำลังจะย้ายปัญหานั้นไปให้ประชาชนอีกกลุ่ม และปัญหานั้นจะมีมากขึ้น ถ้าหากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายรอบ
อีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำอย่างเต็มรูปแบบก็คือในเรื่องของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างหนี้ให้ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่รัฐบาลแถลงผลงานปีที่แล้วครับ ในวันที่ 12 มี.ค. 2546 ฝ่ายค้านได้ติงเรื่องหนี้ภาคประชาชน แต่รัฐบาลกับบอกว่าไม่มีปัญหา จนมาถึงตอนนี้ครับ แม้กระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยอมรับว่าจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มจากการควบคุมการให้สินเชื่อของบัตรเครดิตก่อน เพราะฉะนั้นฝ่ายค้านพูดอะไรออกไปรัฐบาลควรจะรับฟังนะครับ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามหนี้บัตรเครดิตก็เป็นเพียงส่วนน้อย ก็เป็นแค่เพียง 3% ของหนี้ภาคประชาชน พอมาถึงตอนนี้ต้องขอทวงตัวเลขหนี้ภาคประชาชนจากรัฐบาล ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการรายงานในทุกปี คือปี 2544 ประชาชนมีหนี้ 6หมื่น 8 พัน ครัวเรือน ปี 2546 เพิ่มขึ้นมาถึง 8 หมื่น 2 พัน กว่าครัวเรือน พอมาถึงปี 2546 ซึ่งตอนนี้ก็เลยมา 5 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานในเรื่องนี้แต่อย่างใด เมื่อมาถึง 22 พ.ค.ที่ผ่านมา มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวว่าหนี้ภาคประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2547 ได้เพิ่มขึ้นเป็น1 แสน 1 หมื่นบาทต่อครัวเรือนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามา หนี้ภาคประชาชนได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ผมอยากจะฝากเรื่องนี้ให้รัฐบาล ช่วยตอบคำถามเพราะว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทุกท่าน
มีอีกหลายเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นผลเสียต่อการกระจายรายได้โดยตรง และตัวผมเองก็สงสัยว่ารัฐบาลทำไปทำไม 1 ในเรื่องนั้นก็คือเรื่องค่าเงินบาท เรื่องค่าเงินบาทจะปฏิเสธไม่ได้ครับว่าเกี่ยวข้องกับการส่งออก และการนำเข้าโดยตรง ถ้าค่าเงินบาทยิ่งแข็ง การส่งออกก็ยิ่งแย่ลง การนำเข้าก็ยิ่งสูงขึ้นนำไปสู่ดุลการค้าที่แย่ลง แม้ว่าในปีนี้ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงบ้างก็เป็นเพราะเรื่องไข้หวัดนกในวันที่ 1 ก.พ. และก็เป็นเพราะเรื่องค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งตัวขึ้นในช่วงตนเดือนมี.ค. แต่ในช่วงปีที่แล้วค่าเงินบาทกับแข็งตัวขึ้น ถึง 8.88 %บุคคลในรัฐบาลหลายท่านออกมาบอกว่าไม่เป็นเรื่องแปลกอะไร เพราะว่าเป็นการแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาค ผมขอเรียนว่าข้อเท็จจริงไม่ใช่อย่างนั้นครับ ข้อเท็จจริงก็คือว่าค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาคทั้งที่เป็นทั้งคู่ค้า และคู่แข่งที่สำคัญกับเราไม่ได้แข็งขึ้นอย่างที่รัฐบาลอ้าง เอาเฉพาะประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันกับเราไต้หวัน ครับแข็งขึ้นเพียง 2.03 % สิงค์โปรแข็งขึ้น 1.92 % อินโดนิเซีย 5.66% ฟิลิปินส์ถึงกับอ่อนตัวลง 3.54% ขณะที่เกาหลีใต้ก็อ่อนตัวลง 0.79% แต่ไทยกลับแข็งขึ้นถึง 8.88%
เรื่องนี้ภาคเอกชนที่ทำธุรกิจทางด้านการส่งออก ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลหลายครั้งว่าค่าเงินบาทในปีที่แล้วแข็งเกินไป ผมจำได้ว่า สมาคมผู้ส่งออกได้เรียกร้องว่าควรจะอยู่ที่ 40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่คนในรัฐบาลหลายท่านก็ออกมาบอกว่าควรจะแข็งกว่านั้น โดยเฉพาะท่านายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 โดยระบุว่า ‘เงินบาทที่แข็งขึ้นเป็นการแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค’ ส่วนนี้ผมเรียนแล้วว่าไม่จริง ท่านพูดต่อว่า ‘และยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก เงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่วันนี้อยู่ที่ 39.93 บาท ถ้าเงินบาทกลับสู่ที่เดิมได้อย่างนิ่มนวล ก็ต้องถือว่าเป็นผลสำเร็จ’ แปลว่าจะไม่มีกรอบเวลาว่าจะถึง 25 บาทเมื่อไร่ แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสักวันหนึ่ง จะช้าหรือเร็ว ท่านเล็งไว้ว่าเงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ผลคือเงินบาทแข็งขึ้นเนื่องจากต่างชาติซื้อไว้เก็งกำไร และนำเงินนั้นมาพักที่ตลาดหุ้น แน่นอนที่สุดพอเงินบาทแข็ง ก็ต้องมีคนทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ คนที่ได้เปรียบคือคนที่มีสินค้ามาจากการนำเข้าทำให้ต้นทุนถูกลง เช่น โทรศัพท์มือถือ ยางรถยนต์ เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเทียบเท่ากับกับลดภาษีนำเข้าให้กับสินค้าเหล่านั้น ไม่ต้องบอกก็พอจะทราบว่าธุรกิจเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ส่วนคนที่เสียเปรียบคือผู้ส่งออก เพราะราคาสินค้าจะสูงขึ้น จจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 บอกว่า 33.2% ของผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบ 24.89% ได้รับผลกระทบด้านบวก แต่ผู้ประกอบการถึง 41.91% ได้รับผลกระทบทางด้านลบ
ในปีที่แล้วเรามักจะได้ยินรัฐบาลประโคมข่าวอยู่เสมอว่าการส่งออกขยายตัวสูงขึ้นมาก แต่ว่าเเป็นมุมมองด้านเดียว เพราะถ้าจะมองเรื่องรายได้เข้าประเทศให้ครบทุกมด้านจะต้องมองจากดุลบัญชีเดินสะพัด ข้อมูลของธนาคคารชาติของประเทศต่างๆที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเราเป็นอย่างนี้ ในปี 2546 เกาหลีใต้มีดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวถึง 128% ใต้หวัน เฉพาะ 3 ไตรมาสแรกขยายตัว 17% สิงคโปร์ 3 ไตรมาสแรกขยายตัวถึง 40% แต่สำหนับประเทศไทยในปี 2546 ขยายตัวเพียง 14% เป็นอันดับโหล่ใน 4 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคนี้ นี่คือผลของค่าเงินบาทที่รัฐบาลภูมิใจว่าแข็งขึ้น เพราะว่าเอื้อธุรกิจบางกลุ่ม แต่ทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ทั้งหมดนี่คือสิ่งที่คิดว่าเป็นงานด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลทำมาตลอด 3 ปี โดยสรุปคือว่ารัฐบาลไม่ได้สร้างอะไรใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ เป็นเพียงการโยกผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มหนึ่งไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง และเมื่อเกิดปัญหาแล้ว ก็จะเอาประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งมารับผิดชอบ เป็นเพียงการใช้คำพูดเพื่อเอื้อให้ธุรกิจ แต่เมื่อเอื้อให้ธุรกิจกลุ่มนั้นแล้ว ก็ทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะฉะนั้นไม่แปลกใจว่าทำไมรายได้ของประชาชนยังไม่เพิ่ม...
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-
...ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เลขานุการคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ กับความเห็น กรณีภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ระบุการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในประเทศ
เศรษฐกิจ ในมุมมองของมหภาค ณ ขณะนี้ปัญหาอยู่หลายเรื่องด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เรื่องของราคาดอกเบี้ย เรื่องของประเทศจีนที่ชะลอเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาภาคใต้ แต่ทั้ง 4 เรื่องเบื้องต้นไม่ใช่ปัญหาหลักในขณะนี้ เพราะว่าปัญหาหลักในขณะนี้คือ เรื่องของการกระจายรายได้ให้ประชาชน พอพูดถึงการกระจายรายได้ให้กับประชาชน ถ้าดูจากรายได้ของคนทั้งประเทศ ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือเรียกสั้นๆว่าจีดีพี ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือการบริโภคของประชาชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 60 % ของจีดีพี เมื่อดูว่าการที่จีดีพีขยายตัวได้ถึง 6.7 % ในปี 2546 นั้น มาจากการบริโภคด้านใดบ้าง การบริโภคสินค้าการเกษตรขยายตัวเพียง 2 % เพราะฉะนั้นการที่จีดีพีขยายตัวได้ 6.7% ในปีที่แล้วไม่ได้มาจากการบริโภคสินค้าเกษตรเป็นหลัก การบริโภคอาหารต้องขยายตัวเพียง 1% เครื่องแต่งกาย 1% เท่านั้น ส่วนในเรื่องของโรงแรมและภัตคารไม่ขยายตัว แต่กับหดตัวถึง 3.8 % เพราะฉะนั้นการที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ทั้ง 4 รายการเบื้องต้นมีส่วนช่วยชุดเศรษฐกิจน้อยมาก คำถามก็คือว่าแล้วอะไรชุดเศรษฐกิจบ้าง คำตอบคือจาก 2 ภาคหลักคือ การบริโภคยานพาหนะ และการสื่อสาร
การบริโภคยานพาหนะพูดแล้วจะตกใจ เพราะปีที่แล้วขยายตัวถึง 36.3% ส่วนการสื่อสารก็ไม่แพ้กัน ขยายตัว 25.5% ถ้าหากถามต่อไปว่าทั้ง 2 ภาคนี้ขยายตัวมานานหรือยัง คำตอบคือไม่นานเพราะเพิ่งจะมาขยายตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คือตอนที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหาร เพราะฉะนั้นใครจะรวยจากเรื่องนี้ก็เป็นที่ทราบกันแล้ว อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ชี้ชัดที่สุดในเรื่องของการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรมก็คือจำนวนผู้มีงานทำ สำรวจโดยสนง.สถิติแห่งชาติ ล่าสุดก็คือเดือนมี.ค.2547 เพราะถ้าดูจากรายภาคแล้ว ในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคเกษตรมีการจ้างงานโดยเฉลี่ยลดลง 386,000 เทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว ส่วนภาคอุตสาหกรรมกับมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้าน 6 หมื่นคน เทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้สอดคล้องกับการบริโภคที่ดี เฉพาะในส่วนของยานพาหนะและการสื่อสาร คำถามคือทำไมการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง เป็นเพราะว่างานทางด้านเศรษฐกิจในเรื่องหลักๆนั้น จริงๆแล้วรัฐบาลไม่ได้สร้างอะไรใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือรัฐบาลไม่ได้ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตของประเทศ ซึ่งเมื่อก่อนเราต้องนำเข้าวัตถุดิบกับสินค้าทุนมาผลิตสินค้ามากเท่าใด ปัจจุบันก็ยังคงมากเท่านั้นอยู่ และเมื่อเศรษฐกิจโตขึ้น การนำเข้าทั้งวัตถุดิบและสินค้าทุนก็ขยายตัวขึ้น ทำให้ล่าสุดการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก และในเดือนมี.ค.ประเทศไทยก็ขาดดุลการค้าไปแล้วถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เดือนเม.ย.อีก 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการขาดดุล2 เดือนติดต่อกัน และการนำเข้าก็ยังขยายตัวสูงขึ้นต่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และตลอด3 ปีที่รัฐบาลไม่ได้ทำเรื่องนี้รัฐบาลมั่วทำอะไรอยู่ คำตอบก็คือตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐบาลทำเป็นการโยกเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา
ตัวอย่างที่คิดว่าชัดเจนที่สุดก็คือในเรื่องของกองทุนวายุภักษ์ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย เพราะเป็นเพียงการโยกเงิน โยกผลประโยชน์ที่อยู่ที่กระทรวงการคลังมาเป็นผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุน แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว เพราะว่ายอดซื้อหน่วยลงทุนของประชาชนมีเพียง 2หมื่นลานจากที่เปิดจองทั้งหมด 7 หมื่นล้าน เมื่อพูดถึงกองทุนนี้แล้ว วัตถุประสงค์ของกองทุนนี้ยอมเป็นข้อกังขา เพราะว่าเริ่มแรกที่เดียวที่รัฐบาลได้แถลง กองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชนรายย่อย เนื่องจากว่าสภาวะดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นต่ำ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวจะพบว่ารัฐบาลได้ประกาศว่าจะนำเงินสำรองของกองทุนนั้น 3 หมื่นล้าน ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบอกว่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีราคาสูง จริงๆแล้วจะถูกหรือจะแพงก็แล้วแต่มุมมอง แต่ข้อกังขาก็คือว่ารัฐบาลจะประกาศที่จะซื้อหุ้นก่อนที่กองทุนนี้ซื้อจริงกันใหม่ เพราะนั้นทำให้เกิดการเก็ง กำไร และแน่นอนที่สุดครับ หุ้นที่กองทุนนี้จะซื้อก็จะแพงกว่าที่ควรจะเป็น และผลประโยชน์ของประชาชนผู้ซื้อหน่วยลงทุนก็จะลดลง ถึงแม้ว่าหุ้นจะขึ้นบ้างลงบ้าง แต่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนั้นที่รัฐบาลประกาศว่าจะซื้อหุ้นๆขึ้นจริงๆ เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนนี้ มีไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนรายย่อย หรือเพื่อปั่นหุ้นกันแน่อันนั้นเป็นข้อกังขาที่จะต้องเรียนถามไปถึงรัฐบาล นอกจากนั้นเรื่องข้อเท็จจริงที่ว่าหุ้นที่อยู่ในกองทุนนี้มีหุ้นรัฐวิสาหกิจส่วนกองทุนวายุภักษ์ จึงเป็นช่องทางที่รัฐบาลจะแอบแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเงียบ โดยไม่ให้ประชาชนรับทราบ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องติดตามการดำเนินงานของกองทุนนี้อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีการแอบแปรรูปรัฐวิสาหกิจจริงหรือไม่ และถ้าหากแปรจริงรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรจะมีความเหมาะสมหรือไม่ อันนั้นก็เป็นเรื่องของกองทุนวายุภักษ์
ในเรื่องของกองทุนหมู่บ้านอันนี้ก็พูดกันมาหลายครั้ง แต่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการโยกเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา เพราะเป็นการโยกเงินงบประมาณไปไว้ที่หมู่บ้าน พรรคประชาธิปัตย์เข้าใจดีว่ารัฐบาลได้คะแนนเสียงจากเรื่องนี้ แต่มาถึงตอนนี้แล้วรัฐบาลจะปฏิเสธไม่ได้ ว่ากองทุนหมู่บ้านนี้มีปัญหา เพราะว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำคือ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนและหนี้ของกองทุนหมู่บ้านนี้ก็เป็นปัญหาในลำดับต้นๆ ยอดที่กองทุนหมู่บ้านที่มีปัญหามีถึง 4 หมื่น 2 พันล้าน จากที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย จากวงเงินทั้งหมด 7 หมื่นล้าน ที่รัฐบาลได้ปล่อยกู้ในช่วงแรก คิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่เดียวครับ คือมากกว่าครึ่ง แต่ทั้งนี้ในส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนโดยรวม แต่ว่าจะขอตำหนินโยบายกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลสร้างปัญหาเรื่องหนี้ให้ประชาชนไปแล้ว และกำลังจะย้ายปัญหานั้นไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ผ่านทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเข้าใจดีว่ารัฐบาลจะได้คะแนนเสียงอีกรอบในระยะเวลาสั้น แต่สิ่งที่พวกเราต้องคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว คือผมคิดว่าถ้ายกหนี้ให้เสร็จไปเลยในรอบเดียวก็จะสูญเสียทีเดียวและก็จบกันไป แต่ว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดครั้งนี้ แต่ถ้าจะทำในแบบที่รัฐบาลกำลังจะทำก็คือโยนหนี้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ก็ไม่มั่นใจว่าตราบใดที่ประชาชนยังเป็นหนี้อยู่จะมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รอบ 2 รอบ 3 และรอบ 4 ต่อไปหรือไม่ และคนที่แย่ที่สุดคือธนาคารรัฐที่เป็นผู้รับภาระ สิ่งที่น่าวิตกมากขึ้นก็คือ พรบ.การบริหารหนี้สาธารณะ ที่รัฐบาลกำลังจะออก ก็จะเปิดให้รัฐบาลรับโอนหนี้ของธนาคารรัฐมาอีกรอบหนึ่ง และถ้าหากยอดสะสมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีมากตามการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายรอบ ผลสุดท้ายครับประชาชนผู้เสียภาษีก็จะเป็นผู้จ่ายอย่างมหาศาล ต้องขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้ต่อต้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนโดยรวม แต่จะขอตำหนิเรื่องกองทุนหมู่บ้าน เพราะรัฐบาลสร้างหนี้ให้กับประชาชนกลุ่มหนึ่งไปแล้ว และกำลังจะย้ายปัญหานั้นไปให้ประชาชนอีกกลุ่ม และปัญหานั้นจะมีมากขึ้น ถ้าหากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายรอบ
อีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำอย่างเต็มรูปแบบก็คือในเรื่องของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างหนี้ให้ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่รัฐบาลแถลงผลงานปีที่แล้วครับ ในวันที่ 12 มี.ค. 2546 ฝ่ายค้านได้ติงเรื่องหนี้ภาคประชาชน แต่รัฐบาลกับบอกว่าไม่มีปัญหา จนมาถึงตอนนี้ครับ แม้กระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยอมรับว่าจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มจากการควบคุมการให้สินเชื่อของบัตรเครดิตก่อน เพราะฉะนั้นฝ่ายค้านพูดอะไรออกไปรัฐบาลควรจะรับฟังนะครับ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามหนี้บัตรเครดิตก็เป็นเพียงส่วนน้อย ก็เป็นแค่เพียง 3% ของหนี้ภาคประชาชน พอมาถึงตอนนี้ต้องขอทวงตัวเลขหนี้ภาคประชาชนจากรัฐบาล ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการรายงานในทุกปี คือปี 2544 ประชาชนมีหนี้ 6หมื่น 8 พัน ครัวเรือน ปี 2546 เพิ่มขึ้นมาถึง 8 หมื่น 2 พัน กว่าครัวเรือน พอมาถึงปี 2546 ซึ่งตอนนี้ก็เลยมา 5 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานในเรื่องนี้แต่อย่างใด เมื่อมาถึง 22 พ.ค.ที่ผ่านมา มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวว่าหนี้ภาคประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2547 ได้เพิ่มขึ้นเป็น1 แสน 1 หมื่นบาทต่อครัวเรือนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามา หนี้ภาคประชาชนได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ผมอยากจะฝากเรื่องนี้ให้รัฐบาล ช่วยตอบคำถามเพราะว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทุกท่าน
มีอีกหลายเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นผลเสียต่อการกระจายรายได้โดยตรง และตัวผมเองก็สงสัยว่ารัฐบาลทำไปทำไม 1 ในเรื่องนั้นก็คือเรื่องค่าเงินบาท เรื่องค่าเงินบาทจะปฏิเสธไม่ได้ครับว่าเกี่ยวข้องกับการส่งออก และการนำเข้าโดยตรง ถ้าค่าเงินบาทยิ่งแข็ง การส่งออกก็ยิ่งแย่ลง การนำเข้าก็ยิ่งสูงขึ้นนำไปสู่ดุลการค้าที่แย่ลง แม้ว่าในปีนี้ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงบ้างก็เป็นเพราะเรื่องไข้หวัดนกในวันที่ 1 ก.พ. และก็เป็นเพราะเรื่องค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งตัวขึ้นในช่วงตนเดือนมี.ค. แต่ในช่วงปีที่แล้วค่าเงินบาทกับแข็งตัวขึ้น ถึง 8.88 %บุคคลในรัฐบาลหลายท่านออกมาบอกว่าไม่เป็นเรื่องแปลกอะไร เพราะว่าเป็นการแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาค ผมขอเรียนว่าข้อเท็จจริงไม่ใช่อย่างนั้นครับ ข้อเท็จจริงก็คือว่าค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาคทั้งที่เป็นทั้งคู่ค้า และคู่แข่งที่สำคัญกับเราไม่ได้แข็งขึ้นอย่างที่รัฐบาลอ้าง เอาเฉพาะประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันกับเราไต้หวัน ครับแข็งขึ้นเพียง 2.03 % สิงค์โปรแข็งขึ้น 1.92 % อินโดนิเซีย 5.66% ฟิลิปินส์ถึงกับอ่อนตัวลง 3.54% ขณะที่เกาหลีใต้ก็อ่อนตัวลง 0.79% แต่ไทยกลับแข็งขึ้นถึง 8.88%
เรื่องนี้ภาคเอกชนที่ทำธุรกิจทางด้านการส่งออก ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลหลายครั้งว่าค่าเงินบาทในปีที่แล้วแข็งเกินไป ผมจำได้ว่า สมาคมผู้ส่งออกได้เรียกร้องว่าควรจะอยู่ที่ 40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่คนในรัฐบาลหลายท่านก็ออกมาบอกว่าควรจะแข็งกว่านั้น โดยเฉพาะท่านายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 โดยระบุว่า ‘เงินบาทที่แข็งขึ้นเป็นการแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค’ ส่วนนี้ผมเรียนแล้วว่าไม่จริง ท่านพูดต่อว่า ‘และยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก เงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่วันนี้อยู่ที่ 39.93 บาท ถ้าเงินบาทกลับสู่ที่เดิมได้อย่างนิ่มนวล ก็ต้องถือว่าเป็นผลสำเร็จ’ แปลว่าจะไม่มีกรอบเวลาว่าจะถึง 25 บาทเมื่อไร่ แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสักวันหนึ่ง จะช้าหรือเร็ว ท่านเล็งไว้ว่าเงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ผลคือเงินบาทแข็งขึ้นเนื่องจากต่างชาติซื้อไว้เก็งกำไร และนำเงินนั้นมาพักที่ตลาดหุ้น แน่นอนที่สุดพอเงินบาทแข็ง ก็ต้องมีคนทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ คนที่ได้เปรียบคือคนที่มีสินค้ามาจากการนำเข้าทำให้ต้นทุนถูกลง เช่น โทรศัพท์มือถือ ยางรถยนต์ เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเทียบเท่ากับกับลดภาษีนำเข้าให้กับสินค้าเหล่านั้น ไม่ต้องบอกก็พอจะทราบว่าธุรกิจเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ส่วนคนที่เสียเปรียบคือผู้ส่งออก เพราะราคาสินค้าจะสูงขึ้น จจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 บอกว่า 33.2% ของผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบ 24.89% ได้รับผลกระทบด้านบวก แต่ผู้ประกอบการถึง 41.91% ได้รับผลกระทบทางด้านลบ
ในปีที่แล้วเรามักจะได้ยินรัฐบาลประโคมข่าวอยู่เสมอว่าการส่งออกขยายตัวสูงขึ้นมาก แต่ว่าเเป็นมุมมองด้านเดียว เพราะถ้าจะมองเรื่องรายได้เข้าประเทศให้ครบทุกมด้านจะต้องมองจากดุลบัญชีเดินสะพัด ข้อมูลของธนาคคารชาติของประเทศต่างๆที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเราเป็นอย่างนี้ ในปี 2546 เกาหลีใต้มีดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวถึง 128% ใต้หวัน เฉพาะ 3 ไตรมาสแรกขยายตัว 17% สิงคโปร์ 3 ไตรมาสแรกขยายตัวถึง 40% แต่สำหนับประเทศไทยในปี 2546 ขยายตัวเพียง 14% เป็นอันดับโหล่ใน 4 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคนี้ นี่คือผลของค่าเงินบาทที่รัฐบาลภูมิใจว่าแข็งขึ้น เพราะว่าเอื้อธุรกิจบางกลุ่ม แต่ทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ทั้งหมดนี่คือสิ่งที่คิดว่าเป็นงานด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลทำมาตลอด 3 ปี โดยสรุปคือว่ารัฐบาลไม่ได้สร้างอะไรใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ เป็นเพียงการโยกผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มหนึ่งไปให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง และเมื่อเกิดปัญหาแล้ว ก็จะเอาประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งมารับผิดชอบ เป็นเพียงการใช้คำพูดเพื่อเอื้อให้ธุรกิจ แต่เมื่อเอื้อให้ธุรกิจกลุ่มนั้นแล้ว ก็ทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะฉะนั้นไม่แปลกใจว่าทำไมรายได้ของประชาชนยังไม่เพิ่ม...
โดยทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ค. 2547--จบ--
-ดท-