1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง เพราะเป็นช่วงโรงเรียนเปิดเทอม ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงฯ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะลดลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มีการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 51.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 48.78 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.70 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.17 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.94 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกช่วง 69 วัน ในฟาร์มไก่จุดสุดท้ายที่ จ.อุตรดิตถ์ และเมื่อวันที่ 24 พค. 47 ได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุดในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทดลองของภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร จากจุดพบโรค โดยการฝังกลบและพ่นยาฆ่าเชื้อ สัตว์ปีกที่ถูกทำลายได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน และนกกระจอกเทศ รวม 1,500 ตัว ซึ่งต้องเฝ้าระวังต่อไปอีก 21 วัน ตามหลักสากลของการควบคุมโรคฯ กระทรวงเกษตรฯ ได้รายงานให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ทราบแล้ว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.96 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวในบางพื้นที่ เนื่องจากช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลงสำหรับราคาลูกไก่ไข่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง แสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 236 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 238 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 229 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 223 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 258 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.45 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.86 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
สถานการณ์ตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง เพราะเป็นช่วงโรงเรียนเปิดเทอม ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงฯ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะลดลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มีการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 51.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 48.78 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.70 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.17 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.94 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกช่วง 69 วัน ในฟาร์มไก่จุดสุดท้ายที่ จ.อุตรดิตถ์ และเมื่อวันที่ 24 พค. 47 ได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งล่าสุดในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทดลองของภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร จากจุดพบโรค โดยการฝังกลบและพ่นยาฆ่าเชื้อ สัตว์ปีกที่ถูกทำลายได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน และนกกระจอกเทศ รวม 1,500 ตัว ซึ่งต้องเฝ้าระวังต่อไปอีก 21 วัน ตามหลักสากลของการควบคุมโรคฯ กระทรวงเกษตรฯ ได้รายงานให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ทราบแล้ว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.03 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.96 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวในบางพื้นที่ เนื่องจากช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลงสำหรับราคาลูกไก่ไข่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง แสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 236 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 238 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 229 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 252 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 223 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 258 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.45 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.86 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-