แท็ก
สหรัฐ
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สมาคมประมงวอนรัฐแก้ปัญหา TEDS
จากการประกาศห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศไทยของสหรัฐ อันเนื่องมาจากไทยไม่ยอมติดตั้งอุปกรณ์และเปลี่ยนแปลงขนาดของเครื่องมือแยกเต่าทะเลออกจากการทำประมงอวนลากกุ้งหรือ TEDS ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ได้ส่งผลกระทบต่อชาวประมงอวนลากกุ้ง เมื่อห้องเย็นไม่ยอมรับซื้อกุ้งที่จับจากทะเลตามปกติโดยอ้างว่าไม่สามารถส่งออกกุ้งไปสหรัฐได้ ชาวประมงอวนลากกุ้งทะเลในจังหวัดสงขลาต่างได้รับความเดือนร้อนจากมาตราการห้ามนำเข้ากุ้งทะเลของสหรัฐ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมามีเรือประมง 1,200 ลำ ในอำเภอเมือง อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร อ.จะนะ และอ.เทพา บางส่วนได้หยุดออกเรือเพื่อจับกุ้งทะเล
ดังนั้นสมาคมประมงสงขลา โดยนายไสว เจยาคม (อุปนายกสมาคมทำการแทนนายกสมาคม) จึงได้ทำเรื่องถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อขอให้รัฐบาลเข้ามาดำเนินการแก้ไขความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นด้วยการ 1) ดำเนินการเจรจากับสหรัฐตลอดจนต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2) จัดหาตลาดส่งออกกุ้งทะเลใหม่ นอกเหนือจากตลาดสหรัฐ อาทิ ตลาดในกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ 3) ดำเนินการจัดหาน้ำมันดีเซลราคาถูกให้แก่ ผู้ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก เพื่อบรรเทาความเดือนร้อน และ 4) ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหากุ้งทั้งระบบในระยะยาว ทั้งกุ้งทะเลและกุ้งเพาะเลี้ยง
ในขณะเดียวกัน ทางสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยออกมาให้ความช่วยเหลือด้วยการทำหนังสือถึงกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง การหาช่องทางตลาดต่างประเทศใหม่เพื่อรับซื้อกุ้งที่จับจากทะเลด้วยการขอให้รัฐบาลเร่งรัดหาตลาดอื่นนอกจากสหรัฐ เพื่อทดแทนการส่งออกกุ้งทะเลจากไทย โดยช่องทางหนึ่งที่ทางสมาคมเสนอแนะ คือ ต้องการให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อาศัยข้อตกลงเปิดเสรีการค้า (FTA) ที่ไทยดำเนินการกับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ ทั้งที่ตกลงกันแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อต่อรองให้สินค้ากุ้งไทยอยู่ในรายการสินค้าที่ตกลงลดภาษีระหว่างกันด้วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวประมงอวนลากกุ้งที่ไม่สามารถส่งสินค้ากุ้งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐได้ในขณะนี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 14 | 20 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,227.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 629.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 597.71 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.19 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.57 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.49 ตัน
การตลาด
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.58 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 241.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 235.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 239.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24 - 28 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
สมาคมประมงวอนรัฐแก้ปัญหา TEDS
จากการประกาศห้ามนำเข้ากุ้งทะเลจากประเทศไทยของสหรัฐ อันเนื่องมาจากไทยไม่ยอมติดตั้งอุปกรณ์และเปลี่ยนแปลงขนาดของเครื่องมือแยกเต่าทะเลออกจากการทำประมงอวนลากกุ้งหรือ TEDS ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ได้ส่งผลกระทบต่อชาวประมงอวนลากกุ้ง เมื่อห้องเย็นไม่ยอมรับซื้อกุ้งที่จับจากทะเลตามปกติโดยอ้างว่าไม่สามารถส่งออกกุ้งไปสหรัฐได้ ชาวประมงอวนลากกุ้งทะเลในจังหวัดสงขลาต่างได้รับความเดือนร้อนจากมาตราการห้ามนำเข้ากุ้งทะเลของสหรัฐ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมามีเรือประมง 1,200 ลำ ในอำเภอเมือง อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร อ.จะนะ และอ.เทพา บางส่วนได้หยุดออกเรือเพื่อจับกุ้งทะเล
ดังนั้นสมาคมประมงสงขลา โดยนายไสว เจยาคม (อุปนายกสมาคมทำการแทนนายกสมาคม) จึงได้ทำเรื่องถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อขอให้รัฐบาลเข้ามาดำเนินการแก้ไขความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นด้วยการ 1) ดำเนินการเจรจากับสหรัฐตลอดจนต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2) จัดหาตลาดส่งออกกุ้งทะเลใหม่ นอกเหนือจากตลาดสหรัฐ อาทิ ตลาดในกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ 3) ดำเนินการจัดหาน้ำมันดีเซลราคาถูกให้แก่ ผู้ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก เพื่อบรรเทาความเดือนร้อน และ 4) ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหากุ้งทั้งระบบในระยะยาว ทั้งกุ้งทะเลและกุ้งเพาะเลี้ยง
ในขณะเดียวกัน ทางสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยออกมาให้ความช่วยเหลือด้วยการทำหนังสือถึงกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง การหาช่องทางตลาดต่างประเทศใหม่เพื่อรับซื้อกุ้งที่จับจากทะเลด้วยการขอให้รัฐบาลเร่งรัดหาตลาดอื่นนอกจากสหรัฐ เพื่อทดแทนการส่งออกกุ้งทะเลจากไทย โดยช่องทางหนึ่งที่ทางสมาคมเสนอแนะ คือ ต้องการให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อาศัยข้อตกลงเปิดเสรีการค้า (FTA) ที่ไทยดำเนินการกับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ ทั้งที่ตกลงกันแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อต่อรองให้สินค้ากุ้งไทยอยู่ในรายการสินค้าที่ตกลงลดภาษีระหว่างกันด้วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวประมงอวนลากกุ้งที่ไม่สามารถส่งสินค้ากุ้งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐได้ในขณะนี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 14 | 20 พ.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,227.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 629.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 597.71 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.63 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.19 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.57 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.49 ตัน
การตลาด
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.44 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.58 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 241.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 235.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 239.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24 - 28 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-