ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการนำเข้า ส่งออก และจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกเนื่องจากฮ่องกงเป็นเมืองท่าปลอดภาษี รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยฮ่องกงเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญอันดับ 5 ของไทยรองจากสหรัฐอเมริกา อิสราเอล เบลเยียม และสหราชอาณาจักร ในปี 2546 ไทยส่งออกไปฮ่องกงเป็นมูลค่าประมาณ 5,523 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 20% เมื่อเทียบกับปี 2545 อัญมณีและเครื่องประดับที่ฮ่องกงนิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ อัญมณีและเครื่องประดับแท้ ได้แก่ พลอยและไข่มุก และเพชร รองลงมา คือ อัญมณีสังเคราะห์ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม ตามลำดับ
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงมีดังนี้
1. อัตราภาษี ฮ่องกงเป็นเมืองท่าปลอดภาษีทำให้การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มใดๆ รวมทั้งไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากทางการฮ่องกง
2. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- The Trade Descriptions (Marking) (Gold and Gold Alloy) / (Platinum) Orders เป็นกฎระเบียบที่กำหนดให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากทองคำและแพลทินัมหรือมีส่วนผสมจากทองคำและแพลทินัม ต้องประทับตราเพื่อแสดงปริมาณความบริสุทธิ์ (Fineness) ของเนื้อโลหะต่อน้ำหนัก โดยความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมต้องไม่ต่ำกว่าที่ได้ประทับตราระบุไว้ โดยฮ่องกงกำหนดให้เครื่องประดับทองคำ/แพลทินัมที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 8 กะรัต ต้องประทับตราเครื่องหมายแสดงปริมาณความบริสุทธิ์ สำหรับการระบุความบริสุทธิ์สามารถทำได้ดังนี้
- ความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมอาจระบุเป็นหน่วยกะรัตด้วยตัวเลขอารบิก หรือตัวเลขอารบิกพร้อมตัวอักษร k, c หรือ ct อาทิ การประทับตรา “14K” เพื่อรับรองว่าทำมาจากทองคำ 14 กะรัต
- หรืออาจระบุความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมเป็นตัวเลขอารบิกในหน่วย parts per thousand อาทิ การประทับตรา “333” เพื่อรับรองว่าทำมาจากทองคำ 33.3% หรือ 8 กะรัต
- หรืออาจระบุความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยคำในภาษาจีน “Chuk Kam” เมื่อแสดงความบริสุทธิ์ของทองคำที่ไม่ต่ำกว่า “990” เป็นต้น
- Kimberley Process (KP) Certification Scheme ฮ่องกงเป็นหนึ่งในจำนวน 50 กว่าประเทศ (รวมทั้งไทย) ที่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลง Kimberley Process ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการค้าเพชรที่มาจากแหล่งผิดกฎหมายหรือจากประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย หรือนำเงินจากการขายเพชรไปสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งหรือก่อให้เกิดการนองเลือด โดยตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2546 ทางการฮ่องกงประกาศให้ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกเพชรดิบในฮ่องกงต้องแสดงใบรับรอง Kimberley Process (KP) Certificate หรือใบรับรองการนำเข้าหรือส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน (Rough Diamond) หรือเพชรดิบสำหรับการนำเข้าและส่งออกทุกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยสามารถยื่นขอ Kimberley Process Certificate ได้จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อยื่นต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการส่งออก พร้อมส่งเอกสารต่างๆ ให้ผู้ซื้อในฮ่องกงเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าต่อไป
3. กลุ่มผู้บริโภคและรสนิยม แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มผู้บริโภคชาวฮ่องกง แบ่งเป็นหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มแม่บ้านที่แต่งงานแล้วและมีการศึกษาไม่สูงนักมักนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีน้ำหนักเบา มีดีไซน์เรียบง่าย ส่วนกลุ่มชายโสดที่มีรายได้สูงนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีขนาดใหญ่และมีความโก้หรู ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมมักซื้อเครื่องประดับทองคำเพื่อการลงทุนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ชาวฮ่องกงวัยกลางคนถึงสูงอายุหันมานิยมเครื่องประดับทองคำที่ประทับตรา “Chuk Kam” ที่มีดีไซน์ทันสมัยสามารถใส่เป็นเครื่องประดับในการแต่งกายมากขึ้นโดยหยกยังเป็นที่นิยม ส่วนหนุ่มสาวนิยมเครื่องประดับประเภททองคำขาว เพชร เงิน ไข่มุก หินเทียม และทองคำ 18K
กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนแผ่นดินใหญ่ (55% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด) นิยมซื้อเครื่องประดับทองคำที่ประทับตรา “Chuk Kam” ที่มีราคาต่อหน่วยประมาณ 100-150 ดอลลาร์สหรัฐ และชุดเครื่องเพชร (เกรดต่ำ) ส่วนชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงนิยมซื้อเพชร พลอยรัตนชาติ และไข่มุก เป็นต้น
4. งานแสดงสินค้าในฮ่องกง ฮ่องกงมีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคืองาน The Hong Kong International Jewellery (จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของทุกปี) และงาน The Hong Kong Jewellery and Watch Fair (จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนและกันยายนของทุกปี) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งการเข้าร่วมแสดงสินค้าดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมีโอกาสได้พบปะกับผู้นำเข้าชาวฮ่องกงได้โดยตรง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-พห-
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงมีดังนี้
1. อัตราภาษี ฮ่องกงเป็นเมืองท่าปลอดภาษีทำให้การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มใดๆ รวมทั้งไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากทางการฮ่องกง
2. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- The Trade Descriptions (Marking) (Gold and Gold Alloy) / (Platinum) Orders เป็นกฎระเบียบที่กำหนดให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากทองคำและแพลทินัมหรือมีส่วนผสมจากทองคำและแพลทินัม ต้องประทับตราเพื่อแสดงปริมาณความบริสุทธิ์ (Fineness) ของเนื้อโลหะต่อน้ำหนัก โดยความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมต้องไม่ต่ำกว่าที่ได้ประทับตราระบุไว้ โดยฮ่องกงกำหนดให้เครื่องประดับทองคำ/แพลทินัมที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 8 กะรัต ต้องประทับตราเครื่องหมายแสดงปริมาณความบริสุทธิ์ สำหรับการระบุความบริสุทธิ์สามารถทำได้ดังนี้
- ความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมอาจระบุเป็นหน่วยกะรัตด้วยตัวเลขอารบิก หรือตัวเลขอารบิกพร้อมตัวอักษร k, c หรือ ct อาทิ การประทับตรา “14K” เพื่อรับรองว่าทำมาจากทองคำ 14 กะรัต
- หรืออาจระบุความบริสุทธิ์ของทองคำ/แพลทินัมเป็นตัวเลขอารบิกในหน่วย parts per thousand อาทิ การประทับตรา “333” เพื่อรับรองว่าทำมาจากทองคำ 33.3% หรือ 8 กะรัต
- หรืออาจระบุความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยคำในภาษาจีน “Chuk Kam” เมื่อแสดงความบริสุทธิ์ของทองคำที่ไม่ต่ำกว่า “990” เป็นต้น
- Kimberley Process (KP) Certification Scheme ฮ่องกงเป็นหนึ่งในจำนวน 50 กว่าประเทศ (รวมทั้งไทย) ที่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลง Kimberley Process ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการค้าเพชรที่มาจากแหล่งผิดกฎหมายหรือจากประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย หรือนำเงินจากการขายเพชรไปสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งหรือก่อให้เกิดการนองเลือด โดยตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2546 ทางการฮ่องกงประกาศให้ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกเพชรดิบในฮ่องกงต้องแสดงใบรับรอง Kimberley Process (KP) Certificate หรือใบรับรองการนำเข้าหรือส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน (Rough Diamond) หรือเพชรดิบสำหรับการนำเข้าและส่งออกทุกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยสามารถยื่นขอ Kimberley Process Certificate ได้จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อยื่นต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการส่งออก พร้อมส่งเอกสารต่างๆ ให้ผู้ซื้อในฮ่องกงเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าต่อไป
3. กลุ่มผู้บริโภคและรสนิยม แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มผู้บริโภคชาวฮ่องกง แบ่งเป็นหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มแม่บ้านที่แต่งงานแล้วและมีการศึกษาไม่สูงนักมักนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีน้ำหนักเบา มีดีไซน์เรียบง่าย ส่วนกลุ่มชายโสดที่มีรายได้สูงนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีขนาดใหญ่และมีความโก้หรู ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมมักซื้อเครื่องประดับทองคำเพื่อการลงทุนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ชาวฮ่องกงวัยกลางคนถึงสูงอายุหันมานิยมเครื่องประดับทองคำที่ประทับตรา “Chuk Kam” ที่มีดีไซน์ทันสมัยสามารถใส่เป็นเครื่องประดับในการแต่งกายมากขึ้นโดยหยกยังเป็นที่นิยม ส่วนหนุ่มสาวนิยมเครื่องประดับประเภททองคำขาว เพชร เงิน ไข่มุก หินเทียม และทองคำ 18K
กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนแผ่นดินใหญ่ (55% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด) นิยมซื้อเครื่องประดับทองคำที่ประทับตรา “Chuk Kam” ที่มีราคาต่อหน่วยประมาณ 100-150 ดอลลาร์สหรัฐ และชุดเครื่องเพชร (เกรดต่ำ) ส่วนชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงนิยมซื้อเพชร พลอยรัตนชาติ และไข่มุก เป็นต้น
4. งานแสดงสินค้าในฮ่องกง ฮ่องกงมีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคืองาน The Hong Kong International Jewellery (จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของทุกปี) และงาน The Hong Kong Jewellery and Watch Fair (จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนและกันยายนของทุกปี) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งการเข้าร่วมแสดงสินค้าดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมีโอกาสได้พบปะกับผู้นำเข้าชาวฮ่องกงได้โดยตรง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-พห-